Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ออทิสติกเทียม คืออะไร
• ออทิสติกเทียม เกิดจากอะไร
• อาการออทิสติกเทียม มีอะไรบ้าง
• วิธีรักษาออทิสติกเทียม
ออทิสติกเทียม เป็นหนึ่งในความผิดปกติด้านพัฒนาการที่ในปัจจุบันนี้เราเริ่มจะได้ยินกันบ่อยขึ้น เพราะคุณพ่อคุณแม่ปล่อยปละละเลย เลี้ยงดูลูกไม่เหมาะสมกับวัย จนทำให้ลูกเป็นออทิสติกเทียม
แต่...ออทิสติกเทียมมีอาการอย่างไร แล้วจะสามารถป้องกันความเสี่ยงของอาการออทิสติกเทียมได้หรือเปล่า Enfa มีคำตอบค่ะ
โรคออทิสติกเทียม (Autism spectrum disorder:ASD) หรือ ออทิสติกเทียม คือ ภาวะความบกพร่องทางพัฒนาการที่ส่งผลให้เด็กซึ่งมีภาวะออทิสติกเทียมจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร และไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
อาการของออทิสติกเทียม กับ ออทิสติกเทียม ดูเผิน ๆ นั้นคล้ายกันมาก คือจะมีปัญหาในเรื่องของการพูด การสื่อสาร มักพูดจาแปลก ๆ หรือไม่พูดเลย และไม่สามารถที่จะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ มักชอบเก็บตัว ชอบเล่นคนเดียว ไม่มีอารมณ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง ดังนี้
ออทิสติกเทียม เกิดจากการที่เด็กได้รับการสื่อสารทางเดียว จึงทำให้มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสารที่ล่าช้า ซึ่งเด็กที่ได้รับการสื่อสารทางเดียว ก็มีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ
การที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก ใช้เวลากับลูกน้อย ไม่ค่อยพูด ไม่ค่อยโต้ตอบกับลูก ไม่เล่นกับลูก แต่ใช้วิธีเลี้ยงลูกด้วยสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทั้งที่ยังไม่ถึงช่วงวัยอันสมควร การเลี้ยงลูกแบบนี้จะทำให้เด็กได้รับการสื่อสารทางเดียว คือรับข้อมูลภาพ แสง สี เสียงจากหน้าจอเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถโต้ตอบได้
ด้วยเหตุนี้เด็กจึงขาดทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร รวมถึงเป็นการปิดกั้นทักษะการเข้าสังคม เพราะขาดพื้นฐานเรื่องของการสื่อสารนั่นเองค่ะ
ออทิสติกเทียม อาการค่อนข้างจะคล้ายกับออทิสติกแท้ค่ะ โดยอาการเด็กออทิสติกเทียมที่พบได้ มีดังนี้
นอกจากนี้ คุณแม่และคุณพ่อยังสามารถสังเกตอาการออทิสติกเทียมเบื้องต้นในแต่ละช่วงอายุได้ ดังนี้
เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมอายุ 2 ขวบ อาการที่เด่นชัดในวัยนี้คือจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว แม้ว่าผู้อื่นจะได้รับบาดเจ็บ หรือเศร้าเสียใจ แต่เด็กออทิสติกเทียมก็จะไม่แสดงอารมณ์ร่วมใด ๆ
เด็กออทิสติกเทียม 3 ขวบ อาการที่เด่นชัดในวัยนี้คือจะไม่สนใจเด็กคนอื่น ๆ เลย ไม่สนใจที่จะเข้าไปเล่นด้วย ไม่รวมกลุ่มด้วย หรือแม้ว่าจะอยู่กลุ่มเดียวกัน แต่ก็จะไม่มีปฏิกิริยากับคนอื่น ชอบที่จะเล่นคนเดียว เล่นกับคนอื่นไม่เป็น
ขณะที่เด็กคนอื่น ๆ อาจจะเลียนแบบคุณครู เลียนแบบตัวการ์ตูนที่ชอบ แต่เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมอายุ 4 ขวบ จะไม่ยอมเล่นหรือเลียนแบบท่าทางใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ชอบที่จะเล่นบทบาทสมมุติต่าง ๆ
ปกติแล้วเด็กวัย 6 ขวบจะชอบร้องเพลงและเต้นประกอบเพลงมาก แต่สำหรับเด็กออทิสติกเทียมวัย 6 ขวบ เขาจะไม่ชอบและไม่สนุกกับเสียงเพลง ไม่ชอบเต้นรำ ไม่ชอบร้องเพลง ไม่มีปฏิสัมพันธ์กับเสียงดนตรี
เด็กวัย 8 ขวบนี่ถือว่าเป็นวัยที่เข้าใจความเป็นเหตุและผลมากขึ้นแล้ว แต่เด็ก 8 ขวบที่มีภาวะออทิสติกเทียมจะยังคงงอแงและอาละวาดเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ และไม่สามารถที่จะบอกความต้องการของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา
ออทิสติกเทียม เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงลูกแบบผิดวิธี ซึ่งไม่ได้เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของสมอง ดังนั้น จึงสามารถที่จะรักษาและกระตุ้นให้กลับมามีพัฒนาการที่เป็นปกติ และเหมาะสมกับวัยได้ค่ะ
ออทิสติกเทียม วิธีรักษานั้นจะต้องร่วมมือกันทั้งครอบครัวค่ะ ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกเสียใหม่ ลดการเลี้ยงลูกด้วยหน้าจอ แต่เพิ่มการใช้เวลากับลูก พูดคุยกับลูกให้บ่อย ๆ เล่นกับลูกบ่อย ๆ พาลูกไปทำกิจกรรมร่วมกันกับเด็กคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เพื่อสร้างการสื่อสารทั้งสองทางให้เกิดขึ้น กระตุ้นทักษะการพูด การสื่อสาร และการเข้าสังคม
การป้องกันความเสี่ยงของออทิสติกเทียมอย่างมีประสิทธิภาพได้ด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รวมทั้งโทรทัศน์ และเด็กที่อายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ควรจำกัดการใช้เวลาหน้าจอวันละ 1 ชั่วโมง เพื่อลดความถี่ของการสื่อสารทางเดียว
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นพูดคุยกับลูก เล่นกับลูก อ่านหนังสือกับลูก พยายามใช้เวลาอยู่ด้วยกันกับลูกให้มากที่สุด คุยโต้ตอบกันบ่อย ๆ เวลาที่เล่นและพูดคุยกับลูก ควรสบตาลูกบ่อย ๆ เพื่อให้ลูกมีสมาธิจดจ่ออยู่กับบทสนทนา เพื่อสร้างการสื่อสาร 2 ทาง มีผู้พูด ผู้ฟัง มีการตอบกลับไปมา
รวมทั้ง ยังสามารถชวนลูกทำกิจกรรมบทบาทสมมุติ เลียนแบบตัวละคร เลียนแบบท่าทางต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านความคิดและจินตนาการ
แม้ว่าออทิสติกเทียมจะมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีของคุณพ่อคุณแม่ แต่ภาวะออทิสติกเทียมสามารถรักษาให้หายขาดได้ค่ะ ยิ่งคุณพ่อคุณสังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็ว ก็ยิ่งรักษาให้ลูกกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้นค่ะ
มากไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่ควรต้องสร้างการสื่อสารทั้งสองทางให้เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด แม้ว่าลูกอาจจะยังไม่ค่อยตอบ ไม่ค่อยสนทนาด้วย แต่ก็ต้องพยายามพูดกับลูก สื่อสารกันให้มากขึ้น สิ่งนี้นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดขึ้นแล้ว ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงของออทิสติกเทียมด้วย
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย
หากลูกวัย 3 ขวบส่งเสียงกรี๊ดเวลาที่อยากได้สิ่งของ หรือถูกขัดใจแม้ว่าส่วนหนึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้...
อ่านต่อหากถามว่าพฤติกรรมแบบไหนที่แสดงออกถึงการเรียกร้องความสนใจมากเกินไป? มีหลายพฤติกรรม อาทิเช่น อาละว...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ เพลง เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กผ่อนคลาย ร่าเริง แจ่มใส และในขณะเดียวกัน ...
อ่านต่อ