Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การฝากครรภ์เป็นสิ่งแรกที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทำ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะรับฝากครรภ์เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับตัวคุณแม่ ตรวจดูโรคแทรกซ้อนหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดระหว่างตั้งครรภ์ ตรวจดูการเจริญเติบโตและความผิดปกติของเด็ก และการเตรียมวางแผนการคลอด โดยทั้งหมดนี้จะถูกบันทึกลงใน ‘สมุดฝากครรภ์’ หรือ ‘สมุดชมพู’ รวมถึงประวัติสุขภาพและการรับวัคซีนของลูกหลังจากเกิดมาแล้วด้วย
สมุดฝากครรภ์ คือ สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ซึ่งถือเป็นเอกสารของครอบครัวไม่ใช่ของโรงพยาบาล โดยคุณแม่จะได้รับเมื่อฝากครรภ์ ต้องเก็บรักษาให้ดี ระวังอย่าทำหาย สมุดฝากครรภ์ใช้ในการบันทึกสุขภาพคุณแม่ขณะตั้งครรภ์และบันทึกสุขภาพของเด็กหลังคลอด พร้อมคำแนะนำวิธีการดูแลเด็กทารก และการส่งเสริมพัฒนาการต่างๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพของลูกน้อย
สมุดชมพูจัดทำโดยกรมอนามัยและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นสมุดบันทึกที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็ก โดยสำหรับคุณแม่คือเป็นบันทึกสุขภาพการตั้งครรภ์ การเจาะเลือด โรคแทรกซ้อนหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การเจริญเติบโตและความผิดปกติของทารก และสำหรับลูกน้อยใช้บันทึกสุขภาพ บันทึกการเจริญเติบโต การรับวัคซีน และภายในเล่มยังมีคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรเพื่อเป็นคู่มือสำหรับคุณแม่หลังคลอดด้วย นอกจากนี้ สมุดชมพูยังใช้เป็นเอกสารประกอบการแจ้งเกิด เพื่อออกสูติบัตรและเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านด้วย
เมื่อคุณแม่ไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลทั้งโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลรัฐ คลินิก คุณแม่จะได้รับสมุดเล่มชมพู ซึ่งจะใช้เป็นสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก เป็นบันทึกซึ่งถือเป็นเอกสารของครอบครัวไม่ใช่ของโรงพยาบาล โดยคุณแม่จะต้องเก็บรักษาสมุดชมพูหรือสมุดฝากครรภ์นี้ด้วยตนเองและนำไปด้วยทุกครั้งที่แพทย์นัด เพื่อใช้บันทึกข้อมูลสุขภาพแม่และเด็กตั้งแต่คุณแม่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด ทั้งยังใช้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของลูก และประวัติการรับวัคซีนซึ่งมีประโยชน์ต่อลูกจนถึงตอนโต คุณแม่ควรเก็บรักษาให้ดี
สมุดฝากครรภ์หน้าแรกจะมีข้อมูลประวัติครอบครัว ชื่อ-สกุล เลขบัตรประชาชน คุณแม่ คุณพ่อ และลูก รวมถึงรายละเอียดการติดต่อ โดยสามารถติดรูปลูกไว้ได้ที่หน้านี้ สมุดฝากครรภ์ไม่ได้เป็นเพียงสมุดบันทึกการตั้งครรภ์ของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังใช้เป็นเอกสารประกอบการแจ้งเกิด เพื่อออกสูติบัตรและเพิ่มชื่อลูกในทะเบียนบ้าน ดังนั้นระหว่างตั้งครรภ์ คุณแม่และคุณพ่อสามารถเตรียมตั้งชื่อให้ลูกเพื่อเตรียมสำหรับแจ้งเกิดได้เลย โดยสมุดชมพูเล่มนี้จะเป็นสมุดประจำตัวลูกไปจนโต และมีการปรับปรุงทุกปีเพื่อให้เนื้อหาสอดคล้องกับการดูแลแม่และเด็กในปัจจุบัน
หากคุณแม่ยังนึกไม่ออกว่าหน้าตาสมุดชมพูฝากครรภ์เป็นอย่างไร ด้านในมีเนื้อหาอะไรบ้าง Enfa จะพาคุณแม่ไปดูตัวอย่างเนื้อหาในเล่มสมุดฝากครรภ์กันค่ะ
เนื้อหาภายในเล่มจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
(รูปสมุดฝากครรภ์ หน้าปก และรายละเอียดในเล่ม)
(รูปสมุดฝากครรภ์ ตัวอย่างบันทึกสุขภาพคุณแม่)
(รูปสมุดฝากครรภ์ ตัวอย่างบันทึกสุขภาพทารก)
สมุดฝากครรภ์นี้คุณแม่ไม่ต้องหาซื้อที่ไหน เพราะคุณแม่ที่ฝากครรภ์ในสถานพยาบาลรัฐบาลจะได้รับสมุดสีชมพูฝากครรภ์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หากคุณแม่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกอาจใช้สมุดฝากครรภ์แบบเดียวกันนี้หรือมีแบบฟอร์มของตนเองก็ได้ ทั้งนี้เนื้อหาภายในเล่มจะคล้ายกันคือใช้บันทึกข้อมูลสุขภาพแม่และเด็ก เพียงแต่อาจมีการออกแบบรูปเล่มต่างกัน
ไม่ว่าคุณแม่จะฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลใดก็จะต้องได้รับสมุดฝากครรภ์เป็นสมุดประจำตัวคุณแม่ โดยสมุดฝากครรภ์โรงพยาบาลเอกชนอาจมีการออกแบบรูปเล่มใหม่เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของโรงพยาบาล ต่างจากสมุดฝากครรภ์คลินิกส่วนใหญ่และสมุดฝากครรภ์โรงพยาบาลรัฐบาลที่ใช้แบบของกรมอนามัย แต่เนื้อหาในเล่มก็จะคล้ายกัน และที่สำคัญคือสมุดฝากครรภ์มักมีการปรับปรุงเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อให้มีเนื้อหาที่ทันสมัยสอดคล้องกับปัจจุบัน ดังนั้นคุณแม่ควรได้รับสมุดฝากครรภ์ในฉบับที่เป็นปีล่าสุดเช่นกัน ซึ่งหากเป็นของกรมอนามัย จะมีการพิมพ์ปี พ.ศ. ไว้ที่หน้าปก สามารถสังเกตได้ง่าย
หากคุณแม่ทำสมุดฝากครรภ์หาย สามารถแจ้งที่สถานบริการรับฝากครรภ์ที่คุณแม่ฝากครรภ์ได้เลย เพราะทางสถานพยาบาลนั้นมีข้อมูลคุณแม่และลูกอยู่แล้ว สามารถเปลี่ยนเล่มใหม่โดยใช้ข้อมูลเดิมได้ แต่เนื่องจากสมุดฝากครรภ์เป็นสมุดบันทึกด้วยลายมือ ข้อมูลบางอย่างจึงอาจสูญหาย Enfa แนะนำให้คุณแม่เก็บรักษาให้ดี หรือถ่ายรูปหน้าที่สำคัญเก็บไว้ เช่น ผลเลือด บันทึกการฝากครรภ์ เป็นต้น
สมุดฝากครรภ์มีการปรับปรุงเนื้อหาเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยฉบับล่าสุดเป็นฉบับปี พ.ศ. 2567 คุณแม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PDF ได้ที่ "เว็บไซต์กรมอนามัย"
สุขภาพที่ดีของคุณแม่เป็นสิ่งสำคัญ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีความหลากหลาย ไม่รับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือไขมันสูง ควรเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน อีกทั้งยังควรพักผ่อนให้เพียงพอ มีอารมณ์แจ่มใสในทุกๆ วัน
เพื่อส่งต่อโภชนาการที่ดี สุขภาพจิตที่ดี ไปยังลูกน้อยให้เติบโตแข็งแรง มีพัฒนาการดีรอบด้าน นอกจากอาหารที่คุณแม่รับประทานในแต่ละมื้อแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ที่ล้วนแต่ส่งผลดีต่อการสุขภาพคุณแม่ตั้งครรภ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดีของลูกอีกด้วย
โดยคุณแม่สามารถดื่มนมคนท้องได้ถึงช่วงให้นมบุตร เพื่อให้ร่างกายผลิตน้ำนมแม่ที่มีคุณภาพ ส่งผ่านอาหารที่ดีถึงทารกโดยเฉพาะในขวบปีแรกที่ทารกต้องการนมแม่มากที่สุด
Enfa สรุปให้ การตรวจเลือดตั้งครรภ์ เป็นวิธีการตรวจการตั้งครรภ์ที่ได้รับความนิยมและมีความแม่นยำสู...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ควรเริ่มฝากครรภ์ภายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 12 สัปดาห์แรก แ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ฝากครรภ์ไม่จำเป็นต้องให้สามีไปด้วยเสมอไป แต่หากคุณหมอได้ตรวจเลือดของคุณพ่อด้วย ก็จะ...
อ่านต่อ