Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
แม่ท้องหลายคนมีขนาดครรภ์เล็ก แม้ว่าจะตั้งครรภ์จนถึงไตรมาสสองแล้ว แต่ครรภ์ก็ยังเล็กกว่าคนท้องไตรมาสสองโดยทั่วไป จนเกิดเป็นกังวลว่า ท้องเล็กจะส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์หรือเปล่า? ท้องเล็กถือว่าผิดปกติไหม? บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณแม่มาไขคำตอบไปพร้อม ๆ กันค่ะว่า จริง ๆ แล้ว ท้องเล็ก มันผิดปกติจริง ๆ หรือ?
ก่อนอื่นอยากให้คุณแม่ทุกคนทำความเข้าใจกันก่อนว่า ขนาดครรภ์คนท้องแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันค่ะ เนื่องมาจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของสรีระ อายุตอนตั้งครรภ์ จำนวนการตั้งครรภ์ ไปจนถึงไลฟ์สไตล์การออกกำลังกายก็มีส่วนต่อขนาดครรภ์ด้วยเหมือนกัน
อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ต้องกลัวว่า โอ๊ย ฉันท้องเล็ก ลูกฉันจะต้องคลอดออกมาตัวเล็กแน่เลย ขอบอกตรงนี้ว่า คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปเลยค่ะ เพราะท้องเล็ก ไม่เท่ากับ ลูกตัวเล็กค่ะ เพราะขนาดครรภ์ ไม่ส่งผลต่อขนาดตัวของทารกแต่อย่างใด
มากไปกว่านั้น หากแพทย์ได้ทำการตรวจครรภ์และวัดขนาดยอดมดลูก และพบว่าทารกเจริญเติบโตตามปกติ ขนาดท้องจะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่สำคัญค่ะ ตราบที่เจ้าตัวเล็กในครรภ์มีพัฒนาการที่สมวัย
ย้ำอีกครั้งนะคะ ไม่ต้องไปเสียเวลาเทียบขนาดท้องกับใคร ถ้าแพทย์บอกว่าลูกน้อยแข็งแรงและเป็นปกติ นั่นคือไฟนอลค่ะ ปิดไมค์ตัดจบได้เลย
สาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท้องเล็ก มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยในเรื่องของจำนวนการตั้งครรภ์ สรีระ และอายุในการตั้งครรภ์แล้ว อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจส่งผลให้ท้องเล็ก และค่อนข้างจะเป็นสาเหตุที่อันตรายก็คือ ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
ซึ่งถ้าหากแพทย์ตรวจพบว่าปริมาณน้ำคร่ำในช่วงไตรมาสนั้น ๆ ลดน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น กรณีเช่นนี้จะส่งผลให้มดลูกมีขนาดแคบลง เมื่อมดลูกแคบลง ก็เสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีขนาดผิดปกติ ใบหน้าผิดรูป แขนขา มือและเท้าผิดรูป ปอดแฟบลง อัตราการเต้นของหัวใจต่ำลง ซึ่งถ้าหากภาวะน้ำคร่ำน้อยเกิดอายุครรภ์ 22 สัปดาห์ ทารกในครรภ์เสี่ยงที่จะเสียชีวิต
แต่ถ้าหากพบในช่วงไตรมาสสาม แพทย์อาจจำเป็นจะต้องวินิจฉัยให้ทำการผ่าคลอดเอาเด็กออก เพื่อรักษาชีวิตของแม่และเด็กไว้
ย้ำกันอีกครั้งค่ะ ดูปากณัชชา... ท้องเล็กไม่อันตราย ตราบที่แพทย์ตรวจครรภ์แล้วพบว่าทารกในครรภ์เติบโตเป็นปกติค่ะ
ส่วนท้องเล็กที่อันตราย และจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด คือกรณีที่แม่ท้องเล็กแล้วแพทย์ตรวจพบความผิดปกติอื่น ๆ
เช่น ตรวจไม่พบการเต้นหัวใจของทารก ทารกไม่ดิ้น คุณแม่มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ปวดท้องรุนแรง ปากมดลูกเปิดก่อนถึงกำหนดคลอด
กรณีเหล่านี้ ทั้งแม่ท้องเล็กและท้องใหญ่ก็ล้วนแล้วแต่อยู่ในสภาวะความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ทั้งสิ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
ขนาดท้องจะเริ่มขยายออกในช่วงการตั้งครรภ์เดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 7 ค่ะ แต่ถ้าหากคุณแม่ท้อง 4 เดือนแล้ว และท้องยังเล็กอยู่ ก็ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งท้องอาจจะเริ่มนูนใหญ่ตอนอายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไปก็ได้ค่ะ
แม่ท้อง 6 เดือน แต่ท้องยังเล็ก ไม่ถือว่าผิดปกติค่ะ ตราบที่แพทย์ตรวจครรภ์แล้วระบุว่าทารกในครรภ์ยังมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ
ท้อง 7 เดือน โดยปกติจะต้องนูนใหญ่ชัดเจนแล้ว แต่ถ้าคุณแม่ยังท้องเล็กอยู่ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ ขนาดท้องเล็กใหญ่ ไม่ได้เป็นตัววัดการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
มากไปกว่านั้น หากแพทย์ตรวจครรภ์แล้วระบุว่าทารกในครรภ์ยังมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลค่ะ
มีคุณแม่หลายคนค่ะที่ตั้งท้องมาจนถึงเดือนที่ 9 แล้ว แต่ยังท้องเล็กอยู่ กรณีแบบนี้ไม่ถือว่าอันตรายแต่อย่างใดค่ะ
เพราะขนาดท้องของแม่แต่ละคนไม่เหมือนกันอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแม่ตัวเล็ก ตั้งท้องตอนอายุน้อย หรือมีผนังหน้าท้องแข็งแรง ขนาดครรภ์ก็จะไม่ใหญ่มากอยู่แล้วค่ะ
มากไปกว่านั้น หากแพทย์ตรวจครรภ์แล้วระบุว่าทารกในครรภ์ยังมีการเจริญเติบโตเป็นปกติ ก็ไม่มีอะไรที่จะต้องกังวล จะท้องเล็กหรือท้องใหญ่ตอน 9 เดือน ก็ไม่ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์แต่อย่างใดค่ะ
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ