Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คำว่า “ผนังมดลูก” หรือ “เยื่อบุโพรงมดลูก” ฟังแล้วอาจจะรู้สึกไม่ค่อยคุ้นหูเท่าไหร่ แต่ถ้าเรานึกภาพว่า ประจำเดือนที่มาในทุกๆ เดือน คือเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมา เนื่องจากในรอบเดือนนั้นไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อน น่าจะทำให้รู้สึกว่าคำๆ นี้ใกล้ตัวมากขึ้น
สำหรับผู้หญิง ประจำเดือนเป็นสัญญาณเตือนของอะไรหลายๆ อย่าง เช่น ประจำเดือนไม่มา 1 เดือน บางครั้งก็อาจเป็นสัญญาณอาการคนท้อง ที่บอกว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น แต่ในหลายๆ ครั้ง อาการประจำเดือนขาดก็ไม่ใช่ข่าวดีเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อเคยมีอาการผิดปกติอื่นๆ มาก่อน เช่น ประจำเดือนมามากและมานานกว่าปกติ ปวดท้องมาก เลือดออกกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนมาๆ หายๆ มามากกว่า 1 ครั้งในแต่ละเดือน อาการลักษณะที่ว่ามานี้อาจจะบอกว่า สาวๆ อาจกำลังมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติค่ะ
ในบางกรณี เยื่อบุโพรงมดลูกหนาเป็นสัญญาณสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวผิดปกติ (Endometrial Hyperplasia) ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก แต่ก็ไม่ได้แปลว่าการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาจะเป็นอันตรายเสมอไปค่ะ ในหลายๆ กรณีก็เป็นภาวะที่สามารถรักษาให้หายได้ เมื่อทราบว่าตนเองมีอาการผนังมดลูกหนา จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
ความหนาของผนังมดลูกจะแตกต่างกันไปตามช่วงของรอบเดือน และอายุของผู้หญิง โดยทั่วไปผนังมดลูกปกติควรจะมีความหนาประมาณ 8-14 มิลลิเมตรในช่วงตกไข่ และเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ผนังมดลูกก็จะบางลงเป็นปกติ
ผนังมดลูกหนา เกิดจาก การไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีมากเกินไปโดยไม่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงพอ นอกจากนี้ ผนังมดลูกหนายังอาจเกิดจากภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) โรคอ้วน หรือการใช้ยาบางชนิด ซึ่งเมื่อมีการปรึกษาคุณหมอ คุณหมอก็จะวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
อาการที่บ่งบอกว่ามีผนังมดลูกหนาผิดปกติ มักจะสังเกตได้จากรอบเดือนที่ผิดปกติ เช่น มีเลือดประจำเดือนออกมากผิดปกติ มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน มีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปวดท้องมาก เลือดออกกะปริบกะปรอย หรือประจำเดือนมาๆ หายๆ มามากกว่า 1 ครั้งในแต่ละเดือน หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย
การรักษา ผนังมดลูกหนา วิธีรักษา จะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ คุณหมออาจใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในกรณีที่คนไข้มีผนังมดลูกหนาจากการไม่สมดุลของฮอร์โมน หรืออาจมีการทำหัตถการเล็ก ๆ เช่น การขูดมดลูก (D&C) เพื่อนำเนื้อเยื่อที่หนาออกไป ซึ่งวิธีการรักษาผนังมดลูกหนาก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งจะเป็นตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ค่ะ
สาวๆ ที่มีผนังมดลูกหนาผิดปกติ มักจะมีประจำเดือนมามากกว่าปกติ เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาขึ้นจะทำให้มีการสะสมของเลือดและเนื้อเยื่อมากขึ้น เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายมีประจำเดือนก็จะต้องขับเนื้อเยื่อเหล่านี้ออกมา ทำให้มีปริมาณเลือดประจำเดือนออกมามากขึ้นและอาจมานานกว่าปกติ รวมถึงอาจมีอาการปวดท้อง ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ร่วมด้วย
การมีผนังมดลูกหนา และการมีประจำเดือนมามาก อาจบ่งบอกถึงปัญหาด้านฮอร์โมน ซึ่งอาจทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น แต่หากไปพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่นๆ รับการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง และรักษาตามสาเหตุที่แท้จริงก็สามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้
ผนังมดลูกที่หนาผิดปกติอาจทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น เพราะอาจเป็นอุปสรรคในการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว แต่หากมีการตรวจสุขภาพก่อนวางแผนตั้งครรภ์และได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็จะช่วยให้ผนังมดลูกอยู่ในภาวะที่เอื้อต่อการตั้งครรภ์ได้ค่ะ
นอกจากจะหมั่นสังเกตความผิดปกติของรอบเดือน และปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจภาวะเจริญพันธุ์และวางแผนตั้งครรภ์แล้ว อีกสิ่งที่สำคัญต่ออนาคตของลูกอย่างมากก็คือ โภชนาการ ที่คุณแม่มอบให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์ไปจนถึง 1,000 วันแรกของชีวิตลูก ควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของเค้า ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลุกน้อยต้องการสารอาหารหลายชนิดเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้าน เช่น DHA, โคลีน, โฟเลต, แคลเซียม, เหล็ก และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าจะได้รับสารอาหารครบถ้วนจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ก็สามารถพิจารณานมบำรุงครรภ์เป็นหนึ่งในทางเลือกโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ค่ะ
ในบางกรณี การมีผนังมดลูกหนาผิดปกติทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น แต่แม้ว่าภาวะนี้อาจทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น แต่การรักษาที่เหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ทำให้การตั้งครรภ์เป็นไปได้ ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุด
ผนังมดลูกหนา 2 ซม ถือว่าไม่ปกติ และควรได้รับการประเมินเพิ่มเติมจากแพทย์ เพราะอาจบ่งบอกถึงภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติที่ต้องได้รับการรักษา
ผนังมดลูกหนา 5 มิล ถือว่าเป็นภาวะปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่อยู่ในช่วงเริ่มต้นของรอบเดือนหรือในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับช่วงของรอบเดือน
ในบางกรณี ความหนาของผนังมดลูก สามารถลดลงเองได้ โดยเฉพาะหากมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก หรือการปรับสมดุลของฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม
Enfa สรุปให้ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาเป็นสัญญาณสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีภาวะเยื่อบ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ESR คือ การตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง ช่วยให...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Inositol คือ สารประเภทน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่าง...
อ่านต่อ