Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ยาคุม เป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์กันอยู่
ซึ่งเมื่อเข้าใจผิดและใช้งานไม่ถูกวิธี ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลงและนำไปสู่การตั้งครรภ์้ บทความนี้จาก Enfa จะชวนมาไขข้อข้องใจกันว่า ควรกินยาคุมอย่างไรให้ถูกต้อง กินยาคุมกี่วันถึงปล่อยในได้ และอันตรายจากการใช้ยาคุมที่ควรรู้
สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งจะเริ่มกินยาคุม อาจกำลังสงสัยว่า กินยาคุมกี่วันถึงมีเพศสัมพันธ์ได้ ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจกันก่อนค่ะว่า ยาคุมนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยระยะเวลาและวินัยในการกินยาควบคู่กัน เพื่อให้ยาคุมมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด
โดยยาคุมกำเนิดจะเริ่มออกฤทธิ์ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มกิน แต่จะมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์อย่างเต็มที่เมื่อกินยาครบตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป ซึ่งการกินยาคุมนั้น จะต้องเริ่มกินภายใน 5 วันแรกของการมีประจำเดือน แต่ถ้ามาเริ่มกินยาคุมในช่วงเวลาอื่น จะต้องกินติดต่อกันให้ครบ 7 วัน จึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันได้
อย่างไรก็ตาม ควรทราบเอาไว้ว่า ยาคุมอาจมีประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริง แต่ประสิทธิภาพอาจจะป้องกันได้ไม่ถึง 100% และยังมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 0.3 – 9% ซึ่งถึงแม้จะน้อย แต่ก็ยังถือว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้นะคะ
มากไปกว่านั้น ยาคุมกำเนิด ไม่ได้มีผลในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพทางเพศ ควรสวมถุงยางอนามัยด้วยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อทางเพศอื่น ๆ
เรื่องคุณแม่หลังคลอดกินยาคุมหลั่งในได้เมื่อไหร่ สามารถจำแนกคำตอบออกตามลำดับได้ ดังนี้
สำหรับผู้ที่กำลังสงสัยว่า ถ้ากินยาคุมแบบ 28 เม็ด หลั่งในได้ตอนไหนนั้น สำหรับยาคุมรายเดือนแบบแผง 28 เม็ดนั้น จะประกอบไปด้วยฮอร์โมน 21 เม็ด และเม็ดแป้งอีก 7 เม็ด จัดว่าเป็นยาคุมที่มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงมาก
อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ก็ไม่แตกต่างกันกับยาคุมแบบอื่น ๆ เท่าไหร่นักค่ะ คือจะออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากกินยาคุมติดต่อกัน 7 วัน โดยที่ไม่ได้ลืมกินยา ไม่ได้กินยาผิดเวลา และไม่เคยขาดยา แต่ควรจะต้องกินต่อไปจนกระทั่งหมดแผงยา เพื่อให้ตัวยามีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดได้อย่างเต็มที่ค่ะ
แล้วถ้ากินยาคุมแบบ 21 เม็ด หลั่งในได้ตอนไหน สำหรับยาคุมแบบ 21 เม็ดนั้น ทุกเม็ดจะเป็นฮอร์โมนทั้งหมด ไม่มีเม็ดแป้ง โดยควรเริ่มกินตั้งแต่ในช่วง 5 วันแรกที่เริ่มมีประจำเดือน และกินติดต่อกันให้ครบ 7 วันหากเริ่มกินในช่วงเวลาอื่น เมื่อกินติดต่อกันครบ 7 วันแล้ว ก็สามารถมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันหรือหลั่งในได้
มากไปกว่านั้น ถ้าหากกินยาคุมแบบ 21 เม็ดเป็นประจำ ไม่ขาดยา ไม่ลืมกินยา และกินตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ แม้จะถึงช่วงที่ต้องเว้นไว้ 7 วันเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ในช่วงระยะเวลาที่งดยาคุมนี้ก็ยังสามารถมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกันได้ตามปกติ โดยไม่ต้องกินยาคุมฉุกเฉิน เพราะไม่ใช่ช่วงที่มีการตกไข่ โอกาสในการตั้งครรภ์จึงต่ำ
กินยาคุมปล่อยในได้ไหม คำตอบคือปล่อยได้ค่ะ แต่เนื่องจากการกินยาคุมนั้น หวังผลในเรื่องของการคุมกำเนิด ป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ดังนั้น แนะนำว่าให้กินยาคุมให้ครบ 7 วันก่อน เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์คุมกำเนิดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วจึงค่อยเริ่มมีเพศสัมพันธ์แบบปล่อยในค่ะ
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยว่า ถ้ากินยาคุมฉุกเฉินแล้วปล่อยในได้ไหม ก่อนอื่นจะต้องมาเข้าใจกระบวนการทำงานของยาคุมฉุกเฉินกันก่อนค่ะ โดยหลักการของยาคุมฉุกเฉิน จะเป็นดังนี้
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ยาคุมฉุกเฉินจะป้องกันเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเท่านั้น หากปล่อยในไปแล้ว และกินยาคุมฉุกเฉินไปแล้ว และมีเพศสัมพันธ์แบบปล่อยในใหม่อีกครั้ง ก็จะต้องกินยาคุมฉุกเฉินหลังจากมีเซ็กซ์ในรอบใหม่ด้วยค่ะ เพราะยาคุมฉุกเฉินจะออกฤทธิ์ป้องกันต่อการปล่อยในที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงการปล่อยในรอบใหม่
สำหรับยาคุม แม้จะเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ง่ายก็จริง แต่ว่าการกินยาคุมแล้วปล่อยในก็พ่วงมาด้วยความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้หญิง ดังนี้
หากคุณแม่ตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์และไม่ต้องการคุมกำเนิดอีกต่อไป ก็จะต้องเริ่มดูแลตัวเองให้ดี เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ มากไปกว่านั้น คุณแม่ควรทราบว่าเด็กจะเติบโตมาอย่างแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีสมวัยได้ ก้าวแรกที่สำคัญที่สุดคือโภชนาการของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์
คุณแม่จำเป็นจะต้องกินอาหารที่หลากหลายทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนตลอดการตั้งครรภ์ เพื่อให้สุขภาพคุณแม่แข็งแรง และเพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาระบบต่าง ๆ ในร่างกายได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ คุณแม่ยังสามารถเสริมโภชนาการด้วยการดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย
Enfa สรุปให้: ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมีปัญหาที่เกี่ยวเน...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมนส์มา 2 ครั้งใน 1 เดือนท้องมั้ย? อาจเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่แท้งบุตรไปแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเกิดจากเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังตกค้างอยู่ ตกขาวจึงอาจมีการปะปนทำใ...
อ่านต่อ