Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การฉี่ของลูกสามารถบอกถึงสุขภาพได้ด้วยนะคะ เพราะการฉี่จะช่วยกำจัดของเหลวและของเสียส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งช่วยให้ระบบร่างกายของลูกทำงานได้ตามปกติ แต่หากคุณแม่สังเกตว่าลูกฉี่น้อยกว่าปกติหรือลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมง หลักๆ แล้วจะเกิดจากอาการขาดน้ำ (Dehydration) ซึ่งอาจเกิดได้จากการที่ลูกกินนมไม่พอ กินน้ำน้อยเกินไป ถ่ายเหลว อาเจียน เป็นต้น จนทำให้ลูกขาดน้ำได้
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยฉี่น้อยกว่าปกติ หรือทารกไม่ฉี่หลายชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณเตือนบางอย่างที่บ่งบอกว่าลูกมีปัญหาสุขภาพได้ เช่น ภาวะท่อปัสสาวะอุดตันซึ่งจะทำให้ทารกฉี่ได้น้อยหรือฉี่ไม่ออกเลย ซึ่งบางครั้งภาวะนี้จะไม่ปรากฏให้เห็น จนกระทั่งทารกมีอาการของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ (UTI) แล้ว โดยการติดเชื้อในลักษณะนี้อาจทำให้ลูกน้อยมีอาการต่อไปนี้
หากลูกมีอาการดังกล่าว ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเด็กอายุไม่เกิน 2 เดือนที่มีไข้ ควรพาไปพบคุณหมอทันที
ลูกไม่ฉี่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหนึ่งที่พบได้ในทารกคือเกิดจากภาวะขาดน้ำ ทำให้มีอาการต่อไปนี้ร่วมกับการไม่ฉี่หลายชั่วโมง
สำหรับลูก 1 ขวบที่ไม่ฉี่หลายชั่วโมง ให้คุณแม่ให้นมแม่หรือนมจากขวด โดยให้ดูดนมครั้งละไม่มากและให้บ่อยครั้งมากขึ้น คุณแม่อาจให้ลูกดื่มนม UHT ที่ทำมาจากนมผงได้ และให้ลูกจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ ตลอดทั้งวัน
คุณแม่ที่สังเกตว่าลูก 2 ขวบ ไม่ฉี่หลายชั่วโมง ลองให้ลูกดื่มของเหลว เน้นเป็นน้ำเปล่า ให้ดื่มทีละน้อยๆ บ่อยๆ ตลอดทั้งวัน หรือให้ลูกดื่มนมจืดก็ได้ค่ะ โดยเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป สามารถที่จะดื่มนมไขมันต่ำได้แล้ว แต่ไม่ควรให้ลูกดื่มนมพร่องมันเนย หากอายุยังไม่ถึง 5 ขวบ เพราะนมพร่องมันเนยมีแคลอรี่และสารอาหารไม่เพียงพอที่ลูกในวัยนี้ควรได้รับ
โดยปกติแล้วเด็กอายุประมาณ 3 ขวบจะฉี่ประมาณ 12 ครั้ง/วัน และเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายรวมถึงกระเพาะปัสสาวะจะขยายใหญ่ขึ้น และลดลงเหลือประมาณ 4-6 ครั้ง/วัน หากคุณแม่สังเกตว่าลูก 3 ขวบ ไม่ฉี่หลายชั่วโมง ควรให้ลูกดื่มน้ำและนมให้มากขึ้น
ลูก 4 เดือน ไม่ฉี่หลายชั่วโมง ตอนกลางคืน เป็นเรื่องปกติของทารกที่อยู่วัยกำลังโต กระเพาะปัสสาวะของลูกจะมีความจุมากขึ้นทำให้ไม่ต้องฉี่บ่อยเท่าเดิม ทั้งนี้ หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูก 4 เดือนฉี่ใส่ผ้าอ้อมน้อยลงในช่วงกลางวัน มีอาการร้องไห้โยเย ไม่สบายตัว ร้องไห้ไม่มีน้ำตา รวมถึงมีอาการขาดน้ำอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบคุณหมอ
หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกน้อยไม่ฉี่ใส่ผ้าอ้อมเลยเป็นเวลา 6 ชั่วโมงขึ้นไป หรือรอเป็นวันแล้วลูกยังไม่ฉี่ตามปกติ อาจเป็นสัญญาณอันตรายเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพบางอย่าง หากลูกไม่ฉี่และมีอาการขาดน้ำร่วมด้วย ควรพาลูกน้อยไปหาคุณหมอโดยเร็ว
การดูแลลูกน้อยที่ไม่ฉี่เป็นเวลาหลายชั่วโมงจะต่างกันไปตามช่วงอายุ และตามสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ฉี่ ในกรณีที่ลูกขาดน้ำ อาจดูแลเบื้องต้นด้วยตัวเอง แต่หากลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมงจากสาเหตุอื่นที่รุนแรงอย่างภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษา
คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยที่มีภาวะขาดน้ำได้ดังนี้
นมแม่ที่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
ลูก 2 เดือน เป็นวัยที่ต้องการนมแม่เป็นสารอาหารหลักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ลูกน้อยอาจดูดนมแม่ประมาณ 4-5 ออนซ์ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมง และจะฉี่ทุกๆ 1 ชั่วโมง หากลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมงอาจเกิดจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ และหากสงสัยว่าลูกไม่ฉี่เกิดจากสาเหตุอื่นควรพาลูกไปหาคุณหมอ
โดยทั่วไปเด็กเล็กตั้งแต่ช่วงแรกเกิดจนถึง 3 เดือน จะขับถ่ายปัสสาวะแทบจะทุก ๆ 1 ชั่วโมง บางครั้งอาจมีขาดตอนบ้าง เนื่องจากอวัยวะยังพัฒนาไม่เต็มที่ โดยปกติเด็กอายุ 3 เดือนจะดื่มนมประมาณ 4-5 ออนซ์ ทุกๆ 3-4 ชั่วโมงไม่ต่างกับช่วงอายุ 2 เดือน และจะฉี่ทุกๆ 1 ชั่วโมงเช่นกัน
ในเวลากลางคืนลูก 5 เดือนจะฉี่ไม่บ่อยเท่าเดิม เนื่องจากเป็นวัยที่มีพัฒนาการด้านต่างๆ รวดเร็วและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระเพาะปัสสาวะขยายตามขนาดตัวที่เพิ่มขึ้นไปด้วย เด็กในวัยนี้จะต้องการนมแม่ประมาณ 25 ออนซ์ต่อวัน ดังนั้นหากคุณแม่ให้นมลูกประมาณ 8 ครั้งต่อวัน ลูกควรได้รับนมแม่ประมาณ 4 ออนซ์ในการให้นมแต่ละครั้ง ซึ่งลูกจะฉี่ประมาณ 10-15 ครั้งต่อวัน
Enfa สรุปให้ ลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพ หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการไ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นไข้เลือดออกในเด็กเป็นหนึ่งในอาการสำคัญซึ่งเป็นสัญญาณบอกความรุนแรงของโรคได้โดยเฉ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกล้มหัวฟาดพื้นด้านหลังเป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างอันตราย โดยระดับความอันตรายจะขึ้นอ...
อ่านต่อ