นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

น้ำคร่ำรั่ว อันตรายไหม น้ำคร่ำรั่ว อาการเป็นอย่างไร

Enfa สรุปให้

  • น้ำคร่ำรั่ว หรือ Premature Rupture of Membranes คือ อาการน้ำคร่ำรั่วไหลออกมาก่อนถึงกำหนดคลอด หรือมีน้ำคร่ำแตกออกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์
  • อาการน้ำคร่ำรั่ว ยิ่งรั่วออกมาตอนอายุครรภ์น้อยเท่าไหร่ ยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของทารกในครรภ์มากเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากน้ำคร่ำรั่วก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์
  • หากมีอาการน้ำคร่ำรั่ว ให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 7 เดือน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

น้ำคร่ำแตก แปล่วาถึงกำหนดใกล้คลอด ทารกพร้อมจะออกมาลืมตาดูโลกแล้ว แต่ถ้าหากว่าคุณแม่มีอาการ “น้ำคร่ำรั่ว” ล่ะ อาการแบบนี้ปกติไหมนะ  น้ำคร่ำกับฉี่ต่างกันอย่างไร น้ำคร่ำรั่ว อาการเป็นอย่างไร Enfa ขอชวนคุณแม่ ๆ มาทำความรู้จักกับน้ำคร่ำรั่วไปพร้อม ๆ กันค่ะ

น้ำคร่ำรั่ว อันตรายมากน้อยแค่ไหน


น้ำคร่ำ คือ ของเหลวที่อยู่รายล้อมทารกในครรภ์ของคุณแม่ และน้ำคร่ำนี้จะแตกออกเมื่อถึงกำหนดคลอด หรือมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป

หลังจากที่น้ำคร่ำแตกแล้ว คุณแม่ก็จะเริ่มเจ็บท้องและมีการคลอดเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง สิ่งนี้ขอให้ติ๊กเอาไว้ว่า เป็นเรื่องปกติค่ะ

แต่ถ้าหากอายุครรภ์ของคุณแม่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด และคุณแม่เกิดมีน้ำคร่ำไหลออกมาซะก่อน เราจะเรียกว่าอาการแบบนี้ว่าภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด (Premature Rupture of Membranes หรือ PROM)  

ซึ่งกรณีที่น้ำคร่ำแตกออกมาก่อนถึงกำหนดคลอดนั้น ยิ่งรั่วออกมาเร็วเท่าไหร่ อายุครรภ์น้อยมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงต่อแม่และทารกในครรภ์ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นค่ะ


น้ำคร่ำรั่ว อาการ มีอะไรบ้าง


อาการน้ำคร่ำรั่วที่อาจพบได้ มีดังนี้

  • มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอดอย่างกะทันหัน
  • มีของเหลวรั่วออกจากช่องคลอดอย่างช้า ๆ และต่อเนื่อง
  • คุณแม่รู้สึกเปียกชื้นในช่องคลอดหรือชุดชั้นใน

อย่างไรก็ตาม ค่อนข้างเป็นเรื่องยากค่ะที่จะแยกออกว่าของเหลวที่ไหลออกมาจากช่องคลอดนั้นเป็นน้ำคร่ำหรือเปล่า จึงขอแนะนำว่า หากมีของเหลวใด ๆ ไหลออกจากช่องคลอดอย่างกะทันหัน หรือไหลออกมาช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง และมีลักษณะคล้ายน้ำคร่ำ ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็วเพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยให้เร็วที่สุดจะดีกว่าค่ะ

น้ำคร่ำกับฉี่ต่างกันอย่างไร


บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะจำแนกว่าของเหลวที่ไหลออกมานั้นเป็นปัสสาวะ หรือน้ำคร่ำรั่วออกมา เพราะน้ำคร่ำกับปัสสาวะนั้นมีความคล้ายกันมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าน้ำคร่ำนั้นรั่วไหลออกมาอย่างช้า ๆ  ก็มักทำให้คุณแม่เข้าใจจผิดได้ว่าเป็นน้ำปัสสาวะค่ะ

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญก็คือน้ำคร่ำนั้นจะไม่มีสี และไม่มีกลิ่น ซึ่งต่างจากปัสสาวะที่จะมีสีออกเหลือง และมีกลิ่นค่ะ  

ดังนั้น หากมีของเหลวที่ปราศจากสีและกลิ่นไหลออกมาจากช่องคลอด ให้คุณแม่สันนิษฐานในแง่ร้ายไว้ก่อนว่าอาจเป็นน้ำคร่ำรั่ว แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพื่อที่ว่าหากเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง ๆ จะได้เข้าสู่กระบวนการดูแลจากแพทย์อย่างทันเวลา เพราะอาการน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดนั้น ไม่เป็นผลดีกับแม่และทารกในครรภ์ค่ะ

น้ำคร่ำรั่ว ตกขาว ต่างกันอย่างไร


น้ำคร่ำนั้น จะเป็นของเหลวที่มีความเป็นน้ำคล้ายกับปัสสาวะ ต่างจากตกขาว ที่จะมีความใสหรือขาวคล้ายกับไข่ขาว หรือบางครั้งก็เป็นสีขาวขุ่น และจะมีลักษณะเป็นเมือกลื่น ๆ  

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วตกขาวจะไม่มีกลิ่นเช่นเดียวกันกับน้ำคร่ำ แต่ถ้าหากว่าตกขาวนั้นมีกลิ่นและสีที่ไม่ใช่สีใสหรือขาวขุ่น นั่นแปลว่าคุณแม่อาจเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น ติดเชื้อราหรือแบคทีเรียในช่องคลอด หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

น้ำคร่ำรั่วรักษาได้ไหม


การรักษาอาการน้ำคร่ำรั่วนั้น จะขึ้นอยู่กับสุขภาพและอาการของคุณแม่ ณ ขณะนั้นเป็นสำคัญค่ะว่าคุณแม่มีอาการแย่มากแค่ไหน  

  • ในกรณีที่มีอาการน้ำคร่ำรั่วในอายุครรภ์ตั้งแต่ 34-37 สัปดาห์ขึ้นไป ระบบอวัยวะต่าง ๆ ของทารกสร้างขึ้นครบถ้วนแล้ว และสามารถมีชีวิตรอดได้ภายใต้ความดูแลเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิดของแพทย์ แพทย์อาจจำเป็นต้องทำการคลอดก่อนกำหนด เพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์
  • ในกรณีที่มีอาการน้ำคร่ำรั่วในอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ถือว่าค่อนข้างอันตรายค่ะ คุณแม่จะได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ และแพทย์จะพยายามอย่างเต็มที่ที่จะชะลอการคลอดของคุณแม่ อาจมีการให้ยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยให้ปอดของทารกเติบโตอย่างรวดเร็ว ยิ่งปอดของทารกเติบโตได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีกับทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากเท่านั้น

เมื่อปอดของทารกเติบโตเพียงพอที่จะสามารถมีชีวิตรอดได้แม้คลอดก่อนกำหนด แพทย์ก็จะวินิจฉัยทำการกระตุ้นให้เกิดการเจ็บครรภ์ และทำการคลอดอย่างปลอดภัยค่ะ

แม่ท้องน้ำคร่ำรั่ว รับมือยังไงดี


หากคุณแม่มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด ควรสังเกตให้ดีก่อนค่ะว่าของเหลวนี้เป็นสีเหลืองหรือมีกลิ่นคล้ายปัสสาวะหรือเปล่า หรือเป็นตกขาวโดยทั่วไป

แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการที่คล้ายกับว่าจะเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง ๆ ซึ่งคุณแม่อาจจะมั่นใจมาก หรือไม่มั่นใจเลยก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่ขอให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ และเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นน้ำคร่ำรั่วจริงไหม หากเป็นน้ำคร่ำรั่วจริง คุณแม่สามารถเข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ

ไขข้อข้องใจเรื่อง อาการน้ำคร่ำรั่ว กับ Enfa Smart Club


  ท้อง 5 เดือน น้ำคร่ำรั่ว ทำยังไงดี?

หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 5 เดือน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอายุครรภ์ 5 เดือน จะเท่ากับมีอายุครรภ์ประมาณ 18-21 สัปดาห์ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดที่เร็วมากขนาดนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากค่ะ

  ท้อง 7 เดือนน้ำคร่ำรั่ว ทำยังไงดี?

หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 7 เดือน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพราะถึงแม้ว่าอายุครรภ์ 7 เดือนจะสามารถคลอดอย่างปลอดภัยได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ค่ะ

อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่และทารกในครรภ์ไม่อยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตรายใด ๆ  แพทย์อาจสามารถยื้อการคลอดให้นานขึ้นอีกได้ เพื่อรอให้ระบบต่าง ๆ ของทารกเติบโตอย่างเพียงพอ และทำการกระตุ้นคลอดให้ทารกคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยค่ะ

  ท้อง 4 เดือนน้ำคร่ำรั่ว ทำยังไงดี?

หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 4 เดือน ให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอายุครรภ์ 4 เดือน จะเท่ากับมีอายุครรภ์เพียง 14-17 สัปดาห์เท่านั้นเอง ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดที่เร็วมากขนาดนี้ ทารกจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมากค่ะ

  ท้อง 6 เดือนน้ำคร่ำรั่ว?

หากน้ำคร่ำรั่วตอนตั้งท้อง 6 เดือน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที เพราะการคลอดก่อนอายุครรภ์ 7 เดือน ทารกมีโอกาสที่จะเสียชีวิตสูงมากค่ะ เนื่องจากอวัยวะและระบบต่าง ๆ  ที่สำคัญในร่างกายยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

มากไปกว่านั้น แพทย์อาจสามารถยื้อการคลอดให้นานขึ้นอีกได้ เพื่อรอให้ระบบต่าง ๆ ของทารกเติบโตอย่างเพียงพอ และทำการกระตุ้นคลอดให้ทารกคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย

 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama