Enfa สรุปให้
- คุณพ่อคุณแม่ที่มีสิทธิประกันสังคม และจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 12
เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สามารถขอรับสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรได้
- คุณพ่อคุณแม่ที่มีรายได้ต่อคนไม่เกิน 100,000 บาท/ปี
สามารถยื่นรับสิทธิ์เงินอุดหนุนบุตรของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้
- เงินสงเคราะห์บุตรและเงินอุดหนุนบุตร สามารถยื่นขอรับเงินช่วยเหลือย้อนหลังได้
แต่จะต้องมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่กำหนด และเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี

คุณพ่อคุณแม่มีคุณสมบัติครบตรงตามข้อกำหนดรับเงินสงเคราะห์บุตรจากประกันสังคม
แต่ยังไม่เคยทำเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรมาก่อนเลย จะสามารถรับเงินสงเคราะห์บุตรได้ย้อนหลังไหมนะ
แล้วจะเช็กสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลังได้อย่างไรบ้าง ไปหาคำตอบพร้อมกันกับ Enfa ได้เลย
เงินสงเคราะห์บุตรกับเงินอุดหนุนบุตรแตกต่างกันอย่างไร
มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนที่อาจสับสันและเข้าใจผิดว่า เงินสงเคราะห์บุตร กับ เงินอุดหนุนบุตร เป็นสวัสดิการตัวเดียวกัน
แต่ที่จริงแล้วสวัสดิการทั้งสองอย่างนี้ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงค่ะ
คือ เงินอุดหนุนจากรัฐบาลสำหรับช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (100,000
ต่อคน/ต่อปี) ซึ่งจะจ่ายให้กับเด็กแรกเกิดไปจนถึง 6 ปี ไม่จำกัดจำนวนบุตร เป็นเงินจำนวน 600 บาท ต่อเดือน
คือ สวัสดิการของพ่อแม่ที่มีสิทธิประกันสังคม และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน
ประกันสังคมจะจ่ายเงินช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายให้กับเด็กแรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 ปี จำกัดครั้งละไม่เกิน 3 คน เป็นเงินจำนวน
800 บาท ต่อเดือน
เงินสงเคราะห์บุตรได้ย้อนหลังไหม
คุณพ่อคุณแม่ที่มีรายได้น้อย คุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขการรับเงินสงเคราะห์บุตร
แต่ยังไม่เคยทำเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเลย แบบนี้จะสามารถยื่นสงเคราะห์บุตรคนเดิมได้ย้อนหลังไหม?
คำตอบคือ สามารถทำได้ค่ะ
แต่...จะต้องทำการยื่นเรื่องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์บุตรภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิ์ หรือนับตั้งแต่วันที่ลูกคลอด
โดยคุณพ่อหรือคุณแม่จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36
เดือนก่อนคลอดถึงจะมีสิทธิได้รับเงินค่ะ
มากไปกว่านั้น เงินสงเคราะห์บุตรนี้จะจ่ายให้จนบุตรมีอายุครบ 6 ปีเท่านั้น หากลูกอายุเกิน 6 ปีบริบูรณ์แล้ว
ไม่สามารถยื่นรับสิทธิ์ย้อนหลังได้ค่ะ
เช็กสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรย้อนหลัง
ทำอย่างไร
เมื่อทำการยื่นเรื่องของรับสิทธิ์เงินสงเคราะห์บุตรแล้ว
คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปเช็กสิทธิ์ได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th หรือแอปพลิเคชัน SSO Connect
ได้ค่ะ
ยื่นสงเคราะห์บุตรย้อนหลังกี่วันเงินเข้า
หากดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินสงเคราะห์บุตรเรียบร้อยแล้ว ประกันสังคมจะทำการตรวจสอบสิทธิ คุณสมบัติ
การจ่ายเงินประกันสังคม การเริ่มทำงาน การลาออกจากงาน ซึ่งขั้นตอนการตรวจสอบนี้จะใช้เวลา 1-3 เดือน
และเงินจะเข้าภายในเดือนที่ 4 ค่ะ
ซึ่งในกรณีที่คำร้องได้รับการตรวจสอบสิทธิ์เร็ว และเอกสารได้รับการอนุมัติจากประกันสังคมแล้ว เงินจะเข้าบัญชีภายใน 5-7
วันทำการค่ะ
อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรนั้น จะมีกำหนดวันจ่ายเงินเอาไว้ในแต่ละเดือน
โดยตารางการจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรประจำปี 2567 มีดังนี้
- เดือนมกราคม : วันพุธที่ 31 มกราคม 2567
- เดือนกุมภาพันธ์ : วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567
- เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567
- เดือนเมษายน : วันอังคารที่ 30 เมษายน 2567
- เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567
- เดือนมิถุนายน : วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567
- เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
- เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม 2567
- เดือนกันยายน : วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2567
- เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567
- เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567
- เดือนธันวาคม : วันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2567
เงินอุดหนุนบุตรได้ย้อนหลังไหม
แล้วถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าเกณฑ์การรับเงินอุดหนุนบุตรของรัฐบาล แต่ยังไม่ได้ยื่นขอรับสิทธิ์
จะสามารถรับเงินอุดหนุนบุตรได้ย้อนหลังไหม
สามารถทำได้ค่ะ แต่อย่าลืมเช็กคุณสมบัติอื่น ๆ ให้ตรงตามที่เงื่อนไขกำหนดด้วยนะคะ หากคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไข
ก็สามารถเบิกเงินอุดหนุนบุตรย้อนหลังได้
กี่เดือนถึงจะได้เงินอุดหนุนบุตร
หากเอกสารได้รับการตรวจสอบอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามที่กำหนด และได้รับการอนุมัติแล้ว เงินอุดหนุนบุตรจะโอนเข้าบัญชีภายใน 2
เดือน
กรมบัญชีกลาง จะทำหน้าที่จ่ายเงินอุดหนุนบุตรทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน แต่บางเดือนอาจกำหนดจ่ายเป็นวันอื่น ๆ
ซึ่งจะมีรอบการจ่ายตามตารางประจำปี 2567 ดังนี้
- เดือนมกราคม : วันพุธที่ 10 ม.ค. 2567
- เดือนกุมภาพันธ์ : วันศุกร์ที่ 9 ก.พ. 2567
- เดือนมีนาคม : วันศุกร์ที่ 8 มี.ค. 2566
- เดือนเมษายน : วันพุธที่ 10 เม.ย. 2567
- เดือนพฤษภาคม : วันศุกร์ที่ 10 พ.ค. 2567
- เดือนมิถุนายน : วันจันทร์ที่ 10 มิ.ย. 2567
- เดือนกรกฎาคม : วันพุธที่ 10 ก.ค. 2567
- เดือนสิงหาคม : วันศุกร์ที่ 9 ส.ค. 2567
- เดือนกันยายน : วันอังคารที่ 10 ก.ย. 2567
- เดือนตุลาคม : วันพฤหัสบดีที่ 10 ต.ค. 2567
- เดือนพฤศจิกายน : วันศุกร์ที่ 8 พ.ย. 2567
- เดือนธันวาคม : วันอังคารที่ 10 ธ.ค. 2567
คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็กสถานะการจ่ายเงินได้ที่แอปพลิเคชันเงินเด็ก
และแอปพลิเคชันธนาคารที่ได้ลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตร เพื่อเช็กว่ามียอดเงินโอนเข้ามาในบัญชีหรือไม่
เงินอุดหนุนเด็กจะเข้ากี่โมง
เงินอุดหนุนเด็กจากรัฐบาล จะถูกโอนเข้าบัญชีในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ตี 1 – 6 โมงเช้า แต่ถ้าหากยังไม่มีเงินโอนเข้าบัญชี
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
โทร 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, 06 5731 3199 (วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 17.00 น.)
หรือสามารถโทรติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 สามารถโทรติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู
และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น
ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่
ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์
ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการเรียนรู้และจดจำ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่
เด็กจะเติบโตมาแข็งแรง มีสุขภาพดี ฉลาด มีไอคิวที่สมวัยได้ พื้นฐานต้องเริ่มมาจากอาหารการกินของคุณแม่ค่ะ
โดยกลุ่มสารอาหารสำคัญที่คุณแม่จะต้องได้รับอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่
-
ดีเอชเอ ช่วยพัฒนาทางสมอง ดวงตา และระบบประสาท
นอกจากนี้ยังอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์บางอย่าง
-
โปรตีน ดีต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์
อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างน้ำนมให้กับคุณแม่
-
ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือเป็นสาเหตุอันดับต้น
ๆ ของการคลอดทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ
-
กรดโฟลิก หรือโฟเลต มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง
หากคุณแม่ได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้ลูกน้อยเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทได้
-
แคลเซียม มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
ป้องกันภาวะกระดูกพรุนทั้งแม่และทารก
-
ไอโอดีน ป้องกันภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายผิดปกติ
และนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์
-
โคลีน มีส่วนสำคัญในการบำรุงระบบประสาทและสมอง ช่วยพัฒนาสมองของทารกในครรภ์
ลดความเสี่ยงของภาวะความบกพร่องที่ระบบท่อประสาทของทารกในครรภ์
-
โอเมก้า 3 ช่วยเสริมสร้างและดูแลสุขภาพหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน สมอง และดวงตา
ลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด และลดความเสี่ยงของการคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าโภชนาการสำหรับแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะถ้าหากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
อาจเพิ่มความเสี่ยงที่อันตรายต่อทารกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นประจำทุกมื้อ ก็จะเป็นการปูพื้นฐานการมีสุขภาพดี มีสมองที่ดี
ส่งเสริมให้ลูกพร้อมที่จะเติบโตอย่างสมวัย และก้าวไกลไปสู่อนาคตที่ดีอย่างมีคุณภาพได้ค่ะ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่