Enfa สรุปให้
- ทารกตัวเหลือง ถือเป็นอาการโดยทั่วไปที่พบได้ในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะในช่วง 2-3 หลังคลอด ทารกจะมีอาการตัวเหลืองมากเป็นพิเศษ
- อาการตัวเหลืองของทารกแรกเกิดจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด แต่ถ้าหากนานเกินกว่านั้น อาจเป็นไปได้ว่าทารกมีค่าตัวเหลืองสูงเกินปกติ จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาทันที
- การกระตุ้นให้ทารกขับถ่าย การส่องไฟ สามารถช่วยขับสารตัวเหลืองออกจากร่างกายได้ แต่ในกรณีที่ทารกมีค่าตัวเหลืองสูงมาก อาจต้องมีการรักษาด้วยการถ่ายเลือด
ทารกตัวเหลือง ถือเป็นหนึ่งในภาวะสุขภาพโดยทั่วไปที่สามารถพบได้บ่อยมาก ๆ ในเด็กทารก แต่ไม่ใช่ปัญหาสุขภาพที่หน้ากังวล และสามารถหายเองได้ค่ะ เว้นแต่ว่าทารกมีค่าตัวเหลืองสูงมากผิดปกติ กรณีนี้อาจจะต้องพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากอาการทารกตัวเหลือง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• ค่าเหลืองทารกปกติ อยู่ที่เท่าไหร่
• ตารางค่าตัวเหลือง แบบไหนที่เสี่ยงอันตราย
• ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ต้องทำอย่างไร
• ทารกตัวเหลืองกี่วันหาย
• ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีแก้ทารกตัวเหลืองกับ Enfa Smart Club
ค่าเหลืองทารกปกติ อยู่ที่เท่าไหร่
อาการตัวเหลืองของทารกนั้น ขึ้นอยู่กับค่าบิลิรูบิน หรือค่าของสารสีเหลืองที่เกิดจากการย่อยสลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยกันว่า ค่าตัวเหลืองในทารกปกติเท่าไหร่กันนะ?
ก่อนอื่นเราต้องเริ่มจากค่าตัวเหลืองปกติโดยทั่วไปของคนเราก่อน ซึ่งจะอยู่ที่ระหว่าง 0.3 - 1 มิลลิกรัม หากสูงกว่านั้น จะถือว่ามีค่าตัวเหลืองมากผิดปกติ
ค่าตัวเหลืองในทารกปกติจะมีค่าเฉลี่ยที่สูงมากในช่วงวันแรก ๆ ของชีวิต โดยจะมีค่าบิลิรูบินของทารกแรกเกิดจะอยู่ระหว่าง 1 - 12 มิลลิกรัม
แต่ถ้าหากทารกมีค่าบิลิรูบินสูงเกิน 10 มิลลิกรัมขึ้นไป จะถือว่ามีค่าตัวเหลืองอยู่ในระดับที่สูง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ค่ะ
ส่วนกรณีที่ทารกมีค่าบิลิรูบินสูงเกิน 20 ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในภาวะอันตราย และจะต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อย่างทันท่วงนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการช็อก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนกับสมองของทารก ทำให้ทารกสมองพิการ และถ้าหากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ทัน ทารกอาจเสียชีวิตได้
ตารางค่าตัวเหลือง แบบไหนที่เสี่ยงอันตราย
ค่าบิลิรูบินหรือตารางค่าตัวเหลืองปกติโดยทั่วไปคือ 0.3 - 1 มิลลิกรัม แต่สำหรับทารกแรกเกิดนั้นจะมีค่าบิลิรูบินในร่างกายที่สูงกว่าวัยอื่น ๆ โดยจะมีค่าตัวเหลืองอยู่ระหว่าง 1 – 12 มิลลิกรัมค่ะ
โดยค่าบิลิรูบินของทารกแรกเกิดที่ในระดับสูงมากดังตารางต่อไปนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงและควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด
- ทารกอายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง มีค่าบิลิรูบิน มากกว่า 10 มิลลิกรัม
- ทารกอายุ 24-48 ชั่วโมง มีค่าบิลิรูบิน มากกว่า 15 มิลลิกรัม
- ทารกอายุ 49-72 ชั่วโมง มีค่าบิลิรูบิน มากกว่า 18 มิลลิกรัม
- ทารกอายุ 72 ชั่วโมงขึ้นไป มีค่าบิลิรูบิน มากกว่า 20 มิลลิกรัม
ทารกตัวเหลือง วิธีแก้ต้องทำอย่างไร
การรักษาภาวะตัวเหลืองของทารกนั้น ต้องแก้ไขาจากสาเหตุของอาการตัวเหลืองค่ะ ซึ่งสามารถแก้ได้ ดังนี้
- รักษาโดยการกระตุ้นให้ทารกมีการขับถ่าย วิธีนี้มักใช้โดยทั่วไปในกรณีที่ทารกมีค่าตัวเหลืองไม่มาก การให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง จะช่วยกระตุ้นให้ทารกขับเอาสารสีเหลืองออกจากร่างกายผ่านการปัสสาวะและอุจจาระออกมาได้
- รักษาโดยการส่องไฟ (Phototherapy) ด้วยคลื่นแสงสีฟ้าชนิดพิเศษ เพื่อทำการเปลี่ยนรูปร่างของสารสีเหลืองทารกให้สามารถขับออกจากร่างกายผ่านการปัสสาวะและอุจจาระได้
- รักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือด (Exchange transfusion) หากการส่องไฟไม่ได้ผล และทารกยังตัวเหลืองในระดับรุนแรง จะต้องทำการรักษาด้วยการถ่ายเลือดกับผู้ใหญ่ เพื่อนำเลือดที่มีสารตัวเหลืองออกมา และนำเลือดใหม่เข้าไปแทนที่
หากภายใน 3 สัปดาห์หลังคลอด อาการตัวเหลืองของลูกยังไม่จางลง ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจค่าตัวเหลือง และรับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีนะคะ เพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลเสียต่อทารกได้ค่ะ
ลูกตัวเหลืองส่องไฟกี่วัน
หากทารกต้องได้รับการรักษาอาการตัวเหลืองด้วยวิธีส่องไฟ ทารกตัวเหลืองส่องไฟกี่วันกันนะ?
โดยทั่วไปแล้วการส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลืองของทารกนั้น จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันค่ะ
ทารกตัวเหลืองกี่วันหาย
โดยทั่วไปแล้วอาการตัวเหลืองของทารกนั้น จะมีอาการตัวเหลืองมากในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์หลังคลอด อาการตัวเหลืองก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง
แต่ถ้าหากอาการตัวเหลืองของทารกไม่จางลงเลย คุณพ่อคุณแม่ควรพาทารกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สีอุจจาระทารกตัวเหลือง
อุจจาระของทารกที่ตัวเหลืองจะมีสีเหลืองเข้ม หรือสีเหลืองทอง กรณีแบบนี้ถือว่าปกติค่ะ แสดงว่าร่างกายขอทารกมีการขับเอาสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย และอาการตัวเหลืองก็จะค่อย ๆ หายเป็นปกติค่ะ
กินอะไรไม่ให้ลูกตัวเหลือง
สำหรับทารกที่มีอาการตัวเหลือง คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่บ่อย ๆ การกินนมแม่จะช่วยกระตุ้นให้ทารกขับถ่ายและปัสสาวะ เพื่อช่วยขับเอาสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย
ไขข้อข้องใจเรื่องวิธีแก้ทารกตัวเหลืองกับ Enfa Smart Club
ค่าตัวเหลืองในทารก 15 ถือว่าอันตรายไหม?
ค่าตัวเหลือง 15 มิลลิกรัมในทารกแรกเกิด ถือว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงมาก และจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อช่วยให้ทารกกลับคืนสู่สีผิวปกติโดยเร็วที่สุด
ค่าปกติ Bilirubin ในทารกแรกเกิด อยู่ที่เท่าไหร่?
ค่าบิลิรูบินในทารกแรกเกิดนั้นอาจมีตั้งแต่ 1 - 12 มิลลิกรัม ซึ่งค่าบิลิรูบินที่สูงเกินกว่า 10 มิลลิกรัม ถือว่าเป็นค่าตัวเหลืองที่ค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยตรงจากแพทย์
ตารางค่าตัวเหลือง 12 อันตรายไหม?
ค่าตัวเหลือง 12 มิลลิกรัม ถือว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงเล็กน้อย แต่ไม่อยู่ในขั้นอันตรายรุนแรง การรักษาด้วยการส่องไฟ สามารถช่วยให้อาการตัวเหลืองดีขึ้นได้
ตารางค่าตัวเหลือง 13 อันตรายไหม?
ค่าตัวเหลือง 13 มิลลิกรัม ถือว่าเป็นค่าที่ค่อนข้างสูงเล็กน้อย แต่ไม่อยู่ในขั้นอันตรายรุนแรง การรักษาด้วยการส่องไฟ สามารถช่วยให้อาการตัวเหลืองดีขึ้นได้
- Med Scape. Bilirubin. [Online] Accessed https://emedicine.medscape.com/article/2074068-overview?form=fpf. [1 July 2024]
- Healthline. What Causes High Bilirubin?. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/high-bilirubin. [1 July 2024]
- American Pregnancy Association. Newborn Jaundice. [Online] Accessed https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/first-year-of-life/newborn-jaundice/. [1 July 2024]
- โรงพยาบาลกรุงเทพ. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด พ่อแม่มือใหม่ควรรู้. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokhospital.com/content/jaundice-new-parents-should-know. [1 กรกฎาคม 2024]
- โรงพยาบาลนครธน. 3 ขั้นตอนการดูแลภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดสำหรับคุณแม่มือใหม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.nakornthon.com/article/detail/3%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%. [1 กรกฎาคม 2024]
- โรงพยาบาลพญาไท. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/3627-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%. [1 กรกฎาคม 2024]
- ศูนย์ศรีพัฒน์. ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-72. [1 กรกฎาคม 2024]
- โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4. ลูกคลอดออกมา “ตัวเหลือง”นี่คือสิ่งที่พ่อแม่ควรทำ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%. [1 กรกฎาคม 2024]
บทความแนะนำสำหรับดูแลทารกน้อย