Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การนับไข่ตก ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญสำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์และอยากมีลูก เพราะอาการไข่ตกถือเป็นหนึ่งในสัญญาณของการเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาจมีคุณแม่หลายท่านสงสัยกันว่า แล้วถ้าไข่ไม่ตกท้องได้ไหม? มีภาวะไข่ไม่ตกควรทำอย่างไรดี? บทความนี้จาก Enfa มีคำตอบ พร้อมกับสาระน่ารู้ที่จะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาวะไข่ไม่ตกและวิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มาฝากค่ะ
หากไข่ไม่ตก ท้องได้ไหม? อันดับแรกเราต้องเข้าใจกระบวนการตั้งครรภ์กันก่อนค่ะ การตั้งครรภ์นั้นจะเริ่มจากการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องมีการตกไข่ และจะต้องมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันในช่วงที่มีการตกไข่ด้วย จึงจะทำให้ไข่และอสุจิมีโอกาสที่จะมาเจอกันและเกิดการปฏิสนธิที่สมบูรณ์และเข้าสู่กระบวนการฝังตัวอ่อนลงในมดลูก ซึ่งนั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ค่ะ
ดังนั้น กรณีที่สงสัยกันว่า ไข่ไม่ตกท้องได้ไหม? ก็ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นโดยไม่มีการตกไข่ค่ะ
หรือหากคุณแม่จะถามต่อไปว่า แต่คนที่ฝากไข่ไว้ ก็ไม่ต้องรอตกไข่นี่นา? แต่ในความจริงแล้ว การฝากไข่ยังคงเกี่ยวข้องกับกระบวนการตกไข่ค่ะ เพราะก่อนที่จะเก็บไข่ไว้ได้
ซึ่งแพทย์จะต้องกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการเก็บไข่ และนั่นก็หมายความว่า การตั้งครรภ์จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นนำมาก่อน
ภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) คือความผิดปกติของการเจริญพันธุ์ ซึ่งโดยปกติร่างกายจะมีการตกไข่ 1 ครั้งต่อรอบเดือน แต่เมื่อไม่มีการตกไข่ ย่อมส่งผลให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากไม่มีไข่สำหรับการปฏิสนธินั่นเอง
สาเหตุที่ไข่ไม่ตก เกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
หากคุณผู้หญิงกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยการเจริญพันธุ์ และตรวจดูว่าร่างกายมีการตกไข่เป็นปกติหรือไม่ พร้อมรับคำแนะนำในการดูแลตนเองและหาวิธีกระตุ้นการตกไข่ในกรณีที่มีไข่ตกน้อย หรือไข่ไม่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ค่ะ
โดยทั่วไปแล้ว การมีรอบเดือนตามปกตินั้นเป็นผลพวงมาจากการตกไข่ตามปกติ ดังนั้น หากไม่มีการตกไข่ ก็จะส่งผลต่อการมีประจำเดือน อาจทำให้ประจำเดือนมาช้า ประจำเดือนมาน้อย หรือประจำเดือนไม่มาเลย
ดังนั้น ไข่ไม่ตก ประจําเดือนไม่มา จึงถือว่ามีความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา พร้อมคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เพื่อให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ และมีการตกไข่ตามปกติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยงของภาวะมีบุตรยาก
อย่างไรก็ตาม อาจมีบางกรณีที่พบว่าไม่มีไข่ตก แต่ยังมีประจำเดือนมาปกติ กรณีแบบนี้อาจเกิดจากความผิดปกติของมดลูกหรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal uterine Bleeding หรือ AUB) ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
อาการไข่ไม่ตก อาจไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน หรืออาจเกิดขึ้น แต่ไม่ได้เป็นอาการเด่นชัดที่ทำให้รู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภาวะไข่ไม่ตก อาการโดยทั่วไปที่สามารถพบได้ มีดังนี้
หากมีสัญญาณหรือกำลังสงสัยว่ากำลังมีภาวะไข่ไม่ตก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อรับคำแนะนำและรับการรักษาเพื่อกระตุ้นให้มีไข่ตกตามปกติ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
การรักษาภาวะไข่ไม่ตกจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไข่ไม่ตก ซึ่งจะทำให้กระบวนการรักษานั้นแตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม วิธีที่มักใช้เพื่อรักษาภาวะไข่ตก มีดังนี้
หากมีความเสี่ยงหรือมีภาวะไข่ไม่ตก และวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยพร้อมรับคำแนะนำในการดูแลต้นเองเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ หรือรับการรักษาในกรณีที่มีภาวะไข่ไม่ตก หรือภาวะการมีบุตรยาก
การนับวันไข่ตก ถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ เพราะจะช่วยให้ทราบได้ว่าวันใดที่จะมีโอกาสเกิดการปฏิสนธิและเกิดการตั้งครรภ์ได้
โดย(ว่าที่)คุณแม่ควรจะต้องจดบันทึกการมีรอบเดือนเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถคำนวณวันไข่ตกได้ง่ายขึ้น ซึ่งการนับวันไข่ตกนั้นสามารถนับได้ ดังนี้
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะทำได้ง่ายสำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาทุก ๆ 28 วันเท่านั้น เพราะไข่จะตกวันที่ 14 ของรอบเดือนพอดี
ดังนั้น ถ้าหากประจำเดือนมาไม่ค่อยปกติ ก็จะต้องจดบันทึกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคำนวณวันตกไข่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นค่ะ หรือปรึกษากับแพทย์เพื่อคำนวณวันไข่ตกที่แม่นยำมากขึ้นได้ค่ะ
นอกจากวิธีกระตุ้นการเจริญพันธุ์ให้สมบูรณ์เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์แล้ว อีกสิ่งสำคัญที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามคือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินตั้งแต่เริ่มวางแผนมีลูก เพราะนอกจากจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ยังช่วยเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับการตั้งครรภ์อีกด้วย
คุณแม่ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากนมวัว เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาวะเจริญพันธุ์และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ค่ะ
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเสริมโภชนาการได้ด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของแม่ เป็นการเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ค่ะ
ไข่ตกมีโอกาสท้องไหม? หากไข่ไม่ตก การตั้งครรภ์ก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไข่และอสุจิมาเจอกันและปฏิสนธิ ก่อนจะไปฝังตัวอ่อนลงที่ผนังมดลูก และเข้าสู่กระบวนการตั้งครรภ์
ไข่ไม่ตก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ หากว่ามีสาเหตุมาจากภาวะความผิดปกติของร่างกาย เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) หรือมีภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล หรือต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ
ดังนั้น หากมีความเสี่ยงหรือกำลังสงสัยว่าอาจมีภาวะไข่ไม่ตก ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง Polycystic ovarian disease (PCOS) คือ ภาวะความผิดปกติที่เกิดจากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดไข่ไม่ตกแบบเรื้อรัง และมีถุงน้ำในรังไข่เกิดขึ้นหลายใบ ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มีปัญหาผิว และภาวะการมีบุตรยาก
ประจำเดือนกับไข่ตก มีความสัมพันธ์กัน หากไม่มีประจำเดือน ก็อาจเป็นไปได้ว่าไม่มีการตกไข่เกิดขึ้น ซึ่งหากไข่ไม่ตกบ่อย ๆ ก็จะทำให้ประจำเดือนขาดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพได้ ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติ พร้อมรับการรักษาและคำแนะนำในการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม
Enfa สรุปให้: ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมีปัญหาที่เกี่ยวเน...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมนส์มา 2 ครั้งใน 1 เดือนท้องมั้ย? อาจเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่แท้งบุตรไปแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเกิดจากเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังตกค้างอยู่ ตกขาวจึงอาจมีการปะปนทำใ...
อ่านต่อ