เลือกอ่านตามหัวข้อ
การตั้งครรภ์นั้นเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายปัจจัยในร่างกายคุณแม่ หนึ่งในนั้นคือการตกไข่ ซึ่งหากไข่ไม่ตกหรือเกิดความผิดปกติในการตกไข่ จะส่งผลให้การตั้งครรภ์ไม่เกิดขึ้นตามที่คาดหวัง ดังนั้น การเข้าใจปัญหาของการตกไข่ไม่สมบูรณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคู่รักที่มีแผนจะมีบุตร ในบทความนี้ Enfa จะตอบข้อสงสัยเรื่องไข่ไม่ตก เช่น ไข่ไม่ตกประจําเดือนจะมาไหม ไข่ไม่ตก เกิดจากอะไร ไปหากคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ
ไข่ไม่ตก เกิดจากอะไร
ไข่ไม่ตก (Anovulation) เกิดจากหลายสาเหตุที่สามารถส่งผลต่อการผลิตหรือการปล่อยไข่จากรังไข่ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน การทำงานของรังไข่ หรือปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ดังนี้
- ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล
- ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome - PCOS)
- อายุมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุเกิน 35 ปี
- ความเครียด
- น้ำหนักเกินหรือน้ำหนักน้อยเกินไป
- ปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเบาหวาน
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยาลดความดันเลือดหรือยาต้านการอักเสบ
- ปัญหาภายในรังไข่ การติดเชื้อในรังไข่ หรือ ปัญหาการทำงานของรังไข่ ความผิดปกติของท่อรังไข่
ทั้งนี้ การวินิจฉัยและการรักษาภาวะไข่ไม่ตก ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์สามารถมีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากขึ้น
ไข่ไม่ตกมีอาการยังไง
ไข่ไม่ตกมีอาการยังไง สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง โดยอาการไข่ไม่ตกนั้นมีหลายสัญญาณที่สามารถสังเกตได้ บางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาฮอร์โมนหรือความผิดปกติในกระบวนการตกไข่ โดยคุณผู้หญิงที่ไข่ไม่ตกมักมีอาการ ดังนี้
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ หรือขาดหายไปหลายเดือน
- ตั้งครรภ์ยาก ไม่ตั้งครรภ์ แม้จะมีการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คิดว่าเป็นช่วงตกไข่
- อาการฮอร์โมนไม่สมดุล สังเกตได้จาก สิวขึ้นหรือผิวมัน ขนดกผิดปกติ ผมร่วง เป็นต้น
- มีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)
- มีอาการปวดท้องน้อย รู้สึกไม่สบายในท้องน้อยบ่อยครั้ง
- มีอาการบวมบริเวณท้องน้อย หรือรู้สึกไม่สบายท้อง เนื่องจากความผิดปกติในการทำงานของรังไข่ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) หรือการที่รังไข่ไม่ปล่อยไข่
หากไข่ไม่ตกและมีอาการเหล่านี้ หรือมีปัญหาในการตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อการตรวจและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง การตรวจหาสาเหตุของปัญหาไข่ไม่ตกสามารถช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและสามารถวางแผนในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ไข่ไม่ตกรักษายังไง
ไข่ไม่ตกรักษายังไง ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยการรักษาภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) ทำได้หลายวิธี โดยทั่วไปมักใช้วิธีรักษาภาวะไข่ไม่ตก โดยอาจใช้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
- คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ไม่ผอมหรืออ้วนเกินไป
- ลดความเครียด เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย
- กินอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ใช้ยากระตุ้นไข่ตก และรักษาภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล ตามคำแนะนำของแพทย์
- รักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS)
- ผ่าตัด เพื่อช่วยกระตุ้นให้ไข่ตก ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา
- ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เช่น ทำเด็กหลอดแก้ว ฉีดเชื้อผสมเทียม
ภาวะไข่ไม่ตกรักษาได้หากได้รับการวินิจฉัยและการดูแลอย่างเหมาะสม หากคุณผู้หญิบพบปัญหาไข่ไม่ตก มีบุตรยาก สามารถพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์เพื่อรับการรักษาที่ตรงจุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์และมีบุตรตามที่ต้องการได้
ภาวะไข่ไม่ตก คืออะไร
ภาวะไข่ไม่ตก คือ ภาวะที่ร่างกายของผู้หญิงไม่สามารถปล่อยไข่ออกจากรังไข่ในรอบเดือน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญในการเจริญพันธุ์ เนื่องจากทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก หรือไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เลยในรอบเดือนนั้น และยังทำให้รอบเดือนผิดปกติโดยอาจมาช้าหรือไม่มาเลย โดยช่วงอายุที่พบภาวะไข่ไม่ตก มีดังนี้
-
วัยรุ่น โดยในช่วงแรกที่ผู้หญิงวัยรุ่นเริ่มมีประจำเดือน อาจพบว่ามีรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอในช่วงแรก ซึ่งอาจมีภาวะไข่ไม่ตกในบางรอบเดือน
-
วัย 20-35 ปี เป็นช่วงที่ภาวะไข่ไม่ตกพบได้บ่อยหากมีปัจจัยที่ส่งผล เช่น ความเครียด โรค PCOS หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
-
วัย 35 ปีขึ้นไป โดยในผู้หญิงที่อายุมากขึ้น คุณภาพและจำนวนไข่จะลดลง ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะไข่ไม่ตกเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย การซักประวัติสุขภาพ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจเพิ่มเติม โดยแพทย์จะพิจารณาปัจจัยหลายอย่างเพื่อยืนยันว่าผู้ป่วยมีภาวะนี้หรือไม่
ทั้งนี้ หากไข่ไม่ตกอย่างต่อเนื่องหรือเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลให้รอบเดือนผิดปกติหรือไม่มีประจำเดือนเลย อาจหมายถึงภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง โดยภาวะนี้มักเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของฮอร์โมนหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งส่งผลกระทบตามมา เช่น กระดูกบางหรืออารมณ์แปรปรวนเนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงลดลง และยังเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก จากการสะสมของเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้หลุดลอกอีกด้วย
ไข่ไม่ตกประจําเดือนจะมาไหม
ไข่ไม่ตกประจำเดือนจะมาไหม ไข่ไม่ตกจะมีประจําเดือนไหม เป็นข้อสงสัยที่คุณผู้หญิงหลายคนอยากรู้ ความจริงแล้วแม้ว่าไข่ไม่ตก แต่คุณผู้หญิงก็ยังอาจมีประจำเดือน แต่ลักษณะของประจำเดือนอาจมีความแตกต่างจากกรณีที่ไข่ตกปกติ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยร่างกายยังคงผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น แต่ไม่มีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อควบคุมการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกตามปกติ ทำให้มีอาการดังนี้
-
เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงจุดที่หลุดลอกออกมาเอง โดยการหลุดลอกของเยื่อบุนี้อาจมีลักษณะคล้ายกับประจำเดือน เรียกว่า เลือดจากการขาดฮอร์โมน
-
รอบเดือนผิดปกติ ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนอาจมาห่างเกิน 35 วัน หรือถี่น้อยกว่า 21 วัน และเลือดประจำเดือนอาจมาน้อยหรือมากกว่าปกติ บางครั้งอาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน
-
ไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับการตกไข่ เช่น ไม่รู้สึกปวดท้องน้อยช่วงกลางรอบเดือน หรือไม่มีมูกปากมดลูกที่เปลี่ยนแปลง
นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ไข่ไม่ตกและไม่มีประจำเดือนเลย เนื่องจากร่างกายอาจมีฮอร์โมนไม่เพียงพอในการกระตุ้นให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวหรือหลุดลอก ส่งผลให้ไม่มีประจำเดือนมา ซึ่งอาการนี้มักเกิดในผู้ที่มีปัญหาฮอร์โมนรุนแรง เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) น้ำหนักตัวน้อยมากหรือมีภาวะขาดสารอาหาร ความผิดปกติของไทรอยด์ ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนวัย (POI)
ไม่มีประจําเดือนไข่ตกไหม
ไม่มีประจําเดือนไข่ตกไหม ในบางกรณีที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือน เช่นในผู้หญิงที่มีภาวะอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์หรือผู้หญิงที่อายุมากขึ้น ก็อาจหมายความว่าไข่ไม่ตกได้เช่นกัน ดังนั้นการไม่มีประจำเดือนอาจเป็นสัญญาณของการไม่มีการตกไข่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรได้รับการประเมินจากแพทย์
อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่
ในช่วงตั้งครรภ์ ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารผ่านโภชนาการจากคุณแม่ คุณแม่จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม