นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ภาวะแท้งคุกคาม ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ที่ต้องระวัง

หนึ่งในความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ก็คือ การตั้งครรภ์นั้นอาจนำไปสู่การแท้ง หรือ ภาวะแท้งคุกคาม ได้ ซึ่งมักจะนำมาซึ่งความสูญเสียจนยากจะทำใจ แต่ภาวะแท้งคุกคามเกิดขึ้นได้บ่อยแค่ไหน แล้วมีโอกาสที่จะป้องกันภาวะแท้งคุกคามได้หรือไม่ มาหาคำตอบกันค่ะ

 

เลือกอ่านตามหัวข้อ



ภาวะแท้งคุกคามคืออะไร


ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened Abortion) เป็นลักษณะความผิดปกติของการตั้งครรภ์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ โดยจะมีเลือดออกทางช่องคลอด ซึ่งเลือดที่ออกทางช่องคลอดในระยะนี้มักพบได้ในผู้หญิงตั้งครรภ์มากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

หรืออาจกล่าวได้ว่า การมีเลือดออกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์นั้นเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไป แต่ทว่าจะมีหญิงตั้งครรภ์ราว ๆ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่สามารถอุ้มท้องต่อไปได้จนกระทั่งครบกำหนดคลอด ขณะที่อีกรายหลายพบว่ามีการแท้งไปก่อน



แท้งคุกคามเกิดจากอะไร


ภาวะแท้งคุกคามนั้นไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด อีกทั้งการมีเลือดออกทางช่องคลอดในระยะแรก ๆ ของการตั้งครรภ์นั้น ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • เป็นช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัว

  • เกิดการติดเชื้อในช่องคลอด

  • การระคายเคืองจากการมีเพศสัมพันธ์

  • การแท้ง

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

ดังนั้น การมีเลือดออกในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จึงอาจหมายถึงสาเหตุหนึ่งสาเหตุใดดังที่กล่าวไปข้างต้น หรืออาจจะเป็น ภาวะแท้งคุกคาม ก็ได้


ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดภาวะแท้งคุกคาม


มีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่อาจนำไปสู่ภาวะแท้งคุกคามได้ ดังนี้

  • เกิดความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น โครโมโซมผิดปกติ ทารกเกิดความผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์

  • การตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไปมีโอกาสสูงที่จะเกิดการแท้ง

  • มีประวัติการแท้งมาก่อน อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งในครรภ์ต่อมาได้

  • อุบัติเหตุรุนแรง การพลัดตก หกล้ม หรือถูกกระทบกระเทือนที่ท้อง อาจนำไปสู่การแท้งได้

  • ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ หรือเสพสารเสพติด อาจเพิ่มความเสี่ยงของความผิดปกติในการตั้งครรภ์


เลือดล้างหน้าเด็กกับภาวะแท้งคุกคามแตกต่างกันอย่างไร


การมีเลือดออกในช่วงแรกสุดของการตั้งครรภ์ อาจหมายถึง เลือดล้างหน้าเด็ก ที่เกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่ไข่กับอสุจิเกิดการปฏิสนธิกันผ่านไปแล้วประมาณ 7-10 วัน 

ในขณะที่เลือดออกจากภาวะแท้งคุกคาม มักจะเกิดขึ้นในช่วงใดก็ได้ภายใน 20 สัปดาห์ ของการตั้งครรภ์


อาการแท้งคุกคามเป็นอย่างไร


อาการหลัก ๆ ที่อาจแสดงถึงภาวะแท้งคุกคามคือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และมีอาการปวดท้อง ปวดท้องน้อย ปวดเป็นตะคริวที่บริเวณท้องร่วมด้วย หากมีอาการร่วมเหล่านี้ควรไปพบแพทย์ทันที


เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรไปพบแพทย์


โดยปกติแล้ว หากมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ไม่ว่าจะระยะใด หรือตั้งครรภ์ไตรมาสไหน ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันที รวมถึงหากมีอาการดังต่อไปนี้ ก็ควรไปพบแพทย์โดยทันที

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ จนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ ชั่วโมง

  • มีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดเป็นตะคริว คล้ายกับอาการปวดท้องประจำเดือน

  • มีไข้สูง

  • อาเจียนอย่างรุนแรง


การดูแลตัวเองเมื่อมีภาวะแท้งคุกคาม


เมื่อมีภาวะแท้งคุกคาม และสูญเสียทารกไปแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้มีการดูแลตัวเองง่าย ๆ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการออกแรง งดการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

  • ไม่ฉีดหรือสอดใส่สิ่งใดเข้าช่องคลอด แม้แต่ผ้าอนามัยแบบสอดก็ควรงดใช้

  • งดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการต่าง ๆ จะดีขึ้น หรือควรรออย่างน้อย 1 สัปดาห์แล้วจึงมีเพศสัมพันธ์ หรือสอบถามกับแพทย์ก่อนเพื่อความมั่นใจ

  • หลังจากทำการรักษาภาวะแท้งคุกคามแล้ว ควรกลับไปพบแพทย์ตามที่นัดหมายเอาไว้ เพื่อทำการตรวจเช็กร่างกายอีกครั้ง โดยแพทย์มักจะนัดให้กลับไปตรวจอีกครั้งเมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ภาวะแท้งคุกคามไม่ได้หมายความว่าจะมีการแท้งลูกจริง ๆ เสมอไป มีหลายกรณีที่การตั้งครรภ์ยังสามารถดำเนินต่อไปได้จนคลอด

ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยแล้วว่ามีภาวะแท้งคุกคาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา


ป้องกันการเกิดภาวะแท้งคุกคามได้ยังไงบ้าง?


เป็นเรื่องน่าเศร้าที่เราไม่สามารถป้องกันภาวะแท้งคุกคามได้ เนื่องจากสาเหตุการเกิดภาวะแท้งคุกคามเองก็ไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม การหมั่นดูแลตัวเองตั้งแต่ก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์ได้ ดังนี้

  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

  • ไม่สูบบุหรี่

  • ไม่เสพสารเสพติด

  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการดื่มหรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติเสมอ

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ

  • ผ่อนคลายอารมณ์อยู่เสมอ

  • กินอาหารที่มีประโยชน์

  • ป้องกัน หรือรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อทันที เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดังกล่าวลุกลามไปยังทารกในครรภ์


ไขข้อข้องใจเรื่องภาวะแท้งคุกคามกับ Enfa smart club



  ภาวะแท้งคุกคาม เลือดจะออกกี่วัน?

ระยะเวลาของเลือดออกจากภาวะแท้งคุกคามนั้นไม่ตายตัว บางกรณีอาจมีเลือดออกมากหรือออกน้อยแตกต่างกันไป ก็จะทำให้ระยะเวลาที่มีเลือดออกนั้นต่างกันไปด้วย



  ตั้งครรภ์ มีเลือกออกกระปริดกระปรอย แบบนี้อันตรายหรือไม่?

การมีเลือดออกกระปริดกระปรอยขณะตั้งครรภ์ อาจเป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล หากเป็นกรณีที่ตัวอ่อนมีการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะทำให้เกิดเลือดล้างหน้าเด็กออกมาทางช่องคลอด

แต่...ถ้ามีเลือดออกกระปริดกระปรอยติดต่อกันหลายวันหรือหลายสัปดาห์ หรือมีอาการปวดหน่วงที่ท้องน้อย ปวดคล้ายเป็นตะคริวแบบเป็น ๆ หาย ๆ ที่ท้องน้อย หรือปวดท้องคล้ายมีประจำเดือนร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแท้งคุกคาม



  เลือดออกขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ แบบนี้คืออาการแท้งคุกคามหรือไม่?

เลือดออกในช่วงต้นของการตั้งครรภ์สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาจเป็นเลือดล้างหน้าเด็ก หรือมีการติดเชื้อในช่องคลอด

แต่ถ้ามีเลือดออกในช่วงสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์ และมีอาการปวดหน่วงที่ท้องน้อย ปวดคล้ายเป็นตะคริวแบบเป็น ๆ หาย ๆ ที่ท้องน้อย หรือปวดท้องคล้ายมีประจำเดือนร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะแท้งคุกคาม



  เลือดออกเป็นลิ่มขณะตั้งครรภ์ เสี่ยงแท้งหรือไม่?

เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้นเป็นการแท้งหรือไม่ เพราะการมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์สามารถหมายถึงอาการอื่น ๆ ได้หลายอาการ อาจเป็นการแท้งหรือไม่ก็ได้

ดังนั้น หากพบว่ามีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าในระยะใด ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าเสี่ยงต่อการแท้งหรือไม่



  แม่ตั้งครรภ์ มีเลือดออก แต่ไม่ปวดท้อง อันตรายหรือไม่?

โดยทั่วไปแล้วการมีเลือดออกขณะตั้งครรภ์นั้นไม่ควรชะล่าใจ เนื่องจากอาจหมายถึงอาการอื่น ๆ ที่ปกติต่อสุขภาพ หรือผิดปกติต่อการตั้งครรภ์ก็ได้

ดังนั้น หากมีเลือดออก จะมีอาการร่วมหรือไม่มีอาการร่วม ก็ควรไปพบแพทย์ทันที



  ภาวะแท้งคุกคามตรวจเจอไหม?

การตรวจหาภาวะแท้งคุกคาม จำเป็นต้องมีการตรวจในหลายขั้นตอนเพื่อการวินิจฉัย โดยสามารถทำการวินิจฉัยได้ ดังนี้

  • การตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อดูว่าทารกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ หรือเกิดความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่น ๆ อยู่หรือไม่

  • การตรวจระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์ หรือ hCG เพื่อดูว่าระดับฮอร์โมนตั้งครรภ์ลดลงหรือไม่ ก็จะสามารถบอกได้ว่า ทารกในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

  • การซักประวัติ โดยจะเป็นคำถามทั่วไปเกี่ยวกับตัวคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อดูว่าพบความผิดปกติในช่วงใด หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ อีกหรือไม่



  มีภาวะแท้งคุกคาม แล้วจะมีลูกได้อีกไหม?

ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์กว่าร้อยละ 50 ที่มีภาวะแท้งคุกคาม แต่ยังสามารถอุ้มท้องต่อไปได้จนกระทั่งคลอด และผู้ที่มีประวัติภาวะแท้งคุกคามมาก่อน ก็ยังสามารถที่จะตั้งครรภ์โดยสมบูรณ์ได้อีกครั้งเช่นกัน

แต่ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนที่จะวางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป เพื่อประเมินโอกาสและความเป็นไปได้ และเพื่อประเมินความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย



  แท้งคุกคามมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?

หากมีภาวะท้องคุกคาม แต่ตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ และสามารถอุ้มท้องต่อไปได้จนถึงคลอด โดยมากแพทย์มักแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

แต่ในกรณีที่มีภาวะแท้งคุกคามและสูญเสียทารกไปแล้ว แพทย์จะแนะนำให้รอจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวดี โดยทั่วไปก็จะประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังจากทำการรักษาภาวะคุกคาม



  แท้งคุกคามห้ามกินอะไร?

หากมีภาวะท้องคุกคาม แต่ตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ คุณแม่ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ และลดอาหารที่เสี่ยงต่อทารกในครรภ์ เช่น อาหารที่มีรสเผ็ดจัด แอลกอฮอล์ คาเฟอีน รวมถึงสารเสพติดทุกชนิดด้วย



  ภาวะแท้งคุกคาม ขับรถได้ไหม?

หากมีภาวะท้องคุกคาม แต่ตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะไม่แนะนำให้คุณแม่มีการเคลื่อนไหวมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน หรือการวิ่ง รวมถึงกิจกรรมที่ต้องมีการเกร็งท้องนาน ๆ หรือเพิ่มความดันในช่องท้อง หรือยกของหนัก ๆ ควรงดไว้ทั้งหมด แม้แต่การขับรถเองก็ควรจะต้องงดไปก่อน


 

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

 

- eMedicineHealth. Threatened Miscarriage. [Online] Accessed https://www.emedicinehealth.com/threatened_miscarriage/article_em.htm. [1 February 2022]
- Healthline. Threatened Abortion (Threatened Miscarriage). [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/miscarriage-threatened. [1 February 2022]
- Lahey Hospital & Medical Center. Threatened Abortion. [Online] Accessed https://www.lahey.org/lhmc/department/gynecology/conditions-treatments/…. [1 February 2022]
- Medical News Today. How to care for yourself after an abortion. [Online] Accessed https://www.medicalnewstoday.com/articles/322533. [1 February 2022]
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ภาวะแท้งคุกคาม (Threatened abortion). [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/Health_detail…. [1 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลเปาโล. ภาวะแท้งคุกคาม…อันตรายแค่ไหนกับ “คุณแม่&คุณลูก”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/. [1 กุมภาพันธ์ 2022]
- โรงพยาบาลพญาไท. ภาวะแท้งคุกคาม. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/article_detail/. [1 กุมภาพันธ์ 2022]

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama