Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ตลอดระยะเวลา 9 เดือน คนท้องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายมากมาย หนึ่งในนั้นคือรูปร่างของสะดือ แต่สะดือคนท้องจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง แล้วหลังคลอดลูกสะดือคนท้องจะกลับมาเป็นปกติไหม ให้บทความนี้จาก Enfa ตอบให้เลยดีกว่าค่ะ
หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนขณะตั้งครรภ์คือสะดือของคนท้อง เมื่อถึงไตรมาสสองและสาม สะดือจะค่อย ๆ ขยายตัวใหญ่ขึ้น นูนออกมามากขึ้น ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของมดลูกภายในท้องทำให้กล้ามเนื้อและผิวหนังที่หน้าท้องขยายตัวมากขึ้นตามไปด้วย และดันให้สะดือนูนใหญ่ขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
สะดือคนท้องระยะแรกนั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงค่ะ สะดือก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร สะดือคนเริ่มท้องก็จะยังคงสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากขนาดของมดลูกยังไม่ได้ขยายตัวจนดันให้หน้าท้องและสะดือนูนออกมา
สะดือคนท้องไตรมาสแรกนี้ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกิดขึ้นค่ะ และในความเป็นจริงก็ยังไม่สามารถมองออกอย่างชัดเจนด้วยว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ รูปร่างของคุณแม่ไตรมาสแรกนั้นแทบจะเป็นปกติเหมือนไม่ได้ตั้งท้องเลยค่ะ
ช่วงไตรมาสสองนี้สะดือคนท้องหลาย ๆ คนจะเริ่มมีการนูนและขยายใหญ่ขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ช่วงแรก ๆ จะยังไม่ขยายใหญ่จนเห็นได้ชัดนักหรอกค่ะ เพราะขนาดท้องยังไม่ได้นูนโตออกมามากนัก แต่เมื่อเข้าช่วงปลายไตรมาสสอง ช่วงนี้แหละค่ะที่ลักษณะของสะดือจะเริ่มเปลี่ยนแปลงจนเห็นได้ชัด
สะดือคนท้องไตรมาสสาม จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยค่ะว่าใหญ่ขึ้น นูนขึ้น คล้ายกับสะดือจุ่น ซึ่งบางครั้งแม้ว่าจะสวมเสื้อผ้าก็ยังสามารถมองเห็นรูปร่างของสะดือได้อย่างชัดเจนค่ะ
ถือเป็นเรื่องปกติมาก ๆ ของคนท้องที่สะดือจะขยายตัวใหญ่ขึ้น นูนขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงของสะดือนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ เลยค่ะ คุณแม่สบายใจได้
อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็พบว่ามีคุณแม่หลายคนที่มีอาการเจ็บสะดือ ซึ่งลักษณะแบบนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุค่ะ เช่น
สะดือเป็นอวัยวะส่วนที่บอบบางมาก เมื่อขยายตัวออกจึงทำให้เกิดการสัมผัสและเสียดสีกับเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น จึงรู้สึกเจ็บจี๊ด ๆ ขึ้นมาได้
อาการเจ็บสะดือคนท้องนั้นมีสาเหตุมาจากคุณแม่เป็นไส้เลื่อนที่สะดือ ทำให้สะดือเลื่อนออกมามากผิดปกติ และปวดท้องบริเวณรอบ ๆ สะดือ
คุณแม่อาจมีอาการปวดท้องทำให้รู้สึกเจ็บลามมาถึงบริเวณสะดือ ซึ่งหากอาการปวดไม่ทุเลา หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด หรือทารกเริ่มไม่ดิ้น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
คนท้องสะดือจุ่น ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลค่ะ หรือถ้าก่อนหน้านั้นไม่ได้มีสะดือจุ่น แต่เพิ่งมาเกิดขึ้นตอนตั้งครรภ์ ก็ไม่ใช่สัญญาณผิดปกติแต่อย่างใด
แต่เกิดขึ้นเพราะมดลูกขยายตัวใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับขนาดตัวของทารกที่โตขึ้น จึงดันผนังหน้าท้อง และดันสะดือให้ขยายนูนออกมา ซึ่งสะดือจุ่นที่เกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่ 2-3 นี้เป็นเรื่องธรรมชาติของการตั้งครรภ์ และสามารถจะหายกลับมาเป็นสะดือรูปร่างปกติแต่เดิมได้หลังคลอดค่ะ
คนท้องไม่ควรทำการเจาะอวัยวะ หรือสักใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าหากเจาะสะดือ หรือเจาะอวัยวะมาก่อนแล้ว ให้ทำการถอดออกทั้งหมด เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หากอุปกรณ์ที่ใช้เจาะไม่สะอาด หรือรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้นได้
มากไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ก็ทำให้คุณแม่มีอาการไวต่อการสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้นด้วย คุณแม่อาจจะมีอาการแพ้ทองคำ สแตนเลส หรือนิกเกิลที่ใช้เจาะสะดือได้
ดังนั้น ควรงดการเจาะอวัยวะต่าง ๆ ขณะตั้งครรภ์ ส่วนคุณแม่ท่านใดที่เจาะมาก่อนแล้ว แนะนำให้ถอดออกก่อนจะปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่านะคะ
คนโบราณมีความเชื่อกันว่า รูปร่าง ลักษณะสะดือของคนท้องนั้น สามารถที่จะบอกเพศลูกได้ค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าในทางการแพทย์นั้น สะดือ กับ เพศของทารก ไม่มีความเชื่อมโยงกัน จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการบอกเพศลูกอย่างแม่นยำได้นะคะ
อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถลองทายกันดูเล่น ๆ ได้ ไม่มีอะไรเสียหาย เป็นการลุ้นล่วงหน้าว่าใครจะทายแม่นกว่ากัน
สะดือ ลักษณะคนท้องลูกผู้หญิง จะสังเกตได้จากสะดือด้านบนจะยื่นออกมา มองดูแล้วคล้ายกับสะดือคว่ำลง และท้องจะออกมาเป็นทรงกลม หากเข้าตำรานี้ คนโบราณเชื่อว่าจะได้ลูกสาวค่ะ
สะดือคนท้องที่สะดือด้านล่างยื่นออกมา มองดูแล้วเหมือนสะดือหงายขึ้น และท้องออกมาเป็นทรงแหลม ไม่กลม ลักษณะแบบนี้ คนโบราณเชื่อว่าคุณแม่กำลังตั้งท้องลูกผู้ชายค่ะ
สะดือคว่ำ กับ สะดือหงาย เป็นลักษณะการกำหนดเพศลูกตามความเชื่อของคนโบราณ ถ้าสะดือคว่ำแปลว่าได้ลูกสาว แต่ถ้าสะดือหงาย แปลว่าได้ลูกชาย
ซึ่งการคว่ำหงายของสะดือนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการตัดสายสะดือ การดูแลสะดือตั้งแต่ตอนตัดสายสะดือใหม่ ๆ สภาพผิวหนังของแต่ละคน กรรมพันธุ์ หรือเคยเป็นไส้เลื่อนที่สะดือมาก่อน เป็นต้น
ดังนั้น สะดือจะคว่ำจะหงาย จึงไม่ได้เกี่ยวอะไรกับเพศของลูกค่ะ
เด็กจะเติบโตมาแข็งแรง มีสุขภาพดี ฉลาด มีไอคิวที่สมวัยได้ พื้นฐานต้องเริ่มมาจากอาหารการกินของคุณแม่ค่ะ
โดยกลุ่มสารอาหารสำคัญที่คุณแม่จะต้องได้รับอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่
จะเห็นได้ว่าโภชนาการสำหรับแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะถ้าหากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ อาจเพิ่มความเสี่ยงที่อันตรายต่อทารกได้ตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นประจำทุกมื้อ ก็จะเป็นการปูพื้นฐานการมีสุขภาพดี มีสมองที่ดี ส่งเสริมให้ลูกพร้อมที่จะเติบโตอย่างสมวัย และก้าวไกลไปสู่อนาคตที่ดีอย่างมีคุณภาพได้ค่ะ
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ