Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
น้ำคร่ำแตก แปล่วาถึงกำหนดใกล้คลอด ทารกพร้อมจะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว แต่ถ้าหากว่าคุณแม่มีอาการ “น้ำคร่ำรั่ว” ล่ะ อาการแบบนี้ปกติไหมนะ น้ำคร่ำกับฉี่ต่างกันอย่างไร น้ำคร่ำรั่ว อาการเป็นอย่างไร Enfa ขอชวนคุณแม่ ๆ มาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำรั่วไปพร้อม ๆ กันค่ะ
น้ำคร่ำ คือ ของเหลวที่อยู่รายล้อมทารกในครรภ์ของคุณแม่ และน้ำคร่ำนี้จะแตกออกเมื่อถึงกำหนดคลอด หรือมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป
หลังจากที่น้ำคร่ำแตกแล้ว คุณแม่ก็จะเริ่มเจ็บท้องและมีการคลอดเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง สิ่งนี้ขอให้ติ๊กเอาไว้ว่า เป็นเรื่องปกติค่ะ
แต่ถ้าหากอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด และคุณแม่เกิดมีน้ำคร่ำไหลออกมาซะก่อน เราจะเรียกว่าอาการแบบนี้ว่าภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด (Premature Rupture of Membranes หรือ PROM)
ซึ่งกรณีที่น้ำคร่ำแตกออกมาก่อนถึงกำหนดคลอดนั้น ยิ่งรั่วออกมาเร็วเท่าไหร่ อายุครรภ์น้อยมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงต่อแม่และทารกในครรภ์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นค่ะ
อาการน้ำคร่ำรั่วที่อาจพบได้ มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างเป็นเรื่องยากค่ะที่จะแยกออกว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากช่องคลอดนั้นเป็นน้ำคร่ำหรือเปล่า จึงขอแนะนำว่า หากมีของเหลวใด ๆ ไหลออกจากช่องคลอดอย่างกะทันหัน หรือไหลออกมาช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง และมีลักษณะคล้ายน้ำคร่ำ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุดจะดีกว่าค่ะ
บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะจำแนกว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้นเป็นปัสสาวะ หรือน้ำคร่ำรั่วออกมา เพราะน้ำคร่ำกับปัสสาวะนั้นมีความคล้ายกันมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำคร่ำนั้นรั่วไหลออกมาอย่างช้า ๆ ก็มักทำให้คุณแม่เข้าใจจผิดได้ว่าเป็นน้ำปัสสาวะค่ะ
อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญก็คือน้ำคร่ำนั้นจะไม่มีสี และไม่มีกลิ่น ซึ่งต่างจากปัสสาวะที่จะมีสีออกเหลือง และมีกลิ่นค่ะ
ดังนั้น หากมีของเหลวที่ปราศจากสีและกลิ่นไหลออกมาจากช่องคลอด ให้คุณแม่สันนิษฐานในแง่ร้ายไว้ก่อนว่าอาจเป็นน้ำคร่ำรั่ว แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพื่อที่ว่าหากเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง ๆ จะได้เข้าสู่กระบวนการดูแลจากแพทย์อย่างทันเวลา เพราะอาการน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดนั้น ไม่เป็นผลดีกับแม่และทารกในครรภ์ค่ะ
น้ำคร่ำนั้น จะเป็นของเหลวที่มีความเป็นน้ำคล้ายกับปัสสาวะ ต่างจากตกขาว ที่จะมีความใสหรือขาวคล้ายกับไข่ขาว หรือบางครั้งก็เป็นสีขาวขุ่น และจะมีลักษณะเป็นเมือกลื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วตกขาวจะไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกันกับน้ำคร่ำ แต่ถ้าหากว่าตกขาวนั้นมีกลิ่นและสีที่ไม่ใช่สีใสหรือขาวขุ่น นั่นแปลว่าคุณแม่อาจเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น ติดเชื้อราหรือแบคทีเรียในช่องคลอด หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
การรักษาอาการน้ำคร่ำรั่วนั้น จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอาการของคุณแม่ ณ ขณะนั้นเป็นสำคัญค่ะว่าคุณแม่มีอาการแย่มากแค่ไหน
เมื่อปอดของทารกเติบโตเพียงพอที่จะสามารถมีชีวิตรอดได้แม้คลอดก่อนกำหนด แพทย์ก็จะวินิจฉัยทำการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ และทำการคลอดอย่างปลอดภัยค่ะ
หากคุณแม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด ควรสังเกตให้ดีก่อนค่ะว่าของเหลวนี้เป็นสีเหลืองหรือมีกลิ่นคล้ายปัสสาวะหรือเปล่า หรือเป็นตกขาวโดยทั่วไป
แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการที่คล้ายกับว่าจะเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง ๆ ซึ่งคุณแม่อาจจะมั่นใจมาก หรือไม่มั่นใจเลยก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่ขอให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นน้ำคร่ำรั่วจริงไหม หากเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง คุณแม่สามารถเข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 5 เดือน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอายุครรภ์ 5 เดือน จะเท่ากับมีอายุครรภ์ประมาณ 18-21 สัปดาห์ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดที่เร็วมากขนาดนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากค่ะ
หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 7 เดือน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพราะถึงแม้ว่าอายุครรภ์ 7 เดือนจะสามารถคลอดอย่างปลอดภัยได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่และทารกในครรภ์ไม่อยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตรายใด ๆ แพทย์อาจสามารถยื้อการคลอดให้นานขึ้นอีกได้ เพื่อรอให้ระบบต่าง ๆ ของทารกเติบโตอย่างเพียงพอ และทำการกระตุ้นคลอดให้ทารกคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยค่ะ
หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 4 เดือน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอายุครรภ์ 4 เดือน จะเท่ากับมีอายุครรภ์เพียง 14-17 สัปดาห์เท่านั้นเอง ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดที่เร็วมากขนาดนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากค่ะ
หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 6 เดือน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพราะการคลอดก่อนอายุครรภ์ 7 เดือน ทารกมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมากค่ะ เนื่องจากอวัยวะและระบบต่าง ๆ ที่สำคัญในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
มากไปกว่านั้น แพทย์อาจสามารถยื้อการคลอดให้นานขึ้นอีกได้ เพื่อรอให้ระบบต่าง ๆ ของทารกเติบโตอย่างเพียงพอ และทำการกระตุ้นคลอดให้ทารกคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ