
Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
แม่รู้หรือไม่? 70% ของเด็กมีอาการไม่สบายท้อง ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะะระบบทางเดินอาหารของทารกนั้นยังไม่แข็งแรงหรือพัฒนาได้เทียบเท่ากับเด็กที่โตกว่า หรือวัยผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการท้องอืดที่บ่อยครั้งมักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวล โดยเฉพาะลูกท้องอืดตอนกลางคืน บทความนี้จาก Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูว่า สาเหตุอะไรบ้างนะที่ทำให้ทารกท้องอืด แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าลูกท้องอืด รวมถึงวิธีรับมือเมื่อเด็กท้องอืดด้วย
ทารกท้องอืด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
การทำงานของระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ระบบทางเดินอาหารของทารกนั้นต้องใช้เวลาในการอุ่นเครื่อง กว่าที่ระบบย่อยอาหารของทารกจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากไปกว่านั้น ในระบบทางเดินอาหารของทารกยังไม่มีแบคทีเรียชนิดดีที่เพียงพอจะช่วยในการย่อยอาหาร จึงทำให้เด็กเล็กมักจะมีอาการท้องอืดบ่อยเพราะระบบต่าง ๆ ของทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ เป็นเหตุสำคัญให้ทารกท้องอืดนั่นเอง
ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปริมาณแบคทีเรียในลำไส้มากเกิน ภาวะขาดเอนไซม์ย่อยนม โรคลำไส้แปรปรวน สามารถก่อให้เกิดอาการท้องอืดในทารก หรือเด็กเล็กได้
การกินนม หากทารกกินนมแม่แล้วท้องอืด อาจเป็นไปได้เวลาเวลาที่ดูดนมแม่ ทารกใช้ปากดูดเพียงหลวม ๆ ทำให้มีอากาศเล็ดลอดเข้าไปได้มากขึ้น หรือหากทารกกินนมขวด ก็อาจเป็นไปได้ว่าในขวดนมมีฟองอากาศอยู่มาก
ทารกแพ้อาหาร เด็กที่เริ่มกินนมผง หรืออาหารบดนิ่ม อาจเริ่มมีปัญหาแพ้อาหารหรือไวต่ออาหารบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงก่อให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากขึ้นด้วย
ร้องไห้บ่อย เวลาที่เจ้าตัวเล็กอ้าปากร้องไห้โยเย ก็เป็นจังหวะที่ทารกได้กลืนเอาอากาศเข้าไปในระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นกัน
คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการท้องอืดในทารกได้ ดังนี้
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะรู้สึกเป็นกังวลขึ้นมาเวลาที่ลูกท้องอืด โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะกังวลและตระหนกว่า ลูกท้องอืดจะทําอย่างไรดี
ซึ่ง วิธีแก้ท้องอืดทารก นั้น ก็สามารถที่จะรับมือได้ง่าย ๆ ดังนี้
โดยทั่วไปแล้วอาการทารกท้องอืดนั้นไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง หรือไม่จำเป็นต้องกินยาใดเป็นพิเศษ อาการดังกล่าวสามารถที่จะดีขึ้นตามลำดับเองได้
อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจวินิจฉัยให้ใช้ยาบางชนิดที่สามารถช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวดจากอาการท้องอืดของทารกได้ เช่น ยาใช้ภายนอกอย่าง มหาหิงค์
หรือยาใช้ภายในอย่าง Gripe Water ที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการท้องอืด หรือปัญหาจากการย่อยอาหารได้ไม่ดี แต่ควรตรวจสอบฉลากของ Gripe Water ให้ดี เพราะบางครั้งอาจมีน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์ ซึ่งจะมีผลเสียกับทารกมากกว่าจะช่วยบรรเทาอาการท้องอืด
หรือยาธาตุน้ำขาว ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของทารกเนื่องจากอาการท้องอืด แต่ยาธาตุน้ำขาวนั้นควรให้ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
ใครที่คิดว่าทารกท้องอืดวิธีแก้ด้วยสนุนไพรนั้นจะช่วยได้ ก็ต้องบอกว่า สมุนไพรต่าง ๆ ไม่ควรนำมาใช้กับทารก โดยเฉพาะสมุนไพรที่เป็นยาใช้ภายในหรือใช้สำหรับกิน ยิ่งต้องระวัง เนื่องจากสมุนไพรส่วนมากนั้นไม่มีผลการวิจัยที่เพียงพอจะรองรับว่ามีความปลอดภัยต่อทารกหรือเด็กเล็ก
การกลืนอากาศเข้าไปมาก ๆ และไม่สามารถระบายออกได้หมด นอกจากจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าตัวเล็กท้องอืดแล้ว ก็ยังทำให้ทารกท้องแข็งเนื่องจากมีอากาศอัดแน่นอยู่ภายในท้องของทารก
ทารกบางคนอาจมีอาการท้องอืดและอาการท้องผูกร่วมกัน ในกรณีที่ทารกมีปัญหาทารกเบ่งอุจจาระไม่ออก ท้องผูกร่วมด้วย ควรพาไปพบแพทย์ทันที
ลูกท้องอืด สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
แม่ให้นมลูกที่กินอาหารจำพวกที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาจสามารถส่งต่อสารอาหารเหล่านั้นไปยังทารกผ่านทางน้ำนมและก่อให้เกิดอาการท้องอืดในทารกได้ หรือทารกอาจแพ้อาหารบางชนิดที่คุณแม่กินเข้าไป และได้รับผ่านทางน้ำนม ทำให้ลูกท้องอืดตามมา
อย่างไรก็ตาม อาหารจำพวกรสเผ็ด โดยมากแล้วมักไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อทารกที่กินนมแม่
แม่ให้นมลูกที่กินอาหารจำพวกที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาหารที่มีไฟเบอร์สูง จำพวก กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กระเทียม ถั่วต่าง ๆ ต้นหอม ผักชี เป็นต้น อาจทำให้ทารกที่กินนมแม่มีอาการท้องอืดตามมาด้วยได้
ไม่มีผลการวิจัยที่เพียงพอจะรองรับว่าการที่แม่ให้นมลูกกินน้ำขิงจะทำให้ทารกท้องอืดได้
หรือถ้าหากมองกลับกันแล้ว ขิง และ น้ำขิง จริง ๆ แล้วมีสรรพคุณช่วยในการขับลมและแก้ท้องอืดด้วยซ้ำ ดังนั้นการที่คุณแม่กินน้ำขิง จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกท้องอืดได้ อาจเกิดจากอาหารประเภทอื่น ๆ ที่กินเข้าไปมากกว่า
ตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ อาการปวดท้องในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการท้องผูก อาหารเป็นพิษ ลำไส้แปรปรวน ...
อ่านต่อตรวจสอบข้อมูลโดย : ผศ.พญ.ดิษจี ลุมพิกานนท์กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิดภาควิชากุมารเวชศา...
อ่านต่อ