Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
hCG หรือ Human Chorionic Gonadotropin คือฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ของรกในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนจะถูกสร้างขึ้นทันทีหลังจากที่ตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูก และจะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อช่วยคงสภาพคอร์ปัสลูเทียม (Corpus Luteum) อันเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเอสตราดิออล (Estradiol) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าวเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ในระยะแรก เพราะช่วยปรับสภาพเยื่อบุผนังมดลูกและเตรียมพร้อมร่างกายคุณแม่เพื่อรองรับการเติบโตของตัวอ่อน
หลังจากรกเจริญจนสมบูรณ์และผลิตฮอร์โมนได้เพียงพอแล้ว รกก็จะรับหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ชนิดอื่นๆ แทน ส่วนคอร์ปัสลูเทียมที่ฮอร์โมน hCG คอยรักษาไว้ก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพไป กระบวนการนี้เรียกว่า Luteal-placental Shift มักจะเกิดขึ้นช่วงท้ายไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือเมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ราว 10-12 สัปดาห์ ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกจึงเป็นช่วงที่จะพบค่าฮอร์โมน hCG ในปริมาณสูง ก่อนจะลดลงอย่างมากในช่วง 2 ไตรมาสหลัง
ฮอร์โมน hCG สามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะและเลือดหลังการปฏิสนธิราว 10-11 วัน เมื่อตัวอ่อนฝังตัวในผนังมดลูกแล้ว โดยปริมาณของฮอร์โมน hCG จะพุ่งสูงสุดในช่วงท้ายไตรมาสแรก หรือราวๆ อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ จากนั้นจะลดลงตลอดช่วงระยะ 2 ไตรมาสหลังของการตั้งครรภ์
ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว วงการแพทย์ในปัจจุบันจึงใช้การตรวจหาฮอร์โมน hCG ในการยืนยันการตั้งครรภ์ของคุณแม่ ฮอร์โมน hCG จึงมักถูกเรียกว่าฮอร์โมนตั้งครรภ์ (Pregnancy Hormone) เพราะมีบทบาทสำคัญมากในการตรวจการตั้งครรภ์ของคุณแม่
การศึกษาเรื่องฮอร์โมน hCG ทำให้มีการสร้างชุดตรวจครรภ์ หรือ Home Pregnancy Test Strips Kit ที่คุณแม่สามารถทดสอบได้เองที่บ้าน ทำให้การตรวจสอบการตั้งครรภ์ทำได้เร็วขึ้น ซึ่งในปัจจุบัน ชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจครรภ์ด้วยตนเองมีจำหน่ายตามร้านขายยาและห้างสรรพสินค้าทั่วไป
คุณแม่มือใหม่หลายคนอาจสงสัยว่า Hcg คือที่ตรวจอะไร ต้องตรวจค่า hCG อย่างไร และชุดตรวจ hCG มีหลักการทำงานยังไง Enfa ขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ว่า hCG Test คือ การตรวจจับฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะหรือเลือด โดยบนแถบทดสอบในชุดตรวจการตั้งครรภ์จะมีแอนติบอดีจำเพาะ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจับกับฮอร์โมน hCG ที่พบในปัสสาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อปัสสาวะของแม่ตั้งครรภ์สัมผัสกับแถบทดสอบ ฮอร์โมน hCG ในปัสสาวะก็จะจับกับแอนติบอดีและไหลผ่านแถบทดสอบไปยังจุดทดสอบที่กำหนดไว้ จากนั้นจึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนสี ซึ่งอาจเป็นเส้นหรือสัญลักษณ์บวกตามที่ชุดทดสอบถูกออกแบบมา
ค่า hCG คนไม่ท้องจะมีระดับฮอร์โมนน้อยกว่า 5 mIU/ml (Milli-international units per milliliter) กล่าวคือหากมีความเข้มข้นของ hCG จากตัวอย่างปัสสาวะหรือเลือดน้อยกว่า 5 mIU/ml เท่ากับว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ ส่วนค่า hCG ในผู้ชายทั่วไปที่มีสุขภาพดีจะอยู่ที่น้อยกว่า 2 mIU/ml
ค่า hCG คนท้องจะต้องมากกว่า 25 mIU/mL เป็นต้นไป
คุณแม่ที่มีภาวะท้องลม หรือภาวะตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน ก็จะตรวจพบค่า hCG พุ่งสูงขึ้นในระยะแรกของการตั้งครรภ์เช่นกัน ทำให้เมื่อตรวจด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ก็จะพบว่ามีผลบวก รวมถึงคุณแม่เองก็อาจแสดงอาการคนท้องระยะแรกตามปกติ สาเหตุเพราะรกและถุงการตั้งครรภ์ (Gestational Sac) ยังคงมีการพัฒนาอยู่ แม้ว่าตัวอ่อนจะไม่พัฒนาก็ตาม แต่เมื่อเวลาผ่านไป ระดับฮอร์โมน hCG จะเพิ่มช้าลงหรือค่อยๆ ชะลอตัว ในขณะที่คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ปกติจะมีค่า hCG เพิ่มขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 48–72 ชั่วโมง เมื่อคุณหมอพบว่าคุณแม่มีค่า hCG น้อยกว่าปกติ ก็จะทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการทำอัลตราซาวด์ หากพบถุงการตั้งครรภ์ที่ว่างเปล่า ไม่มีการพัฒนาของตัวอ่อน ก็จะสามารถระบุได้ว่าคุณแม่มีภาวะท้องลม
ค่า hCG ในช่วงท้อง 2 สัปดาห์แรกจะยังคงมีปริมาณน้อยมาก ก่อนจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่ตัวอ่อนมีการฝังตัวในเยื่อบุมดลูกแล้ว ซึ่งจะเกิดขึ้นราวสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า หลักการนับอายุครรภ์ที่ใช้กันเป็นสากลคือ เริ่มนับจากวันแรกของรอบประจำเดือนครั้งล่าสุด (Last Menstrual Period: LMP) ดังนั้นสัปดาห์แรกที่นับว่าเป็นการตั้งครรภ์ แท้จริงแล้วยังไม่มีการปฏิสนธิหรือการตั้งครรภ์เกิดขึ้น (คุณแม่ยังมีประจำเดือนอยู่เลย) ค่า hCG จึงไม่ต่างจากปกติ และเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะมีช่วงไข่ตกอยู่ที่ช่วงปลายสัปดาห์นี้ แม้ว่าจะมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น แต่ค่า hCG อาจจะยังน้อยมากๆ จนตรวจไม่พบด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์
แต่เมื่อเข้าสู่ปลายสัปดาห์ที่ 3 ของการตั้งครรภ์ปริมาณค่า hCG ที่เป็นไปได้นั้นจะเริ่มตั้งแต่ 5 mIU/mL ไปจนถึง 50 mIU/mL ซึ่งคุณแม่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้หากตรวจหาค่า hCG จากเลือด หรือตรวจด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจ hCG จากปัสสาวะที่มีความไวสูง
ค่า hCG แต่ละสัปดาห์ของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีปริมาณเพิ่มลดตามอายุครรภ์ ดังนี้
อายุครรภ์ | ค่า hCG |
อายุครรภ์ 3 สัปดาห์ | 5-50 mIU/mL |
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์ | 5-426 mIU/mL |
อายุครรภ์ 5 สัปดาห์ | 18-7,340 mIU/mL |
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ | 1,080-56,500 mIU/mL |
อายุครรภ์ 7-8 สัปดาห์ | 7,650-229,000 mIU/mL |
อายุครรภ์ 9-12 สัปดาห์ | 25,700-288,000 mIU/mL |
อายุครรภ์ 13-16 สัปดาห์ | 13,300-254,000 mIU/mL |
อายุครรภ์ 17-24 สัปดาห์ | 4,060-165,400 mIU/mL |
อายุครรภ์ 25-40 สัปดาห์ | 3,640-117,000 mIU/mL |
คุณแม่รู้ไหมคะว่า สมองของลูกเริ่มพัฒนาตั้งแต่ในระหว่างตั้งครรภ์ โภชนาการที่คณแม่ได้รับจะถูกส่งต่อไปยังตัวเล็กที่อยู่ในครรภ์ ซึ่งในระหว่างนี้ คุณแม่และทารกน้อยต้องการสารอาหารหลากหลายชนิดที่ช่วยให้สุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยสมบูรณ์ที่สุดตลอดการตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็น
และยังรวมถึงสารอาหารอื่นๆ อีกมากมายที่คุณแม่อาจจะไม่ได้รับประทานอย่างครบถ้วนจากมื้ออาหารปกติ การรับประทานนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์จึงเป็นทางเลือกที่ดีอย่างยิ่งในการเสริมสารอาหารให้กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ และอย่าลืมเลือกนมที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วยนะคะ
มีความเป็นไปได้ว่าค่า hCG ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝดอาจจะสูงกว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เดี่ยวค่ะ แต่ค่า hCG ของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไปจึงไม่สามารถระบุตัวเลขที่ชัดเจนได้ ที่สำคัญคือเราไม่สามารถใช้ค่า hCG ในการระบุการตั้งครรภ์แฝดได้ วิธีการที่แพทย์ใช้ในการยืนยันว่าครรภ์ของคุณแม่เป็นครรภ์แฝดหรือไม่ คือการทำอัลตราซาวนด์ในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 6-7 สัปดาห์เป็นต้นไป ซึ่งหากคุณแม่ท้องแฝด ก็จะพบว่ามีถุงตั้งครรภ์มากกว่า 1 ใบ นอกจากนี้ ในบางกรณี คุณแม่ตั้งครรภ์เดี่ยวก็อาจจะมีค่า hCG สูงได้เช่นกันค่ะ
ค่า hCG สูงผิดปกติเกินกว่าที่ควรจะมีตามอายุครรภ์ ณ ขณะนั้น อาจมีสาเหตุจาก
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ