นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

EFW (Estimated Fetal Weight) คืออะไร มีสูตรคำนวณอย่างไร ?

Enfa สรุปให้

  • EFW (Estimate fetal weight) คือ การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเพื่อเตรียมการคลอดที่ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก
  • โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มทำ EFW ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสสาม โดยทำห่างกันอย่าง 2-4 สัปดาห์ เพื่อประมาณน้ำหนักของทารกในครรภ์ก่อนคลอด
  • Estimate fetal weight มีสูตรการคำนวณที่นิยมใช้กัน 2 สูตรซึ่งมีความแม่นยำใกล้เคียงกัน เป็นวิธีการที่ปลอดภัย ไม่เจ็บ และไม่เกิดอันตรายกับคุณแม่

เลือกอ่านตามหัวข้อ

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลเพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และตรวจภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยระหว่างตั้งครรภ์แพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์เป็นระยะเพื่อติดตามพัฒนาการทารก โดยเฉพาะการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า EFW ซึ่งมีประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของทั้งคุณแม่และลูกน้อยอย่างมาก

วันนี้ Enfa จะพาคุณแม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Estimate fetal weight  หรือ EFW คืออะไร และ Estimate fetal weight มีสูตรการคำนวณอย่างไร เพื่อให้คุณแม่ได้ติดตามพัฒนาการทารกน้อยในครรภ์ รวมถึงจะได้บำรุงร่างกายให้เต็มที่เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกรักอีกด้วย

EFW คือ

EFW คือ การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ ย่อมาจากคำว่า Estimated Fetal Weight หมายถึง การคำนวณน้ำหนักของทารกในครรภ์โดยใช้เทคนิคการตรวจอัลตราซาวด์ แพทย์จะใช้ข้อมูลที่ได้จากการวัดขนาดต่าง ๆ ของทารก เช่น เส้นผ่านศูนย์กลางของศีรษะ (BPD), เส้นรอบวงศีรษะ (HC), เส้นรอบวงช่องท้อง (AC) และความยาวของกระดูกต้นขา (FL) เพื่อคำนวณน้ำหนักทารก

โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มทำ EFW ในช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสสาม โดยทำห่างกันอย่าง 2-4 สัปดาห์ เพื่อประมาณน้ำหนักของทารกในครรภ์ก่อนคลอด การประเมินน้ำหนักทารกระหว่างการตั้งครรภ์ไม่เพียงเป็นการประเมินสุขภาพและการเจริญเติบโตของทารกเท่านั้น แต่ยังมีความจำเป็นต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดและหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะในทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำและสูงเกินไป

สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบคือ การเจริญเติบโตของทารกทั้งขณะตั้งครรภ์ ก่อนคลอด และหลังคลอด มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่ส่งผล เช่น น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์, จำนวนการตั้งครรภ์, กิจกรรมที่ปฏิบัติระหว่างการตั้งครรภ์, โรคประจำตัวคุณแม่, ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์เป็นพิษ, อายุครรภ์ ณ เวลาที่คลอด, เพศของทารก, เชื้อชาติ, ความสูงของพ่อและแม่ เป็นต้น


EFW จากการอัลตร้าซาวด์บอกอะไร

EFW จากการอัลตราซาวด์สามารถบอกได้ว่าทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมหรือไม่ หากค่า EFW แสดงว่าทารกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ อาจหมายถึงทารกมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตหรือสุขภาพ เช่น ภาวะการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ (IUGR) หรือถ้าน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณของภาวะทารกใหญ่เกินไป ซึ่งอาจส่งผลต่อการคลอด หรือเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด ซึ่งการทำ EFW นี้จะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการคลอดที่เหมาะสมเพื่อให้ปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อย

นอกจากทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำ (Low Birth Weight) และ ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดสูง (Macrosomia) จะเพิ่มความเสี่ยงระหว่างการคลอดและการดูแลหลังคลอดแล้ว แพทย์ยังต้องใช้ EFW ในการประเมินโอกาสการผ่าคลอดฉุกเฉินทางหน้าท้องในกรณีที่ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดสูง หรือมีการเกิดความแตกต่างของขนาดศีรษะทารกและอุ้งเชิงกราน ทำให้ทารกไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้

ตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนในทารก

น้ำหนักแรกเกิดต่ำ (low birth weight)

  • การคลอดก่อนกำหนด
  • เกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR)

ทารกที่มีน้ำหนักแรกเกิดสูง (macrosomia)

  • การคลอดติดไหล่ (dystocia)
  • การบาดเจ็บต่อเส้นประสาทบริเวณคอ (brachial plexus injury)
  • การบาดเจ็บต่อกระดูก
  • ขณะคลอดอาจทำให้เกิดภาวะขาดอากาศ (asphyxia)
  • ความเสี่ยงของมารดาขณะคลอด ประกอบด้วย การบาดเจ็บต่อช่องคลอด และเชิงกราน อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดอีกด้วย

Estimated Fetal Weight สูตรคำนวณ

ปัจจุบัน Estimated Fetal Weight มีสูตรคำนวณที่นิยมใช้กัน 2 สูตร คือ สูตรการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ของ Johnson และสูตรการคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ของ Dare ซึ่งทั้งสองสูตรนั้นแตกต่างกันโดยสูตรของ Johnson ใช้การคำนวณจากความสูงของยอดมดลูก ส่วนสูตรของ Dare จะนำข้อมูลทั้งในส่วนของเส้นรอบท้องและความสูงของยอดมดลูกมาใช้ในการคำนวณด้วย

การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้สูตร Johnson

น้ำหนักของทารกในครรภ์ หรือ Fetal weight (กรัม) = 155 x [ความสูงของยอดมดลูก หรือ Fundal height (cm.)]

การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์โดยใช้สูตร Dare

น้ำหนักของทารกในครรภ์ หรือ Fetal weight (กรัม) = HF (cm.) x AC (cm.)  

โดย HF คือ ความสูงยอดมดลูก (Height of Fundus) และ AC คือ เส้นรอบท้อง (abdominal circumference)

ทั้งสองวิธีนี้มีข้อดีคือสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว และไม่ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ แต่อาจต้องใช้การตรวจภายในเพื่อตรวจวัดความสูงของยอดมดลูกและตรวจวัดเส้นรอบท้องร่วมด้วย เพื่อให้ผล EFW แม่นยำหรือใกล้เคียงมากที่สุด ทั้งนี้ต้องอาศัยแพทย์หรือพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญสูงในการทำ เพราะอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ในกรณีต่างๆ เช่น มารดาอ้วนหรือผอมเกินไป ครรภ์แฝด หรือมีภาวะน้ำคร่ำผิดปกติ

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่

การดูแลสุขภาพคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ขึ้นอยู่กับการติดตามการเจริญเติบโตทารกผ่านอัลตราซาวด์หรือ EFW เท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่อีกด้วย

ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกและเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ ควรเป็นอาหารปรุงสุกที่ถูกสุขอนามัย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน นอกจากนี้ ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม รวมถึงการดื่มน้ำสะอาดและพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

 

  • National Institutes of Child Health and Human Development. Fetal Growth Calculator. [online]. Accessed https://www.nichd.nih.gov/fetalgrowthcalculator. [16 October 2024].
  • Journal of Holistic Nursing and Midwifery. Estimation of Fetal Weight by Clinical Methods and Ultrasonography and Comparing With Actual Birth Weight. [online]. Accessed https://hnmj.gums.ac.ir/browse.php?a_id=1737&sid=1&slc_lang=en&html=1. [16 October 2024].
  • ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การคาดคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimate fetal weight). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5812/. [16 ตุลาคม 2567].
     

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama