Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
จับท้องแล้วรู้สึกว่าลูกโก่งตัวบ่อย ยิ่งเข้าสู่ช่วงท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย อาการแบบนี้อาจทำให้คุณแม่หลายคนรู้สึกกังวลใจเวลาที่จับท้องแล้วรู้สึกว่าลูกโก่งตัวบ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ช่วงท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อยมากเป็นพิเศษจนสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน บทความนี้จาก Enfa จะชวนคุณแม่มารู้จักกับอาการลูกโก่งตัวบ่อยให้มากขึ้น เพื่อให้คุณแม่ได้คลายความกังวลใจและเตรียมตัวรับมือกับอาการโก่งตัวของทารกในครรภ์อย่างเหมาะสม
ลูกโก่งตัวบ่อยเป็นอะไรไหม? ขึ้นอยู่กับว่าอาการโก่งตัวนั้นเกิดขึ้นบ่อยมากแค่ไหนค่ะ ดังนั้น คุณแม่ควรจับสังเกตให้ดีว่าภายใน 1 ชั่วโมง ลูกโก่งตัวบ่อยกี่ครั้ง
เพราะโดยปกติแล้วเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น คุณแม่ก็จะพบอาการท้องแข็ง และอาการลูกโก่งตัวบ่อยเป็นปกติ ซึ่งอาการทั้งสองแบบนี้คล้ายกันมากจนแทบแยกไม่ออก ซึ่งอาการมักจะเกิดขึ้นและหายไปได้เอง
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่สังเกตว่าลูกโก่งตัวบ่อยมากกว่า 5 ครั้งขึ้นไปต่อ 1 ชั่วโมง และนอนพักแล้วก็ไม่หาย กรณีแบบนี้คุณแม่อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยในทันที
ลูกในท้องโก่งตัวบ่อย คุณแม่มีอาการท้องแข็งบ่อย อาการเหล่านี้จะปรากฎขึ้นเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 หรือเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ 7 เดือนเป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าใกล้กำหนดคลอด จะพบว่าลูกโก่งตัวบ่อยกว่าปกติค่ะ
ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นไปได้ทั้งอาการปกติ และอาการที่ผิดปกติ โดยสาเหตุลูกโก่งตัว ที่พบได้โดยทั่วไป มีดังนี้
ทารกตัวใหญ่ขึ้น ทำให้พื้นที่ภายในมดลูกแคบลง เวลาที่ทารกขยับตัวจึงอาจจะเกิดการโก่งตัวขึ้นเพื่อเปลี่ยนท่า
ลูกดิ้นตามปกติ แต่เนื่องจากทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ และพื้นที่ภายในมดลูกน้อยลง ทำให้ทารกใกล้ชิดกับผนังมดลูกมากขึ้น เวลาที่เคลื่อนไหวหรือขยับตัว คุณแม่จึงสามารถสัมผัสกับการโก่งตัวของลูกได้มากขึ้น สามารถมองเห็นรอยนูนเวลาลูกโก่งตัวได้ชัดเจนมากขึ้น
มดลูกและอวัยวะภายในเกิดการบีบตัวในเวลาที่คุณแม่เปลี่ยนอริยาบถ ทำให้ทารกมีการโก่งตัวตามมา
อย่างไรก็ตาม อาการลูกโก่งตัวบ่อยมักจะไม่ได้เกิดทุกชั่วโมง และเวลาที่ลูกโก่งตัว ก็มักจะหายปวดท้องไปเอง แต่หากคุณแม่มีอาการท้องแข็ง หรือลูกโก่งตัวทุกชั่วโมง หรือลูกโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
ลูกไม่ค่อยดิ้นแต่โก่งตัว ถือเป็นอาการปกติของคุณแม่ที่อายุครรภ์อยู่ในไตรมาสสามค่ะ เนื่องจากทารกตัวโตขึ้น พื้นที่ภายในมดลูกก็เหลือน้อยลง ทารกจึงไม่สามารถดิ้นได้อย่างอิสระแบบแต่ก่อน จึงดิ้นน้อยลง
และเนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาที่ลูกน้อยขยับตัวจึงเข้าใกล้ผนังมดลูกได้มากขึ้น เวลาที่ลูกขยับตัวจะปรากฎรอยนูนที่คุณแม่สามารถสังเกตเห็นลูกโก่งตัวได้ชัดเจนขึ้นค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่มีอายุครรภ์ในไตรมาสสามแล้ว และพบว่าลูกไม่ดิ้น ไม่มีอาการโก่งตัวขึ้นเลย หรือภายใน 2 ชั่วโมง ลูกดิ้นไม่ถึง 10 ครั้ง แม้ว่าจะพยายามใช้วิธีกระตุ้นลูกดิ้นแล้วก็ยังไม่เป็นผล ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
ลูกดิ้นแรง ดิ้นบ่อย หรือลูกโก่งตัวบ่อย สามารถทำให้เกิดอาการท้องเบี้ยวได้เป็นเรื่องปกติค่ะ
แต่ถ้าหากลูกโก่งตัวบ่อยจนท้องเบี้ยว และมีอาการโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง แบบนี้จึงจะถือว่ามีโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
แม่ท้อง 8 เดือน ลูกโก่งตัวบ่อย เป็นอาการปกติของอายุครรภ์ที่มากขึ้นค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายในมดลูกแคบลง ลูกจึงขยับตัวไปชนกับผนังมดลูกได้ง่ายขึ้น คุณแม่จึงสังเกตเห็นลูกโก่งตัวบ่อย ๆ ได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม หากลูกโก่งตัวมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง ถือเป็นสัญญาณผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
โภชนาการที่ดี จะบำรุงทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ให้แข็งแรง ช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัย และลดความเสี่ยงต่อภาวะอันตรายขณะตั้งครรภ์
โดยในแต่ละวันนอกจากการกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลายแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อาจเลือกดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)
อายุครรภ์ 38 สัปดาห์ คุณแม่สามารถพบอาการลูกโก่งตัวบ่อยได้เป็นเรื่องปกติค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายในมดมีขนาดเล็กลง ลูกไม่สามารถจะดิ้นไปมาได้อย่างอิสระ
มากไปกว่านั้น ขนาดตัวของทารกที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาขยับตัวในแต่ละครั้งจะไปชนกับผนังมดลูกได้ง่ายขึ้น คุณแม่จึงสังเกตเห็นลูกโก่งตัวบ่อย ๆ ได้อย่างชัดเจนค่ะ
ท้อง 7 เดือน เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์แล้ว ระยะนี้ทารกจะตัวใหญ่ขึ้น มดลูกมีพื้นที่น้อยลง เวลาที่ทารกขยับตัว จึงไปชนเข้ากับผนังมดลูกได้ง่าย คุณแม่จึงมองเห็นลูกโก่งตัวและปรากฎเป็นรอยนูนที่หน้าท้องได้บ่อยขึ้นค่ะ
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ