Enfa สรุปให้
- ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ วิธีแก้ทำได้หลายวิธี เช่น นอนพักผ่อน นวดท้องเบา ๆ ประคบร้อนหรือประคบเย็นที่ท้อง แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์
- ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ท้องไม่เสีย อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน กรดไหลย้อน กรวยไตผิดปกติ ซึ่งคุณแม่ควรหาเวลาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง
- คนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ หากอาการดีขึ้นภายใน 1-2 ชั่วโมง ถือว่าเป็นอาการปกติ แต่ถ้าภายใน 1 ชั่วโมงอาการไม่ดีขึ้นเลย หรือมีแต่จะแย่ลง และปวดท้องมากขึ้น ควรไปพบแพทย์ทันที

ขณะตั้งครรภ์ คุณแม่อาจมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ หรือปวดท้องบิดเกร็ง แต่ไม่มีอาการท้องเสีย จึงทำให้รู้สึกกังวลว่าอาจจะเป็นสัญญาณอันตราย บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้และวิธีรับมือกับอาการปวดท้องบิดเกร็งขณะตั้งครรภ์มาฝากค่ะ มาดูกันว่าหากคุณแม่มีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ วิธีแก้แบบไหนที่จะช่วยให้อาการดีขึ้น และอาการปวดบิดเกร็งแบบไหนที่คุณแม่ต้องไปหาหมอ
คนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ บอกอะไร
อาการคนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ เป็นอาการทางสุขภาพที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหากคนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ต้องสังเกตตัวเองก่อนว่า ปวดบิดเกร็งเป็นพัก ๆ แบบไหน
หากคนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แล้วอาการปวดหายสนิท ไม่ปวดอีก กรณีแบบนี้มักเป็นอาการปวดโดยทั่วไป ไม่อันตราย
หากคนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ภายใน 1 ชั่วโมงมีอาการเช่นนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง กรณีแบบนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการปวดบิดเกร็งนั้น เนื่องจากอาการแบบนี้เกิดได้จากหลายปัจจัยค่ะ
ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ท้องไม่เสีย
โดยทั่วไปแล้วปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ มักจะเป็นอาการปกติในคุณแม่ที่มีอาการท้องเสีย แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ โดยที่ไม่มีอาการท้องเสีย และมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ หลายครั้งใน 1 ชั่วโมง และเวลาที่หายปวดท้อง จะไม่หายสนิท กล่าวคือจะยังคงมีอาการปวดเล็กน้อย หรือมีความไม่สบายตัวหลงเหลืออยู่บ้าง กรณีแบบนี้คุณแม่ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมค่ะ
คนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ท้องเสีย
หากคนท้องปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ท้องเสียร่วมด้วย อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีอาการท้องเสียหรือมีภาวะท้องร่วง
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วอาการท้องเสียจะไม่ส่งผลเสียรุนแรงต่อการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากว่าคุณแม่มีอาการต่อไปนี้ และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง หรือภายใน 3 วัน ควรไปพบแพทย์ทันที
- มีอาการท้องเสียหลายครั้งภายใน 24 ชั่วโมง โดยอาการท้องเสียไม่ลดลงเลย
- อุจจาระพร้อมมีมูกเลือดปนออกมา
- อาเจียนรุนแรง
- มีไข้
ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ วิธีแก้
หากคุณแม่มีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ วิธีแก้มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น
- นั่งพักหรือนอนพัก
- ปรับเปลี่ยนอริยาบถอยู่ในท่าที่สบายขึ้น
- ประคบอุ่นหรือประคบเย็นที่ท้อง
- ดื่มน้ำเพื่อให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น
- กดนวดเบา ๆ ที่ท้อง
อย่างไรก็ตาม อาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ วิธีแก้จะแตกต่างกันไป เนื่องจากอาการปวดท้องบิดเกร็งนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ
ดังนั้น หากคุณแม่ปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ แล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยภายใน 1 ชั่วโมง หรือมีอาการปวดท้องบิดเกร็งเป็นพัก ๆ เกิดขึ้นหลายครั้งใน 1 ชั่วโมง คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ท้อง 7 เดือนปวดท้องบิด ๆ รับมือยังไงดี
คุณแม่ท้อง 7 เดือนปวดท้องบิด ๆ ให้ลองวิธีแก้เบื้องต้นดูก่อน เช่น ปรับเปลี่ยนอริยาบถ นั่งพัก นอนพัก ประคบร้อน ประคบเย็นที่ท้อง เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม อาการปวดท้องบิด ๆ นั้น เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ จึงขอแนะนำว่าถ้าหากภายใน 1 ชั่วโมงผ่านไป อาการปวดท้องบิด ๆ ของคุณแม่ไม่ดีขึ้นเลย หรืออาการมีแต่จะรุนแรงมากขึ้น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง และรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
อนาคตที่ดีที่สุดของลูกน้อย เริ่มต้นด้วยโภชนาการผ่านคุณแม่
ในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่ควรได้รับสารอาหารที่จำเป็น อย่างโปรตีน แคลเซียม โฟเลต ไอโอดีน ธาตุเหล็ก ฯลฯ เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์แข็งแรง และยังช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ได้อีกด้วย
ซึ่งนอกจากจะต้องเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ในทุก ๆ วันแล้ว คุณแม่ยังสามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ อาจเลือกดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับแคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน (THAI DRI)
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์