Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
คุณแม่ตั้งครรภ์หลายท่านมักเผชิญกับปัญหาท้องผูก โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น อาการขับถ่ายไม่ออกก็ยิ่งพบบ่อยขึ้น ทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่สบายเนื้อ ไม่สบายตัว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาการปวดท้องคล้ายปวดอุจจาระ แต่กลับถ่ายไม่ออก จะเป็นอาการที่พบได้บ่อย
แต่ก็อาจทำให้คุณแม่หลายท่านสงสัยว่าหากรู้สึกปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ถ่ายตั้งครรภ์ 9 เดือน อาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณที่ผิดปกติด้วยหรือไม่? บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับอาการปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ถ่ายในแม่ตั้งครรภ์มาฝากค่ะ
โดยทั่วไปแล้วหากคนท้องปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ออก พยายามขับถ่ายตามปกติแล้วแต่ก็ยังอึไม่ออก ลักษณะเช่นนี้มักจะเป็นอาการท้องผูกในขณะตั้งครรภ์ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในอาการปกติที่พบได้ทั่วไปในแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสที่สาม
ซึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ออกนั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ที่มีผลทำให้ลำไส้เกิดการผ่อนคลาย ไม่ต้องทำงานหนักเพื่อขับของเสียมากจนเกินไป ทำให้ลำไส้มีเวลามากขึ้นในการดูดซับสารอาหารและความชื้นจากกากอาหาร ทำให้กากอาหารเหล่านั้นแห้งและแข็ง จึงขับถ่ายออกได้ยาก
ดังนั้น เมื่อระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มสูงขึ้น ก็มีผลทำให้ลำไส้ทำงานน้อยลง และอาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ช้าลง ทำให้มีโอกาสเกิดอาการท้องผูกมากขึ้นตามไปด้วย
การขยายตัวของมดลูกและทารกในครรภ์
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกก็จะมีขนาดตัวใหญ่ขึ้น มดลูกก็จะต้องขยายตัวมากขึ้น เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอรองรับการเจริญเติบโตของทารก ทำให้มดลูกที่ใหญ่ขึ้นไปกดทับลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้ทำงานได้น้อยลง และมีโอกาสที่ลำไส้จะดูดน้ำกลับมากขึ้น ทำให้กากอาหารแห้งและแข็ง เพิ่มความเสี่ยงของอาการท้องผูกได้
ปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายสูงเกินไป
ธาตุเหล็กดีต่อร่างกายของแม่ตั้งครรภ์นั้นเป็นเรื่องจริงค่ะ เพราะมีส่วนช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ทารกได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเพียงพอ และลดความเสี่ยงของโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กด้วย
อย่างไรก็ตาม อะไรที่มากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ หากคุณแม่กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงบ่อย ๆ หรือกินอาหารเสริมธาตุเหล็กมากจนเกินไป เสี่ยงที่จะทำให้ร่างกายมีปริมาณธาตุเหล็กตกค้างเป็นจำนวนมาก และธาตุเหล็กส่วนเกินเหล่านี้จะส่งผลเสียต่อสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ และดึงน้ำกลับไปยังลำไส้มากขึ้น ทำให้อุจจาระแข็งและขับถ่ายออกได้ยาก
ไลฟ์สไตล์ของคุณแม่
คุณแม่ที่ไม่ค่อยดื่มน้ำ และไม่ค่อยกินอาหารที่มีกากใย มักจะมีอาการท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากลำไส้ขาดความชุ่มชื้น และไม่มีไฟเบอร์มากพอที่จะกระตุ้นการทำงานของลำไส้
มากไปกว่านั้น คุณแม่ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ออกกำลังกาย ก็มักจะท้องผูกบ่อย เพราะลำไส้ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้ทำงานตามปกติ ส่งผลทำให้ขับถ่ายออกยาก
คุณแม่ที่อายุครรภ์ 9 เดือน และมีอาการปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย ไปถ่ายแล้วถ่ายไม่ออก สำหรับคุณแม่ที่อายุครรภ์ 9 เดือนนั้น ลักษณะแบบนี้อาจแบ่งออกได้ 2 กรณี ดังนี้
1.คุณแม่มีอาการท้องผูกจริง
ซึ่งสำหรับคนท้องไตรมาสที่ 3 นั้น อาการท้องผูกจะพบได้บ่อย เนื่องจากขนาดมดลูกขยายใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของทารก ทำให้มดลูกที่มีขนาดใหญ่ไปกดทับลำไส้ ทำให้ลำไส้ทำงานได้ช้าลง ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกได้
2.คุณแม่มีสัญญาณใกล้คลอด
บางครั้งคุณแม่อาจไม่ได้มีอาการท้องผูก เพราะอาการปวดท้องเหมือนปวดอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์นั้น อาจเป็นสัญญาณของอาการใกล้คลอดได้ค่ะ
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่จะมีความผันผวนสูงในช่วงที่ใกล้คลอด เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมที่จะคลอดลูก ปัจจัยนี้จึงส่งผลให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ปากมดลูก และกล้ามเนื้อที่ลำไส้ตรงอ่อนตัวลง คุณแม่จึงรู้สึกปวดท้องอยากเข้าห้องน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะมีทั้งการขับถ่ายจริง ๆ หรือแค่เพียงมีอาการปวดท้องเหมือนอุจจาระ แต่ไม่ถ่ายก็ได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ปวดท้องเหมือนอุจจาระ แต่ไม่ถ่าย อย่าลืมตรวจเช็กดูด้วยว่าปากมดลูกเริ่มเปิดกว้างขึ้นด้วยไหม มีน้ำคร่ำหรือของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดหรือเปล่า หากมีอาการร่วมกันในลักษณะนี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อที่ว่าถ้าหากเป็นอาการใกล้คลอดจริง จะได้เข้าสู่กระบวนการเตรียมพร้อมเพื่อทำคลอดทันทีค่ะ
ท้อง 8 เดือน ปวดท้องเหมือนปวดประจําเดือน และพยายามลองเบ่งอุจจาระแล้ว แต่ก็ไม่ถ่าย อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีอาการท้องผูกในขณะตั้งครรภ์ค่ะ ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่พบได้บ่อยในช่วงอายุครรภ์ไตรมาสสาม
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอาการปวดท้องแต่ถ่ายไม่ออก หรือท้องผูกนานเกิน 5 วัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมค่ะ
แม่ตั้งครรภ์ 7 หลายท่านอาจเริ่มมีอาการท้องผูก ซึ่งก็ถือเป็นอาการโดยทั่วไปสำหรับการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สามค่ะ อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดท้องแต่ถ่ายไม่ออกนี้ติดต่อนานเกิน 5 วัน คุณแม่ควรจะต้องหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษากับแพทย์ค่ะ บางครั้งคุณแม่อาจจำเป็นจะต้องกินยาระบาย หรือใช้ยาอื่น ๆ ที่ปลอดภัยเพื่อช่วยให้อาการท้องผูกดีขึ้น
การกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผักและผลไม้เป็นประจำ จะช่วยให้ลำไส้ทำงานดีขึ้นและลดความเสี่ยงของอาการท้องผูก นอกจากนี้ คุณแม่ควรกินอาหารให้หลากหลาย ทั้งเนื้อสัตว์และธัญพืช เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ และช่วยให้ทารกได้รับโภชนาการที่เหมาะสม มีพัฒนาการเจริญเติบโตที่สมวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์
โดยในทุก ๆ วันหลังมื้ออาหาร หรือมื้อว่าง คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม
Enfa สรุปให้ รกคืออวัยวะที่สำคัญมากในการตั้งครรภ์ซึ่งทำหน้าที่รองรับการเจริญเติบโตของทารกตลอด 40...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ รกพันคอเด็ก คือ ภาวะที่สายสะดือพันรอบคอทารกในครรภ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการที่ทารกเคลื...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ แพ้ท้องหนักมาก กินอะไรไม่ได้เลย อาจส่งผลให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว มี...
อ่านต่อ