Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
หลายคนอาจสงสัยว่า โอกาสท้องของผู้หญิง มีมากน้อยแค่ไหน เพราะบางคนพยายามมาหลายเดือนแต่ก็ยังไม่ติด บางคนตั้งครรภ์โดยไม่คาดคิด นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการเข้าใจร่างกายของเราเองถึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการทำความเข้าใจว่าช่วงไหน “โอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด” และช่วงไหน “โอกาสตั้งครรภ์น้อย” ช่วยให้คุณแม่วางแผนการมีลูกได้ง่ายขึ้นและเป็นระบบมากขึ้น ไม่ว่าคุณแม่จะอยู่ในช่วงวัยไหนก็ตาม ถ้าเข้าใจหลักการและนำไปปฏิบัติได้จริง การจะมีลูกตามเป้าหมายก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
โอกาสท้องของผู้หญิง ตามช่วงวัยของคุณแม่ มักเป็นเรื่องแรก ที่ต้องนึกถึง เพราะธรรมชาติของร่างกายคนเรานั้น มีช่วงเวลาทองในการมีบุตร และเมื่ออายุมากขึ้น ความสามารถในการตั้งครรภ์ก็จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามช่วงวัย จะช่วยให้เราวางแผนได้ดียิ่งขึ้น
ช่วงอายุ 20-24 ปี
วัยนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่มี โอกาสที่จะท้องมากที่สุด ในชีวิตของผู้หญิง เหตุผลเพราะไข่ยังอยู่ในภาวะสมบูรณ์ และแทบไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมที่อาจทำให้เกิดปัญหาต่อการตั้งครรภ์ ทำให้เป็นช่วงวัยที่มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ต่อปี หรือ 25 เปอร์เซ็นต์ต่อรอบเดือน และมีความเสี่ยงของการแท้งบุตรต่ำเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
ช่วงอายุ 25-29 ปี
ยังคงเป็นช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ค่อนข้างสูง ถึงแม้จะเริ่มมีภาวะความเครียดจากงานหรือชีวิตที่มากขึ้น แต่โอกาสท้องของผู้หญิงก็ยังไม่ลดลงมากนัก ในช่วงนี้ คุณผู้หญิงหลายคนอาจอยู่ในช่วงสร้างเนื้อสร้างตัว มีภาระหน้าที่งานที่ต้องรับผิดชอบ การวางแผนจะมีลูก ควรพิจารณาทั้งความพร้อมทางการเงิน และความสามารถในการดูแลลูกอย่างเต็มที่ ควรเริ่มหันมาดูแลร่างกายอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่เสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์บ่อย
ช่วงอายุ 30-34 ปี
ปัจจุบันถือเป็นช่วงวัยที่นิยมมีลูกกันเยอะที่สุด จากสถานะทางการเงิน และการจัดการปัจจัยต่างๆ ของชีวิตเริ่มลงตัว ในแง่ของกายภาพ ช่วงนี้ยังถือว่าเป็นวัยที่มีโอกาสตั้งครรภ์ค่อนข้างสูง แต่เริ่มเห็นแนวโน้มว่าคุณภาพไข่จะทยอยลดลงตามอายุ
สาวๆ ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี ที่อยากมีลูก อาจลองพยายามด้วยตัวเองก่อนภายในระยะเวลา 1 ปี ถ้าหากไม่สำเร็จควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเริ่มมีโอกาสสูงขึ้นตามอายุ ดังนั้น ควรตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ และปรึกษาแพทย์เรื่องวิตามินเสริม เช่น โฟลิก หรือธาตุเหล็ก
ช่วงอายุ 35-39 ปี
ผู้หญิงหลังจากอายุ 32 ปีขึ้นไป ปริมาณและคุณภาพของไข่ภายในร่างกายจะลดลงอย่างช้า ๆ เมื่อเช้าสู่ช่วงอายุ 35-37 ปี ปริมาณของเซลล์ไข่ในร่างกายจะเหลืออยู่ราว 25,000 ฟอง และจะลดลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงคุณภาพของไข่ก็ลดลงด้วยเช่นกัน นั่นก็หมายถึงโอกาสตั้งครรภ์ที่ลดต่ำลงด้วย ซึ่งอาจมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 12 เปอร์เซ็นต์ใน 3 เดือนเท่านั้น ในหลายกรณีอาจพิจารณาใช้วิธีการแพทย์เข้าช่วย เช่น การทำ IUI (ฉีดเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก) หรือ IVF (เด็กหลอดแก้ว) ถ้าโอกาสท้องตามธรรมชาติลดลงมาก
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่ตั้งครรภ์ในช่วง 35+ และประสบความสำเร็จในการคลอดลูกที่แข็งแรงได้ เพียงแต่ต้องดูแลตัวเองมากเป็นพิเศษ เพราะคุณแม่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มักจะ เสี่ยงต่อปัญหาแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์หลายอย่าง หรือเวลาคลอดก็อาจตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี สำหรับตัวลูกก็อาจเสี่ยงเรื่องภาวะผิดปกติได้มากกว่าลูกของแม่ที่อายุน้อยกว่า
ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป
หลังจากอายุ 40 ปี ปริมาณและคุณภาพของไข่นั้นจะลดลงอย่างมาก แม้ว่าเป็นคนที่มีสุขภาพดีก็อาจมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน อีกทั้งคุณภาพของไข่ที่ลดลงอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์ได้หลายอย่าง เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ การท้องนอกมดลูก เบาหวาน แท้งบุตร หรือความผิดปกติของโครโมโซมในทารกเพิ่มขึ้น ซึ่งคุณหมอมักแนะนำให้ตรวจคัดกรองโครโมโซม (NIPT) หรือการตรวจยืนยันอื่น ๆ เพื่อมั่นใจว่าทารกในครรภ์แข็งแรง
นอกจากอายุของผู้หญิงแล้ว อีกหนึ่งปัจจัยใหญ่ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์คือ ช่วงเวลาหรือช่วงวันภายในรอบเดือนของเรา เพราะการตกไข่ไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา ร่างกายผู้หญิงจะไข่ตกเพียงครั้งเดียวต่อรอบเดือน ยกเว้นบางกรณีที่มีภาวะไข่ตกซ้ำซ้อน แต่ค่อนข้างหายาก ด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ค่อนข้างละเอียดอ่อนกับผู้หญิง ทำให้คำถามทำนองว่า โอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด คือช่วงเวลาไหน หรือ ช่วงไหนที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด มักเป็นคำถามที่ถูกถามมากที่สุดอีกด้วย
ทำความเข้าใจกับวงจรรอบเดือน
โดยทั่วไปแล้ว รอบเดือน (Menstrual Cycle) ของผู้หญิงเฉลี่ยอยู่ที่ 28 วัน (บางคน 21-35 วันก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ) วันแรกของประจำเดือน คือวันแรกของรอบเดือน (Day 1) และวันก่อนที่จะมีประจำเดือนรอบถัดไปจะเป็นวันสุดท้ายของรอบเดือน ช่วงเวลาที่ไข่ตกมักอยู่ในช่วงกลางของรอบเดือน สำหรับคนรอบเดือน 28 วัน วันไข่ตกอาจอยู่ที่ประมาณ Day 14 นับจากวันแรกของประจำเดือน
ช่วงไหนที่ มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด
ผู้เชี่ยวชาญมักระบุว่า “ช่วง 2-3 วันก่อนวันไข่ตก” จนถึง “วันไข่ตก” คือช่วงที่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด เนื่องจากเมื่อไข่สุกพร้อมปฏิสนธิ เมื่อมีอสุจิเข้ามาในช่วงเวลานี้ โอกาสที่จะผสมและฝังตัวในโพรงมดลูกจะสูง
ไข่ของผู้หญิงเมื่อหลุดจากรังไข่ จะมีช่วงชีวิตประมาณ 12-24 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าไม่ปฏิสนธิกับอสุจิก็จะสลายไป อสุจิของผู้ชายสามารถอยู่ในช่องคลอดและโพรงมดลูกได้ประมาณ 2-5 วัน (บางแหล่งระบุถึง 7 วัน แต่ส่วนใหญ่กล่าวว่า 3-5 วันเป็นค่าเฉลี่ย) ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 2-3 วันก่อนวันไข่ตกจึงสามารถทำให้อสุจิรอพร้อมผสมกับไข่ได้ สัญญาณที่บ่งบอกว่าไข่กำลังจะตกมีลักษณะดังต่อไปนี้
โอกาสตั้งครรภ์น้อย คือช่วงไหน เป็นอีกคำถามยอนนิยมสำหรับบางคนอาจจะไม่ต้องการตั้งครรภ์ในตอนนี้ แล้วสงสัยว่า ถ้ามีเพศสัมพันธ์นอกช่วงไข่ตกจะปลอดภัยแค่ไหน จะเป็นช่วงหลังไข่ตกไปแล้ว หรือ ช่วงประจำเดือน จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยจริงหรือเปล่า
1. หลังไข่ตกไปแล้ว
เมื่อไข่หลุดจากรังไข่และไม่ถูกผสมภายใน 12-24 ชั่วโมง ไข่ก็จะสลายตัว ฉะนั้นถ้าการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นหลังจากไข่ตกไปแล้ว 24 ชั่วโมง โอกาสที่จะท้องแทบไม่มี อย่างไรก็ตาม เราต้องคำนึงถึงโอกาสที่ไข่อาจตกช้าหรือเร็วกว่าเดิม ถ้าคำนวณพลาดก็อาจมีความเสี่ยงอยู่ จึงไม่สามารถบอกได้ว่า “ช่วงหลังไข่ตกแล้ว 2-3 วัน” จะปลอดภัย 100%
2. ช่วงประจำเดือน
บ่อยครั้งมีคำถามว่า “มีเพศสัมพันธ์ตอนมีประจำเดือนจะท้องไหม” โดยทั่วไปแล้ว โอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก เพราะเป็นช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกกำลังหลุดลอกออกมา ไข่ก็เพิ่งผ่านไป แต่ก็ต้องระวังในกรณีที่รอบเดือนสั้นมาก หรือมีภาวะไข่ตกผิดปกติ อาจเกิดเหตุไข่ตกในช่วงท้ายของการมีประจำเดือน ซึ่งถึงแม้โอกาสจะน้อยแต่ไม่ใช่ว่าเป็นศูนย์
3. ช่วงที่ไม่สอดคล้องกับวันไข่ตก
หากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่นับแล้วมั่นใจว่า “ยังไม่ถึงวันไข่ตก” หรือ “ผ่านวันไข่ตกไปไกลแล้ว” โอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็จะลดลงอย่างมาก แต่สำหรับคนที่รอบเดือนสั้นเกินไปหรือยาวเกินไป หรือนับวันไข่ตกไม่แม่น ก็ควรระวัง เพราะรอบเดือนอาจมาไม่ตรงตามทฤษฎี
4. ปัจจัยอื่น ๆ ที่ลดโอกาสตั้งครรภ์
ไม่ว่าจะเป็น สุขภาพของคู่สมรสฝ่ายชาย เช่น ปริมาณอสุจิ คุณภาพอสุจิ หรือ สุขภาพของฝ่ายหญิง เช่น ภาวะ PCOS (ถุงน้ำรังไข่หลายใบ) หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) อาจทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ กระทั่ง การใช้ยาคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ เช่น ถุงยางอนามัย ยาฉีดคุมกำเนิด ยาฝังคุมกำเนิด (มีประสิทธิภาพสูงถ้าใช้อย่างถูกวิธี)
แต่ถ้าใครไม่พร้อมมีลูก ก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงจะดีกว่า หรือถ้ากำลังวางแผน “ไม่อยากพลาด” ก็ต้องนับวันไข่ตกให้แม่นยำ
หนึ่งในวิธีสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่สามารถวางแผนและเพิ่ม “โอกาสท้องของผู้หญิง” ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ก็คือการนับวันไข่ตก ซึ่งเป็นวิธีที่สามารถหาข้อมูล และทำได้ทั่วไป เพียงแต่ต้องมีการบันทึกข้อมูลรอบเดือนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. วิธีนับวันไข่ตกเบื้องต้น
ปรับใช้กับแต่ละเดือน: หากประจำเดือนเดือนใดมาไม่ตรง หรือมีความแปรปรวน อาจต้องใช้สูตรอื่นๆ เช่น วิธีการสังเกตมูกไข่ตก หรืออุณหภูมิร่างกายร่วมด้วย
2. ใช้วิธีวัดอุณหภูมิร่างกาย (BBT)
BBT (Basal Body Temperature) คืออุณหภูมิของร่างกายขณะพักผ่อนเต็มที่ ซึ่งมักวัดทันทีหลังตื่นนอนก่อนลุกจากที่นอน หลังไข่ตก อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3-0.5 °C ถ้ามีการจดบันทึกเป็นกราฟทุกวันจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน แต่วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับคนที่มีวิถีชีวิตไม่แน่นอน หรือพักผ่อนไม่เป็นเวลา เพราะค่าที่ได้อาจคลาดเคลื่อน
3. สังเกตมูกไข่ตก
สังเกตลักษณะและปริมาณมูกไข่ตกในแต่ละวัน ช่วงก่อนไข่ตก มูกจะใส เหนียว ยืดได้คล้ายไข่ขาวดิบ และมีปริมาณมากกว่าปกติ เมื่อมูกมีลักษณะดังกล่าว เป็นสัญญาณว่าร่างกายกำลังจะไข่ตกในไม่กี่วัน ควรวางแผนมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้เพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
4. ชุดทดสอบไข่ตก (Ovulation Test Kit)
ปัจจุบันมีชุดทดสอบไข่ตกที่วัดระดับฮอร์โมน LH ในปัสสาวะ หากแถบขึ้นเข้มแปลว่าระดับ LH พุ่งสูง กำลังจะไข่ตกใน 24-36 ชั่วโมงข้างหน้า แม้วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่าย แต่ค่อนข้างแม่นยำ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนอย่างจริงจัง
5. เคล็ดลับการใช้ประโยชน์จากวันไข่ตก
เมื่อเราพูดถึง “โอกาสท้องของผู้หญิง” หรือ “โอกาสตั้งครรภ์มากที่สุด” แน่นอนว่าหลายคนคงนึกถึงเป้าหมายสูงสุด คือ การได้ต้อนรับสมาชิกใหม่อย่างที่ตั้งใจไว้ แต่การตั้งครรภ์เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเดินทางอีกยาวไกล สิ่งสำคัญคือการเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและโภชนาการเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสิ่งที่ดีที่สุด
การได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงสำคัญกับพัฒนาการลูกในครรภ์ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย
โภชนาการที่ดีหมายถึง การที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่ และวิตามิน) ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเสริมสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพใจให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อย
Enfa สรุปให้: ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมีปัญหาที่เกี่ยวเน...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมนส์มา 2 ครั้งใน 1 เดือนท้องมั้ย? อาจเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่แท้งบุตรไปแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเกิดจากเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังตกค้างอยู่ ตกขาวจึงอาจมีการปะปนทำใ...
อ่านต่อ