Enfa สรุปให้:
- เด็กที่ผ่าคลอด มักจะมีปัญหาด้านสุขภาพสูงกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ เนื่องจากได้รับโพรไบโอติก ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีโปรโยชน์ต่อร่างกายของเด็กแรกเกิด อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ และช่องคลอดของแม่ น้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ
- โพรไบโอติกที่อาศัยอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ และช่องคลอดของแม่ จะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเด็กแรกเกิดให้ระบบมีความสมดุล โดยเด็กจะได้รับโพรไบโอติกชนิดนี้ ผ่านทางปากและจมูก ในระหว่างที่เคลื่อนออกมาจากมดลูกลงมาช่องคลอด
- เด็กผ่าคลอดจะได้รับโพรไบโอติกที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันน้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ แต่สามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของเด็กได้ด้วยการให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง Lactoferrin MFGM และอื่นๆอีกหลายชนิดที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของเด็กให้มีความสมดุลและทำงานได้ดี
- สมองของเด็กผ่าคลอดก็แตกต่างจากสมองเด็กคลอดแบบธรรมชาติ และต้องการการพัฒนาที่เหมาะสม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• เด็กผ่าคลอดมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กคลอดธรรมชาติหรือไม่
• นมสำหรับเด็กผ่าคลอดจำเป็นไหม
• เมื่อไหร่ควรเริ่มพิจารณานมผงสำหรับเด็กผ่าคลอด
• เด็กผ่าคลอดรับโภชนาการต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ
• เลือกนมสำหรับเด็กผ่าคลอดต้องพิจารณาจากอะไร
• จริงหรือที่เด็กผ่าคลอดเสี่ยงเป็นภูมิแพ้สูง
เชื่อว่าคุณแม่หลายคนอาจจะมีความสงสัยในหลาย ๆ เรื่อง เมื่อต้องคลอดลูกโดยใช้วิธีการผ่าคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กผ่าคลอดจะมีความแตกต่างจากเด็กที่คลอดธรรมชาติหรือไม่ หรือต้องเลี้ยงเด็กผ่าคลอดรูปในแบบไหน
ลูกน้อยผ่าคลอดมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ จริงหรือไม่?
ถึงแม้ว่าการผ่าคลอดจะเป็นวิธีคลอดอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคุณแม่ ซึ่งมีความปลอดภัยทั้งกับคุณแม่ และลูกน้อย แต่การผ่าคลอดก็ยังส่งผลให้มีความเสี่ยงด้านสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะเด็กที่คลอดโดยใช้วิธีการผ่าคลอด อาจจะมีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติ
เด็กผ่าคลอดมีการพัฒนาของ “ระบบภูมิคุ้มกันตั้งต้น” ที่ช้ากว่าเด็กคลอดธรรมชาติ เพราะไม่ได้รับ “โพรไบโอติก” (Probiotic) หรือแบคทีเรียชนิดดีต่อร่างกายที่สำคัญ อย่างเช่น บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacterium) แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อโรคต่างๆ มีหน้าที่กระตุ้นเม็ดเลือดขาวและปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุล
ส่วนเด็กคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ ก็จะได้รับโพรไบโอติกที่กล่าวข้างต้น ในระหว่างที่เคลื่อนออกมาจากมดลูกลงมาช่องคลอดของ มีผลช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของเด็กทารกเริ่มสร้างระบบภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกคลอด และมีสุขภาพลำไส้ดี
นอกจากนี้ ยังมีวิจัยอีกว่า สมองของเด็กที่ผ่าคลอด มีความแตกต่างจากสมองเด็กคลอดธรรมชาติด้วย ดังนั้น เพื่อพัฒนาการที่ดีของลูกผ่าคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาพัฒนาการครบทั้ง 3 ด้าน ทั้งสมอง ภูมิต้านทานและลำไส้
เพื่อให้ลูกผ่าคลอดมีครบ 3 พัฒนาการ คุณแม่สามารถเสริมโภชนาการให้ลูกน้อยด้วย Lactoferrin และ MFGM ที่สามารถพบได้ในน้ำนมแม่
สารอาหารสำหรับลูกผ่าคลอด
ถึงแม้เด็กผ่าคลอดจะได้รับโพรไบโอติกจากลำไส้ใหญ่ และช่องคลอดของคุณแม่น้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่สามารถชดเชยได้ด้วยโภชนาการจากนมแม่ ที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด และสารอาหารที่มีคุณค่าอย่าง Lactoferrin และ MFGM ที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พัฒนาการสมอง รวมทั้งการเจริญเติบโตของร่างกายลูกน้อย
เมื่อไหร่ที่คุณแม่ควรเริ่มพิจารณาให้นมสูตรผ่าคลอด หรือนมผงสำหรับเด็กผ่าคลอด?
แน่นอนว่านมแม่ดีที่สุดเพราะอุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลายชนิด มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย และการพัฒนาระบบอื่น ๆ ในร่างกาย แต่สำหรับคุณแม่ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นที่ต้องใช้นมผงแทน การเลือกนมผงสำหรับเด็กผ่าคลอด จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคุณแม่ โดยควรคำนึงถึงโภชนาการ และสารอาหารที่จำเป็นกับลูกน้อยเป็นหลัก
อยากรู้ว่าวันไหนฤกษ์ดีสำหรับการผ่าคลอด เราได้รวบรวมฤกษ์ผ่าคลอด 2567 ฤกษ์ดีปีมังกรทอง วันไหนดี วันไหนมงคล มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรี 2567 พยากรณ์โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์ (การะเกต์พยากรณ์) มาดูฤกษ์ผ่าคลอดฟรีได้ที่นี่
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤษภาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด มิถุนายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กรกฎาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด สิงหาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด กันยายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ตุลาคม 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด พฤศจิกายน 2567
- ฤกษ์ผ่าคลอด ธันวาคม 2567
โภชนาการที่เด็กผ่าคลอดต้องการแตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติหรือไม่?
แม้ว่าการผ่าคลอดนั้น จะทำให้ลูกน้อยได้รับโพรไบโอติกชนิดดีน้อยกว่าเด็กคลอดธรรมชาติ ที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันลูกน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เด็กผ่าคลอดจะต้องได้รับสารอาหาร หรือโภชนาการที่แตกต่างจากเด็กคลอดธรรมชาติ
สิ่งสำคัญคือการที่ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่สำคัญ และครบถ้วน ด้วยการให้นมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก หรือนานกว่านั้น ควบคู่ไปกับอาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
ช่วงเวลาทอง 1,000 วันแรก ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนไปถึง 2 ขวบ จะเป็นช่วงเวลาที่สมองพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 75 - 85% ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเซลล์สมอง และการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง ก่อให้เกิดโครงข่ายเส้นใยประสาท ที่ทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ การคิดวิเคระห์และจดจำ
ดังนั้น คุณแม่ควรดูแลสุขภาพในช่วงเวลา 1,000 วันแรก นี้อย่างมาก โดยใส่ใจสุขภาพด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโภชนาการ อารมณ์และสภาพจิตใจ ความรัก ความอบอุ่น รวมทั้งการเสริมสร้างพัฒนาการด้วยการเล่น หรือการพูดคุย เป็นต้น เหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพ พัฒนาการและจิตใจที่ดี ที่จะอยู่กับลูกไปตลอดชีวิต
การเลือกนมผงสำหรับเด็กผ่าคลอด คุณแม่ควรพิจารณาจากอะไร?
ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นต้องให้นมสำหรับเด็กผ่าคลอดทดแทน การเลือกนมผงสำหรับเด็กผ่าคลอด ควรคำนึงถึงสารอาหารที่ดี เพื่อลูกน้อยเสริมสร้างพัฒนาทั้งร่างกายและสมอง โดยคุณแม่ควรเลือกนมผงที่มีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้
หนึ่งเดียวที่มี MFGM พร้อม 2’-FL และใยอาหารธรรมชาติ มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยเสริมสร้างพัฒนาการลูกผ่าคลอดที่สำคัญทั้ง 3 ด้าน คือ พัฒนาการสมอง เสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน และสุขภาพลำไส้ที่ดีให้กับลูกน้อย
• สมองดี: MFGM มีส่วนช่วยในการสร้างปลอกหุ้มเส้นใยประสาทไมอีลิน (Myelin Sheath) เพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณประสาท และการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ให้ลูกน้อยก้าวล้ำทั้งความคิดสติปัญญา (IQ) และอารมณ์ (EQ) ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จดจำ คิดวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว
• ภูมิคุ้มกันดี: ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ลดการเจ็บป่วยในเด็ก และการเกิดภูมิแพ้ภูมิแพ้ รวมไปถึงลดโอกาสในการติดเชื้อในหูชั้นกลาง ทางเดินหายใจ และลำไส้
• สุขภาพลำไส้ดี: ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีอย่างบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ทำให้เกิดสมดุลในลำไส้ ลดโอกาสท้องเสีย การถ่ายเป็นมูกเลือด ช่วยให้ลูกน้อยมีระบบขับถ่ายปกติ
เด็กผ่าคลอดเสี่ยงเป็นภูมิแพ้สูงกว่าเด็กคลอดธรรมชาติจริงหรือไม่? แล้วคุณแม่ควรรับมืออย่างไร
โดยทั่วไป เด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้สูงขึ้นได้คือ “พันธุกรรม” โดยความเสี่ยงที่เกืดขึ้น มีความแตกต่างดังนี้
• หากพ่อ หรือแม่ มีภาวะภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ได้ถึง 20 – 40%
• หากทั้งพ่อ และแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยจะมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้สูงถึง 50 – 80%
• ในกรณีที่พ่อ หรือแม่ ไม่ได้เป็นภูมิแพ้ ลูกน้อยก็ยังมีความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ 5 – 15%
ไม่ว่า ครอบครัวจะมีประวัติการเป็นภูมิแพ้หรือไม่นั้น ความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กผ่าคลอด และหากเด็กคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อภูมิแพ้สูงขึ้นไปอีก
การป้องกันภูมิภูมิแพ้ให้กับเด็กผ่าคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญหนึ่งที่คุณแม่ และคุณพ่อไม่ควรมองข้าม เพื่อลดโอกาสการเป็นภูมิแพ้ของลูกน้อยในอนาคต โดยสามารถประเมินความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ของลูกน้อย ได้ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ช่วงตั้งครรภ์ ด้วยการซักประวัติครอบครัว หรือทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ในเด็กได้ที่นี่
“ภูมิแพ้ป้องกันภูมิแพ้ได้ ต้องเริ่มตั้งแต่แรกเกิด”
คุณแม่คุณพ่อหลายท่านอาจไม่ทราบว่า หากลูกที่เป็นภูมิแพ้ชนิดนึงตอนเด็ก แล้วไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เป็นภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ตามมาเพิ่มได้อีกในอนาคต หรือที่เรียกว่า “ลูกโซ่ภูมิแพ้” (Allergic March) ดังนั้น พบว่ามีลูกมีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ ควรรีบป้องกันตั้งแต่แรก เพื่อหยุดการเกิดภูมิแพ้ลูกโซ่ที่อาจจะตามมาในอนาคต
เริ่มต้นป้องกันภูมิแพ้ในเด็กผ่าคลอด เริ่มได้ตั้งแต่ลูกแรกเกิด ด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้
1. หลังผ่าคลอด คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อย 6 เดือน
2. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เช่น ไรฝุ่น ขนแมลงสาป นมวัว อาหารชนิดอื่น ๆ เป็นต้น
3. หากคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกได้ อีกทั้งตระหนักถึงความเสี่ยงอาการภูมิแพ้ของลูกน้อยที่ผ่าคลอด ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำ “สูตรนมที่เหมาะสมกับเด็กที่มีความเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ หรือแพ้โปรตีนนมวัว” ที่มีคุณสมบัติ HYPOALLERGENIC ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
มีโปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด (Extensively Hydrolyzed Protein) เสริมจุลินทรีย์สุขภาพ LGG (Lactobacillus Rhamnosus GG) ซึ่งมีประโยชน์ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดี ลดจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ยังมีผลช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานต่อการแพ้ ลดความเสี่ยงในการเป็นภูมิแพ้ ให้ลูกกลับมาทานนมวัวได้หลังใช้ 1 ปี และช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
- BBC. Vaginal birth and Caesarean: Differences in babies' bacteria. [Online] Accessed https://www.bbc.com/news/health-49740735. [10 June 2022]
- Verywell Family. The Risks of Birth by Cesarean Section. [Online] Accessed https://www.verywellfamily.com/the-risks-of-cesarean-section-2758498. [10 June 2022]
- กรมอนามัย. “น้ำนมแม่” ประโยชน์แท้จากธรรมชาติ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/benefits-of-breastfeeding/. [10 มิถุนายน 2022]
- คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ผ่าคลอด... ลูกเสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้!. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=737. [10 มิถุนายน 2022]
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ผ่าคลอด
- เพื่อเด็กผ่าคลอดเริ่มต้นดี เตรียมความพร้อมคุณแม่ผ่าคลอด และทุกเรื่องที่ควรรู้!
- แผลผ่าคลอด ดูแลอย่างไร ให้หายเร็ว และลดรอย
- ผ่าคลอดห้ามกินอะไรบ้าง และข้อห้ามหลังผ่าคลอดที่ควรรู้
- ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดอย่างไร ให้แผลหายไว ร่างกายฟื้นฟูเร็ว
- ภูมิแพ้ในเด็ก อาการและปัจจัยเสี่ยง คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้
- ฤกษ์ผ่าคลอด 2567
- ผ่าคลอดกี่ชั่วโมงเดินได้ พักฟื้นหลังผ่าคลอดใช้เวลานานไหม