Leaving page banner
 
Leaving page banner
 

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม แบบนี้อาการคนท้องหรือเปล่านะ

Enfa สรุปให้

  • เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เป็นอาการแพ้ท้องที่พบได้ในช่วงไตรมาสแรกหรือ 1 – 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และยังเป็นอาการที่ชี้ให้เห็นว่ากำลังตั้งครรภ์ได้อีกด้วย

  • อาการแพ้ท้อง จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ในบางรายอาจจะเริ่มพบอาการเมื่อมีอายุครรภ์ 4 สัปดาห์ โดยอาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเช้า

  • ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร แต่มีการสันนิษฐานว่า อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายช่วงตั้งครรภ์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม แบบนี้ท้องหรือเปล่า
     • ทำความเข้าใจอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอมกับอาการแพ้ท้อง
     • อาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม เวียนหัว เกิดจากอะไร
     • รับมือกับอาการแพ้ท้อง
     • อาการแพ้ท้องทำให้ลูกขาดสารอาหารหรือไม่?
     • อาการแพ้ท้องจะหายไปเมื่อไหร่
     • อาการแพ้ท้องแบบไหนที่ต้องไปพบแพทย์

อาการคนท้องอย่างหนึ่งที่เราทราบกันดีว่าหากมีอาการเหล่านี้ หมายความว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์ อาการที่ว่านี้คือ “อาการแพ้ท้อง” ซึ่งอาการแพ้ท้องมักจะมีอาการ เช่น เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม

แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์ ไม่ใช่อาการป่วยอื่น ๆ วันนี้เอนฟาเลยอยากจะชวนมาทำความรู้จักอาการคนท้องกันให้มากขึ้นค่ะ

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม อาการแบบนี้ท้องหรือเปล่า


เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เป็นอาการคนท้องที่พบได้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “อาการแพ้ท้อง” โดยอาการแพ้ท้องเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์มากถึง 70 – 80% เรียกได้ว่าเป็นอาการที่เกิดที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงส่วนใหญ่เลยทีเดียว

อาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เป็นสัญญาณเตือนการตั้งครรภ์แรก ๆ ที่สามารถพบได้ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่ควรสังเกตร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนขาด ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น อารมณ์แปรปวนได้ง่าย เป็นต้น

ซึ่งหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าเรากำลังตั้งครรภ์อยู่ เพื่อเป็นการยืนยันการตั้งครรภ์เบื้องต้น เราสามารถใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจหาผลการตั้งครรภ์ได้ หรือไปรับการตรวจจากสถานพยาบาลต่าง ๆ ได้ 

ทำความเข้าใจอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม กับอาการแพ้ท้อง


เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม หรืออาการแพ้ท้อง จะเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ในบางรายอาจจะเริ่มพบอาการเมื่อมีอายุครรภ์ 4 สัปดาห์ โดยอาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นบ่อยในช่วงเช้า แต่ก็สามารถมีอาการได้ตลอดเวลาหรือตลอดทั้งวัน ผู้ที่มีอาการแพ้ท้องจะมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ รู้สึกพะอืดพะอม อาเจียน จมูกไวต่อกลิ่นต่าง ๆ ได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม อาการของอาการแพ้ท้องอาจจะมีลักษณะอาการบางอย่างที่คล้ายคลึงกับปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น อาหารเป็นพิษ หากพบว่ามีอาการพะอืดพะอม คลื่นไส้ หรืออาเจียน และสงสัยว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นอาการแพ้ท้อง หรือเป็นเพราะปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เราสามารถสังเกตได้หากเป็นอาการแพ้ท้องมักจะเกิดขึ้นร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนขาด เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย อารมณ์แปรปวน เป็นต้น

หากมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนเนื่องจากอาหารเป็นพิษ จะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย เช่น มีอาการปวดท้องในลักษณะปวดบิดเป็นพัก ๆ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ บางครั้งอาจจะมีไข้และอ่อนเพลียนร่วมด้วย

สมัครเป็นสมาชิก Enfa Smart Club กับชมวันนี้ ลุ้นรับ MacBook Air

อาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม เวียนหัวเกิดจากอะไร


สำหรับสาเหตุของอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เหม็นอาหารในคุณแม่ตั้งครรภ์ หรืออาการแพ้ท้องนั้น ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากสิ่งใด อาจจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่มีการปรับเปลี่ยนในขณะตั้งครรภ์ และบางครั้งอาจจะเกิดจากความเครียด

อาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม ง่วงนอน ในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก คุณแม่จะรับมือยังไงดี


การรับมือกับอาการแพ้ท้องที่มีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม และง่วงนอนในช่วงตั้งครรภ์ระยะแรก อาจจะไม่มีวิธีตายตัวในการบรรเทาอาการแพ้ท้อง บางวิธีอาจจะใช้ได้ผลกับบางคน แต่อาจจะไม่ได้ผลกับอีกคน

เราจึงต้องลองปรับใช้วิธีบรรเทาอาการแพ้ท้องไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอวิธีที่ได้ผลกับตัวเราเอง อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์ระยะแรกสามารถใช้วิธีเหล่านี้ เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้องเบื้องต้นได้

           • พักผ่อนให้เพียงพอ
           • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง รวมทั้งอาหารที่มีกลิ่นกระตุ้นอาการแพ้ท้อง
           • รับประทานของว่างที่มีลักษณะแห้ง เช่น ขนมปังกรอบ บิสกิต แครกเกอร์ ในช่วงเช้า
           • กินอาหารในปริมาณน้อย แต่แบ่งออกเป็นหลายมื้อ แทนการกินปริมาณปกติหรือมากในแต่ละมื้อ รวมทั้งเน้นอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต อาหารที่มีไขมันต่ำ
           • จิบน้ำบ่อยครั้ง
           • รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบขิง เนื่องจากขิงสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ได้
           • ไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป

แม่ท้องไตรมาสแรกมีอาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม เบื่ออาหาร แบบนี้ลูกน้อยจะได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่


อาการแพ้ท้องอาจจะทำให้คุณแม่มีความอยากอาหารลดลงจากเดิม แต่การได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับร่างกายก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น ถึงแม้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาจจะยังไม่ต้องการพลังงานจากอาหารมากนัก

แต่คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ร่วมกับการกินวิตามินโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันทารกพิการแต่กำเนิด โดยพลังงานที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับอยู่ที่ 2,500 กิโลแครอรี่/วัน

ส่วนลูกในท้องจะได้รับสารอาหารผ่านทางสายสะดือ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของคุณแม่โดยตรง นอกจากนี้ คุณแม่อาจจะลองปรับเปลี่ยนวิธีการกินไปเป็นกินอาหารในปริมาณที่น้อย แต่แบ่งเป็นหลายมื้อ แทนการกินอาหารปริมาณปกติหรือมากในมื้อปกติ เพื่อลดอาการคลื่นไส้ การจิบน้ำตลอดวันก็ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้เช่นกัน

Enfamama TAP No. 1

อาการเวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอมของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะดีขึ้นเมื่อไหร่


อาการแพ้ท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์จะเริ่มดีขึ้น เมื่อมีอายุครรภ์ประมาณ 12 – 14 สัปดาห์ หรือช่วงประมาณไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ และอาการแพ้ท้องจะหมดไปในช่วงอายุครรภ์ 1620 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์บางคนอาจจะมีอาการแพ้ท้องที่ยาวนานกว่าปกติ หรืออาจจะมีอาการลากยาวจนไปถึงช่วงคลอด

หากมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์


แม้ว่าอาการแพ้ท้องจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ในบางครั้งอาการแพ้ท้องก็อาจจะมีลักษณะที่รุนแรง จนเป็นผลกระทบกับสุขภาพของคุณแม่ได้ โดยหากพบอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน อาการแพ้ท้องที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่

           • อาเจียนมากกว่า 3 – 4 ครั้ง/วัน
           • มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนอย่างรุนแรง
           • ไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้ตามปกติ
           • อาเจียนมีสีน้ำตาล หรือมีเลือดปนออกมา
           • น้ำหนักลดลงมาก
           • อ่อนเพลียจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
           • ชีพจรเต้นเร็ว
           • ปัสสาวะมีปริมาณน้อย



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

EFB Form

EFB Form