Enfa สรุปให้
ปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำว่าไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งชาแต่ละชนิดจะให้คาเฟอีนในปริมาณมาณ 25-50 มิลลิกรัมต่อแก้ว ดังนั้น การดื่มชาจึงถือว่าค่อนข้างที่จะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
คาเฟอีนนั้นสามารถที่จะส่งผ่านไปยังรกได้ง่าย ซึ่งเมื่อทารกได้รับคาเฟอีนเข้าไปมาก ๆ เข้า ตับอ่อนของทารกก็มีปัญหาในการย่อย ด้วยเหตุนี้ทารกจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียงจากปริมาณคาเฟอีนได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม
จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ทารกที่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ หรือมีความพิการแต่กำเนิด และยังเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือการตายคลอดอีกด้วย
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ชา อีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดนิยมตลอดกาลของใครหลาย ๆ คน นอกจากจะมีกลิ่นหอมสดชื่นแล้ว เวลาดื่มชาก็ยังรู้สึกผ่อนคลาย แถมยังได้สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อร่างกายด้วย จึงไม่แปลกที่ใคร ๆ ก็มักจะหลงใหลในการดื่มชา ไม่เว้นแม้แต่คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนที่ก็ชอบดื่มชาเหมือนกัน เพราะเชื่อว่าการดื่มชาจะช่วยให้คุณแม่และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี แต่การดื่มชาตอนตั้งครรภ์จะปลอดภัยจริง ๆ ไหม และดื่มได้มากน้อยแค่ไหน Enfa มีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับการดื่มชาขณะตั้งครรภ์มาฝากค่ะ
หากการดื่มกาแฟ ร่างกายจะได้รับปริมาณคาเฟอีน การดื่มชาก็ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากการดื่มกาแฟนัก เพราะในใบชาเองก็อัดแน่นไปด้วยสารเคเฟอีนเช่นเดียวกัน แต่ว่าในใบชาจะมีปริมาณสารคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟ
โดยในชาหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จากชาแต่ละชนิดจะได้คาเฟอีนในปริมาณดังต่อไปนี้
มัทฉะ มีคาเฟอีนประมาณ 60–80 มิลลิกรัม
ชาอู่หลง มีคาเฟอีนประมาณ 38–58 มิลลิกรัม
ชาดำ มีคาเฟอีนประมาณ 47–53 มิลลิกรัม
ชาไช หรือชาไจของอินเดีย มีคาเฟอีนประมาณ 47–53 มิลลิกรัม
ชาขาว มีคาเฟอีนประมาณ 25–50 มิลลิกรัม
ชาเขียว มีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม
คาเฟอีนนั้นสามารถที่จะส่งผ่านไปยังรกได้ง่าย ซึ่งเมื่อทารกได้รับคาเฟอีนเข้าไปมาก ๆ เข้า ตับอ่อนของทารกก็มีปัญหาในการย่อย ด้วยเหตุนี้ทารกจึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลข้างเคียงจากปริมาณคาเฟอีนได้ง่าย แม้ว่าจะเป็นปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ก็ตาม
มากไปกว่านั้น จากผลการวิจัยยังพบอีกว่า ทารกที่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ หรือมีความพิการแต่กำเนิด อีกทั้งการได้รับคาเฟอีนในปริมาณที่สูงขณะตั้งครรภ์ ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรหรือการตายคลอดอีกด้วย
ปริมาณคาเฟอีนที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำว่าไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งชาแต่ละชนิดจะให้คาเฟอีนในปริมาณมาณ 25-50 มิลลิกรัมต่อแก้ว ดังนั้น การดื่มชาจึงถือว่าค่อนข้างที่จะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
แต่สิ่งสำคัญก็คือ ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะเสี่ยงที่ร่างกายจะสะสมคาเฟอีนเอาไว้ในปริมาณสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดระดับของคาเฟอีนนั้นไม่สามารถจะมากะเกณฑ์กันโดยใช้ตาชั่งวัดตวงได้ การดื่มชาในปริมาณมาก มีแต่จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูง
อย่างไรก็ตาม มัทฉะ ชาดำ และชาไชของอินเดีย เป็นกลุ่มชาที่ให้ปริมาณคาเฟอีนสูง หากจะดื่มชาชนิดนี้ ควรดื่มในปริมาณน้อย เพราะชาเหล่านี้ให้ปริมาณคาเฟอีนต่อแก้วสูงกว่าชาชนิดอื่น ๆ
คนท้องสามารถเลือกดื่มชาได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นมัทฉะ ชาเขียว ชาดำ ชาขาว ชาอู่หลง และชาไชหรือชาไจของอินเดีย
ซึ่งชาที่ได้จากใบชาเหล่านี้ถือว่ามีความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ หากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม
ส่วนชาที่ไม่แนะนำสำหรับการตั้งครรภ์คือกลุ่มชาที่เป็นชาสมุนไพร หรือชาที่ไม่ได้มาจากต้นของใบชา เช่น ชาขิง ชามะรุม ชาเจียวกู่หลาน ชาใบหม่อน ชาคาโมมายล์ เป็นต้น
ทั้งนี้เพราะชาสมุนไพรหลาย ๆ อย่างนั้น ยังไม่มีผลการวิจัยและผลการศึกษาที่เพียงพอจะรองรับความปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร มากไปกว่านั้น สารบางอย่างในสมุนไพรยังอาจมีปฏิกิริยาหรือต่อยารักษาโรคบางอย่างที่คุณแม่กำลังใช้อยู่ด้วย
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรเลือกดื่มชาที่ทำมาจากใบชาจะปลอดภัยกว่า
ชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์
ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ชาเขียว คือใบชาชนิดเดียวกับชาดำ ต่างกันที่กระบวนการในการนำมาทำเป็นใบชา และยังให้ปริมาณคาเฟอีนที่แตกต่างกันด้วย โดยชาเขียวจะให้ปริมาณคาเฟอีนที่น้อยกว่าชาดำ
ชาเขียว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างโพลีฟีนอลที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มโพลีฟีนอลนี้จะทำหน้าที่ต่อสู้กับอนุมูลอิสระในร่างกาย และป้องกันไม่ให้ DNA ในเซลล์เสียหายหรือถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการดื่มชาและกาแฟนั้นมักจะได้รับการแนะนำให้ลดปริมาณการดื่มลง เพื่อป้องกันไม่ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับปริมาณคาเฟอีนสะสมในร่างกายสูงเกินไป
แต่...ชาเขียวนั้นถือว่ามีปริมาณคาเฟอีนที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่น ๆ ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงยังถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
สำหรับคุณแม่ที่ดื่มชาเขียวมาตลอด เป็นชาเขียวเลิฟเวอร์ แม้ตอนตั้งครรภ์แล้วก็ยังติดดื่มชาเขียววันละหลาย ๆ แก้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความกังวลว่าจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์
แต่จริง ๆ แล้วชาเขียวนั้นให้ปริมาณคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ต่อการดื่มชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) ดังนั้น การดื่มชาเขียว 1 แก้วต่อวันจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
ส่วนคุณแม่คนไหนที่ติดดื่มชาเขียววันละ 4-5 แก้ว ก็อาจจะต้องค่อย ๆ ลดปริมาณการดื่มชาเขียวลงมา จากวันละ 4-5 แก้ว ค่อย ๆ ลดลงวันละแก้ว จนกระทั่งเหลือแค่วันละ 1-2 แก้ว ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการได้รับคาเฟอีนเกินกำหนด 200 มิลลิกรัมต่อวัน
คนท้องสามารถที่จะดื่มชาเขียวได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพราะชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์
ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
แต่ชาเขียวจากร้านต่าง ๆ บางครั้งอาจจะมีการเติมนม น้ำเชื่อม หรือสารให้ความหวานต่าง ๆ ส่วนนี้อาจจะต้องระวัง เพราะหากร่างกายรับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปอาจเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรเน้นดื่มชาเขียวที่ไม่มีการเติมสารให้ความหวาน หรือเติมแค่เพียงนิดหน่อยจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
คนท้องสามารถที่จะดื่มชาเขียวได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพราะชาเขียวหนึ่งแก้ว (ประมาณ 240 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 29–49 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยต่อแม่และทารกในครรภ์
ดังนั้น การดื่มชาเขียวจึงถือว่าปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ ตราบเท่าที่คุณแม่ไม่ได้ดื่มชาเขียวมากเกินไป จนกระทั่งร่างกายได้รับคาเฟอีนเกินปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน
แต่ผลิตภัณฑ์ชาเขียวต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบขวด หรือรูปแบบกล่อง บางครั้งอาจมีการเพิ่มสารให้ความหวานต่าง ๆ ส่วนนี้อาจจะต้องระวัง เพราะหากร่างกายรับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปอาจเสี่ยงที่จะมีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ โรคอ้วน เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทางที่ดีควรเน้นดื่มชาเขียวที่ไม่มีการเติมสารให้ความหวาน หรือเติมแค่เพียงนิดหน่อยจะดีต่อสุขภาพมากกว่า
ชานมไต้หวัน คุณแม่สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ควรจะดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพียง 1-2 แก้วต่อวัน เพราะในกลุ่มของชานม หรือชานมไข่มุกนั้น นอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลในชานมไต้หวัน เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ชามะลิ ถือเป็นกลุ่มชาสมุนไพร เพราะไม่ได้ทำมาจากใบชา ซึ่งชาสมุนไพรนั้นมักไม่ค่อยปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์
เนื่องจากชาสมุนไพรหลาย ๆ ชนิดนั้น ยังไม่มีผลการวิจัยและผลการศึกษาที่เพียงพอจะรองรับความปลอดภัยต่อแม่ตั้งครรภ์และแม่ให้นมบุตร มากไปกว่านั้น สารบางอย่างในสมุนไพรยังอาจมีปฏิกิริยาหรือต่อยารักษาโรคบางอย่างที่คุณแม่กำลังใช้อยู่ด้วย
ดังนั้น หากเลี่ยงการดื่มชามะลิได้ ก็จะปลอดภัยต่อสุขภาพการตั้งครรภ์มากกว่า
ชานมไข่มุก คุณแม่สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ควรจะดื่มในปริมาณที่เหมาะสม หรือไม่ควรเกิน 1 แก้วต่อวัน เพราะในกลุ่มของชานม หรือชานมไข่มุกนั้น นอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลในชานมไข่มุก เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ชามะนาว อีกหนึ่งเครื่องดื่มยอดนิยม คุณแม่ก็สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่จะใส่ลงในชามะนาว เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ชาเย็น หรือชานมเย็น คุณแม่ก็สามารถที่จะดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่จะมีการเติมลงในชาเย็น เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ชาไทยหอมชื่นใจ อีกหนึ่งเครื่องดื่มสุดฮิตที่คนไทยนิยมดื่มกัน ก็เป็นเครื่องดื่มที่คุณแม่สามารถดื่มได้ เพียงแต่ว่าควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่ใส่เข้ามาในชาไทย เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
ชานมโกโก้ คุณแม่สามารถดื่มได้ เพียงแต่ควรระวังไม่ดื่มมากเกิน 1 แก้วต่อวัน เพราะโกโก้นั้นมีสารคาเฟอีนในปริมาณสูง
โดยผงโกโก้เพียง 1 ช้อนชา ให้คาเฟอีนสูงถึง 6.6 มิลลิกรัมเลยทีเดียว และผงโกโก้แค่เพียง 8 ออนซ์ (ประมาณ 100 กรัม) มีคาเฟอีนสูงถึง 230 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่ามากเกินกว่าปริมาณคาเฟอีนที่กำหนดไว้ 200 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับแม่ตั้งครรภ์
ดังนั้น แม่ตั้งท้องจึงไม่ควรดื่มโกโก้เยอะ และนอกจากเรื่องของคาเฟอีนแล้ว สิ่งที่ต้องระวังคือกลุ่มปริมาณน้ำตาลที่ใส่เข้ามาในชานมโกโก้ เพราะการบริโภคน้ำตาลสูงเกินไป เสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกินเกณฑ์ เบาหวาน โรคอ้วน เป็นต้น
Enfa สรุปให้ หอย เป็นอาหารทะเลที่มีคุณค่าทางสารอาหารสูง อุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก วิตามิน B12 ก...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ แบรนด์ยาลดกรดที่ได้รับความไว้วางใจในเรื่องประสิทธิภาพและคนนิยมเลือกกินมาก คือ อีโน ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ คนท้องควรดื่มอะไรถึงจะดีที่สุด? คนท้องควรดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำแร่ธรรมชาติมากที่สุด เ...
อ่านต่อ