Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ลูกดิ้นเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงและพัฒนาการที่สมบูรณ์ ยิ่งลูกดิ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นสัญญาณที่ดี แต่หากลูกดิ้นน้อยหรือห่างกันเป็นเวลานาน คุณแม่สามารถลองหา วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น มากขึ้นได้ ในบทความนี้จาก Enfa เราได้รวบรวมวิธีการกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ให้เคลื่อนไหวมากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณแม่มือใหม่ค่ะ
จับท้องบ่อย แต่กลับรู้สึกว่าลูกไม่ค่อยดิ้นบ่อยขึ้นเลย หากเป็นแบบนี้คุณแม่จะทำยังไงให้ลูกดิ้นได้มากขึ้นบ้างนะ?
ในกรณีที่ลูกอาจจะดิ้นน้อย ดิ้นบ้าง แต่ไม่ดิ้นมาก มักทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกกังวลใจว่าลูกอาจจะเป็นอันตราย หรือเป็นสัญญาณอันตรายขณะตั้งครรภ์ ซึ่งต้องบอกคุณแม่เอาไว้เลยว่าทารกแต่ละคนจะดิ้นมากหรือน้อยแตกต่างกันค่ะ แต่ปกติแล้วควรจะต้องดิ้นประมาณ 4 ครั้ง หรือมากกว่า 4 ครั้งต่อ 1 ชั่วโมง
ซึ่งถ้าหากลูกดิ้นน้อย ไม่ดิ้นมากเหมือนเด็กคนอื่น ๆ คุณแม่อย่าเพิ่งตกใจ อาจไม่ใช่สัญญาณอันตรายเสมอไป เพราะบางครั้งลูกก็มีพัฒนาการที่สมบูรณ์ดี เพียงแต่อาจจะไม่ชอบเคลื่อนไหวมากนัก หรืออาจจะดิ้นในตอนที่คุณแม่นอนหลับ หรือชอบดิ้นตอนกลางคืนมากกว่าตอนกลางวัน คุณแม่จึงไม่รู้สึกว่าลูกดิ้น หรือในชั่วโมงแรกลูกอาจจะยังไม่ดิ้น แต่ไปดิ้นในชั่วโมงถัดไป ก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยจริง ๆ หรือไม่ค่อยดิ้นเลย คุณแม่สามารถที่จะกระตุ้นให้ลูกดิ้นมากขึ้นได้ค่ะ
แต่ถ้าหากลองกระตุ้นลูกดิ้นแล้ว ก็ยังสังเกตได้ว่าลูกดิ้นน้อยจนผิดปกติ หรือดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง กรณีแบบนี้อาจเข้าข่ายเป็นสัญญาณอันตราย และคุณแม่ควรไปพบแพทย์ทันที
10 วิธีกระตุ้นลูกน้อยในครรภ์ให้ดิ้นมากขึ้น เคลื่อนไหวบ่อยขึ้น สามารถทำได้ ดังนี้
1. ใช้เวลาอยู่กับตัวเองให้มากขึ้น
นี่อาจไม่ใช่วิธีกระตุ้นให้ลูกดิ้น แต่...เป็นวิธีที่จะทำให้คุณแม่สามารถสังเกตเห็นการดิ้นของลูกได้ดีที่สุด บางครั้งคุณแม่อาจจะมีภารกิจอื่น ๆ ให้ต้องทำ หรือเคลื่อนไหวตัวตลอดโดยไม่มีเวลาอยู่กับตัวเองเลย ซึ่งทารกอาจดิ้นอยู่ตลอด เพียงแต่คุณแม่ยุ่งเกินจนไม่รู้สึกถึงการดิ้นของลูก
ลองหาเวลาว่างอยู่คนเดียวเงียบ ๆ ทำใจให้สงบ เพื่อจดจ่อกับการดิ้นของลูกน้อยให้มากขึ้น คุณแม่อาจพบว่าจริง ๆ แล้วลูกดิ้นบ่อยกว่าที่คิดอีกนะ
2. กินของหวาน หรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
คุณแม่สามารถกระตุ้นให้ลูกดิ้นได้ด้วยการกินของหวาน อาจจะเป็นน้ำผลไม้ ผลไม้สด หรือของว่างที่มีปริมาณน้ำตาลสูงนิดหน่อย เมื่อได้รับปริมาณน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มพุ่งสูงขึ้น มีส่วนช่วยกระตุ้นให้ทารกเกิดการตื่นตัว และเคลื่อนไหวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจจะต้องจำกัดปริมาณของหวานลงมาหรือเลี่ยงวิธีนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานและไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง
3. ดื่มน้ำเย็น
ทารกในครรภ์สามารถสัมผัสได้ถึงอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เวลาที่คุณแม่ดื่มน้ำเย็น นอกจากตัวคุณแม่จะรู้สึกเย็นสดชื่น กระปรี้กระเปร่ามากขึ้นแล้ว ทารกน้อยก็รู้สึกเช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่เย็นลงอย่างเฉียบพลันจึงสามารถกระตุ้นให้ทารกตื่นตัว และเริ่มเคลื่อนไหว เริ่มขยับตัวไปมา
4. ประคบน้ำแข็งที่ท้อง
นอกจากอุณหภูมิภายในร่างกายที่เปลี่ยนไป ทารกในครรภ์ก็สามารถรับรู้ถึงอุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนแปลงจากภายนอกได้เช่นกัน คุณแม่สามารถประคบน้ำแข็งที่บริเวณหน้าท้อง เพื่อกระตุ้นการตอบสนองของทารกได้
5. นอนตะแคง
การนอนตะแคง เป็นท่านอนที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ช่วยลดแรงกดทับบริเวณหลังได้ดี ทำให้การไหลเวียนของเลือดระบายได้ดี และทำให้คุณแม่ลุกขึ้นสะดวกด้วย
มากไปกว่านั้น การนอนตะแคงยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังทารก และกระตุ้นให้ทารกเคลื่อนไหวมากขึ้น ขณะเดียวกันเวลาที่คุณแม่พลิกมานอนตะแคง ทารกก็ต้องเคลื่อนตัวไปตามแรงโน้มถ่วงของครรภ์ด้วย จึงกระตุ้นให้ทารกต้องมีการขยับตัว เพื่ออยู่ในท่าที่ทำให้รู้สึกสบายตัวมากขึ้น
6. เปลี่ยนอริบาบถบ่อย ๆ
การนั่งท่าเดิมนาน ๆ อาจทำให้คุณแม่เมื่อย หรือรู้สึกเลือดลมไหลเวียนไม่ค่อยดี พยายามเปลี่ยนท่านั่ง หรือเปลี่ยนมายืน หรือเดินบ้าง เพื่อให้รู้สึกสบายตัว
ขณะเดียวกันในทุก ๆ ครั้งที่คุณแม่เปลี่ยนอริยาบถ ทารกในครรภ์ก็จะถูกกระตุ้นให้ต้องขยับตัวเพื่อปรับตัวเองให้อยู่ในท่าที่รู้สึกสบายตัวที่สุด
7. พูดกับลูกบ่อย ๆ ร้องเพลงให้ลูกฟัง
ทารกที่อายุครรภ์ 24 สัปดาห์ขึ้นไปสามารถได้ยินเสียงของแม่และเสียงต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกมดลูกได้แล้ว ทั้งยังสามารถจดจำและตอบสนองต่อเสียงที่คุ้นเคยได้อีกด้วย
ดังนั้น การพูดกับลูกบ่อย ๆ เล่านิทานให้ลูกฟัง หรือจะร้องเพลงให้ฟังก็ยังได้ การสื่อสารกับลูกบ่อย ๆ จะทำให้เขาสามารถจำเสียงของคุณแม่ได้ และเริ่มตอบสนองด้วยการดิ้น การเตะท้องเวลาที่คุณแม่ส่งเสียงพูดคุยกับเขา
8. เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น
คุณแม่อาจต้องเดินให้บ่อยขึ้น ออกกำลังกายเบา ๆ หรือทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ นอกจากจะช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น ช่วยลดความเครียด และดีต่อสุขภาพแล้ว การที่คุณแม่เคลื่อนไหวบ่อย ๆ จะทำให้ทารกตื่นตัวตามไปด้วย และกระตุ้นให้เจ้าตัวเล็กเคลื่อนไหวมากขึ้น
9. ลูบท้องบ่อย ๆ สัมผัสท้องเป็นประจำ
การลูบท้อง การสัมผัสที่บริเวณท้องบ่อย ๆ เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกได้ดี และเป็นการกระตุ้นลูกดิ้นที่สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ ทำได้บ่อยตามที่ต้องการ ในทุก ๆ ครั้งที่คุณแม่สัมผัสท้องตัวเองจะกระตุุ้นให้ทารกในครรภ์เกิดการเคลื่อนไหว อยากที่จะตอบสนองต่อการสัมผัสและการเคลื่อนไหวที่หน้าท้องได้มากขึ้น
10. กดหน้าท้อง
คุณแม่สามารถใช้มือกดเบา ๆ ลงที่หน้าท้องด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อดูการตอบสนองของทารก โดยมากแล้วเมื่อทารกได้รับแรงกดจากภายนอก ก็มักจะตอบสนองด้วยการดันตัวกลับมา เป็นการกระตุ้นลูกดิ้นแบบง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใด ๆ มาช่วยเลยค่ะ
สำหรับคุณแม่ที่ลูกเริ่มดิ้นแล้ว และหมั่นนับลูกดิ้นเป็นประจำ อาจยังมีข้อสงสัยกันว่า ลูกดิ้นน้อยแบบไหนเป็นสัญญาณอันตราย? ลูกไม่ดิ้นนานแค่ไหนถึงไปหาหมอ?
คุณแม่จำเป็นจะต้องนับลูกดิ้นเป็นประจำ และจดบันทึกตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อให้สามารถทราบข้อมูลความถี่ตามปกติของทารกในครรภ์
ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณแม่พบว่าลูกน้อยดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งภายใน 2 ชั่วโมง ถือว่าเริ่มเป็นสัญญาณอันตราย คุณแม่ไม่ต้องรอนับให้ครบครึ่งวัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ ไม่ว่าตอนนั้นจะทำอะไรอยู่ก็ตาม ควรรีบไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด เพราะถ้าหากเป็นกรณีร้ายแรง แพทย์สามารถที่จะดูแลรักษาชีวิตของทารกได้อย่างทันท่วงที
ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจกับโภชนาการมากเป็นพิเศษ เพราะสารอาหารที่ได้รับในแต่ละวันไม่เพียงแค่ช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์จนถึงช่วงตั้งครรภ์จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการสมวัย และลดความเสี่ยงจากภาวะสุขภาพต่าง ๆ
คุณแม่ควรกินอาหารให้หลากหลาย พยายามเพิ่มทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ธัญพืช และผลไม้ต่าง ๆ ในอาหารแต่ละมื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับโภชนาการที่ครบถ้วน
มากไปกว่านั้น คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อาจเลือกดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ