Enfa สรุปให้
- การตั้งครรภ์เป็นเวลาแสนพิเศษและสำคัญของคุณแม่ การดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี
- อาการที่มักพบบ่อยของคนท้องอ่อนๆ เช่น ขาดประจำเดือน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดตึงเต้านม ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น
- วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ เช่น เดิน ว่ายน้ำ โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ปั่นจักรยาน เป็นต้น ทั้งนี้คุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย

การตั้งครรภ์นับเป็นช่วงเวลาที่แสนพิเศษและสำคัญของคุณแม่ ดังนั้นการดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์แข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดี ขณะเดียวกันก็สร้างเสริมสุขภาพดีให้คุณแม่ เตรียมพร้อมความแข็งแรงก่อนการคลอด
อาการคนท้องอ่อนๆ เป็นแบบไหน มีอะไรบ้าง?
อาการของคนท้องอ่อน ๆ นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปแล้วอาการที่มักพบบ่อย ได้แก่
-
ขาดประจำเดือน: เป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังตั้งครรภ์
-
คลื่นไส้ อาเจียน: อาการแพ้ท้องแรกเริ่มที่พบได้บ่อย
-
อ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อยๆ: เนื่องจากร่างกายต้องการพักผ่อนมากขึ้นจึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและง่วงนอน
-
ปวดตึงเต้านม: รู้สึกตึงและเจ็บเต้านม เมื่อสัมผัสเต้านมจะรู้สึกเจ็บ
-
ปัสสาวะบ่อย: มดลูกมีขนาดโตขึ้น และไปกดทับกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย
-
หงุดหงิดง่าย: มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ซึ่งเป็นเรื่องปกติขณะตั้งครรภ์
-
เวียนศีรษะ: เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
วิธีดูแลตัวเองตอนท้องอ่อนๆ สำหรับคุณแม่มือใหม่
เมื่อคุณแม่ได้ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์และฝากครรภ์กับคุณหมอเรียบร้อยแล้ว คุณแม่ควรดูแลตัวเองในระยะแรกของการตั้งท้อง ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ: การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมาก ช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและแข็งแรง
- กินอาหารให้ครบ 5 หมู่: เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เนื้อสัตว์ และนม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ
- ดื่มน้ำเปล่ามากๆ: จะช่วยลดอาการท้องผูกได้ดี เนื่องจากคุณแม่จำนวนมากมักจะมีอาการท้องผูกบ่อยๆ และทำให้ร่างกายสดชื่น
- หลีกเลี่ยงอาหารดิบและอาหารแปรรูป: เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ออกกำลังกายเบาๆ: ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นเตรียมพร้อมสำหรับช่วงคลอดลูก ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก: เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
- ดูแลสุขภาพจิต: อารมณ์ที่แจ่มใสเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทั้งคุณแม่และลูกน้อย จะช่วยให้หนูน้อยมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี
- พบแพทย์ตามนัด: เพื่อติดตามการตั้งครรภ์และตรวจสุขภาพเป็นประจำ
คนท้องอ่อนๆ กินอะไรได้บ้าง?
มีอาหารหลากหลายประเภทที่คุณแม่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ควรกิน เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง และควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากกระทบกับลูกน้อยในท้อง เช่น
-
โปรตีน: เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเหลือง ช่วยในการเจริญเติบโตของทารก
-
ผลไม้: กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม ช่วยให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุ หลีกเลี่ยงการกินผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วง เป็นต้น เนื่องจากมีผลกับแม่ท้องที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน
-
ผักใบเขียว: ผักคะน้า บรอกโคลี ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
-
ธัญพืช: ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ที่ไม่ขัดสี จะช่วยเพิ่มวิตามินและพลังงานให้กับร่างกาย
-
ดื่มนม: คุณแม่สามารถเสริมด้วยนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม
-
น้ำ: เป็นสิ่งที่แม่ท้องทุกไตรมาสขาดไม่ได้ เพราะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำคร่ำที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารก ช่วยให้ร่างกายสดชื่นและลดอาการท้องผูก
นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ยังสามารถเสริมสร้างโภชนาการเพิ่มเติมจากการดื่มนมสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรเพื่อให้ได้รับโภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ที่ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ดีเอชเอ โฟเลต โคลีน และแคลเซียม ด้วยการดื่มนมเอนฟามาม่า เอพลัส วันละ 2 แก้ว เพื่อให้ได้แคลเซียมและโคลีนตามความต้องการของคุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรในแต่ละวัน
คนท้องอ่อนๆ ออกกำลังกายแบบไหนได้บ้าง?
การออกกำลังกายในช่วงท้องอ่อนๆ ช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดีและเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการคลอด แต่ควรเลือกทำกิจกรรมที่ไม่หนักเกินไปและปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกาย
กิจกรรมที่เหมาะสมสำหรับคนท้องอ่อนๆ
- การเดิน: เป็นทางเลือกการออกกำลังกายที่ดีของคนท้องอ่านๆ เพราะทำได้ง่ายและปลอดภัยที่สุด โดยเริ่มเดิน 10-15 นาทีต่อวัน โดยเดินอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาเป็น 15-20 นาทีต่อวัน และสามารถเดินได้ทุกวัน
- ว่ายน้ำ: สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัว และสามารถลดอาการปวดหลัง ช่วยลดแรงกระแทกในหญิงตั้งครรภ์ได้
- โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์: ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและผ่อนคลาย
- ปั่นจักรยาน : ปั่นในระดับความเร็วที่พอเหมาะ ไม่ควรปั่นเร็วหรือหนักเกินไป ปั่นในระดับที่รู้สึกสบาย และปั่นในช่วงเวลาที่อากาศไม่ร้อนจัด เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป
ท่าออกกำลังกายคนท้อง ไตรมาสแรก
การออกกำลังกายในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากช่วยให้ลดอาการปวดเมื่อย และเตรียมร่างกายคุณแม่ให้พร้อมสำหรับการคลอดลูก แต่ควรเลือกท่าที่เบาๆ และปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มออกกำลังกายทุกครั้ง
ท่าออกกำลังกายที่คนท้องอ่อนๆ สามารถทำได้ คือ ท่าโยคะที่เน้นการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และฝึกการหายใจ ดังนี้
1.ท่ายืดเหยียดแบบแมว/วัว (Cat Cow Pose) ช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก หลัง คอ ไหล่ มีความผ่อนคลายและยืดหยุ่นขึ้น
- ให้คุณแม่เริ่มจากการคุกเข่าหน้าคว่ำ ให้เข่าและฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง วางบนพื้น ไว้เหนือข้อมือและสะโพกเหนือเข่า
- บริหารท่าแมวด้วยการหายใจออกลึกๆ ค่อยๆ ยกสะโพกและหลังขึ้นให้หลังเป็นแนวโค้งพร้อมกับก้มหน้าลงไปที่พื้น
- บริหารท่าวัวด้วยการหายใจเข้า กดบริเวณกลางหลังลงทำหน้าท้องหย่อน ๆ หมุนไหล่ด้านนอกเข้าหาไหล่ด้านในแล้วค่อย ๆ เงยหน้าขึ้น
- กรณีที่คุณแม่รู้สึกไม่สบายที่หลังส่วนล่างระหว่างการบริหารท่าวัว ให้พิจารณาบริหารท่าแมวด้วยการทำโดยให้หลังระนาบกับพื้นแทนการทำเป็นสะพานโค้ง
2.ท่านักรบบนเก้าอี้ (Warrior / Virabhadrasana) ท่านี้สามารถช่วยยืดและเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนขาของคุณแม่
- ให้คุณแม่นั่งบริเวณขอบเก้าอี้ หันขาซ้ายไปทางซ้ายแล้ววางเท้าบนพื้น โดยให้เข่าอยู่เหนือข้อเท้าในระนาบเดียวกัน
- ยืดขาขวาไปด้านหลังโดยให้กระดูกเชิงกรานอยู่บนเก้าอี้เพื่อความมั่นคง
- กางแขนทั้ง 2 ข้างออกด้านข้างให้เป็นแนวขนานกับพื้น โดยให้อยู่ในระนาบเดียวกับหัวไหล่
- ทำท่านี้ค้างท่าไว้ 5 ลมหายใจ แล้วค่อยสลับท่าโดยสลับขาไปอีกด้านหนึ่ง ค้างไว้ 5 ลมหายใจเช่นกัน
3.ท่าบริหารอุ้งเชิงกราน (Kegel) จะช่วยเตรียมร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น การหย่อนของกล้ามเนื้อที่พยุงมดลูก ภาวะปัสสาวะเล็ด
- ให้คุณแม่ปิดทวารหนักเหมือนตอนพยายามห้ามตัวเองไม่ให้ผายลม ในขณะเดียวกันดึงช่องคลอดของคุณขึ้นไปผ่านทางช่องท้อง ให้รู้สึกเหมือนกับว่าช่องคลอดและอุ้งเชิงกรานถูกยกขึ้นเข้าใกล้สะดือ
- เริ่มต้นจากการทำเร็วๆ เพื่อกระตุกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานให้กระชับ และคลายกล้ามเนื้อทันที จากนั้นทำแบบเดิม และค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วค่อยคล้ายกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
- ทำแบบนี้ทุกๆ วันซ้ำๆ จำนวน 5-10 ครั้ง อย่างน้อย 5 รอบต่อวัน ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ตลอดเวลาที่นั่ง ยืน หรือนอน
การดูแลตัวเองในช่วงท้องอ่อนๆ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์ตามนัด จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดีและลูกน้อยเติบโตอย่างมีพัฒนาการที่ดี
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์