Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คลอดลูกเสร็จแล้ว คุณพ่อคุณแม่วางแผนปั๊มลูกคนต่อไปทันที เอ๊ะ! แบบนี้มันจะเร็วเกินไปไหม? หลังคลอดกี่เดือนถึงท้องได้แบบปลอดภัย แล้วท้องต่อไปมีอะไรให้ต้องระวังบ้างหรือเปล่านะ เอาเป็นว่า ก่อนจะเริ่มแผนปั๊มทายาทเจนใหม่ Enfa มีคำแนะนำที่น่าสนใจก่อนเตรียมตั้งครรภ์ครั้งใหม่มาฝากเพื่อประกอบการตัดสินใจค่ะ
หลังจากคลอดลูกคนล่าสุดแล้ว แพทย์จะแนะนำระยะปลอดภัยสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งใหม่คือ 1-2 ปี เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่ได้พักฟื้นจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อนหน้าอย่างเต็มที่
หลังคลอด และประจำเดือนยังไม่กลับมา แล้วมีเพศสัมพันธ์กับแฟน คุณแม่มีโอกาสจะท้องได้ค่ะ แนะนำว่าถ้าหากคุณแม่ยังไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ใหม่เร็วเกินไป ควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งนะคะ
แม่ที่ให้นมลูก ประจำเดือนหลังคลอดจะกลับมาช้า เพราะฮอร์โมนโพรแลคติน (Prolactin ) เพิ่มสูงขึ้นเพื่อช่วยในการผลิตน้ำนม รวมถึงทำหน้าที่ควบคุมวงจรของประจำเดือน และยับยั้งการตกไข่ จึงอาจใช้เวลา 6-12 สัปดาห์ กว่าประจำเดือนจะกลับมา ส่วนแม่ที่ให้นมลูกแบบ 100% อย่างจริงจัง อาจใช้เวลานานถึง 6 เดือน ประจำเดือนถึงจะกลับมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนยังไม่กลับมา ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสตั้งครรภ์นะคะ การมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดโดยที่ไม่ได้ป้องกัน คุณแม่ยังมีโอกาสตั้งท้องได้ค่ะ
การมีเซ็กซ์หลังคลอดแค่เพียง 1 เดือน และมีการหลั่งใน โดยที่ไม่ได้มีการสวมถุงยางอนามัย หรือคุมกำเนิด คุณแม่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ค่ะ
การมีเซ็กซ์หลังคลอดแค่เพียง 2 เดือน และมีการหลั่งใน โดยที่ไม่ได้มีการสวมถุงยางอนามัย หรือคุมกำเนิด คุณแม่มีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ค่ะ
คนเฒ่าคนแก่มักจะชอบพูดชมคนที่มีลูกหัวปีท้ายปีว่าเป็นเรื่องที่ดี มีลูกทันใช้ ร่างกายแข็งแรงถึงตั้งท้องติด ๆ กันได้แบบนี้
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การมีลูกแบบหัวปีท้ายปี เราไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะการที่คลอดลูกคนหนึ่งต้นปี แล้วปลายปีคลอดอีกหนึ่งคน นั่นหมายความว่า หลังคลอดลูกคนแรกปุ๊บ คุณแม่ก็เริ่มตั้งครรภ์ทันที ซึ่งกรณีแบบนี้ถือว่าเร็วเกินไปค่ะ
การตั้งครรภ์ใหม่ที่เหมาะสม ควรจะต้องเว้นห่างอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่ฟื้นตัวเต็มที่ ร่างกายแข็งแรงพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ถัดไป
การตั้งท้องแบบหัวปีท้ายปี คุณแม่เสี่ยงที่จะมีการคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงที่ช่องคลอดจะฉีกขาดเพราะยังฟื้นตัวได้ไม่ดี และร่างกายอาจจะทรุดโทรมจากความเหนื่อยล้า เพราะต้องเหนื่อยเลี้ยงดูทารกที่เพิ่งเกิดมา และเหนื่อยที่ต้องอุ้มท้องลูกอีกคนไปพร้อม ๆ กัน จึงไม่สามารถใช้เวลากับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้อย่างเต็มที่ ซึ่งพิจารณาดูแล้ว ไม่เป็นผลดีต่อแม่และลูกแต่อย่างใดค่ะ
หากแม่คลอดธรรมชาติ การคลอดครั้งต่อไป มีโอกาสที่จะคลอดธรรมชาติได้เหมือนเดิม แต่ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เต็มที่ พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ถัดไป
กรณีที่คุณแม่ผ่าคลอดในครรภ์ล่าสุด การตั้งครรภ์ถัดไป คุณแม่อาจสามารถคลอดธรรมชาติได้ หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าร่างกายของคุณแม่แข็งแรงและพร้อมที่จะคลอดเอง แต่โดยมากแล้ว หากครรภ์ก่อนหน้าผ่าคลอด ครรภ์ต่อมาก็มีโอกาสที่จะต้องผ่าคลอดอีกเช่นกัน
สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด ควรรออย่างน้อย 2 ปีขึ้นไปเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูจากการผ่าคลอดและแข็งแรงมากพอที่จะเริ่มวางแผนตั้งครรภ์อีกครั้ง
หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ด้วยนะคะ มาถึงลูกคนที่ 2 แล้ว คุณแม่ก็มีประสบการณ์จากครั้งก่อนที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ ขณะเดียวกันคุณแม่ก็อาจจะต้องเตรียมตัวในเรื่องต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นดังนี้
หากคุณแม่ตรวจพบว่าตั้งครรภ์ หรือเตรียมพร้อมที่จะตั้งครรภ์ การเริ่มต้นจากโภชนาการที่มีประโยชน์ ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการตั้งครรภ์สุขภาพดี
คุณแม่ควรกินอาหารให้หลากหลาย ครบทั้ง 5 หมู่ ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ นม และผลิตภัณฑ์จากนม หมั่นเลือกกินอาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ แคลเซียม โปรตีน โฟเลต เป็นต้น
ซึ่งนอกจากจะช่วยให้คุณแม่ร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็ยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และลดความเสี่ยงของความพกิการหรือภาวะแทรกซ้อนแต่กำเนิดด้วย
อย่างไรก็ตาม นอกจากอาหารหลักในแต่ละมื้อแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมโภชนาการได้ด้วยนมสำหรับคนท้อง ซึ่งมีกลุ่มสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ เช่น โคลีน ดีเอชเอ แคลเซียม ธาตุเหล็ก ช่วยป้องกันการขาดสารอาหารสำคัญขณะตั้งครรภ์ บำรุงร่างกายของแม่และทารกในครรภ์ให้แข็งแรงในทุก ๆ วันค่ะ
Enfa สรุปให้: ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมีปัญหาที่เกี่ยวเน...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เมนส์มา 2 ครั้งใน 1 เดือนท้องมั้ย? อาจเป็นไปได้ว่ามีการตั้งครรภ์จริง แต่แท้งบุตรไปแ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ตกขาวสีน้ำตาล อาจเกิดจากเลือดประจำเดือนเก่าที่ยังตกค้างอยู่ ตกขาวจึงอาจมีการปะปนทำใ...
อ่านต่อ