Enfa สรุปให้
การแจ้งเกิดบุตร ยังไม่ถือว่าบิดาเป็นบิดาของบุตรตามกฎหมาย หากมีเพียงสูติบัตรใบเดียว จะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว
การจดทะเบียนรับรองบุตร กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะทำให้บุตรเป็นบุตรของบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย และบิาก็เป็นบิดาตามกฎหมาย
บุตรที่ได้รับการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว สามารถรับสิทธิต่าง ๆ จากบิดาได้ ทั้งสิทธิ์ในการใช้นามสกุล การรับมรดก ฯลฯ และบิดาก็มีสิทธิในการปกครองบุตรร่วมกับมารดา
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ในกรณีที่บุตรเกิดจากแม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตามกฎหมายแล้วจะถือว่าบุตรนั้นตกเป็นของแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น การจดทะเบียนรับรองบุตร หรือการทำหนังสือรับรองบุตร กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส จะช่วยให้เด็กได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาด้วยเช่นกัน
หนังสือรับรองบุตร กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือ การรับรองบุตร คือ วิธีการรับรองบุตรนอกสมรส ให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา หรือเป็นการรับรองให้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีที่พ่อกับแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
สูติบัตร คือ เอกสารการแจ้งเกิดของบุตร แต่ไม่ใช่เอกสารที่ให้การรับรองว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของบิดาตามกฎหมาย การมีสูติบัตรแค่เพียงใบเดียว ยังถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว และพ่อยังไม่ใช่บิดาตามกฎหมาย
ใบรับรองบุตร คือ เอกสารการรับรองว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย และบิดาเป็นบิดาของบุตรตามกฎหมาย โดยบิดามีสิทธิ์ในการปกครองบุตรร่วมกับมารดา และบุตรสามารถรับสิทธิต่าง ๆ จากฝั่งบิดาได้ตามกฎหมาย
การรับรองบุตร เป็นเอกสารสำคัญที่จะช่วยให้ทั้งบุตรและบิดาต่างมีสิทธิ์ซึ่งกันและกัน เมื่อจดทะเบียนรับรองบุตรแล้ว บุตรนั้นจะเป็นบุตรของบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย และบิดาจะเป็นบิดาของบุตรตามกฎหมาย
บุตรมีสิทธิ์ที่จะรับสิทธิต่าง ๆ จากบิดา เช่น สิทธิในมรดกของบิดา สิทธิในการรับเงินช่วยเหลือต่าง ๆ สิทธิในการใช้นามสกุลของบิดา เป็นต้น
ขณะเดียวกันบิดาก็จะมีสิทธิ์ในตัวบุตร มีสิทธิในการร่วมปกครองบุตรเช่นเดียวกับมารดา ในกรณีที่อาจมีการฟ้องร้องในอนาคต ก็จะถือว่าบุตรนี้เป็นบุตรของบิดาด้วย ไม่ใช่บุตรของแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว
ในกรณีที่คุณพ่อต้องการที่จะทำหนังสือรับรองบุตร คุณพ่อสามารถทำการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนเขต สถานทูต/กงสุลไทย ได้ทุกแห่ง โดยไม่ต้องอิงภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน
การจดทะเบียนรับรองบุตรโดยส่วนมากแล้วจะถือว่าเป็นข้อดีทั้งต่อพ่อและเด็ก แต่ก็มีข้อเสียในเชิงรายละเอียดที่ลึกลงไปด้วยเช่นกัน ดังนี้
บุตรมีสิทธิในการขอรับสิทธิต่าง ๆ ของบิดาได้ เช่น มรดกของบิดา ค่าเลี้ยงดูจากบิดา การใช้นามสกุลของบิดา เป็นต้น
บิดามีสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
บุตรของบิดาที่เป็นข้าราชการ สามารถรับสิทธิเงินช่วยเหลือต่าง ๆ ของบิดาได้
บิดามีสิทธิได้รับการลดหย่อนภาษีจากค่าเลี้ยงดูบุตรได้
ในกรณีที่บิดามีหนี้สิน และได้เสียชีวิตลง บุตรมีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้แทนบิดา แต่จะต้องไม่เกินกว่ามรดกที่ได้รับ
ในกรณีที่จดทะเบียนรับรองบุตร แต่บิดาไม่ส่งเสียค่าเลี้ยงดู สามารถถูกฟ้องร้องค่าเลี้ยงดูจากมารดาและบุตรได้
การจดทะเบียนรับรองบุตร จะต้องให้เด็กไปที่สำนักงานเขตหรืออำเภอด้วย เพราะจะต้องมีการลงนามในเอกสารร่วมกัน นั่นหมายความว่า เด็กควรจะต้องอยู่ในวัยที่สามารถอ่านออกและเขียนได้
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการจดหนังสือรับรองบุตร กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็มักจะรอให้เด็กมีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป ถึงจะสามารถพาเด็กไปจดทะเบียนรับรองบุตรได้
แต่ในกรณีที่ลูกยังมีอายุน้อยมาก ยังเป็นทารก หรือเด็กเล็กอยู่ สำนักงานเขตหรืออำเภอมักจะยังไม่อนุญาตให้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตร
อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ลูกยังเล็กมาก คุณพ่อยังสามารถที่จะทำการจดทะเบียนรับรองบุตรได้ แต่ฝ่ายคุณพ่อจะต้องให้ทนายไปดำเนินเรื่องต่อศาลเพื่อยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร และจะต้องได้รับความยินยอมจากมารดาและตัวเด็กด้วย
เอกสารรับรองบุตร ที่จะต้องใช้สำหรับยื่นเรื่องขอจดทะเบียนรับรองบุตร มีดังนี้
บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
ตัวเด็กและมารดาเด็กต้องมาให้ความยินยอมด้วยตนเอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนทั้งของเด็กและมารดา
ต้องมีพยานมาด้วยอย่างน้อย 2 คน
หนังสือยินยอม (ในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถมาให้การยินยอมด้วยตนเองได้)
คำพิพากษา/คำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด (ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถให้การยินยอมได้)
วิธีการจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสมรส หรือการจดทะทะเบียนรับรองบุตรนั้น มีดังนี้
บิดายื่นคำร้อง พร้อมเด็กและมารดาของเด็กให้ความยินยอม
สามารถยื่นคำร้องได้ ณ สำนักทะเบียนอำเภอ ทุกแห่ง หรือสำนักงานเขตในพื้นที่ใดก็ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิลำเนา
เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารตามที่กำหนด
บิดา มารดา บุตร ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมลงลายมือชื่อในทะเบียนรับรองบุตรร่วมกัน
นายทะเบียนตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งและลงชื่อในทะเบียนรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตร หรือ หนังสือรับรองบุตร กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีข้อควรรู้ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้วนายทะเบียนมักจะไม่อนุญาตให้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตรในกรณีที่บุตรยังเป็นเด็กเล็กและยังไม่สามารถอ่านออกหรือเขียนได้ เพราะถือว่ายังไม่อยู่ในสถานะที่จะให้การตัดสินใจยินยอมได้
ในกรณีที่เด็กมีอายุน้อยกว่า 7 ขวบ หรือมารดาไม่ยินยอมให้จดทะเบียนรับรองบุตร และบิดาต้องการที่จะจดทะเบียนรับรองบุตร บิดาจะต้องให้ทนายไปยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลออกหนังสือคำสั่งจดทะเบียนรับรองบุตร
การจดทะเบียนรับรองบุตรจะต้องนำมารดา บุตร และพยานอย่างน้อย 2 คน ไปพร้อมกันในวันจดทะเบียรับรองบุตรด้วย
เมื่อทำการจดทะเบียนรับรองบุตรสำเร็จแล้วจะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดา และบิดาเป็นบิดาของบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย บิดามีสิทธิ์ในตัวของบุตร และบุตรมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือ สวัสดิการ และสิทธิต่าง ๆ จากบิดาด้วย
ในกรณีที่พ่อไม่จดทะเบียนรับรองบุตร ตามกฎหมายจะถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรของแม่แต่เพียงฝ่ายเดียว สิทธิในการดูแลและปกครองเด็กจะต้องเป็นของแม่แต่เพียงผู้เดียว
ขณะเดียวกันบุตรและมารดาก็ไม่สามารถที่จะเรียกร้องค่าเลี้ยงดูจากบิดาได้ บุตรไม่สิทธิในการใช้นามสกุลของบิดา ไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากบิดา ไม่มีสิทธิในการรับมรดก หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากทางบิดา
ไม่มีการกำหนดเพดานว่าหายุห้ามเกินเท่าไหร่ แต่โดยมากนายทะเบียนมักจะอนุญาตให้ทำการจดทะเบียนรับรองบุตรเมื่อบุตรมีอายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป เพราะอยู่ในสถานะที่จะลงนามและสามารถตัดสินใจให้ความยินยอมได้เองแล้ว
Enfa สรุปให้ ตั้งชื่อลูกสาวเกิดวันอาทิตย์ ควรคำนึงถึงอักขระมงคล ความหมายที่ดี เสียงที่ไพเราะ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เพราะเด็ก ๆ เกิดมาแล้วเป็นทารกได้แค่ครั้งเดียว การถ่ายรูปเด็กแรกเกิดเก็บไว้เป็นความ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ท้องฟ้าจำลอง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ...
อ่านต่อ