Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การมีลูกแฝดนอกจากจะนำมาสู่ความสุขใจอย่างหาที่เปรียบไม่ได้แล้ว ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนรับมืออย่างรอบคอบอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตรียมค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น การดูแลสุขภาพจิตใจของคุณแม่ ความกังวลด้านสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยทั้งสอง เป็นต้น เอนฟามีคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกแฝดมาฝากกันค่ะ
แน่นอนว่าการตั้งครรภ์และคลอดบุตรมากกว่าหนึ่งคนพร้อมๆ กัน อาจทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใจได้ แต่หากมีการวางแผนล่วงหน้าและเตรียมตัวรับมืออย่างดี ลูกแฝดตัวน้อยๆ ของคุณก็จะไม่ใช่แค่ความท้าทาย แต่ยังเป็นความสุขให้ได้แน่นอน คุณแม่สามารถเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกแฝดได้ดังนี้
คุณแม่ควรดูแลสุขภาพให้ดีตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์แต่เนิ่นๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การมีลูกแฝดหมายถึงภาระที่เพิ่มขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ คุณพ่อคุณแม่ควรพูดคุยกัน ทำความเข้าใจ และเตรียมตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างเหมาะสม และควรหาเวลาส่วนตัวให้ตัวเองบ้าง
การเลี้ยงลูกแฝดมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเลี้ยงลูกคนเดียว คุณพ่อคุณแม่ควรวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเต็มที่
เตรียมของใช้สำหรับลูกแฝดให้พร้อม เช่น เสื้อผ้า ของใช้จำเป็นต่างๆ รถเข็นเด็ก เตียงนอน และอุปกรณ์ป้อนนม
การมีผู้ช่วยดูแลลูกแฝดเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิดที่ต้องใช้เวลาดูแลลูกน้อยแทบจะตลอด 24 ชั่วโมง คุณพ่อคุณแม่อาจขอความช่วยเหลือจากญาติ เพื่อน หรือจ้างพี่เลี้ยง เพื่อแบ่งเบาภาระการดูแลลูกน้อยในช่วงแรกให้ได้มากที่สุด
การเลี้ยงลูกแฝดสามารถเลี้ยงด้วยกันได้แน่นอนค่ะ แต่ก็ควรดูแลให้ลูกๆ ตระหนักถึงตัวตนของตัวเอง โดยอาจเริ่มจากการไม่แต่งตัวลูกเหมือนกันไปหมด หรือใช้ของเหมือนกันทุกอย่าง
ในช่วงเริ่มต้น พ่อแม่บางคนอาจต้องใช้ป้ายชื่อเพื่อแยกลูกๆ ออกจากกัน คุณแม่อาจลองใช้การแต่งตัวให้ลูกด้วยสีเฉพาะเป็นเหมือนการกำหนดรหัสสี
ในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่อาจยุ่งกับเรื่องอื่นๆ จนไม่ได้ใส่ใจเรื่องการแยกลูกสองคนด้วยเสื้อผ้า แต่อาจจะพูดคุยกับลูกแต่ละคนแยกกันในเวลาอาบน้ำหรือระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม สบตา พูดกับลูกโดยใช้ชื่อเล่น และจดจ่อความสนใจของตัวเองเฉพาะกับลูกคนที่คุณกำลังพูดด้วยเท่านั้น
นอกจากการเลี้ยงลูกแฝดให้ลูกน้อยมีความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุดแล้ว การเสริมสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งถือเป็นข้อดีหนึ่งของการมีแฝด คือการที่ลูกๆ ได้มีเพื่อนเล่นในวัยเดียวกันตลอดเวลา คุณพ่อคุณแม่ควร ให้ลูกๆ ได้ใช้เวลาด้วยกันและเรียนรู้เกี่ยวกับโลกต่างๆ รอบตัวไปพร้อมๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยทั้งสองเติบโตอย่างมีความสุขไปด้วยกันค่ะ
ดังที่กล่าวไปข้างต้น หัวใจสำคัญของการเลี้ยงลูกแฝดคือการให้ลูกน้อยรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด การเป็นฝาแฝดกันอาจจะมีการโดนเปรียบเทียบในบางครั้ง แฝดคนหนึ่งอาจจะเป็นคนแรกที่เริ่มเดินได้ก่อน แฝดคนหนึ่งอาจเรียนรู้ได้ไวกว่า คุณพ่อหรือคุณแม่จึงอาจจะมอบความเอาใจใส่ที่ไม่เท่าเทียมกันโดยไม่ตั้งใจ หรืออาจใช้เวลากับลูกที่มีเพศเดียวกันมากกว่าและรู้สึกใกล้ชิดกับลูกที่มีเพศเดียวกันมากกว่าลูกเพศตรงข้าม
ในบางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนแตกต่างกัน เช่น อาจดุกับลูกที่งอแงมากกว่าลูกที่เรียบร้อยและเชื่อฟังผู้ใหญ่มากกว่า ซึ่งเป็นอีกความท้าทายที่คุณแม่อาจต้องเจอในการเลี้ยงลูกแฝด แต่การเลี้ยงดูอย่างใช้เหตุผลและใจเย็นจะช่วยให้คุณแม่ผ่านเรื่องนี้ไปได้ด้วยดีค่ะ
เด็กทุกคนต้องการรู้สึกว่าตนเองแตกต่าง ไม่ใช่แค่ร่างโคลนของพี่น้องตัวเอง คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนักถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ และพยายามปฏิบัติต่อลูกอย่างเท่าเทียมและยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
การให้นมแฝดสามารถทำได้ตามปกติเหมือนกับการให้นมลูกคนเดียว หากคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการให้นมลูก สามารถปรึกษาคลินิกนมแม่ของโรงพยาบาล ที่เจ้าหน้าที่จะช่วยดูแลและให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสม โดยวิธีให้นมลูกแฝด อาจทำได้ดังนี้
เมื่อถึงช่วงให้นมให้คุณแม่อุ้มทารกแฝดด้วยมือและแขนข้างเดียว โดยให้แขนคุณแม่ประคองลําตัวทารกแนบไปกับรักแร้ และหนีบทารกให้อยู่ตรงกลางแล้วใช้มือข้างเดียวประคองศีรษะทารกให้ดูดนม
โดยส่วนใหญ่จะใช้ท่านี้กับทารกตัวเล็กที่มีน้ำหนักตัวไม่มาก หรือในช่วงเดือนแรกที่ทารกยังนอนนิ่งๆ สำหรับทารกที่โตแล้วควรใช้หมอนรองรับทารก
เป็นท่าที่เหมาะกับทารกน้ำหนักตัวเยอะหรือเมื่อมีอายุมากขึ้น คุณแม่สามารถนั่งและนอนให้นมได้ 2 แบบคือ ท่าอุ้มบนตักขนานกันทั้งสองคน และท่าอุ้มไขว้บนตัก ให้คุณแม่ใช้แขนประคองศีรษะทารกแฝดคนแรกให้ดูดนมคุณแม่ ท่อนแขนประคองลําตัว ส่วนมือจับก้นหรือขาทารกให้ทอดยาวออกไป ใช้มือและแขนอีกข้างอุ้มทารกแฝดอีกคนมาดูดนมคุณแม่เหมือนกัน โดยให้ลําตัวและขาของทารกขนานไปกับแฝดคนแรก
เป็นท่าที่เหมาะกับทารกที่น้ำหนักแตกต่างกัน โดยคุณแม่อุ้มทารกแฝดที่นํ้าหนักน้อยด้วยท่าแนบข้าง และอุ้มทารกแฝดอีกคนที่นํ้าหนักมากไว้บนตัว
การให้นมลูกแฝดในช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคุณแม่ แต่ก็สามารถทำได้ถ้าคุณแม่ปรับตัวและวางแผนดีๆ นะคะ ถ้าคุณแม่เลือกที่จะให้นมลูกแฝดแยกขวดก็ทำได้ค่ะ แค่ให้คุณพ่อมาช่วยกันป้อนนมคนละขวด นอกจากนี้ การให้นมลูกแฝดแยกกันยังช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำนมได้ดีขึ้น และยังทำให้สามารถดูแลลูกๆ ได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องรู้สึกเครียดหรือกดดันค่ะ
การศึกษาพบว่าคุณพ่อหรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกแฝดมักเผชิญกับปัญหาหลายอย่าง เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ ข้อจำกัดทางการเงิน ความอ่อนเพลียทางอารมณ์ และการขาดเวลาโฟกัสกับลูกคนอื่นๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปและลูกแฝดโตขึ้น ปัญหาต่างๆ จะเริ่มลดลง สิ่งสำคัญคือต้องอย่าลืมว่าทุกปัญหาจะเบาบางลงไปได้เมื่อเวลาผ่านไป สำหรับเคล็ดลับสำหรับคุณแม่หรือคุณพ่อที่เลี้ยงลูกแฝดคนเดียว มีดังนี้
การเลี้ยงลูกน้อยสองคนพร้อมๆ กันเป็นงานที่หนักมาก หากเป็นไปได้คุณพ่อคุณแม่ควรขอความช่วยเหลือจากครอบครัวที่พร้อมช่วยเหลือให้มากที่สุด รวมถึงแบ่งเวรการดูแลลูกอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งเหนื่อยเกินไป และควรหาเวลาส่วนตัวให้กับตัวเองบ้าง
คุณแม่ควรทำทุกอย่างให้เป็นกิจวัตร เช่น เวลานอน เวลาให้นม เพื่อให้ลูกน้อยคุ้นเคยและเริ่มปรับตัวกับกิจวัตรเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยให้เด็กพัฒนาระบบการทำงานของร่างกายตามธรรมชาติ และแยกแยะระหว่างกลางวันกับกลางคืนได้
คุณแม่สามารถให้นมด้วยการเข้าเต้าหรือให้นมจากขวดนมกับลูกแฝดพร้อมกันได้โดยใช้หมอนรองที่ช่วยรองรับท่านอนให้นม หรือเอนนอนในท่าที่สบายที่สุด นอกจากนี้คุณแม่ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ ในช่วงให้นม เพราะต้องให้นมลูกแฝดทั้งสองคนในปริมาณที่มากกว่าคุณแม่คนอื่น
เนื่องจากเด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ไม่พร้อมกัน เมื่อเด็กๆ เติบโตและเข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น อาจอ่อนไหวต่อสิ่งที่ได้ยินและซึมซับสิ่งที่ผู้ใหญ่พูด จึงควรระวังอยู่เสมอในการไม่พูดเปรียบเทียบความสามารถให้ลูกอีกคนรู้สึกเสียใจ
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561
Enfa สรุปให้ ลูกไม่ฉี่หลายชั่วโมง อาจเป็นสัญญาณว่าลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพ หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการไ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ผื่นไข้เลือดออกในเด็กเป็นหนึ่งในอาการสำคัญซึ่งเป็นสัญญาณบอกความรุนแรงของโรคได้โดยเฉ...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกล้มหัวฟาดพื้นด้านหลังเป็นอุบัติเหตุที่ค่อนข้างอันตราย โดยระดับความอันตรายจะขึ้นอ...
อ่านต่อ