นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ คุณแม่ดูแลอย่างไรให้อาการดีขึ้น

Enfa สรุปให้

  • ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ สาเหตุโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มักมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ตัวร้อนหนาวสั่น มือเท้าเย็น เหงื่อออกเยอะ อาเจียน เซื่องซึม ในเด็กเล็กจะไม่กินนม หรือกินนมน้อยลง ในขณะที่เด็กโตอาจเบื่ออาหาร กินอะไรไม่ลง
  • เด็กไข้หนาวสั่น วิธีรักษา สามารถดูแลด้วยวิธีง่าย ๆ ได้ที่บ้าน โดยให้ลูกพักผ่อนอย่างเต็มที่ หมั่นเช็ดตัวให้ลูกเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย ให้ดื่มนมหรือนม ในกรณีที่สามารถกินอาหารตามวัยทารกได้แล้ว ร่วมกับการกินยาลดไข้ในปริมาณที่เหมาะสมกับน้ำหนักและอายุ จะช่วยให้ลูกหายได้โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาล 
  • ไข้สูงในเด็ก เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยส่วนใหญ่แล้วจะทุเลาภายใน 1-4 วัน แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

โรคไข้หวัดเป็นโรคยอดฮิตที่พบบ่อยในเด็กเล็กและเด็กทุกช่วงวัย บางครั้งอาจเกิดจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือลูกอาจติดจากเพื่อนในวัยเดียวกัน เมื่ออยู่รวมกันเยอะๆ อย่างที่เนิร์ซเซอรี่ หรือโรงเรียน

สำหรับไข้หวัดธรรมดา การดูแลเบื้องต้นจากคุณพ่อคุณแม่ ด้วยการเช็ดตัวให้บ่อยๆ ให้นมตามมื้อปกติ หรือเพิ่มปริมาณการให้น้ำ ในกรณีที่สามารถกินอาหารตามวัยทารกได้แล้วก็ช่วยให้อาการทุเลาได้แล้วค่ะ แต่หากที่บ้านสังเกตว่า ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ ไม่ดีขึ้น และมีอาการป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไปนะคะ

 

ลูกมีอาการหนาวสั่นมีไข้ เกิดจากอะไร


โดยส่วนใหญ่ สาเหตุของอาการหนาวสั่นมีไข้ของลูกน้อยจะมาจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่ไม่รุนแรง คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลให้ลูกอาการดีขึ้นได้โดยไม่ต้องพบแพทย์

นอกจากนี้ ลูกยังอาจเป็นไข้ได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น

  • ใส่เสื้อผ้าหนาเกินไป เสื้อผ้าหลายชั้นอาจทำให้ลูกตัวร้อนจนเป็นไข้ได้ เนื่องจากลูกยังไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิร่างกายของตัวเองได้เหมือนเด็กที่โตกว่า
  • ได้รับวัคซีนป้องกันโรค บางครั้งลูกน้อยอาจมีไข้ขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1 วันหลังได้รับวัคซีน หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

ลูกน้อยที่อยู่ในวัยฟันกำลังขึ้นหรือประมาณ 4-7 เดือน อาจมีอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นนิดหน่อยได้เช่นกัน แต่หากมีไข้อุณหภูมิ 37.8 องศาเซลเซียสขึ้นไป อาการป่วยอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ซึ่งควรได้รับการตรวจจากคุณหมอ โดยอาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • ตัวร้อน ใบหน้าและตัวแดง
  • วัดอุณหภูมิร่างกายได้ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ตัวร้อนหนาวสั่น มือเท้าเย็น
  • เหงื่อออกเยอะ
  • อาเจียน
  • ไม่สบายตัว
  • เซื่องซึม ขยับตัวน้อยลง
  • หายใจหอบถี่
  • เสียงแหบ เสียงหาย
  • ร้องไห้งอแงไม่หยุด
  • เด็กเล็กไม่กินนมหรือกินนมน้อยลง
  • เด็กโตไม่อยากอาหาร
  • ฉี่ได้น้อยลงหรือไม่ฉี่เลย

ตามปกติแล้วอาการไข้จะดีขึ้นเมื่อลูกน้อยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอและเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากลูกยังร่าเริงดี กินนมได้เยอะ ยิ้มแย้มได้ และผิวเป็นสีปกติ แสดงว่าอาการไม่น่าเป็นห่วงค่ะ แต่หากลูกตัวร้อนหนาวสั่น มีไข้สูง โดยที่อาการไม่ดีขึ้น แม้จะดูแลเบื้องต้นด้วยการเช็ดตัวและให้กินยาแล้ว ก็ควรพาลูกไปหาคุณหมอ

 

ลูกมีไข้หนาวสั่น แบบไหนที่เป็นอันตราย


แม้ว่าตามปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกด้วยตัวเอง และลูกก็สามารถฟื้นตัวภายในไม่กี่วัน แต่ในบางกรณีที่ ลูกไข้สูงหนาวสั่น อาจหมายถึงอันตรายต่อสุขภาพซึ่งไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุไม่เกิน 1 ปี หากไม่หมั่นเช็ดตัวให้อุณหภูมิลด อาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการชักจากไข้สูงได้

คุณพ่อคุณแม่ควรวัดไข้ลูกด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิที่แสดงผลอย่างแม่นยำ ไม่ควรสรุปเองด้วยการอังหน้าผากหรือสัมผัสตัวว่าลูกมีอาการดีขึ้นแล้วหรือยัง

สำหรับเด็กอ่อนอายุไม่เกิน 3 เดือน หากวัดด้วยเครื่องวัดแล้วพบว่าลูกมีไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ควรพาไปโรงพยาบาลโดยทันที เพราะเด็กๆ ในวัยนี้ยังมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย โดยอาการร่วมอื่นๆ ของลูกวัยนี้ขณะมีไข้หนาวสั่นได้แก่ ผื่นขึ้น หายใจลำบาก คอแข็ง อาเจียน ไม่ยอมกินนม

สำหรับลูกน้อยอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่มีไข้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ในเบื้องต้น สามารถดูแลให้ลูกหายดีได้ที่บ้าน ซึ่งลูกจะอาการดีขึ้นได้ด้วยตัวเอง แต่หากดูแลแล้วอาการลูกไม่ทุเลาลง หรือลูกมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น วิงเวียน ปวดหัว คอแข็ง หายใจไม่สะดวก ชัก ควรพาไปพบคุณหมอโดยเร็ว

 

เด็กไข้หนาวสั่น วิธีรักษา


ลูกหนาวสั่นทําไง การรักษาอาการไข้ของลูกน้อยสามารถทำได้ ดังนี้

  • หมั่นเช็ดตัวให้ลูกบ่อยๆ ทุกๆ 2-3 ชั่วโมง หากจับตัวดูแล้วตัวยังร้อนอยู่ให้เช็ดให้บ่อยขึ้น

  • ให้ลูกใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้สะดวก เลือกเนื้อผ้าเนื้อนุ่มเบาอย่างผ้าฝ้ายธรรมชาติ หรือ ผ้าคอตตอน เพื่อช่วยระบายเหงื่อและความร้อน

  • รักษาอุณหภูมิห้องให้อยู่ในระดับปกติ ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป เปิดให้อากาศถ่ายเทได้ดี หากลูกมีไข้สูง ควรอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมและเปิดเครื่องกรองอากาศได้ตามปกติ

  • ดูแลให้ลูกน้อยได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม เพื่อให้ร่างกายมีการฟื้นฟู สามารถต่อสู่กับเชื้อโรคได้อย่างเต็มที่

  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกออกไปข้างนอกหรือไปโรงเรียน เพราะจะทำให้ฟื้นตัวได้ช้าและลูกอาจพักผ่อนได้ไม่เต็มที่

  • ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ สำหรับเด็กอ่อนให้ดื่มนมบ่อยขึ้น และสำหรับเด็กโตให้ดื่มน้ำเปล่าบ่อยครั้ง เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายสูง ทำให้ร่างกายสูญเสียของเหลวไวขึ้น การให้นมหรือดื่มน้ำจะช่วยชดเชยภาวะเหล่านี้ได้

 

ยาลดไข้สูงเด็ก เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย


ยาลดไข้สูงเด็กควรเลือกให้เหมาะกับวัยของลูกน้อย การเลือกยาลดไข้เด็กสามารถทำได้ดังนี้

  • ควรวัดอุณหภูมิร่างกายของลูกว่ามีไข้จริง และควรให้ยาตามน้ำหนักและอายุของลูกน้อย เพื่อให้ลูกรับปริมาณยาที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • อ่านฉลากยาอย่างละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด
  • โดยทั่วไปยาพาราเซตามอลเป็นยาบรรเทาอาการไข้พื้นฐานที่หาซื้อได้ง่าย และเหมาะกับเด็กทุกวัย แต่สำหรับลูกแรกเกิดจนถึง 3 เดือน ไม่ควรให้ยาลดไข้เอง โดยที่หมอไม่ได้เป็นคนสั่งให้
  • คุณแม่สามารถให้ยาไอบูโพรเฟนกับลูกอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป
  • ห้ามให้ยาแอสไพรินกับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • หากลูกกินยาลดไข้สูงของเด็ก แล้วอาการไม่ดีขึ้น ยังมีไข้สูงติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมง ควรพาลูกไปพบคุณหมอโดยเร็ว 

 

ไข้สูงในเด็ก กับข้อควรระวังที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


คุณพ่อคุณแม่อาจต้องรับมือกับอาการเด็กไข้สูงหนาวสั่น อยู่บ่อยครั้ง เพราะไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆ โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน เด็กๆ ก็มักจะเจ็บป่วยและใช้เวลาเพียงไม่นานก็หายดีและกลับมาร่าเริงได้

แต่อยากให้ระมัดระวังและจับตาดูอาการลูกอยู่เสมอ หากพบว่าลูกอาการที่น่าเป็นห่วงกว่าไข้หวัดธรรมดา ควรไปหาหมอโดยด่วน และหากลูกมีไข้สูงนานเกิน 24 ชั่วโมงไม่ควรปล่อยไว้นะคะ เพราะแสดงว่าอาการป่วยในครั้งนี้ไม่สามารถหายเองได้ ควรให้คุณหมอวินิจฉัย และทำการรักษาและสั่งยาที่เหมาะสมกับอาการต่อไปค่ะ 

 

ลูกเป็นไข้หนาวสั่น ร่วมกับอาการต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบแพทย์


โดยทั่วไปแล้ว หากลูกหนาวสั่นมีไข้ ที่ดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อุณหภูมิไม่ลดลง ควรพาไปพบคุณหมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการต่อไปนี้

  • ลูกอายุน้อยกว่า 3 เดือนที่วัดไข้ได้ 38 องศาเซลเซียลขึ้นไป
  • ลูกอายุตั้งแต่ 3 เดือนที่วัดไข้ได้ 39 องศาเซลเซียลขึ้นไป
  • ลูกที่อยู่ในช่วงอายุไหนก็ได้ แต่มีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น โรคมะเร็ง โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ ไม่สามารถดูดนมหรือดื่มนมได้
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ ท้องเสียหลายครั้ง หรืออาเจียนซ้ำๆ
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ และอาการขาดน้ำอย่างปัสสาวะลดลง ร้องไห้แบบไม่มีน้ำตา เซื่องซึม ไม่ร่าเริงอย่างเคย
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ ไม่ดีขึ้นหลังผ่านไป 2-3 วัน
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ และมีผื่นขึ้น
  • ลูกหนาวสั่นมีไข้ และรู้สึกปวดขณะปัสสาวะ
     


นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า


เมื่อลูกมีอาการป่วย การเอาใจใส่ดูแลให้ลูกพักผ่อนอย่างเพียงพอ เฝ้าดูและดูแลอาการลูกอย่างเหมาะสม และใช้ยาที่เหมาะกับวัยและอาการของลูก จะช่วยให้สุขภาพของลูกน้อยกลับมาแข็งแรงได้โดยเร็ว เป็นเรื่องปกติที่เด็กๆ โดยเฉพาะเด็กอ่อนอาจป่วยได้ง่าย จึงควรดูแลให้ลูกแข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูก และพัฒนาการด้านต่างๆ ได้ดี การดูแลด้านโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญให้กับชีวิตของลูกเช่นกัน จะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งแข็งแรง และฉลาดทั้งทางความคิดและทางอารมณ์

โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น 

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama