นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คลอดตอน 8 เดือนอันตรายไหม วิธีรับมือเมื่อคลอดก่อนกําหนด 8 เดือน

Enfa สรุปให้

  • การคลอดก่อนกำหนด 8 เดือน หรือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ - 35 สัปดาห์ ถือการคลอดก่อนกำหนดระดับปานกลางถึงใกล้ครบกำหนด (Moderate to Late Preterm) ซึ่งทารกมักมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทารกที่คลอดก่อนหน้า
  • คลอดก่อนกําหนด 8 เดือน อาจเกิดจากการติดเชื้อ การตั้งครรภ์แฝด ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ เช่น โรคเรื้อรังบางชนิด หรือภาวะครรภ์เป็นพิษ และหากคุณแม่มีประวัติคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนหน้า ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น
  • คลอดก่อนกำหนดที่ 32 สัปดาห์ เป็นการคลอดที่เกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 ทารกอาจต้องรับการช่วยเหลือในการหายใจเพราะปอดยังเจริญไม่เต็มที่ รวมถึงต้องได้รับการดูแลด้านโภชนาการและพัฒนาการจากแพทย์เฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง

เลือกอ่านตามหัวข้อ

หากเราอ้างอิงนิยามการคลอดครบกำหนดจาก WHO การคลอดที่เกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ - 40 สัปดาห์ ถือเป็นการคลอดตามกำหนด (Full-term Birth) โดยหากทารกคลอดออกมาก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์จะถือว่าเป็นการคลอดก่อนกำหนด (Preterm Birth) และหากเกิน 40 สัปดาห์เป็นต้นไป จะถือว่าเป็นการคลอดเกินกำหนด (Post-term Birth)

การคลอดก่อนกำหนดเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย อาจเกิดจากภาวะสุขภาพของคุณแม่ การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด ความเครียดและปัจจัยในการใช้ชีวิต รวมถึงประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนหน้า ในบทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจการคลอดตอน 8 เดือนไปด้วยกันค่ะ 

คลอดตอน 8 เดือนอันตรายไหม

การคลอดก่อนกำหนด 8 เดือน หรือการคลอดในช่วงอายุครรภ์ 32 สัปดาห์ - 35 สัปดาห์ ถือการคลอดก่อนกำหนดระดับปานกลางถึงใกล้ครบกำหนด (Moderate to Late Preterm) ซึ่งทารกมักมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพน้อยกว่าเมื่อเทียบกับทารกที่คลอดก่อนหน้า เพราะอวัยวะส่วนใหญ่ใกล้จะพัฒนาเต็มที่แล้ว แม้จะต้องการการดูแลเฉพาะทางหลังคลอดก็มักจะเป็นการดูแลระยะสั้น

คลอดก่อนกําหนด 8 เดือน สาเหตุ

การคลอดก่อนกำหนด 8 เดือน อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

  • การติดเชื้อของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในมดลูก บริเวณปากมดลูก หรือทางเดินปัสสาวะ อาจทำให้เกิดการอักเสบ และกระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด หรือการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์แฝด ทำให้มดลูกต้องรับภาระเพิ่มขึ้น จึงมีโอกาสสูงที่จะคลอดก่อนกำหนด
  • ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ เช่น การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไทรอยด์ หรือโรคไต ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด หรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) ที่ทำให้ความดันโลหิตสูงและอาจทำให้ตับและไตล้มเหลว หากภาวะครรภ์เป็นพิษรุนแรงมาก อาจทำให้คุณหมอต้องทำคลอดก่อนกำหนดเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และทารก
  • ประวัติการคลอดก่อนกำหนดในครรภ์ก่อนหน้า

คลอดก่อนกําหนด 8 เดือน ความเสี่ยง

แม้ทารกที่คลอดก่อนกําหนด 8 เดือนจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าทารกที่คลอดก่อนกำหนด 7 เดือนหรือก่อนหน้า แต่ก็ยังมีความเสี่ยงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างที่ต้องได้รับการดูแลเฉพาะทางโดยผู้เชี่ยวชาญ เช่น 

  • ปัญหาการหายใจ: แม้ปอดของทารกในครรภ์ 8 เดือนจะพัฒนามากแล้ว แต่ก็ยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้หายใจได้ยาก คุณหมอจึงต้องใช้วิธีการทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทารกหายใจได้และช่วยในการพัฒนาปอด เช่น ให้สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ผ่านท่อช่วยหายใจเข้าไปในปอดของทารก เพื่อช่วยให้ทารกหายใจง่ายขึ้น ให้ออกซิเจนกับทารกแรกคลอดที่หายใจลำบาก หรือหากคุณหมอคาดว่าจะเกิดการคลอดก่อนกำหนด คุณหมอก็อาจให้คุณแม่รับการฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อเร่งการพัฒนาปอดของทารก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหายใจของทารกหลังคลอด เป็นต้น
  • ปัญหาการให้อาหาร: ทารกที่คลอดตอน 8 เดือนอาจมีปัญหาในการดูดและการกลืน คุณหมออาจต้องให้สารอาหารทางเส้นเลือดหรือผ่านสายอาหาร จนกว่าทารกจะสามารถกินนมได้เอง
  • การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย: ทารกคลอดก่อนกำหนดมักจะมีน้ำหนักตัวน้อย ทำให้ไขมันใต้ผิวหนังน้อยไปด้วย อีกทั้งยังมีกล้ามเนื้อที่อ่อนแอกว่าเด็กคลอดครบกำหนด จึงทำให้สูญเสียความร้อนในร่างกายได้ง่าย บางรายจึงอาจต้องใช้ตู้อบหรือเครื่องให้ความอบอุ่น
  • โรคดีซ่าน: ทารกคลอดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดีซ่าน ซึ่งเกิดจากการทำงานของตับที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกตัวเหลือง ตาเหลือง
  • การติดเชื้อ: ระบบภูมิคุ้มกันของทารกอาจยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ

หลังการคลอดก่อนกำหนด 8 เดือน ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักจะถูกแยกไปอยู่ในห้อง NICU หรือห้องอภิบาลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งช่วยให้คุณหมอและคุณพยาบาลสามารถติดตามการหายใจ และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงสามารถให้การรักษาอื่นๆ ที่จำเป็นกับทารกได้ทันท่วงที

คลอดก่อนกำหนด 32 สัปดาห์

การคลอดก่อนกำหนดที่ 32 สัปดาห์เป็นการคลอดที่เกิดขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่ 2 การคลอดในระยะนี้ทำให้ทารกต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากอวัยวะต่างๆ ยังไม่พัฒนาเต็มที่ โดยเฉพาะปอดที่ยังต้องการเวลาในการพัฒนาเพิ่มเติม ทารกอาจต้องรับการช่วยเหลือในการหายใจ รวมถึงต้องได้รับการติดตามด้านโภชนาการและพัฒนาการจากแพทย์เฉพาะทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าทารกจะเติบโตแข็งแรงและปลอดภัย

คลอดก่อนกําหนด 35 สัปดาห์

การคลอดก่อนกำหนดที่ 35 สัปดาห์ มักมีความเสี่ยงน้อยกว่าการคลอดก่อนกำหนดในระยะก่อนหน้านี้ ทารกที่คลอดก่อนกําหนด 35 สัปดาห์ มักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้น และมีพัฒนาการของปอดดีกว่าทารกที่คลอดในระยะ 32 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ทารกยังอาจมีปัญหาในการปรับตัวในช่วงแรกเกิด เช่น ปัญหาในการดูดกลืนนม หรือปัญหาด้านการหายใจที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษจากคุณหมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าพัฒนาการและสุขภาพของทารกจะพัฒนาได้อย่างปกติ

ลูกคลอดก่อนกําหนด 8 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวยังไงบ้าง

เมื่อต้องดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด 8 เดือนต่อที่บ้าน คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมตัวดังนี้

  • ปรึกษาคุณหมอและผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลทารกที่คลอดก่อนกำหนด 
  • เตรียมพร้อมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดูแลทารกที่บ้าน เช่น อุปกรณ์ช่วยหายใจที่คุณหมอแนะนำ 
  • เตรียมความพร้อมด้านโภชนาการ เนื่องจากเด็กคลอดก่อนกำหนดมักมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าเกณฑ์ ควรปรึกษาคุณหมอในการเตรียมโภชนาการที่เหมาะสมให้แก่ลูกน้อย
  • เรียนรู้วิธีสังเกตอาการผิดปกติในทารกแรกเกิด หมั่นสังเกตการหายใจของทารก และลักษณะอุจจาระของทารก
  • ดูแลพื้นที่เลี้ยงทารกแรกเกิดให้สะอาดอยู่เสมอ เนื่องจากลูกวัยแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดมักมีภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง นอกจากนี้ ควรให้ลูกอยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ ไม่หนาวจนเกินไป หากเลี้ยงทารกในห้องแอร์ ควรหมั่นทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศบ่อยๆ เพื่อป้องกันไรฝุ่น
  • เตรียมพร้อมจิตใจและอารมณ์ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องช่วยประคับประคองจิตใจของกันและกัน เพราะการดูแลทารกแรกเกิดที่มีปัญหาสุขภาพถือเป็นเรื่องท้าทายสำหรับพ่อแม่มือใหม่
  • เข้าร่วมกลุ่มหรือคลับคุณแม่ เช่น คลับคุณแม่ถามพยาบาลตอบ โดย Enfa Smart Club ที่คุณแม่สามารถปรึกษาคุณพยาบาลได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อมีความกังวลใจเรื่องสุขภาพของลูกน้อย 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

โภชนาการที่คุณแม่มอบให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์ไปจนถึง 1,000 วันแรกของชีวิตลูก ควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของเค้า ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลุกน้อยต้องการสารอาหารหลายชนิดเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้าน เช่น DHA, โคลีน, โฟเลต, แคลเซียม, เหล็ก และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าจะได้รับสารอาหารครบถ้วนจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ก็สามารถพิจารณานมบำรุงครรภ์เป็นหนึ่งในทางเลือกโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ค่ะ

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama