นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ต่างกันยังไง พร้อมเทียบราคา ivf กับ gift

Enfa สรุปให้

  • ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ต่างกันยังไง การทำกิ๊ฟ (GIFT) คือการฉีดเซลล์ไข่และอสุจิเข้าท่อนำไข่ตรง ๆ ส่วน IVF (เด็กหลอดแก้ว) คือผสมปฏิสนธิในห้องแลปก่อนใส่ตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูก
  • ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ราคา GIFT อาจถูกกว่าเล็กน้อยในบางกรณี แต่ขึ้นกับเทคนิคและสถานพยาบาล ส่วน IVF มักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าเพราะใช้เทคโนโลยีมาก
  • ivf กับ gift นั้น แต่ละวิธีเหมาะกับสถานการณ์แตกต่างกัน ดังนี้น ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการ 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

การมีลูกน้อยในอ้อมกอดอาจเป็นความฝันของหลายคู่รัก แต่ด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ สุขภาพ ไลฟ์สไตล์ ทำให้บางครั้งการตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องหันไปพึ่งเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ หรือ ART (Assisted Reproductive Technology) ซึ่งในปัจจุบันมีหลายเทคนิคให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น การผสมเทียม (IUI) การทำชิฟท์ (ZIFT) หรือ การทำอิ๊กซี่ (ICSI) เป็นต้น 

อีกหนึ่งวิธีที่คนอาจได้ยินบ่อยในอดีตคือ “GIFT” (Gamete Intrafallopian Transfer) ภาษาไทยมักเรียกว่าการ “ทำกิ๊ฟ” 

หลายคนอาจสับสนว่า “ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ต่างกันยังไง” รวมถึงเรื่องทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ราคาต่างกันเยอะไหม แล้วแต่ละวิธีมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง GIFT กับ IVF อย่างละเอียดกันค่ะ 

 


ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ต่างกันยังไง 

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ สองชื่อที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มักได้ยินคือ ivf กับ gift หรือเด็กหลอดแก้ว ซึ่ง ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ต่างกันยังไง เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันค่ะ  

GIFT : Gamete Intra-Fallopian Transfer
การทำกิ๊ฟ หรือ Gamete Intra fallopain Transfer เป็นนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกได้ดี มีจุดเด่นก็คือเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีกระบวนการใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด เพราะเมื่อนำไข่ และเชื้ออสุจิทำการผสมกันแล้ว แพทย์ผู้ดูแลจะทำการผ่าตัดนำกลับเข้าไปยังท่อนำไข่เพื่อให้เกิดจากปฏิสนธิภายในร่างกาย  เมื่อเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อนแล้ว ตัวอ่อนจะค่อยๆ เคลื่อนตังไปฝังในโพรงมดลูกและทำให้เกิดเป็นภาวะตั้งครรภ์ มีขั้นตอนดังนี้ 

  1. แพทย์กระตุ้นให้ฝ่ายหญิงสร้างไข่มากกว่าปกติ จากนั้นเก็บไข่ออกมา (คล้ายกับ IVF)
  2. นำอสุจิของฝ่ายชายที่ผ่านการคัดกรองแล้ว มาผสมกับเซลล์ไข่ (แต่ยังไม่ให้เกิดการปฏิสนธิในหลอดทดลอง)
  3. ฉีดทั้งไข่และอสุจิเข้าสู่ท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงผ่านการส่องกล้อง หรือบางครั้งผ่านการผ่าตัดเล็ก
  4. กระบวนการปฏิสนธิจะเกิดขึ้นภายในร่างกาย (ท่อนำไข่) แบบธรรมชาติ แต่ควบคุมปัจจัยบางส่วนให้เอื้ออำนวย

ข้อดี:

  • กระบวนการปฏิสนธิเกิดภายในร่างกายตามธรรมชาติในท่อนำไข่ อาจเหมาะกับคู่ที่ต้องการ “ความเป็นธรรมชาติ” บ้าง
  • ถ้าท่อนำไข่ของฝ่ายหญิงปกติ โอกาสปฏิสนธิอาจดีขึ้น

ข้อจำกัด:

  • ต้องผ่าตัดเล็ก หรือส่องกล้องเพื่อใส่ไข่และอสุจิในท่อนำไข่ ซึ่งยุ่งยากกว่าการฉีดเชื้อ (IUI)
    ไม่สามารถตรวจคัดกรองตัวอ่อน (Embryo) ล่วงหน้าได้แบบ IVF เพราะไม่เห็นกระบวนกาปฏิสนธิที่อยู่ภายในท่อนำไข่
  • หากท่อนำไข่ตัน หรือตัดทิ้ง หรือตีบมาก จะไม่สามารถใช้ GIFT ได้

IVF : In Vitro Fertilization หรือที่เรียก “เด็กหลอดแก้ว”
เด็กหลอดแก้ว หรือ In Vitro Fertillization คือการใช้เทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ สำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก ด้วยการนำไข่ และอสุจิมาผสมกันให้มีการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยทำในห้องปฏิบัติการเพื่อให้เกิดตัวอ่อนแล้วนำตัวอ่อนย้ายกลับเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อให้ฝังตัวและเกิดการตั้งครรภ์ต่อไป  คำว่า “In Vitro” แปลว่า “ในหลอดแก้ว” หมายถึงการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในห้องทดลอง (lab) หลังจากปฏิสนธิแล้วจึงย้ายตัวอ่อน (Embryo) กลับเข้าโพรงมดลูก มีขั้นตอนดังนี้

  1. กระตุ้นให้ฝ่ายหญิงสร้างไข่หลายใบ เก็บไข่และเก็บอสุจิ
  2. ใส่ไข่และอสุจิในหลอดทดลองหรือจานเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ให้ผสมกันเป็นตัวอ่อน
  3. เลี้ยงตัวอ่อน 3-5 วัน แล้วค่อยใส่ตัวอ่อนกลับเข้ามดลูกฝ่ายหญิง
  4. รอให้ตัวอ่อนฝังตัวในโพรงมดลูกตามปกติ

ข้อดี:

  • สามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพ ก่อนย้ายกลับสู่มดลูก
  • เหมาะกับกรณีที่ฝ่ายหญิงมีปัญหาท่อนำไข่ตัน หรือฝ่ายชายมีอสุจิน้อย เพราะสามารถใช้เทคนิค ICSI หรือการฉีดอสุจิเข้าไข่ช่วยได้
  • อัตราความสำเร็จสูงกว่า GIFT ในหลายกรณี เพราะควบคุมขั้นตอนปฏิสนธิในแลป

ข้อจำกัด:

  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่า อาจมีขั้นตอนยาวนานมากขึ้น
  • มีโอกาสแท้งหรือตัวอ่อนไม่ฝังตัวได้

ความแตกต่างระหว่างทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว 
การทำกิ๊ฟท์และเด็กหลอดแก้วนั้นจะมีความเหมือนกันในด้านเป้าหมายก็คือ ช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกให้แก่ผู้ที่มีภาวะมีลูกยาก แต่ในด้านของเทคนิคและกระบวนการนั้นจะค่อนข้างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 

  • สถานที่ปฏิสนธิ: GIFT ปฏิสนธิในท่อนำไข่ตามธรรมชาติ แต่ IVF ปฏิสนธิภายนอกร่างกาย
    มองเห็นตัวอ่อนหรือไม่: GIFT ไม่สามารถเห็นกระบวนการปฏิสนธิ จึงคัดเลือกตัวอ่อนได้ยาก แต่ IVF เราสามารถดูตัวอ่อนในแลป แล้วเลือกตัวอ่อนคุณภาพดี
  • เงื่อนไขการใช้: GIFT ต้องมีท่อนำไข่อย่างน้อย 1 ข้างทำงานปกติ แต่ IVF สามารถใช้ได้แม้ท่อนำไข่มีปัญหา
  • โอกาสตั้งครรภ์: โดยทั่วไป IVF มีอัตราความสำเร็จสูงกว่า GIFT เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้าและควบคุมตัวอ่อนได้มากกว่า

การทํา ivf กับ gift นั้น แต่ละวิธีเหมาะกับสถานการณ์แตกต่างกัน ดังนี้น ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการ นอกจากนั้น การเพิ่มโอกาสมีลูกยังมีวิธีอื่นๆ อีก ได้แก่

การผสมเทียม (Intrauterine Insemination , IUI)
เหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาเรื่องเชื้ออสุจิไม่ปกติ แต่ฝ่ายหญิงมีมดลูกในสภาพที่ดีและท่อนำไข่ไม่ตีบตัน โดยจะทำการกระตุ้นไข่ และนำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายมาฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก โดยคัดอสุจิตัวที่แข็งแรงฉีดเข้าไป

การทำชิฟท์ (Zygote Intrafallopian Transfer, ZIFT)
วิธีนี้ทำได้โดยมีการกระตุ้นรังไข่จนฟองไข่ได้ขนาดที่เหมาะสม และทำการเก็บไข่ผ่านช่องคลอด แล้วนำไข่ที่ได้มาผสมกับอสุจิในห้องปฏิบัติการจนปฏิสนธิ แล้วเลี้ยงตัวอ่อน 3-5 วัน ต่อจากนั้นจึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกให้เกิดการฝังตัวและตั้งครรภ์ต่อไป 

อัตราความสำเร็จต่อรอบจะอยู่ที่ประมาณ 30-40 เปอร์เซนต์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน ท่อนำไข่อุดตัน ไข่ไม่ตกเนื่องจากระบบฮอร์โมน ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับอสุจิ เช่น เชื้ออสุจิน้อย เคลื่อนไหวไม่ดี

การทำอิ๊กซี่ (Intracytoplasmic Sperm Injection , ICSI)
เป็นการช่วยการปฏิสนธิ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งในการทำเด็กหลอดแก้ว โดยจะใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีอสุจิคุณภาพไม่ดี แพทย์จะคัดเลือกตัวอสุจิที่ดีที่สุดภายใต้กล้องจุลทรรศน์แล้วฉีดเข้าไปที่เซลล์ไข่โดยตรงให้เกิดการปฏิสนธิ ซึ่งต่างจากเด็กหลอดแก้ว คือ ให้อสุจิและไข่ผสมกันเอง ด้วยการใส่ไว้ด้วยกัน เมื่อเลี้ยงตัวอ่อน 3-5 วัน จึงนำตัวอ่อนใส่กลับเข้าไปในโพรงมดลูกอัตราความสำเร็จอยู่ที่ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์

การเจาะเก็บอสุจิโดยตรวจจากอัณฑะ (Tescular Epididymal Sperm Extraction : TESE) 
เป็นการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่อัณฑะเพียงเล็กน้อยแล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะออกมา จากนั้นนำไปทำอิ๊กซี่(ICSI) ต่อไป ในกรณีที่ฝ่ายชายมีการอุดตันของท่อนำอสุจิ หรือไม่มีท่ออสุจิตั้งแต่กำเนิด หรือมีปัญหาของการหลั่งน้ำอสุจิ

 

ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ราคา ต่างกันมากไหม

หลังจากรู้ “ความต่างของ GIFT กับ IVF” แล้ว อีกหนึ่งคำถามใหญ่คือ ทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ราคา ต่างกันมากน้อยแค่ไหน หลายคนอาจเคยได้ยินว่า IVF แพงกว่า แต่รายละเอียดค่าใช้จ่ายจริงเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

โครงสร้างค่าใช้จ่าย

  • ค่ายากระตุ้นไข่: ทั้ง GIFT และ IVF ต้องใช้ยาเพื่อกระตุ้นไข่ให้สุกหลายใบ ค่ายาส่วนนี้มีราคาสูง ขึ้นอยู่กับปริมาณยาและการตอบสนองของรังไข่
  • ค่าตรวจวินิจฉัยและห้องปฏิบัติการ: สำหรับ GIFT มีการเก็บไข่และอสุจิ แต่ไม่ได้เลี้ยงตัวอ่อนในหลอดทดลอง ใช้เวลาในแลปน้อยกว่า แต่ IVF ต้องมีขั้นตอนเลี้ยงตัวอ่อนในแลป ตรวจคุณภาพตัวอ่อน ค่าวัสดุและอุปกรณ์สูงขึ้น
  • ค่าดำเนินการใส่กลับ: GIFT จำเป็นต้องผ่าตัดเล็กหรือส่องกล้องเพื่อใส่ไข่และอสุจิในท่อนำไข่ แต่ IVF จะใส่ตัวอ่อนกลับทางสายเล็ก ๆ เข้ามดลูก ไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายห้องปฏิบัติการสูง
  • ค่าแพทย์และโรงพยาบาล: ขึ้นกับแต่ละสถานพยาบาล มีทั้งภาครัฐและเอกชน ราคาต่างกัน
    ราคาคร่าว ๆ ในท้องตลาด
  • GIFT: ค่าใช้จ่ายอาจอยู่ในช่วง 100,000 - 200,000 บาท หรืออาจน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ขึ้นกับที่ไหน รวมค่ายาและค่าผ่าตัดเล็ก
  • IVF: ราคาจะสูงขึ้น เพราะมีค่าแลปเลี้ยงตัวอ่อน และค่าคัดเลือกตัวอ่อน อาจเริ่มต้นราว 150,000 - 300,000 บาท หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับเทคโนโลยี เช่น การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เป็นต้น  

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย

  • อายุของฝ่ายหญิง: ถ้าอายุมาก อาจต้องใช้ยากระตุ้นไข่มากขึ้น รอบของการทำอาจหลายครั้ง
    ปัญหาทางสุขภาพ: บางคนอาจต้องรักษาโรคประจำตัวหรือภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ก่อน ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม
  • การตรวจพิเศษ: ถ้าต้องตรวจคัดกรองพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) หรือเทคนิคเพิ่มเติมอย่าง ICSI ราคาเพิ่มตามขั้นตอน

เรื่องอะไรบ้างที่ควรคำนึงเมื่อต้องการทำ IVF หรือ GIFT

  • เปรียบเทียบหลายแห่ง: ควรสอบถามรายละเอียดและราคาเบื้องต้นจากหลายโรงพยาบาลหรือคลินิก เพื่อประกอบการตัดสินใจ
  • คำนึงถึงคุณภาพและความเชี่ยวชาญ: ราคาถูกเกินไปอาจไม่ได้มาตรฐาน หรือเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย เลือกสถานที่ที่มีชื่อเสียงและแพทย์เชี่ยวชาญจะดีกว่า
  • เตรียมงบประมาณสำหรับการทำหลายรอบ: บางคู่ไม่สำเร็จในรอบแรก อาจต้องใช้วิธีซ้ำ ค่าใช้จ่ายจึงเพิ่มขึ้น

การทํากิ๊ฟกับหลอดแก้ว ราคาแตกต่างกันขึ้นกับขั้นตอนและเทคโนโลยีที่ใช้ โดยทั่วไป IVF จะแพงกว่า GIFT เพราะมีค่าแลปเลี้ยงตัวอ่อนและตรวจคัดกรอง แต่ก็มีโอกาสสำเร็จสูงกว่าได้ในหลายกรณี คู่รักควรประเมินกำลังทรัพย์ และโอกาสความสำเร็จร่วมกับคำแนะนำของแพทย์

 

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรรู้ เมื่อต้องเลือกเทคนิคเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในผู้มีภาวะมีบุตรยาก

ตามความหมายทางการแพทย์ ภาวะมีบุตรยากหมายถึง การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ได้คุมกำเนิด และมีเพศสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เป็นระยะเวลา 1 ปี แล้วยังไม่ตั้งครรภ์

ซึ่งหากสามีภรรยาคู่ใดมีปัญหาการมีบุตรยาก คือต้องการที่จะมีลูกและทราบว่าตนเองมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีลูกยาก เช่น ประจำเดือนมาไม่ปกติ เคยได้รับอุบัติเหตุหรือได้รับการผ่าตัดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นรังไข่หรืออัณฑะ ก็สามารถมาปรึกษาแพทย์ได้โดยไม่ต้องรอให้ครบ 1 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงอายุเกิน 35 ปี

ไม่ว่าจะเลือกว่า GIFT กับ IVF หรือวิธีอื่น ๆ เช่น IUI การตัดสินใจควรผ่านการประเมินสุขภาพและความพร้อมอย่างถี่ถ้วน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทราบอะไรบ้างก่อนเข้ารับการรักษา มาดูกัน

1. ประเมินสาเหตุของภาวะมีบุตรยากก่อน

  • ในหลายคู่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองอาจเพราะฝ่ายหญิงมีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) ท่อนำไข่ตีบตัน หรือฝ่ายชายมีอสุจิน้อย ความเคลื่อนไหวอสุจิไม่ดี
  • การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น ตรวจฮอร์โมน, อัลตราซาวด์รังไข่-มดลูก, ตรวจน้ำเชื้อ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยว่าวิธีไหนเหมาะที่สุด

2. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมีบุตรยาก
แพทย์จะอธิบายว่า “วิธี GIFT เหมาะกับกรณีใด” เช่น ท่อนำไข่ปกติ แต่อยากให้ปฏิสนธิในร่างกาย หรือ “IVF” เหมาะเมื่อมีปัญหาท่อนำไข่ อสุจิน้อย หรืออยากคัดตัวอ่อนคุณภาพ
เมื่อเลือกแนวทางแล้วอาจต้องลงรายละเอียดเรื่องขั้นตอน เช่น การกระตุ้นไข่ เก็บไข่ เก็บอสุจิ วันนัดตรวจ ฯลฯ

3. เตรียมร่างกายและจิตใจ

  • ร่างกาย: ควรรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะกรดโฟลิกเพื่อป้องกันความพิการของทารก
  • จิตใจ: การทำเทคโนโลยีเจริญพันธุ์อาจเป็นกระบวนการยาวนานและเครียด ควรเตรียมใจ หากไม่สำเร็จในรอบแรกอย่าท้อแท้ บางครั้งต้องทำซ้ำหลายครั้ง

4. ควบคุมงบประมาณ
แต่ละวิธีมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง พ่อแม่ควรวางแผนการเงินล่วงหน้า เผื่อทำมากกว่า 1 รอบ
บางสถานพยาบาลมีโปรแกรมแพ็กเกจครอบคลุมหลายรอบ หรือโปรแกรมคืนเงินบางส่วนหากไม่สำเร็จ

5. โภชนาการและการเลี้ยงดูหลังตั้งครรภ์
หากประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์แล้ว อย่าลืมเตรียมโภชนาการที่เหมาะสม เช่น DHA, โคลีน, ธาตุเหล็ก, และ MFGM เพื่อสร้างพื้นฐานสมองและภูมิคุ้มกันในช่วง 5 ปีแรก

ปรึกษาแพทย์เรื่องการออกกำลังกายและการดูแลครรภ์แบบพิเศษหรือไม่ เนื่องจากบางครั้งการตั้งครรภ์ผ่านเทคโนโลยีอาจต้องดูแลใกล้ชิดกว่าตั้งครรภ์ธรรมชาติ

 

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ตัดสินใจเลือกเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น GIFT หรือ IVF สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลยคือการเตรียมความพร้อมทางโภชนาการของคุณแม่ (และคุณพ่อ) ให้สมบูรณ์ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3-6 เดือน เพราะร่างกายของเราจะเป็นแหล่งสารอาหารหลักที่มอบให้ลูกน้อยตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของการปฏิสนธิ จนกระทั่งคลอดออกมา และช่วง 5 ปีแรกก็เป็นช่วงเวลาสำคัญในการสร้างพื้นฐานสุขภาพและพัฒนาการของลูก

การได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงสำคัญกับพัฒนาการลูกในครรภ์ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย 

โภชนาการที่ดีหมายถึง การที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่ และวิตามิน) ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ 

นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเสริมสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพใจให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อย


  • รพ.พญาไท. มีบุตรยากแต่อยากมีบุตร เทคโนโลยีการรักษาช่วยคุณได้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai-sriracha.com/article/ptsfertility/มีบุตรยากแต่อยากมีบุตร/. [3 กุมภาพันธ์ 2568]
  • รพ.พญาไท. “เด็กหลอดแก้ว” ความหวังของผู้ที่มีบุตรยาก. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/1825-the_importance_of_ivfbranchpyt2. [3 กุมภาพันธ์ 2568]
  • worldwideivf. ทำกิ๊ฟต์กับเด็กหลอดแก้ว ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีกว่ากัน?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://worldwideivf.com/others/ทำกิ๊ฟต์กับเด็กหลอดแก้/. [3 กุมภาพันธ์ 2568]
  • bangkokpattayahospital. การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์วิธีต่างๆ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://bangkokpattayahospital.com/th/our_technologies/การรักษาด้วยเทคโนโลยีช/. [3 กุมภาพันธ์ 2568]
  • bnhhospital. อิ๊กซี่ (ICSI) ราคา เท่าไร? ทำไมถึงเป็นวิธีที่ราคาสูงที่สุด?. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bnhhospital.com/th/packages/icsi-package/. [3 กุมภาพันธ์ 2568]

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama