Enfa สรุปให้:
- ลูกแหวะนม พบได้บ่อยในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน เพราะเป็นช่วงวัยที่กล้ามเนื้อหูรูด หลอดอาหาร และส่วนกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น จึงมักจะมีการไหลย้อนกลับของนมที่กินเข้าไปอยู่บ่อยครั้ง
- ซึ่งการสำลัก หรือแหวะนมออกมานั้น ไม่ได้ไหลย้อนกลับออกมาทางปากเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็ทารกสำลักน้ำนมไหลออกทางจมูกด้วยเช่นกัน
- อย่างไรก็ตาม ลูกแหวะนมบ่อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล และไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงค่ะ ตราบเท่าที่ทารกยังสามารถดูดนมได้เป็นปกติหลังจากการแหวะนม
เลือกอ่านตามหัวข้อ
• แหวะนมคืออะไร
• ลูกแหวะบ่อยปกติหรือไม่
• แหวะนม vs อาเจียน
• สาเหตุของอาการแหวะนม
• วิธีป้องกันและบรรเทาอาการแหวะนม
• เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
• ไขข้อข้องใจเรื่องแหวะนมกับ Enfa Smart Club
เชื่อว่าทั้งพ่อแม่มือใหม่ และพ่อแม่มือโปรหลายคน จะต้องเจอกับปัญหากวนใจอย่าง ลูกแหวะนม กันไม่มากก็น้อย หรือบางครั้งลูกก็แหวะนมบ่อยเกินไปจนน่ากังวล แต่อาการแหวะนม เกิดจากอะไร ลูกน้อยแหวะนมบ่อย ๆ อันตรายหรือเปล่า แล้วจะรับมืออย่างไรดีถ้าหากว่าเจ้าตัวเล็กแหวะบ่อย วันนี้ Enfa จะพามาไขความลับและวิธีรับมือเมื่อลูกแหวะกันนะ
อาการแหวะนมคืออะไร
ทารกแหวะนม เป็นหนึ่งในปัญหาที่สร้างความกังวลและกวนใจคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย ซึ่งอาการลูกแหวะนมนั้น เป็นปัญหาสุขภาพโดยทั่วไปที่พบได้บ่อยในเด็กทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนค่ะ เพราะเป็นช่วงวัยที่กล้ามเนื้อหูรูด หลอดอาหาร และส่วนกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มที่
ดังนั้น จึงมักจะมีการไหลย้อนกลับของนมที่กินเข้าไปอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งการสำลัก หรือแหวะนมออกมานั้น ไม่ได้ไหลย้อนกลับออกมาทางปากเพียงอย่างเดียวนะคะ บางครั้งก็ไหลออกทางจมูกด้วยเช่นกัน
ลูกแหวะบ่อยอันตรายไหม แบบนี้ปกติหรือไม่
เด็กหลายคนมีอาการแหวะนมบ่อย จนคุณพ่อคุณแม่เริ่มเป็นกังวลว่าลูกแหวะบ่อยอันตรายไหมนะ? อย่างที่กล่าวไปข้างต้นค่ะว่าอาการแหวะนมในทารกนั้นเป็นอาการทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้บ่อย และไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงค่ะ ตราบเท่าที่ทารกยังสามารถดูดนมได้เป็นปกติหลังจากการแหวะนม
เว้นเสียแต่ว่าลูกจะแหวะเอาสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ออกมาด้วย เช่น เลือด หรือของเหลวอื่น ๆ ที่มีกลิ่นเหม็น หรือมีอาการแหวะนมบ่อยมาก และเริ่มส่งผลต่อน้ำหนัก หรือน้ำหนักลดลงต่อเนื่อง กรณีเช่นนี้อาจจะต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยนะคะ
อาการแหวะนมกับอาเจียนต่างกันอย่างไร
ทารกแหวะนม กับ ทารกอ้วก บางครั้งก็อาจจะดูคล้ายกันจนแยกไม่ออก แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่พอจะสามารถแยกได้บ้าง ดังนี้
• อาการแหวะนม คือ การไหลเวียนย้อนกลับของอาหาร คล้ายกับอาการกรดไหลย้อน ซึ่งจะไม่สำรอกออกมาทางปากเพียงอย่างเดียว บางครั้งก็สำลักออกทางจมูกด้วย
• อาการอาเจียน คือ อาการที่สำรอกเอาอาหารหรือของเหลวออกมาทางปากโดยตรง
อย่างไรก็ตาม บางครั้งทารกก็อาจจะมีอาการทั้งสองอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันได้ค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากทารกอาเจียนแบบพุ่งออกมา และน้ำหนักเริ่มลด กรณีเช่นนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยนะคะ
สาเหตุที่ลูกมีอาการแหวะนม ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร
บางครั้งลูกก็แหวะนมบ่อยจนน่ากังวล จนอดสงสัยไม่ได้ว่า ลูกแหวะบ่อยเกิดจากอะไร?
จริง ๆ แล้วปัจจัยหลัก ๆ เลยที่ทำให้ทารกแหวะนมบ่อย นั่นก็เป็นเพราะกล้ามเนื้อหูรูด หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารของทารกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ค่ะ การเปิดปิดหลอดอาหารจึงยังทำได้ไม่ดีพอ ยิ่งถ้ากินนมมากจนเกินไป ก็ยิ่งเสี่ยงจะเกิดอาการแหวะนมได้ง่ายเลยค่ะ
โดยเฉพาะบางคนอาจจะป้อนนมลูกทุก ๆ ชั่วโมง ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกแหวะนมได้ง่ายขึ้น เพราะในกระเพาะอาหารมีปริมาณน้ำนมมากเกินไปจนย่อยไม่ทัน เมื่อย่อยไม่ทันก็สามารถที่จะไหลย้อนกลับ จนสำลักออกทางปากหรือจมูกได้ค่ะ
วิธีป้องกันและบรรเทาอาการแหวะนม
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากให้ลูกมีอาการแหวะนมบ่อย ก็สามารถที่จะป้องกันและบรรเทาอาการแหวะนมของลูกได้ง่าย ๆ ดังนี้
- เวลาที่ให้นมลูก ควรให้นมลูกกินนมในท่าที่ศีรษะอยู่สูงหน่อย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงน้ำนมไหลย้อนกลับได้ค่ะ
- หลังจากลูกกินนมเสร็จแล้ว อย่าเพิ่งพาลูกเข้านอนทันทีค่ะ ให้จับลูกเรอเสียก่อน โดยอาจจะอุ้มลลูกพาดบ่าแล้วลูบหลังเบา ๆ หรือจะจับลูกนั่งสักครู่หนึ่งก่อนก็ได้
- เว้นระยะห่างการให้นมบ้าง จริงอยู่ค่ะที่ทารกมักจะหิวนมบ่อย แต่ก็ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อยสัก 2 ชั่วโมงต่อครั้งก็ได้ค่ะ การให้นมลูกทุกชั่วโมงเลย บางครั้งอาจจะมากเกินไป และระบบทางเดินอาหารของทารกก็ยังทำงานไม่เต็มที่ อาจทำให้ย่อยไม่หมด และเกิดการไหลย้อนกลับจนแหวะนมบ่อยได้ค่ะ
- แม้ลูกจะแหวะนมจากการกินนมแม่ แต่ก็อย่าเพิ่งเปลี่ยนจากนมแม่ไปเป็นนมผง หรือนมสูตรอื่น ๆ นะคะ ให้นมแม่ต่อไปอย่างน้อย 6 เดือนตามปกติได้เลยค่ะ
- ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นจะต้องให้นมผงเพื่อทดแทนนมแม่ คุณแม่อาจจะเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ซึ่งเหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารของเด็กเล็กที่ยังทำงานไม่ได้สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ โภชนาการย่อยง่ายจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการแน่นท้อง ให้ลูกน้อยสบายท้อง ลดความเสี่ยงของการย่อยนมไม่หมด และไหลย้อนกลับ หรือแหวะนมออกมา
ลูกแหวะนมแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์
อาการแหวะนม ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ค่ะ เพราะไม่ใช่อาการที่รุนแรงแต่อย่างใด เว้นเสียแต่ว่าลูกมีอาการแหวะนมบ่อย และมีอาการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ร่วมด้วย ควรจะต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที
- ลูกแหวะนมบ่อย และมีน้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง
- ทารกแหวะนมแบบอาเจียนพุ่งออกมาอย่างต่อเนื่อง
- เด็กแหวะนมออกมา และมีสารคัดหลั่งสีเขียวหรือสีเหลืองคล้ายน้ำดีปะปนออกมาด้วย
- ลูกแหวะนมออกมาพร้อมกับเลือด หรือของเหลวที่มีสีคล้ำคล้ายกับกากกาแฟ
- ลูกเริ่มมีอาการเบื่ออาหาร ไม่ยอมกินนม
- อุจจาระของลูกมีเลือดปนออกมาด้วยหลังจากที่แหวะนม
- มีอาการไอ และเริ่มหายใจไม่ออก
- มีอาการแหวะนมในอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งปกติแล้วมักจะพบอาการแหวะนมเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 เดือนเป็นส่วนใหญ่
- ลูกมีอาการอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด
- ลูกมีอาการหงุดหงิด ไม่สบายตัว
ไขข้อข้องใจเรื่องลูกแหวะนมกับ Enfa Smart Club
ลูกแหวะนมบ่อย ลูกแหวะพุ่ง แบบนี้อันตรายไหม?
ลูกแหวะนมแบบแหวะพุ่งออกมาคล้ายกับอาการอาเจียน กรณีเช่นนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอาจเกิดความผิดปกติรุนแรงภายในระบบทางเดินอาหาร หรืออาจเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ค่ะ
ลูกแหวะเป็นสีเหลืองเกิดจากอะไร?
ของเหลวสีเหลืองที่ออกมาพร้อมกับอาการแหวะนมนั้น อาจเกิดจากน้ำดีในร่างกายที่ถูกขับออกมาค่ะ ซึ่งกรณีแหวะนมเช่นนี้ ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีค่ะ เพราะอาจเกิดความผิดปกติรุนแรงภายในระบบทางเดินอาหาร หรืออาจเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ ได้ค่ะ
ลูกแหวะออกจมูก ต้องกังวลไหม?
อาการแหวะนมนั้นสามารถออกได้ทั้งจากทางปากและทางจมูกได้ ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ ไม่ใช่สัญญาณที่น่ากังวลแต่อย่างใด
ลูกแหวะเป็นเลือด ทำอย่างไรดี?
หากลูกแหวะนมและมีเลือดปนออกมาด้วย กรณีแบบนี้ไม่ต้องมัวชะล่าใจเลยนะคะ ให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันทีค่ะ
ลูกกินแล้วแหวะ ทำอย่างไรดี?
ลูกกินนมแล้วแหวะนม เป็นเรื่องปกติมาก ๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกเป็นบ่อย คุณพ่อคุณแม่อาจใช้วิธีรับมือดังต่อไปนี้ได้ค่ะ
- ควรให้นมลูกกินนมในท่าที่ศีรษะอยู่สูงหน่อย ก็จะช่วยลดความเสี่ยงน้ำนมไหลย้อนกลับได้ค่ะ
- หลังจากลูกกินนมเสร็จแล้ว ให้จับลูกเรอเสียก่อน โดยอาจจะอุ้มลลูกพาดบ่าแล้วลูบหลังเบา ๆ หรือจะจับลูกนั่งสักครู่หนึ่งก่อนก็ได้
- ควรเว้นระยะเวลาอย่างน้อยสัก 2 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะบางครั้งอาจจะมากเกินไป อาจทำให้ย่อยไม่หมด และเกิดการไหลย้อนกลับจนแหวะนมบ่อยได้ค่ะ
- ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ และมีความจำเป็นจะต้องให้นมผงเพื่อทดแทนนมแม่ คุณแม่อาจจะเลือกโภชนาการที่ย่อยง่าย มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) หรือโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ซึ่งเหมาะสมกับระบบทางเดินอาหารของเด็กเล็กที่ยังทำงานไม่ได้สมบูรณ์เหมือนกับของผู้ใหญ่ โภชนาการย่อยง่ายจะช่วยลดความเสี่ยงของอาการแน่นท้อง ให้ลูกน้อยสบายท้อง ลดความเสี่ยงของการย่อยนมไม่หมด และไหลย้อนกลับ หรือแหวะนมออกมา
- NHS. Reflux in babies. [Accessed] https://www.nhs.uk/conditions/reflux-in-babies/. [2 March 2023]
- Children's Health Queensland Hospital and Health Service. Reflux in babies. [Accessed] https://www.childrens.health.qld.gov.au/fact-sheet-reflux/. [2 March 2023]
- Mayo Clinic. Infant reflux. [Accessed] https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/infant-acid-reflux/symptoms-causes/syc-20351408. [2 March 2023]
- Pregnancy, Birth and Baby. Vomiting in babies. [Accessed] https://www.pregnancybirthbaby.org.au/vomiting-in-babies. [2 March 2023]
- WebMD. Baby Spitting Up. [Accessed] https://www.webmd.com/parenting/baby/spitting-up#091e9c5e800113e1-1-2
- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. แหวะนม พบได้บ่อยในทารก. [เข้าถึงได้จาก] https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/แหวะนม-พบได้บ่อยในทารก/. [2 มีนาคม 2023]
- โรงพยาบาลวิชัยยุทธ. แหวะนมในทารก เรื่องปกติที่ต้องระวัง. [เข้าถึงได้จาก] https://www.vichaiyut.com/th/health/informations/แหวะนมในทารก-เรื่องปกติ/. [2 มีนาคม 2023]
บทความแนะนำสำหรับอาการไม่สบายท้องของลูกน้อย
- รู้จักกับโคลิค อาการที่ลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุด
- ลูกอาเจียน ลูกอ้วกบ่อย ทำยังไงดีนะ
- ทารกท้องอืด ไม่สบายท้อง ร้องไห้โยเย แม่จ๋ารับมือยังไงดี
- ลูกท้องผูก ลูกถ่ายไม่ออก เช็กวิธีแก้ฉบับแม่มือโปร!
- รู้จักนมย่อยง่าย เพื่อลูกน้อยถ่ายคล่อง ป้องกันอาการท้องผูก
- ลูกถ่ายเหลวบ่อย ถ่ายทันทีหลังกินนม ทารกท้องเสียหรือเปล่า?