ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก
late-talker

เด็กพูดช้า ปัญหาหนักจิตที่พ่อแม่ต้องเปิดใจ ไม่มองข้าม

Enfa สรุปให้

  • เด็กปัญหาเด็กพูดช้า เกิดขึ้นได้จากหลากหลายเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ภาวะประสาทหูพิการ ความผิดปกติในสมอง หรือภาวะสมองถูกทำลาย ภาวะออทิสติก มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 หรืออาจจะรู้จักกันในชื่อของ ปัญญาอ่อน ความขี้อาย ความกลัวที่เกิดขึ้นในใจ
  • เด็กอายุ 2-3 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้ สามารถพูดโต้ตอบได้ และสามารถสื่อสารในเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น หากลูกอายุได้ 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ หรือพูดแต่คำเดิมซ้ำ ๆ ไม่สามารถที่จะรวมคำ หรือพูดโต้ตอบได้ หรือเรียกชื่อแล้วเด็กไม่ตอบสนอง ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่ค่อนข้างแน่นอนว่าลูกมีความผิดปกติ หรือมีพัฒนาการด้านการพูดที่ไม่เป็นไปตามวัย
  • หากเด็กถึงเกณฑ์ที่ควรจะพูดได้แล้ว แต่ไม่ยอมพูดหรือพูดช้า อันแรกแรกคุณพ่อคุณแม่ควรยอมรับว่าลูกมีพัฒนาการผิดปกติจริง เมื่อเข้าใจในความแตกต่างของลูกแล้ว ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าทำไมเด็กจึงพูดช้า หรือทำไมเด็กไม่ยอมพูด

เลือกอ่านตามหัวข้อ

     • สาเหตุที่เด็กพูดช้า
     • พัฒนาการด้านการพูดของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 ขวบ
     • ลูกพูดช้า ผิดปกติไหม
     • รู้รับมืออย่างไรเมื่อลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด
     • วิธีฝึกพัฒนาการด้านการพูด
     • เด็กไม่พูด ถือว่าพัฒนาการช้าหรือเปล่า
     • ลูกพูดช้า จะสามารถกลับมาพูดปกติได้ไหม
     • ลูกพูดช้า...ควรพาไปพบแพทย์หรือไม่?
     • ไขข้อข้องใจเรื่องเด็กพูดช้ากับ Enfa Smart Club

พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กจะมีลำดับขั้นขึ้นไปตามช่วงอายุ หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกันกับคำว่า เติบโตสมวัย กล่าวคือวัยเท่านี้ควรมีพัฒนาการด้านนี้ และวัยเท่านี้พัฒนาการด้านนี้ควรจะเพิ่มขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าแม้เด็กส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ สมวัย แต่ก็มีเด็กอีกหลายคนที่มีพัฒนาการช้ากว่าที่ควรจะเป็น

หนึ่งในนั้นคือปัญหาเด็กพูดช้า หรือเด็กไม่ยอมพูด แม้จะถึงวัยที่สามารถพูดเป็นคำและประโยคยาว ๆ ได้แล้วก็ตาม ซึ่งปัญหาลูกพูดช้า หรือลูกไม่ยอมพูด ก็มักจะทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนรู้สึกเป็นกังวลใจ กลัวว่าลูกจะมีปัญหาด้านพัฒนาการ บทความนี้จาก Enfa จะพามาดูกันว่า ทำไมเด็กถึงพูดช้า แล้วลูกพูดช้าในลักษณะไหนที่ถือว่าผิดปกติ มาหาคำตอบกันได้ที่บทความนี้เลยค่ะ

เด็กพูดช้า เกิดจากอะไร


ปัญหาเด็กพูดช้า เกิดขึ้นได้จากหลากหลายเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ภาวะประสาทหูพิการ คือมีความบกพร่องทางการได้ยิน เนื่องจากได้ยินเสียงเบามาก จนกระทั่งทำให้การรับรู้เรื่องการออกเสียง การฝึกพูด หรือการเรียนรู้ที่จะสื่อสารผ่านการพูดทำได้ไม่ดี จำเป็นจะต้องใช้ท่าทางหรือภาษามือเพื่อทำการสื่อสารแทน
  • ความผิดปกติในสมอง หรือภาวะสมองถูกทำลาย คือเกิดความผิดปกติขึ้นในสมอง จนกระทั่งไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้ ส่งผลให้กระบวนการสื่อสารทางการพูดทำได้ยาก
  • ภาวะออทิสติก เด็กที่มีภาวะออทิสติก จะมีปัญหาเรื่องพัฒนาการด้านการสื่อสาร เนื่องจากมีปัญหาในการเข้าสังคม ทำให้กระบวนการสื่อสารทำได้ช้า ทั้งยังมีความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ที่แตกต่างไปจากเด็กในวัยเดียวกัน
  • มีเชาว์ปัญญาต่ำกว่า 70 หรืออาจจะรู้จักกันในชื่อของ ปัญญาอ่อน เด็กที่มีภาวะเช่นนี้ จะมีพัฒนาการทางด้านการสื่อสาร การใช้ภาษา และการพูดทำได้ช้า รวมถึงยังอาจสื่อความหมายที่ผิดไปจากความเข้าใจของคนอื่น ๆ ด้วย
  • ความขี้อาย เด็กบางคนสามารถพูดได้ เข้าใจประโยคคำถาม สามารถทำตามคำร้องขอได้ เพียงแต่เด็กเขินอายเกินกว่าที่จะมีการพูดโต้ตอบด้วย
  • ความกลัว เด็กบางคนอาจมีปมฝังใจ เช่น พูดผิด พูดแล้วมีคนหัวเราะ หรือถูกดุเมื่อพูด จึงทำให้เป็นแผลในใจ ทำให้เด็กไม่ยอมพูด พูดน้อย หรือพูดเฉพาะกับคนที่อยากจะพูดด้วยเท่านั้น

เข้าใจพัฒนาการด้านการพูดของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 4 ขวบ


พัฒนาการด้านการพูดของเด็ก ควรจะมีลำดับพัฒนาการตามช่วงวัย ดังนี้

  • อายุ 1-4 เดือน เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถพูดเป็นคำหรือประโยคได้ แต่จะส่งเสียงอ้อแอ้กับผู้สนทนา หรือเจ้าของเสียงที่คุ้นเคย
  • อายุ 5-6 เดือน เด็กวัยนี้สามารถตอบสนองได้เมื่อถูกเรียกขานชื่อ มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับเสียงเรียกที่ได้ยิน และเลียนเสียงได้
  • อายุ 9-12 เดือน เด็กวัยนี้สามารถพูดคำพยางค์เดียวได้ และมีท่าทางประกอบในการสื่อความหมายเวลาพูดด้วย
  • อายุ 1-1.5 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดคำหรือกลุ่มคำที่มีความหมายได้ สามารถโต้ตอบได้ชัดเจนขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งได้
  • อายุ 1.5-2 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดคำต่าง ๆ ได้ประมาณ 50-80 คำ สามารถเข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้นได้ สามารถรวมคำได้
  • อายุ 2-3 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดเป็นประโยคได้ สามารถพูดโต้ตอบได้ และสามารถสื่อสารในเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น
  • อายุ 3-4 ปี เด็กวัยนี้สามารถพูดเป็นประโยคยาว ๆ ได้ สามารถทำความเข้าใจกับเรื่องใหม่ ๆ และเรื่องยาก ๆ ได้มากขึ้น

ลูกพูดช้า ผิดปกติหรือเปล่า


หากลูกอายุได้ 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถพูดคำที่มีความหมายได้ หรือพูดแต่คำเดิมซ้ำ ๆ ไม่สามารถที่จะรวมคำ หรือพูดโต้ตอบได้ หรือเรียกชื่อแล้วเด็กไม่ตอบสนอง ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่ค่อนข้างแน่นอนว่าลูกมีความผิดปกติ หรือมีพัฒนาการด้านการพูดที่ไม่เป็นไปตามวัย

ลูกพูดช้า ลูกไม่ยอมพูด รับมืออย่างไรได้บ้าง


มีหลายกรณีที่เด็กไม่เพียงแต่พูดช้า แต่ว่าเด็กไม่ยอมพูดเลย หรือพูดบ้าง แต่ก็พูดน้อยจนเกือบจะเรียกได้ว่าไม่พูดเลย ซึ่งในกรณีเช่นนี้สิ่งสำคัญในการรับมือขั้นต้นก็คือพ่อและแม่ต้องสามารถที่จะยอมรับความจริงให้ได้เสียก่อนว่าลูกมีพัฒนาการช้า หรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติ เพราะมีพ่อแม่หลายคนที่ไม่เข้าใจและไม่พอใจที่ลูกไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบ ซึ่งการแสดงออกที่รุนแรงต่อเด็ก จะไม่ช่วยให้เด็กพูดได้แต่อย่างใด

เมื่อพ่อแม่สามารถทำความเข้าใจในความแตกต่างนี้ของลูกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าทำไมเด็กจึงพูดช้า หรือทำไมเด็กไม่ยอมพูด

วิธีฝึกพัฒนาการด้านการพูด


การฝึกพัฒนาด้านการพูดของเด็กนั้นควรอยู่ในความดูแลของกุมารแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อที่เด็กจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูที่เหมาะสม โดยกุมารแพทย์ และเด็กอาจจำเป็นต้องได้รับการบำบัดเพื่อฟื้นฟูพัฒนาการด้านการพูดจากนักแก้ไขการพูด (speech-Language pathologist)

อย่างไรก็ตาม สมาชิกในครอบครัวก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางด้านการพูดของเด็กได้ โดยการเล่นเกม การอ่านหนังสือและโต้ตอบด้วยภาษาและท่าทางต่าง ๆ การฝึกใช้เสียงและพยางค์ต่าง ๆ การพยายามพูดคุยด้วยบ่อย ๆ ยิ่งคุยด้วยมากเท่าไหร่ เด็กก็มีโอกาสที่จะพัฒนาการพูดให้เร็วขึ้นมากเท่านั้น

มากไปกว่านั้น เด็กยังอาจจำเป็นที่จะต้องเข้าเรียนในโรงเรียนเฉพาะที่มีการดูแลในเรื่องของเด็กที่มีพัฒนาการช้าโดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของตนเอง ทำให้เด็กได้รับการดูแลเฉพาะทาง และเสริมพัฒนาการเฉพาะทางด้วย

เด็กไม่พูด ถือว่าพัฒนาการช้าหรือเปล่า


การที่ ลูกไม่พูด ไม่ยอมพูด หรือไม่พูดเลย แม้ว่าจะมีอายุถึงระดับพัฒนาการที่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมาย หรือพูดประโยคยาว ๆ โต้ตอบได้แล้วก็ตาม ลักษณะเช่นนี้ อาจกล่าวได้ว่าเด็กมีพัฒนาการช้า หรือพัฒนาการด้านการพูดผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม กรณีที่เด็กไม่พูด อาจเป็นไปได้หลายกรณี คือ

  • เด็กสามารถที่จะพูดได้ปกติ เพียงแต่ในระยะเริ่มต้นเด็กยังมีพัฒนาการที่ช้า หากได้รับการวินิจฉัยและบำบัดรักษาจากกุมารแพทย์แต่เนิ่น ๆ ก็สามารถที่จะพูดปกติได้
  • เด็กสามารถพูดได้ปกติ แต่มีปมในใจบางอย่าง อาจจะมาจากครอบครัว หรือเหตุการณ์สะเทือนใจจนทำให้เด็กไม่ยอมพูด พูดน้อย หรือไม่พูดเลย
  • เด็กไม่สามารถพูดได้ เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับหู หรือประสาทหูพิการทำให้ไม่ได้ยินเสียง จึงไม่สามารถที่จะเลียนแบบเสียง ไม่สามารถได้ยินเสียง หรือเลียนเสียงได้ และไม่สามารถที่จะพูดเป็นคำที่มีความหมายได้

ลูกพูดช้า จะสามารถกลับมาพูดปกติได้หรือเปล่า?


กุมารแพทย์ และนักแก้ไขการพูด จะทำการวินิจฉัยถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เด็กพูดช้าหรือไม่ยอมพูด และเริ่มกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูดไปตามหลักการรักษา

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจัยที่ทำให้เด็กพูดช้านั้นแตกต่างกัน บางคนเกิดจากปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ มีปัญหาภายในช่องปาก หรือมีความผิดปกติที่สมอง ก็จะต้องทำการรักษาหรือทำการผ่าตัดจากสาเหตุนั้น ๆ เสียก่อน จึงจะเริ่มบำบัดการพูดต่อไป

ในกรณีที่เด็กมีปัญหาพูดช้า หรือไม่พูด อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านการได้ยิน แพทย์ก็จะมีการผ่าตัดที่หูชั้นในให้กับเด็ก ๆ แล้วจึงใส่เครื่องช่วยฟัง เพื่อช่วยให้เด็กได้ยินเสียงต่าง ๆ รอบตัว จากนั้นจึงเริ่มทำการบำบัดด้านการพูด

ลูกพูดช้า... คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์หรือไม่?


กุมารแพทย์ และนักแก้ไขการพูด จะทำการวินิจฉัยถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้เด็กพูดช้าหรือไม่ยอมพูด และเริ่มกระบวนการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูดไปตามหลักการรักษา

ไขข้อข้องใจเรื่องเด็กพูดช้ากับ Enfa Smart Club


1. ลูกพูดช้า ทําอย่างไร?

หากลูกพูดช้าอันดับแรกคือพ่อแม่ควรทำความเข้าใจในความแตกต่างนี้ และยอมรับให้ได้ว่าลูกมีพัฒนาการผิดปกติ จากนั้นพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด

2. ลูกไม่ยอมพูด 3 ขวบ ผิดปกติไหม?

อายุ 3 ขวบขึ้นไป สามารถที่จะพูดเป็นประโยคยาว ๆ ได้ สามารถทำความเข้าใจกับเรื่องใหม่ ๆ และเรื่องยาก ๆ ได้มากขึ้นแล้ว

แต่ถ้าเด็กยังไม่สามารถสื่อสารเป็นประโยคยาว ๆ ได้ หรือไม่ยอมพูดเลย ถือว่าเด็กมีความผิดปกติด้านการพูด ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด

3. พัฒนาการด้านการพูด 2 ขวบ ควรเป็นอย่างไร?

เด็กที่อายุ 2 ขวบขึ้นไป สามารถที่จะพูดเป็นประโยคได้ สามารถพูดโต้ตอบได้ และสามารถสื่อสารในเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น

4. ลูก 2 ขวบไม่ยอมพูด ถือว่าพัฒนาการช้าไหม?

เด็กอายุ 2 ขวบสามารถพูดคำได้หลายคำ และพูดประโยคยาว ๆ ได้ แต่ถ้า 2 ขวบแล้วลูกยังไม่มีพัฒนาการดังกล่าวเกิดขึ้น ถือว่ามีพัฒนาการช้า ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด

5. ลูกไม่ยอมพูด 5 ขวบ เป็นไปได้หรือเปล่า?

โดยปกติแล้วเด็กอายุ 5 ขวบ ถือว่าโตพอที่จะพูดประโยคยาว ๆ และสามารถสื่อสารในเรื่องที่ยาก ๆ ได้หลายเรื่อง โตพอจะเข้าใจและพูดจาตอบโต้ได้อย่างฉะฉาน

อย่างไรก็ตาม อาจมีกรณีที่ลูกมีปัญหาเรื่องสุขภาพ เช่น ประสาทหูพิการ ที่ส่งผลให้ไม่ได้ยินเสียง จนทำให้กระบวนการพูดหรือการสื่อสารทำไม่ได้ หรือไม่สามารถพูดได้

หรือเด็กอาจเกิดเหตุการณ์สะเทือนใจบางอย่างเกิดขึ้น และทำให้เกิดอาการช็อกจนกระทั่งไม่ยอมพูดอีก หรือพูดน้อยลง

หากเด็กมีอายุได้ 5 ขวบแล้วไม่ยอมพูด หรือเคยพูดแล้วจู่ ๆ ก็ไม่ยอมพูด ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด

6. ลูกพูดช้าสุดกี่ขวบ?

โดยมากแล้วเด็กจะเริ่มพูดตั้งแต่ 2-3 เดือนแล้ว และจะเริ่มพูดจาเป็นคำเมื่ออายุได้้ 10 เดือน หรืออย่างช้าที่สุดก็คือ 15 เดือน แต่ถ้าลูกยิ่งโตมากขึ้น แต่พัฒนาการด้านการพูดไม่พัฒนาไปตามลำดับอายุที่โตขึ้น ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด

7. ลูก 2 ขวบครึ่งยังไม่พูด ผิดปกติไหม?

เด็กอายุ 2 ขวบ ถึง 2 ขวบครึ่ง สามารถพูดเป็นคำได้หลายคำ และพูดประโยคยาว ๆ ได้ แต่ถ้า 2 ขวบครึ่งแล้วลูกยังไม่มีวี่แววว่าจะพูด ถือว่ามีพัฒนาการด้านการพูดที่ผิดปกติ ควรพาลูกไปพบกับกุมารแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการบำบัดฟื้นฟูด้านการพูด



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

บทความที่แนะนำ

ทารกเป็นหวัดหายใจครืดคราด
starting-solid-foods
Enfa Smart Club

Leaving page banner

 

Leaving page banner