Enfa สรุปให้
- อาการท้องเสียในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาหารที่ไม่เหมาะสมตามวัย อาหารเป็นพิษ การแพ้นมวัว หรือความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
- เมื่อลูกมีอาการท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลให้ลูกดื่มน้ำหรือเกลือแร่ให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้ลูกกินอาหารอ่อนหรืออาหารรสจืด เพื่อให้สามารถย่อยได้ง่าย งดอาหารรสจัดเพราะอาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลง
- หากลูกมีอาการท้องเสียติดต่อกันตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไป และเริ่มมีอาการของภาวะขาดน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ทำความเข้าใจอาการท้องเสีย
• ท้องเสียอุจจาระเป็นยังไง
• ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี
• ลูกท้องเสียกินยาอะไรดี
• ลูกท้องเสียกี่วันหาย
• ลูกท้องเสียหลายวัน อันตรายไหม
• ลูกท้องเสีย แพ้โปรตีนนมวัวหรือป่าวนะ
• ไขข้อข้องใจเรื่องลูกท้องเสียกับ Enfa Smart Club
อาการท้องเสีย ท้องร่วงในเด็ก มักก่อให้เกิดความวิตกกังวลต่อคุณพ่อคุณแม่ แต่อาการท้องเสียก็ถือว่าเป็นอาการทางสุขภาพที่พบได้ทั่วไปในเด็กค่ะ ขอเพียงคุณพ่อคุณแม่มีสติ และรู้จักวิธีรับมือกับอาการท้องเสีย ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้อย่างถูกต้อง และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากการท้องเสียได้
บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูกันว่าถ้าหากลูกน้อยเกิดท้องเสียขึ้นมา จะรับมืออย่างไรถึงจะเหมาะสม
ทำความเข้าใจอาการท้องเสียของลูกน้อย
อาการท้องเสียในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น
• การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย: การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการท้องเสียในเด็ก โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียจำพวก Salmonella, Escherichia coli (E. coli) หรือ Campylobacter ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้มักจะติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด หรือไม่ถูกสุขลักษณะ รวมถึงยังอาจจะได้รับผ่านการสัมผัสกับบุคคลที่ติดเชื้อดังกล่าว ผ่านการกอด การหอม การจูบ เป็นต้น เมื่อได้รับเชื้อเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย ก็อาจส่งผลให้ลูกท้องเสียได้
• อาหารที่ไม่สมกับวัย: ทารกควรได้รับนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรกเพียงอย่างเดียว เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ การให้ทารกในวัยนี้กินอาหารชนิดอื่น ๆ จึงอาจส่งผลให้ทารกท้องเสียได้
• อาหารเป็นพิษ: สำหรับเด็กที่กินอาหารตามวัยแล้ว ความสะอาดของวัตถุดิบและขั้นตอนในการปรุงอาหารถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ เพราะอาหารที่ไม่สะอาดและมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค อาหารที่ปรุงไม่สุก อาจส่งผลให้ลูกน้อยมีอาการอาหารเป็นพิษที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น Salmonella หรือ Campylobacter ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการท้องร่วง อาเจียน และปวดท้องได้
• แพ้โปรตีนนมวัว: เด็กที่เริ่มกินนมวัวได้แล้ว บางครั้งคุณแม่อาจจะเพิ่งมาค้นพบว่าลูกน้อยมีอาการแพ้นมวัว หรือแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งหนึ่งในอาการสำคัญของการแพ้โปรตีนในนมวัวก็คืออาการท้องเสีย เนื่องจากร่างกายมีปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนในนมวัวที่ผิดปกติ และส่งผลต่อกระบวนการย่อยอาหารที่ผิดปกติ จึงก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้เมื่อดื่มนมวัวหรือกินอาหารที่ทำมาจากผลิตภัณฑ์จากนมวัว ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นของโรคแพ้โปรตีนนมวัวนี้ในปัจจุบันพบว่ามีตัวเลขที่สูงขึ้นทุกปีเลยทีเดียวค่ะ
• ยารักษาโรค: ยาบางชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ สามารถทำลายสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ของเด็ก และนำไปสู่อาการท้องเสียได้ โดยเฉพาะยารักษาโรคจำพวก ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาป้องกันอาการชักบางชนิด อาจทำให้ระบบทางเดินอาหารของลูกน้อยทำงานผิดปกติและเกิดอาการท้องเสียได้
• ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร: บางครั้งอาการท้องเสียของลูกอาจจะมาจากความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารบางอย่าง เช่น โรคเซลิแอค โรคโครห์น หรือลำไส้ใหญ่อักเสบ อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้เด็กท้องเสียเรื้อรังได้
ลักษณะอุจจาระทารกท้องเสีย
ปกติแล้วเรามักจะจำแนกลักษณะอาการท้องเสียจากจำนวนการขับถ่าย หากขับถ่ายติดต่อกันหลายครั้งในหนึ่งวัน อาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังมีอาการท้องเสีย แต่จำนวนครั้งในการขับถ่ายนั้นเรียกได้ว่าแทบจะไม่สามารถบอกอะไรได้มากนัก ในกรณีที่เป็นอาการท้องเสียในเด็กทารกค่ะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากทารกแรกเกิดที่อายุยังไม่ถึง 2 เดือน แทบไม่สามารถแยกได้เลยว่าลูกน้อยกำลังท้องเสียอยู่หรือเปล่าท้องเสียนั้น แม้จะสังเกตดี ๆ ก็ยังถือว่ายากที่จะแยกความแตกต่างได้ เนื่องจากเด็กแรกเกิดมักจะมีการขับถ่ายบ่อยอยู่แล้ว ทารกแรกเกิดบางคนอาจขับถ่ายมากถึง 6 ครั้งต่อวันเป็นปกติ
ขณะเดียวกันทารกที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป ก็ยังมีอาการถ่ายมากเป็นปกติค่ะ ซึ่งก็ยังถือว่ายากอยู่ดีที่จะบอกว่าทารกถ่ายบ่อยแบบนี้กำลังท้องเสียอยู่หรือเปล่า เพราะอาจจะใช่ หรือไม่ใช่ก็ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจำนวนครั้งในการขับถ่ายของทารกจะไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าทารกกำลังท้องเสียอยู่หรือเปล่า
แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะสังเกตลักษณะของอุจจาระควบคู่ไปด้วยได้ค่ะ หากพบว่าลูกน้อยขับถ่ายมากผิดปกติ และอุจจาระของลูกมีปริมาณน้ำหรือของเหลวที่ไหลปนออกมาค่อนข้างมาก หรือมากจนผิดปกติอาจเป็นไปได้ว่าลูกกำลังท้องเสียค่ะ
คำถามกังวลใจเมื่อลูกน้อยท้องเสีย
ลูกท้องเสียให้กินอะไรดี
เมื่อลูกมีอาการท้องเสีย สิ่งสำคัญคือต้องพยายามให้ลูกดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปจากการขับถ่ายหลายครั้ง สำหรับเด็กที่ยังกินนมอยู่ คุณแม่สามารถให้นมลูกต่อไปได้ค่ะ
หากในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นต้องใช้นมผงสำหรับเด็กทดแทน ก็ยังคงสามารถให้นมได้ตามปกติค่ะ เพื่อทดแทนของเหลวที่เสียไป และเพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
ส่วนเด็กที่กินอาหารตามวัยแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารรสจืด หรืออาหารอ่อน เช่น ข้าวธัญพืช กล้วยบด ผักบด ซีเรียล ผลไม้นิ่ม เช่น กล้วย อะโวคาโด เป็นต้น รวมถึงควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันสูง เพราะเสี่ยงที่จะทำให้อาการท้องเสียแย่ลงได้ค่ะ
ลูกท้องเสียกินยาอะไรดี
ปกติแล้วเวลาที่ลูกท้องเสีย แพทย์จะไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ไปหาซื้อยาหยุดถ่ายมาให้ลูกกินนะคะ เพราะการใช้ยาเองโดยไม่อยู่ในขอบข่ายการดูแลและคำแนะนำของแพทย์ อาจทำให้อาการท้องเสียแย่ลง หรือส่งผลเสียต่อระบบการขับถ่ายของลูกได้
ทางที่ดีควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษา จากนั้นแพทย์จะพิจารณาจากสาเหตุและจ่ายยาที่เหมาะสมกับเด็กให้เองค่ะ ซึ่งส่วนมากแล้ว แพทย์มักจะสั่งจ่ายในกรณีที่มีอาการท้องเสียนั้นมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
ลูกท้องเสียกี่วันหาย
ทารกท้องเสียกี่วันหาย? ตอบได้ยากค่ะ เพราะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย รวมถึงอาจขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของเด็กด้วย แต่โดยมากแล้วอาการมักจะดีขึ้นตามลำดับภายใน 2 - 3 วันค่ะ
อย่างไรก็ตาม หากลูกมีอาการท้องเสียนานกว่า 2 - 3 วัน หรือหากมีอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย เช่น มีอาการขาดน้ำ อุจจาระเป็นเลือด หรือมีไข้สูง ควรพาลูกไปพบแพทย์ทัน
ลูกท้องเสียหลายวัน อันตรายไหม? แม่จะรับมือยังไงดี?
หากลูกมีอาการท้องเสียติดต่อกันนานเกิน 2 - 3 วัน กรณีนี้ถือว่าเริ่มน่าเป็นกังวลค่ะ เพราะอาการท้องเสียที่ติดต่อกันนานหลายวัน อาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำซึ่งเสี่ยงเป็นอันตรายที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะขาดน้ำในเด็กเล็ก
ดังนั้น หากลูกมีอาการท้องเสียเป็นเวลาหลายวัน หรือเริ่มแสดงสัญญาณของอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
• ลูกมีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปริมาณปัสสาวะที่ลดลง ปากแห้ง เซื่องซึม ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา กินนมน้อยลง กระหม่อมบุ๋ม เปลี่ยนผ้าอ้อมน้อยลงกว่าปกติ จากปกติต้องเปลี่ยนหลายครั้งต่อวัน
• ทารกแรกเกิดที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน และมีอาการท้องเสีย
• ลูกมีอาการท้องเสียและมีไข้ร่วมด้วย
• มีเลือดปนออกมากับอุจจาระ
• เบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลง
• มีอาการอ่อนเพลีย เซื่องซึม
• มีอาการท้องเสียตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป
อาการท้องเสียจากการแพ้โปรตีนนมวัวคืออะไร? อันตรายไหม?
หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการท้องเสียได้ง่ายนั่นก็คือ อาการแพ้โปรตีนนมวัว หรืออาการแพ้นมวัว ซึ่งแน่นอนว่าหากไม่เคยพาลูกไปตรวจหาสารก่อภูมิแพ้มาก่อน คุณพ่อคุณแม่ก็แทบจะไม่รู้เลยค่ะว่าลูกมีอาการแพ้นมวัว เพราะในแต่ละวันลูกไม่ได้ดื่มแค่นมวัวอย่างเดียว แต่ยังกินอาหารอื่น ๆ มากมายในแต่ละมื้อ
ดังนั้น จึงอาจจะเข้าใจว่าลูกแพ้อาการอย่างอื่นจนท้องเสีย และมองข้ามอาการแพ้นมวัวไป ซึ่งอาการแพ้นมวัวในเด็กนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในอาการภูมิแพ้อาหารที่ไม่ควรปล่อยไว้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กบางคนที่มีอาการแพ้รุนแรง การดื่มนมวัวอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
อย่างไรก็ตาม หากถามว่าอาการแพ้นมวัวนี้รักษาได้ไหม ก็คงต้องตอบว่าอาการแพ้นมวัวสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่กระบวนการรักษานั้นต้องใช้เวลา ต้องเลือกสารอาหารที่เหมาะสมกับลูก และต้องเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับลูกด้วย ซึ่งอาการแพ้นมวัวนั้น ยิ่งตรวจพบได้ตั้งแต่ลูกยังเล็ก ๆ ก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีค่ะ
เนื่องจากเด็กมีแนวโน้มจะหายจากอาการแพ้นมวัวได้ง่าย และสามารถกลับมาดื่มนมวัวและกินอาหารที่มีส่วนผสมจากผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัวได้ตามปกติเร็วขึ้นด้วย โดยหนึ่งในวิธีลดความเสี่ยงของอาการแพ้นมวัวนั้น สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการให้ลูกกินนมแม่ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือนค่ะ
เพราะในนมแม่นั้นมีทั้งสารอาหารที่จำเป็นหลายชนิด รวมทั้งยังมีสารภูมิคุ้มกันที่มีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยแข็งแรง ลดความเสี่ยงการโปรตีนนมวัว อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรงดการรับประทานนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวด้วยเช่นกัน เพราะเด็กบางคนสามารถมีอาการแพ้โปรตีนนมวัวผ่านจากการรับนมแม่ได้
ในกรณีที่คุณแม่มีน้ำนมไม่พอหรือไม่สามารถให้นมแม่ไม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งแพทย์มักแนะนำ “โปรตีนที่ผ่านการย่อยอย่างละเอียด* (EHP)” โปรตีนนมขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติ Hypoallergenic ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และอาจมีโพรไบโอติกส์ เช่น LGG ซึ่งช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อหยุดอาการแพ้นมวัว รวมถึงลดโอกาสเกิดภูมิแพ้อื่น ๆ ในอนาคต
ปัจจุบันนี้ จำนวนของเด็กแพ้นมวัวหรือเด็กแพ้โปรตีนนมวัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่ลูกยังเล็กนะคะ เพราะถ้าหากปล่อยไว้เรื่อย ๆ จากอาการแพ้นมวัวเพียงอย่างเดียว จะเริ่มส่งผลให้ลูกเริ่มมีอาการภูมิแพ้ลูกโซ่ ที่ทำให้ลูกมีอาการแพ้ชนิดอื่น ๆ ตามมาได้
ดังนั้น หากคุณพ่อคุณแม่รู้วิธีรับมือ ป้องกัน และแก้ไข อาการแพ้นมวัวหรือแพ้โปรตีนนมวัวก็สามารถที่จะบรรเทาลงได้ หรือสามารถรักษาให้หายขาดได้ตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย และยังสามารถลดความเสี่ยงของภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาในอนาคตได้ค่ะ
*อ้างอิงจากแนวทางการรักษาโรคแพ้โปรตีนนมวัวของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย หน้า 33
ไขข้อข้องใจเรื่องลูกท้องเสียให้รับประทานอะไรดี
ลูก 1 ขวบท้องเสีย กินยาอะไรดี?
อาการท้องเสีย ลูกถ่ายเหลวสีเหลือง 1 ขวบ นั้นมักจะรักษาตามอาการค่ะ สำหรับอาการท้องเสียนั้น สิ่งที่ปลอดภัยที่สุดคือการให้เกลือแร่เพื่อช่วยทดแทนการสูญเสียน้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำ
ส่วนยาหยุดถ่ายต่าง ๆ นั้น ควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เสียก่อนนะคะ หรือถ้าจะให้ดีควรพาลูกไปพบแพทย์และให้แพทย์สั่งจ่ายยาโดยตรงจะเป็นผลดีต่อลูกมากกว่าค่ะ
ลูก 2 ขวบท้องเสีย ให้กินอะไรดี?
หากลูกท้องเสีย พยายามให้ลูกดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และป้องกันภาวะขาดน้ำ เน้นกินอาหารรสจืด หรืออาหารอ่อน เลี่ยงอาหารรสจัดเพราะอาจทำให้อาการท้องเสียของลูกแย่ลงได้ค่ะ
ลูก 3 ขวบท้องเสีย ให้กินอะไรดี?
หากลูกท้องเสีย พยายามให้ลูกดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และป้องกันภาวะขาดน้ำ เน้นกินอาหารรสจืด หรืออาหารอ่อน เลี่ยงอาหารรสจัดเพราะอาจทำให้อาการท้องเสียของลูกแย่ลงได้ค่ะ
ลูก 4 ขวบท้องเสีย ให้กินอะไรดี?
หากลูกท้องเสีย พยายามให้ลูกดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพื่อลดการสูญเสียน้ำ และป้องกันภาวะขาดน้ำ เน้นกินอาหารรสจืด หรืออาหารอ่อน เลี่ยงอาหารรสจัดเพราะอาจทำให้อาการท้องเสียของลูกแย่ลงได้ค่ะ
- Verywell Family. Diarrhea in the Breastfed Baby. [Online] Accessed https://www.verywellfamily.com/diarrhea-in-the-breastfed-baby-431632. [14 June 2023]
- WebMD. Baby Diarrhea: Causes, Treatment, and More. [Online] Accessed https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-diarrhea-causes-treatment. [14 June 2023]
- Healthline. Baby Diarrhea: Causes, Symptoms, and Remedies. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/baby/baby-diarrhea#normal-poop. [14 June 2023]
- Seattle Children's Hospital. Diarrhea (0-12 months). [Online] Accessed https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/diarrhea-0-12-months/. [14 June 2023]
- MedlinePlus. Diarrhea in Children - Self-Care. [Online] Accessed https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions
- /000691.htm. [14 June 2023]
- Medical News Today. Milk Allergy: Symptoms, Diagnosis, and Treatment. [Online] Accessed https://www.medicalnewstoday.com/articles/milk-allergy-baby-poop-pictures. [14 June 2023]
บทความแนะนำสำหรับอาการภูมิแพ้ในเด็ก
- รู้จักกับอาการแพ้นมวัว อาการแบบไหนที่บอกว่าลูกแพ้นมวัว
- คุณแม่ต้องอ่าน! นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว ต้องเลือกแบบนี้!
- ผดผื่น ผื่นแดง ลูกน้ำมูกไหล แบบนี้เป็นภูมิแพ้ในเด็กหรือไม่?
- ภูมิแพ้ในเด็ก อาการและปัจจัยเสี่ยง คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกเป็นภูมิแพ้
- จับตาสังเกต! ลูกน้อยกำลังเป็นผื่นแพ้อาหารทารกรึเปล่านะ
- ลูก 1 ขวบท้องเสียไม่มีไข้ เด็ก 1 ขวบท้องเสีย กินยาอะไรดี