Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
เคยรู้จักการตรวจค่า ESR กันมั้ยคะ หากคุณพ่อคุณแม่มีการตรวจสุขภาพประจำเป็นทุกปี และรายการตรวจเลือดนั้นมีการตรวจค่า ESR ไว้ด้วย ก็น่าจะเคยทราบค่า ESR ของตัวเองมาก่อนบ้าง หรือหากเคยมีอาการเจ็บป่วยบางอย่างที่คุณหมอให้ตรวจค่า ESR เพิ่ม คุณพ่อคุณแม่ก็อาจจะได้ทราบผล ESR ของตนเองในตอนนั้น แล้วการตรวจ ESR คืออะไรกันแน่? ค่า ESR บอกอะไรกับเรา? และมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตหรือไม่ มาดูกันค่ะ
ESR หรือ Erythrocyte Sedimentation Rate คือ การตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง การตรวจ ESR ช่วยให้คุณหมอสามารถประเมินว่ามีการอักเสบหรือการติดเชื้อภายในร่างกายได้ โดยค่า ESR ที่สูงขึ้นอาจบ่งชี้ว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งในร่างกาย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าการอักเสบนั้นมีสาเหตุจากอะไร การตรวจ ESR นี้จึงใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ของแพทย์ ควบคู่กับผลตรวจอื่นๆ จากห้องปฏิบัติการ ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือการติดเชื้อที่รุนแรงอื่นๆ
ค่า ESR สูง เกิดจากการอักเสบหรือการติดเชื้อในร่างกาย ยิ่งค่า ESR สูง ก็ยิ่งบ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อหรือความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันตนเอง เช่น ภาวะการอักเสบจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการแพ้ภูมิตัวเอง นอกจากนี้ ค่า ESR ที่สูงขึ้นยังสามารถเกิดจากภาวะเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคไต โรคตับ และแม้แต่การตั้งครรภ์ ซึ่งล้วนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดงและการตกตะกอนของเลือด
ค่า ESR ค่าปกติโดยเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 0-22 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงสำหรับผู้ชาย และ 0-29 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงสำหรับผู้หญิง ซึ่งค่า ESR อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุและภาวะสุขภาพโดยรวม อย่างไรก็ตาม ค่าที่สูงกว่าปกติอาจบ่งชี้ว่ามีปัญหาทางสุขภาพที่ต้องการการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยเฉพาะ การติดเชื้อหรือการอักเสบ
นอกจากนี้ยังพบว่า ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ค่า ESR อาจสูงกว่าปกติได้ เนื่องจากความต้องการของร่างกายในการส่งเลือดและออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ร่างกายผลิตพลาสมาในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงลดลงและตกตะกอนได้เร็วขึ้น รวมถึงระดับไฟบรินโนเจนที่สูงขึ้น ก็ส่งผลให้การแข็งตัวของเลือดจะสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ค่าการตกตะกอนสูงขึ้นตามไปด้วย
ค่า ESR สูง ในคนที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์และกำลังวางแผนที่จะมีลูก อาจเป็นสัญญาณที่อาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์และทำให้มีลูกยากขึ้นกว่าเดิม การอักเสบในร่างกายอาจกระทบกับการทำงานของฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ หรืออาจทำให้เกิดปัญหาต่อระบบสืบพันธุ์โดยตรง เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ซึ่งอาจทำให้การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่ยากมากขึ้น ดังนั้นการตรวจ ESR และการประเมินสาเหตุที่ทำให้ค่า ESR สูงจึงมีความสำคัญอย่างมากสำหรับคู่รักที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์
การรักษาค่า ESR สูง ขึ้นอยู่กับการรักษาต้นเหตุของการอักเสบที่ทำให้ค่านี้สูงขึ้น ดังนั้นการรักษาจึงต้องเริ่มจากการหาต้นตอของอาการอักเสบ จากนั้นอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่การอักเสบเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจมีการใช้ยาต้านการอักเสบในกรณีที่การอักเสบมีที่มาจากโรคแพ้ภูมิตนเอง
นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็สามารถช่วยลดการอักเสบและปรับลดค่า ESR ได้
ก่อนการวางแผนตั้งครรภ์ การลดค่า ESR อาจทำได้โดยการปรับไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสม รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ผักและผลไม้ ลดความเครียดด้วยการทำกิจกรรมผ่อนคลาย เช่น การฝึกโยคะหรือสมาธิ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแต่ช่วยลดการอักเสบในร่างกายและทำให้ค่า ESR ลดลงได้ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพโดยรวมอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นในอนาคตได้ค่ะ
นอกจากจะดูแลสุขภาพให้พร้อมต่อการตั้งครรภ์แล้ว อีกสิ่งที่สำคัญต่ออนาคตของลูกอย่างมากก็คือ โภชนาการ ที่คุณแม่มอบให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรกที่รู้ว่าตั้งครรภ์ไปจนถึง 1,000 วันแรกของชีวิตลูก ควบคู่ไปกับการเลี้ยงดูเอาใจใส่ มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการของเค้า ในระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และลุกน้อยต้องการสารอาหารหลายชนิดเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์รอบด้าน เช่น DHA, โคลีน, โฟเลต, แคลเซียม, เหล็ก และสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากคุณแม่ไม่มั่นใจว่าจะได้รับสารอาหารครบถ้วนจากการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน ก็สามารถพิจารณานมบำรุงครรภ์เป็นหนึ่งในทางเลือกโภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตรได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ เยื่อบุโพรงมดลูกหนาเป็นสัญญาณสุขภาพที่อาจเป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะกรณีที่มีภาวะเยื่อบ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ESR คือ การตรวจวัดอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดภายในหนึ่งชั่วโมง ช่วยให...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ Inositol คือ สารประเภทน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่าง...
อ่านต่อ