เลือกอ่านตามหัวข้อ
คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับการกวาดคอ แต่บางคนอาจจะเคยได้ยินหรือเคยมีประสบการณ์โดนกวาดคอกันมาบ้างในสมัยที่ยังเป็นเด็ก สำหรับคนที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน วันนี้เอนฟามีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการกวาดคอหรือการกวาดยาลงคอเด็กเพื่อลดอาการไอขับเสมหะ มาฝากกันค่ะ
กวาดคอ คืออะไร
การกวาดคอ หรือที่หลายคนเรียกกันว่าการกวาดยา เป็นวิธีที่ใช้รักษาอาการของโรคซางในเด็ก ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากปัญหาทางเดินหายใจ เช่น ไอ เสมหะ เจ็บคอ หรืออาการทางเดินอาหารอย่าง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย อาเจียน หรือเบื่ออาหาร ร่วมกับอาการไข้ โดยในอดีตจะใช้สมุนไพรต่างๆ เช่น ขิง ดีปลี หรือกะเพราแดงในการรักษา แต่ในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา เพราะการเข้ามาของยาแผนปัจจุบันที่ปลอดภัยและไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการใช้นิ้วกวาดไปถึงโคนลิ้นของเด็กนั่นเองค่ะ
กวาดคอใช้อะไรบ้าง
ก่อนที่ยารักษาโรคแผนปัจจุบันจะแพร่หลายและใช้กันอย่างในทุกวันนี้ หมอกวาดยาจะรักษากลุ่มโรคซางด้วยการกวาดคอ โดยจะนำสมุนไพรใช้กวาดคอ มาผสมกับส่วนผสมอื่นๆ และน้ำกระสายซึ่งเป็นน้ำเปล่าต้มสุก ทำเป็นยาสำหรับใช้กวาดลงไปในลำคอ
สมุนไพรที่ใช้ผสมในยากวาดคอมีได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับตำรับยาของแต่ละบุคคล ตัวอย่างสมุนไพรที่ใช้ผสมยากวาดคอ เช่น
-
ขิง: เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสได้ มักนำเหง้าขิงแก่มาฝนกับน้ำมะนาว หรือขิงสดตำผสมน้ำและเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือให้จิบบ่อยๆ
-
ดีปลี: เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่มีรสชาติเผ็ดร้อน โดยจะนำผลดีปลีแห้ง 1 ผล ฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการไอ
-
ใบกะเพราแดง: เป็นสมุนไพรที่นิยมใช้ขับเสมหะทารก โดยจะนำใบกะเพราสด 10 ใบ ตำละเอียดใส่แก้วผสมน้ำต้มสุก
-
ลูกเบญกานี: เป็นสมุนไพรตำรับไทยที่ช่วยต้านอาการอักเสบ ใช้รักษาอาการลิ้นและปากเป็นแผล รวมถึงบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เป็นสมุนไพรที่ควรใช้ในระยะสั้น
กวาดยาเด็ก อันตรายไหม ได้ผลจริงหรือเปล่า
การกวาดยาเป็นวิธีที่ไม่เป็นอันตราย หากทำโดยหมอแผนไทยที่มีความเชี่ยวชาญ ทุกครั้งที่ทำการกวาดยา หมอจะล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์ และสวมถุงนิ้วมือเพื่อป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าทางลำคอ แต่หากไม่สวมถุงมือ อาจเสี่ยงให้เด็กติดเชื้อได้ และควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กทารกและเด็กเล็กไปกวาดยา เนื่องจากเป็นวัยที่ระบบทางเดินหายใจและทางเดินอาหารยังไม่สมบูรณ์ อาจทำให้ระคายเคืองและป่วยได้ง่ายกว่า
โดยการกวาดยาเด็กจะได้ผลก็ต่อเมื่อใช้ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณรักษาหรือบรรเทาอาการ หากสมุนไพรที่ใช้กวาดมีสรรพคุณที่ไม่ตรงกับโรคที่เป็นอยู่ หรือเด็กเป็นโรคที่รุนแรงซึ่งไม่อาจทำให้หายขาดได้ด้วยสมุนไพรเพียงอย่างเดียวก็อาจรักษาอาการป่วยไม่ได้
วิธีกวาดคอแก้ไอ
การกวาดคอเด็กควรทำโดยแพทย์แผนโบราณที่มีความเชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะกวาดคอด้วยวิธีต่อไปนี้
- ทำความสะอาดมือ นิ้วมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ แล้วป้ายยาที่ปลายนิ้วชี้หรือนิ้วก้อยที่จะใช้กวาด
- ใช้นิ้วแม่มือข้างที่ใช้กวาด กดที่ฟันหรือเหงือกล่างของเด็ก เพื่อให้เด็กเผยอปากออก
- ประคองศีรษะเด็กให้นอนหงายขึ้นตรงๆ ใช้มือข้างที่ไม่ได้ป้ายยาจับหน้าเด็กด้วยนิ้วหัวมือมือและนิ้วชี้อยู่ระหว่างแก้ม 2 ข้างของเด็ก
- สอดนิ้วเข้าไปในลำคอเด็ก ป้ายยาลงบริเวณโคนลิ้นเบาๆ แล้วปล่อยนิ้วที่กดอยู่ตรงฟันล่างหรือเหงือกออก
สำหรับเด็กที่มีอาการบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปากก็สามารถใช้วิธีเดียวกันในการรักษาได้เช่นกัน แต่จะเรียกว่าการป้ายยาเพราะไม่ได้ล้วงเข้าไปในลำคอเหมือนการกวาดคอ
กวาดคอแก้ไอกับข้อควรระวังที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการกวาดคอแก้ไอให้กับลูกน้อยที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง มีดังนี้
- ไม่ควรพาทารกแรกเกิดหรือเด็กเล็กไปกวาดคอเพราะเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายและเป็นวัยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
- ผู้ที่กวาดคอแก้ไอให้ลูก ควรทำความสะอาดมือ นิ้วมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาดทุกครั้ง
- ควรงดน้ำ นม และขนมก่อนกวาดคอแก้ไออย่างน้อย 20-30 นาที
- การกวาดคอไม่ควรทำบ่อยเกินไป ควรทำเพียงวันละ 1 ครั้งเท่านั้น หากอาการไม่รุนแรงควรกวาดเพียงวันเว้นวัน
- หากกวาดคอแล้วลูกอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการป่วยมากขึ้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอ
ทางเลือกในการบรรเทาอาการไอของลูกน้อยที่ปลอดภัยกว่าการกวาดคอ
เนื่องจากในอดีตยังมีข้อกัดในการเข้าถึงการรักษา รวมทั้งนวัตกรรมทางการแพทย์ ทำให้ภูมิปัญญาโบราณอย่างการกวาดคอ จึงกลายเป็นวิธีการรักษาอาการไอเบื้องต้น
แต่ในปัจจุบัน ที่เราสามารถเข้าถึงยาที่มีประสิทธิภาพและการรักษาที่สะดวกมากขึ้น การรักษาอาการไอของเด็กจึงมีการปรับเปลี่ยนไป โดยวิธีรักษาหรือบรรเทาอาการไอเบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้
- จิบน้ำบ่อย ๆ หรือให้จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว เพื่อความชุ่มคอ ลดอาการระคายเคืองคอ
- ใช้ยาแก้ไอภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
อย่างไรก็ตาม การใช้อาหารจำพวกน้ำ น้ำผึ้ง และมะนาว ตามวิธีข้างต้น ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กที่ยังไม่มีความพร้อมในการกินอาหารตามวัยทารก (Solid Food) เพราะอาจจะทำให้ระบบย่อยอาหารของเด็กมีปัญหาได้
นอกจากนี้ หากลองใช้วิธีบรรเทาอาการไอเบื้องต้นแล้วไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป
นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น
*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561