นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกโก่งตัวบ่อย ลูกไม่ดิ้นแต่โก่งตัว เสี่ยงอันตรายหรือเปล่า

Enfa สรุปให้

  • ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นอาการปกติที่พบได้ในอายุครรภ์ไตรมาสสาม เนื่องจากพื้นที่ในมดลูกแคบลง เวลาทารกขยับตัวจึงไปชนเข้ากับผนังมดลูก จนสามารถมองเห็นรอยนูนเวลาที่ทารกโก่งตัว
  • ท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นอาการปกติของอายุครรภ์ที่มากขึ้น แต่ถ้าหากทารกโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณที่อาจเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
  • ลูกไม่ดิ้น แต่โก่งตัว พบได้บ่อยในอายุครรภ์ที่มากขึ้น เพราะทารกขยับตัวไปชนเข้ากับผนังมดลูก จึงสามารถมองเห็นว่าลูกกำลังโก่งตัว ถือเป็นการเคลื่อนไหวตามปกติของทารก

เลือกอ่านตามหัวข้อ

จับท้องแล้วรู้สึกว่าลูกโก่งตัวบ่อย ยิ่งเข้าสู่ช่วงท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย อาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกกังวลใจเวลาที่จับท้องแล้วรู้สึกว่าลูกโก่งตัวบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อยมากเป็นพิเศษจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน บทความนี้จาก Enfa จะชวนคุณแม่มารู้จักกับอาการลูกโก่งตัวบ่อยให้มากขึ้น เพื่อให้คุณแม่ได้คลายความกังวลใจและเตรียมตัวรับมือกับอาการโก่งตัวของทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม

ลูกโก่งตัวบ่อย ปกติไหม


ลูกโก่งตัวบ่อยเป็นอะไรไหม? ขึ้นอยู่กับว่าอาการโก่งตัวนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากแค่ไหนค่ะ ดังนั้น คุณแม่ควรจับสังเกตให้ดีว่าภายใน 1 ชั่วโมง ลูกโก่งตัวบ่อยกี่ครั้ง


เพราะโดยปกติแล้วเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ก็จะพบอาการท้องแข็ง และอาการลูกโก่งตัวบ่อยเป็นปกติ ซึ่งอาการทั้งสองแบบนี้คล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออก ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นและหายไปได้เอง

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สังเกตว่าลูกโก่งตัวบ่อยมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปต่อ 1 ชั่วโมง และนอนพักแล้วก็ไม่หาย กรณีแบบนี้คุณแม่อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยในทันที

ลูกโก่งตัวตอนกี่เดือน


ลูกในท้องโก่งตัวบ่อย คุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อย อาการเหล่านี้จะปรากฎขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 หรือเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือนเป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าใกล้กำหนดคลอด จะพบว่าลูกโก่งตัวบ่อยกว่าปกติค่ะ

ลูกโก่งตัวบ่อยเพราะอะไร


ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นไปได้ทั้งอาการปกติ และอาการที่ผิดปกติ โดยสาเหตุลูกโก่งตัว ที่พบได้โดยทั่วไป มีดังนี้

ทารกตัวใหญ่ขึ้น ทำให้พื้นที่ภายในมดลูกแคบลง เวลาที่ทารกขยับตัวจึงอาจจะเกิดการโก่งตัวขึ้นเพื่อเปลี่ยนท่า

ลูกดิ้นตามปกติ แต่เนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ และพื้นที่ภายในมดลูกน้อยลง ทำให้ทารกใกล้ชิดกับผนังมดลูกมากขึ้น เวลาที่เคลื่อนไหวหรือขยับตัว คุณแม่จึงสามารถสัมผัสกับการโก่งตัวของลูกได้มากขึ้น สามารถมองเห็นรอยนูนเวลาลูกโก่งตัวได้ชัดเจนมากขึ้น

มดลูกและอวัยวะภายในเกิดการบีบตัวในเวลาที่คุณแม่เปลี่ยนอริยาบถ ทำให้ทารกมีการโก่งตัวตามมา

อย่างไรก็ตาม อาการลูกโก่งตัวบ่อยมักจะไม่ได้เกิดทุกชั่วโมง และเวลาที่ลูกโก่งตัว ก็มักจะหายปวดท้องไปเอง แต่หากคุณแม่มีอาการท้องแข็ง หรือลูกโก่งตัวทุกชั่วโมง หรือลูกโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

ลูกไม่ดิ้น แต่โก่งตัว


ลูกไม่ค่อยดิ้นแต่โก่งตัว ถือเป็นอาการปกติของคุณแม่ที่อายุครรภ์อยู่ในไตรมาสสามค่ะ เนื่องจากทารกตัวโตขึ้น พื้นที่ภายในมดลูกก็เหลือน้อยลง ทารกจึงไม่สามารถดิ้นได้อย่างอิสระแบบแต่ก่อน จึงดิ้นน้อยลง  

และเนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาที่ลูกน้อยขยับตัวจึงเข้าใกล้ผนังมดลูกได้มากขึ้น เวลาที่ลูกขยับตัวจะปรากฎรอยนูนที่คุณแม่สามารถสังเกตเห็นลูกโก่งตัวได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอายุครรภ์ในไตรมาสสามแล้ว และพบว่าลูกไม่ดิ้น ไม่มีอาการโก่งตัวขึ้นเลย หรือภายใน 2 ชั่วโมง ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง แม้ว่าจะพยายามใช้วิธีกระตุ้นลูกดิ้นแล้วก็ยังไม่เป็นผล ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ลูกโก่งตัว ท้องเบี้ยว ปกติไหม


ลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย หรือลูกโก่งตัวบ่อย สามารถทำให้เกิดอาการท้องเบี้ยวได้เป็นเรื่องปกติค่ะ

แต่ถ้าหากลูกโก่งตัวบ่อยจนท้องเบี้ยว และมีอาการโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง แบบนี้จึงจะถือว่ามีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

ท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย


แม่ท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นอาการปกติของอายุครรภ์ที่มากขึ้นค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายในมดลูกแคบลง ลูกจึงขยับตัวไปชนกับผนังมดลูกได้ง่ายขึ้น คุณแม่จึงสังเกตเห็นลูกโก่งตัวบ่อย ๆ ได้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม หากลูกโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที

อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่


โภชนาการที่ดี จะบำรุงทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ให้แข็งแรง ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย และลดความเสี่ยงต่อภาวะอันตรายขณะตั้งครรภ์ 

โดยในแต่ละวันนอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อาจเลือกดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)

ไขข้อข้องใจเรื่องลูกโก่งตัวบ่อยกับ Enfa Smart Club


  ท้อง 38 สัปดาห์ ลูกโก่งตัวบ่อยมาก?

อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่สามารถพบอาการลูกโก่งตัวบ่อยได้เป็นเรื่องปกติค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายในมดมีขนาดเล็กลง ลูกไม่สามารถจะดิ้นไปมาได้อย่างอิสระ

มากไปกว่านั้น ขนาดตัวของทารกที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาขยับตัวในแต่ละครั้งจะไปชนกับผนังมดลูกได้ง่ายขึ้น คุณแม่จึงสังเกตเห็นลูกโก่งตัวบ่อย ๆ ได้อย่างชัดเจนค่ะ

  ท้อง 7 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย?

ท้อง 7 เดือน เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ระยะนี้ทารกจะตัวใหญ่ขึ้น มดลูกมีพื้นที่น้อยลง เวลาที่ทารกขยับตัว จึงไปชนเข้ากับผนังมดลูกได้ง่าย คุณแม่จึงมองเห็นลูกโก่งตัวและปรากฎเป็นรอยนูนที่หน้าท้องได้บ่อยขึ้นค่ะ

 

  • What to expect. Pregnancy Nutrition Chart: 33 Essential Nutrients for Pregnant Women. [Online] Accessed https://www.whattoexpect.com/pregnancy/diet/pregnancy-nutrition-chart/. [27 August 2024]
  • โรงพยาบาลพญาไท. ท้องแข็งขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงอันตรายแค่ไหน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/2688. [27 สิงหาคม 2024]
  • โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ. การดิ้นของทารกในครรภ์ สัญญาณที่คุณแม่ควรรู้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/114. [27 สิงหาคม 2024]
  • DrNoon Channel. QA: ลูกโก่งตัวผิดปกติหรือไม่ ต่างจากท้องแข็งอย่างไร | ถาม-ตอบ คนท้อง by หมอนุ่น | DrNoon Channel. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=RPb5giIHq3E. [27 สิงหาคม 2024]
  • DrNoon Channel. ท้องแรกแยกไม่ออกระหว่างลูกโก่งตัว ท้องปั้นแล้วก็ท้องแข็ง ต้องทำอย่างไร. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=s_lLH8e9Sco. [27 สิงหาคม 2024]

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama