นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

โฟลิค ห้ามกินพร้อมอะไร กินโฟลิคเวลาไหนดีที่สุด

Enfa สรุปให้

  • ไม่ควรกินโฟลิคพร้อมยาลดกรด (Antacids) เพราะอาจจะขัดขวางการดูดซึมโฟลิคได้ หากจำเป็นต้องรับประทานร่วมกัน ควรรับประทานโฟลิคก่อนหรือหลังยาลดกรดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • โฟลิคสามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานโฟลิคในเวลาเดิมทุกวันเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองลืมทานยา
  • ปริมาณโฟลิคที่แนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ที่ 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน หรือตามปริมาณที่แพทย์สั่ง ไม่ควรเพิ่มขนาดยาตามต้องการหรือตามคำแนะนำที่ไม่ได้มาจากแพทย์

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

โฟลิค หรือ Folic Acid คือวิตามินที่แม่ท้องและแม่อยากท้องต้องมีทุกบ้าน แต่เอ๊ะ… การกินโฟลิกมีข้อห้ามอะไรหรือเปล่า โฟลิกห้ามกินกับอะไร โฟลิกกินวันละกี่เม็ด และกินโฟลิกเวลาไหนดีที่สุด Enfa Smart Club เช็กข้อมูลมาให้คุณแม่แล้วค่ะ

โฟลิค ห้ามกินพร้อมอะไร

โฟลิคห้ามกินพร้อมยาลดกรด (Antacids) และยาในกลุ่มที่แก้อาการอาหารไม่ย่อยที่มีส่วนประกอบของอลูมิเนียม (Aluminium) และแมกนีเซียม (Magnesium) ซึ่งอาจขัดขวางการดูดซึมโฟลิกได้ หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นกรดไหลย้อน มีความจำเป็นต้องรับประทานยาลดกรด ควรเว้นระยะการรับประทานโฟลิกอย่างน้อย 2 ชั่วโมงก่อนหรือหลังการรับประทานยาลดกรด และควรปรึกษาคุณหมอเพื่อการใช้ยาอย่างเหมาะสมค่ะ

อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนกินโฟลิค หากคุณแม่กำลังกินยาในกลุ่มนี้

  • ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เป็นยาที่ใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคโครห์น (Crohn's disease) รวมถึงโรคมะเร็งบางชนิด
  • ยากลุ่มเฟนิโทอิน (Phenytoin), ฟอสเฟนิโทอิน (Fosphenytoin), ฟีโนบาร์บิทัล (Phenobarbital) หรือไพรมิโดน (Primidone) ซึ่งเป็นยากลุ่มที่ใช้รักษาอาการลมชัก
  • ยาฟลูออโรยูราซิล (Fluorouracil), คาเพอไซตาบีน (Capecitabine), รัลทิเทรกเซด (Raltitrexed) หรือเทกาเฟอร์ (Tegafur) ซึ่งเป็นยากลุ่มที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิด
  • ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ซึ่งเป็นยากลุ่มที่ใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ยาที่มีส่วนประกอบของสังกะสี (Zinc) ซึ่งมักพบในยาอมแก้เจ็บคอและยาที่ใช้รักษาอาการหวัด
  • ยาซัลฟาซาลาซีน (Sulfasalazine) เป็นยาที่ใช้โรคอักเสบเรื้อรัง และโรคโครห์น (Crohn's disease)
  • ยาคอเลสไทรามีน (Cholestyramine) เป็นยาที่ใช้ลดคอเลสเตอรอลในเลือด

โฟลิค กินเวลาไหนดี 

คุณแม่อาจสงสัยว่ายาบำรุงครรภ์ที่หมอให้ โฟลิค เม็ดสีเหลือง กินเวลาไหนดีที่สุด คำตอบคือ ยาโฟลิคกินเวลาไหนก็ได้ค่ะ ไม่ได้จำกัดว่าต้องกินโฟลิคก่อนหรือหลังอาหาร ต้องกินเวลาเช้า กลางวัน หรือเย็น แต่ขอแนะนำว่าคุณแม่ควรรับประทานเวลาเดิมในทุกๆ วันเพื่อป้องกันไม่ให้ลืมกินยาค่ะ เช่น ถ้ากินโฟลิคในช่วงเช้าหลังอาหาร วันถัดไปก็กินเวลาเดิมตลอดเพื่อป้องกันไม่ให้ลืมทานโฟลิคนั่นเอง 

วิธีกินโฟลิค

โฟลิคกินยังไงให้เหมาะสม ก่อนอื่นต้องเข้าใจปริมาณการกินโฟลิคที่เหมาะสมก่อนค่ะ หากคุณแม่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ แต่กำลังวางแผนมีลูก คุณแม่ควรเสริมโฟลิคในปริมาณ 0.4-0.8 มิลลิกรัมต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์และในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (Neural Tube Defect) ของทารกในครรภ์ 

ในไตรมาสที่ 2 และ ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานโฟลิกวันละ 0.6 มิลลิกรัมตามความต้องการในการเจริญเติบโตของรกและทารกในครรภ์

หลังจากคลอดลูกแล้ว และอยู่ในระหว่างให้นมลูกน้อย คุณแม่ก็ควรได้รับกรดโฟลิกในประมาณ 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน ช่วยป้องกันการขาดโฟเลตในทารกได้ค่ะ

โฟลิค ควรกินวันละกี่เม็ด? กินโฟลิควันละ 2 เม็ดได้ไหม?

โฟลิคที่มีจำหน่ายในประเทศไทยจะมี 2 ขนาดคือ 5 มิลลิกรัม และ 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) ขนาดที่มักใช้ในหญิงตั้งครรภ์คือ 400 ไมโครกรัมต่อวัน โดยให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ฉะนั้นจึงไม่ควรกินเกินปริมาณวันละ 1 เม็ดเว้นแต่คุณหมอจะเป็นผู้สั่งนะคะ 

หากคุณแม่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาล และได้รับยาไตรเฟอร์ดีน (Triferdine) ยาดังกล่าวจะมีกรดโฟลิกในปริมาณ 0.4 มิลลิกรัมอยู่แล้ว บวกกับคุณแม่จะได้รับโฟลิกเพิ่มจากอาหารอื่นๆ ที่รับประทานในชีวิตประจำวัน จึงไม่ต้องเป็นรับประทานโฟลิกเป็นอาหารเสริมเพิ่มเติมอีกค่ะ ทั้งนี้ หากในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่อยากจะลองรับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมใดๆ เพื่อบำรุงครรภ์ ควรขอคำปรึกษาคุณหมอก่อนทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกน้อยนะคะ 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นที่โภชนาการผ่านคุณแม่

คุณแม่น่าจะทราบกันแล้วว่า ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ต้องการโฟเลตอย่างน้อย 0.6 มิลลิกรัมต่อวัน แต่นอกจากโฟเลตแล้ว คุณแม่ยังต้องการสารอาหารอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ดีเอชเอ (DHA) คือกรดไขมันจำเป็นในตระกูลโอเมก้า 3 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเซลล์สมอง และจอประสาทตา โดย WHO แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ และแม่ให้นมบุตรรับประทาน DHA ในปริมาณ 200 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของสมองลูก
  • โคลีน (Choline) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลาง และ Cognitive Function ของทารก โดยปริมาณที่แนะนำคือ 450 มิลลิกรัมต่อวัน 
  • แคลเซียม (Calcium) เพื่อการเจริญของระบบกระดูกของทารก โดยปริมาณแคลเซียมที่คุณแม่ควรได้รับคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • เหล็ก (Iron) เพื่อการพัฒนาของตัวอ่อนและรก รวมถึงการเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงของคุณแม่ โดยคุณแม่ควรได้รับธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์ในปริมาณ 15-30 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง

และยังรวมถึงสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่คุณแม่อาจจะไม่ได้รับประทานอย่างครบถ้วนจากมื้ออาหารปกติ การรับประทานนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งในการเสริมสารอาหารให้กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ และอย่าลืมเลือกนมที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยนะคะ

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama