Enfa สรุปให้
-
ของเล่นเด็ก แม้จะดูเป็นสิ่งของเพื่อเล่นสนุก หรือเพื่อสร้างความบันเทิง แต่จริง ๆ
แล้ว
ของเล่นทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้สำหรับลูกน้อยทั้งสิ้น
-
ของเล่นมีส่วนช่วยพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กของเด็ก ๆ ได้พัฒนาไปตามวัยได้
ทั้งยังช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคม เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้นขณะเล่นของเล่นร่วมกัน
มากไปกว่านั้น ยังช่วยฝึกทักษะการสื่อสาร ของเล่นบางอย่างต้องเล่นหลาย ๆ คนจึงจะสนุก
ช่วยเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะการพูดโต้ตอบ สื่อสารกับคนอื่น ๆ
-
ของเล่นมีข้อเสียที่พึงระวังคือ เสี่ยงอันตราย
ของเล่นบางอย่างหากเลือกไม่ดีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ ของเล่นบางอย่างมีราคาสูงเกินไป
ทั้งที่จริงแล้วของเล่นสามารถเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัวที่ไม่ต้องมีราคาแพงก็ได้
หรือพ่อแม่อาจเกิดความคาดหวังจากของเล่นมากเกินไป เพราะจริง ๆ
แล้วของเล่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเท่านั้น ของเล่นไม่ใช่ทุกสิ่ง
เด็กจำเป็นต้องได้รับการเสริมพัฒนาการจากอีกหลาย ๆ ด้าน ทั้งการกิน การนอน การเล่น สภาพแวดล้อม ดังนั้น
อย่าคาดหวังอะไรจากของเล่นมากไปกว่าเครื่องมือแห่งความบันเทิงที่มีส่วนช่วยต่อพัฒนาการของเด็ก
ของเล่น มีส่วนช่วยเสริมพัฒนาการของเด็กได้ แต่ของเล่นแบบไหนเหมาะสมกับวัยของลูก และของเล่นเด็กแบบไหนที่เล่นแล้วปลอดภัย
บทความนี้จาก Enfa มีสาระดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการ
และการเลือกของเล่นเสริมทักษะที่เหมาะสมกับวัยของเด็กมาฝากค่
ของเล่นเด็ก จำเป็นกับเด็กอย่างไร
ของเล่นเด็ก แม้จะดูเป็นสิ่งของเพื่อเล่นสนุก หรือเพื่อสร้างความบันเทิง แต่จริง ๆ แล้ว
ของเล่นทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาการและทักษะการเรียนรู้สำหรับลูกน้อยทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม ของเล่นบางอย่างก็อาจจะมีข้อควรระวังที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด
เพราะของเล่นก็มีข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป ดังนี้
ของเล่นเด็ก ดีต่อเด็กอย่างไร
-
พัฒนากล้ามเนื้อ ของเล่นมักจะต้องมีการจับ การลาก การถูไถ
การสัมผัสเหล่านี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก ๆ ได้พัฒนาไปตามวัยได้
-
ทักษะการเข้าสังคม การเล่นของเล่นเพียงคนเดียวไม่ได้ทำให้เด็กรู้สึกสนุกเสมอไป
การเล่นของเล่นกับพี่ ๆ น้อง ๆ หรือเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ หรือเล่นร่วมกับเพื่อนวัยเดียวกัน
เด็กจะมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมากขึ้น
-
ทักษะการสื่อสาร ของเล่นบางอย่างต้องเล่นหลาย ๆ คนจึงจะสนุก
ช่วยเสริมให้เด็กได้พัฒนาทักษะการพูดโต้ตอบ สื่อสารกับคนอื่น ๆ
ของเล่นเด็ก มีข้อเสียที่ควรระวังอย่างไร
-
เสี่ยงอันตราย เด็กเล็ก ๆ บางคนอยู่ในวัยที่เห็นอะไรก็มักจะหยิบเข้าปาก
หากเป็นของเล่นขนาดใหญ่ก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ แต่หากเป็นของเล่นขนาดเล็ก ก็เสี่ยงอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร
อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือทำการรักษาเฉพาะทาง
-
ราคาสูง ของเล่นที่วางขายในท้องตลาดทุกวันนี้ ทั้งของเล่นเด็กผู้หญิง
และของเล่นเด็กผู้ชาย มักมีราคาที่สูง ซึ่งบางครั้งการจ่ายเงินกับของเล่นเหล่านั้นอาจทำให้เสียเงินโดยใช่เหตุ
เพราะจริง ๆ แล้วของเล่นสามารถเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัวที่ไม่ต้องมีราคาแพงก็ได้ เช่น ช้อน หม้อ ชาม กะลามะพร้าว
ม้าก้านกล้วย ปลาตะเพียนจากใบมะพร้าว เป็นต้น
-
ไม่ได้ดังคาดหวัง พ่อแม่หลายคนตกเป็นเหยื่อคำโฆษณาว่าของเล่นชิ้นนี้จะช่วยเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ต่าง
ๆ ทำให้เกิดความคาดหวังว่าลูกจะเป็นเด็กเก่ง เด็กฉลาดจากของเล่นบางชิ้น ซึ่งจริง ๆ
แล้วของเล่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเท่านั้น ของเล่นไม่ใช่ทุกสิ่ง
เด็กจำเป็นต้องได้รับการเสริมพัฒนาการจากอีกหลาย ๆ ด้าน ทั้งการกิน การนอน การเล่น สภาพแวดล้อม ดังนั้น
อย่าคาดหวังอะไรจากของเล่นมากไปกว่าเครื่องมือแห่งความบันเทิงที่มีส่วนช่วยต่อพัฒนาการของเด็ก
แต่ไม่ใช่สิ่งสำคัญทั้งหมดของพัฒนาการเด็ก
ของเล่นเสริมพัฒนาการ ได้จริงหรือ?
ของเล่นสามารถเสริมพัฒนาการของเด็กได้จริง ของเล่นบางอย่างเสริมสร้างจินตนาการ เสริมทักษะการเข้าสังคม
เสริมทักษะการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
แต่...ของเล่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการของเด็กควบคู่ไปกับเลี้ยงดูที่ถูกต้องตั้งแต่การกิน การนอน
การอบรมเลี้ยงดู การเรียนการสอน ของเล่นไม่ได้เป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาเด็กเพียงอย่างเดียวแต่อย่างใด
วิธีเลือก ของเล่นเสริมทักษะ
หลักในการเลือกของเล่นสำหรับลูกเพื่อช่วยเสริมทักษะสมวัยนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
-
เลือกของเล่นแบบธรรมดา ของเล่นที่มีฟังก์ชันครบทุกอย่าง แม้จะดึงดูดใจ
แต่ยิ่งฟังก์ชันมาก ก็ยิ่งทำให้เด็กสูญเสียทักษะด้านจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น
หากซื้อตุ๊กตาก็ควรเป็นตุ๊กตาธรรมดาที่ไม่ได้มีฟังก์ชันใด ให้เด็กได้ใส่จินตนาการลงไปกับตุ๊กตาได้โดยไม่จำกัด
สามารถโต้ตอบอะไรก็ได้แทนตุ๊กตา ซึ่งดีกว่าการที่ตุ๊กตาตอบกลับมาเป็นประโยคตามโปรแกรม
เพราะท้ายสุดเด็กก็อาจจะเบื่อกับรูปประโยคเดิม ๆ ที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
-
หลีกเลี่ยงของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เกมคอมพิวเตอร์ต่าง
ๆ สมาร์ทโฟนต่าง
ๆ แม้เราจะอยู่ในยุคที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่สิ่งเหล่านี้ยังเร็วเกินไปสำหรับเด็ก
เด็กควรจะได้เล่นของเล่นตามวัย อุปกรณ์เหล่านี้จะทำให้การใช้สมาธิของเด็กลดลง และไม่ได้เสริมทักษะด้านอื่น ๆ
เช่น ทักษะการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ มากไปกว่านั้น ในระยะยาวอาจมีปัญหาต่อสุขภาพดวงตาได้
-
ไม่จำเป็นต้องเป็นของเล่นเสริมทักษะ คุณพ่อคุณแม่หลายคนตกเป็นเหยื่อการตลาด
ขอเพียงมีกำกับเอาไว้ว่าเสริมพัฒนาการลูก ก็พร้อมจ่ายทันที แม้จะทำโดยความหวังดี แต่แท้จริงแล้วอาจสูญเปล่า
เพราะของเล่นเหล่านี้ไม่ได้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
อีกทั้งของเล่นเหล่านี้อาจไม่ได้ตอบโจทย์กับความต้องการของเด็กด้วย ของเล่นง่าย ๆ อย่างตุ๊กตา หรือรถขนดิน
แม้จะเรียบง่าย แต่เด็กสามารถใช้จินตนาการ และทักษะอื่น ๆ
จากของเล่นเหล่านี้ได้ดีกว่าของเล่นที่เคลมว่าเป็นของเล่นเสริมทักษะ
อย่าลืมว่าของเล่นไม่ได้เป็นตัวช่วยหลักในการเสริมทักษะของเด็ก เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
-
เลือกของเล่นที่ได้มาตรฐาน พยายามเลือกของเล่นที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาตรฐาน
ไม่มีสารตกค้าง หากจะให้ดีควรเป็นวัสดุที่มาจากธรรมชาติ หรือจากวัสดุที่ไม่ส่งผลเสียต่อเด็ก
-
เลือกของเล่นที่ปลอดภัย เลือกของเล่นที่มีขอบคมน้อย หรือไม่มีเหลี่ยมคม ๆ
เลยจะดีที่สุด ของเล่นบางอย่างมีกลไกหลากหลายและจำเป็นต้องอยู่ในสายตาของคุณพ่อคุณแม่เสมอเวลาเล่น
เพราะอาจเกิดอันตรายได้ แต่แน่นอนว่าการคลาดสายตาสามารถเกิดขึ้นได้
และเด็กอาจได้รับอันตรายจากของเล่นเหล่านั้นโดยที่ไม่ทันได้ระวัง
-
เลือกของเล่นที่เสียงไม่ดัง ของเล่นที่มีเสียงประกอบ แม้จะดึงดูดใจ
แต่คุณพ่อคุณแม่ควรระวังและเลือกให้ดี ควรเลือกของเล่นที่มีเสียงดังพอประมาณ หรือไม่ดังเกิน 90 เดซิเบล
เพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจส่งผลต่อการได้ยินของเด็กในภายหลัง
ของเล่นเด็กแรกเกิด มีอะไรบ้าง
เด็กแรกเกิดนั้นยังไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนัก
ดังนั้น ของเล่นเด็ก ที่อายุเพียง 0-3 เดือน จึงไม่จำเป็นจะต้องหวือหวา สีสันฉูดฉาด หรือมีฟังก์ชันมากมาย
เพราะเด็กแรกเกิดยังเล็กเกินไปที่จะเล่นของเล่นใด ๆ ได้
ของเล่นจำพวก โมบายแขวน กล่องดนตรี หรือของเล่นที่มีเสียง และเคลื่อนไหวได้ ถือว่าเหมาะ
เพราะเด็กแรกเกิดนั้นเป็นช่วงที่กำลังพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการตอบรับกับเสียง
มากไปกว่านั้น ของเล่นสำหรับเด็กแรกเกิดทั้งหมด ต้องเป็นของเล่นที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนพาเล่นเท่านั้น
เพราะเด็กยังเล็กเกินกว่าจะพยุงตัวเองมานั่ง หรือสัมผัสกับของเล่นต่าง ๆ ได้ หรือถ้าจะพูดให้ถูก
พ่อกับแม่น่าจะเป็นของเล่นที่เหมาะกับเด็กในวัยนี้ที่สุด การเล่นหูเล่นตา การสัมผัส การกอด
ถือว่าช่วยผ่อนคลายให้กับเด็กได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ของเล่นใด
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 3-6 เดือน มีอะไรบ้าง
เด็กอายุช่วงอายุ 3-6 เดือน ยังไม่ได้มีพัฒนาการอะไรมาก แต่สามารถเคลื่อไหวได้มากขึ้น มองเห็นมากขึ้น รับรู้เสียงต่าง ๆ
ได้ แต่ก็ยังไม่ได้มาก ของเล่นสำหรับเด็กวัย 3-6 เดือนจึงไม่จำเป็นต้องมีฟังก์ชันมากมาย ไม่จำเป็นต้องมีสีสันเยอะแยะ
เป็นของเล่นแบบทั่ว ๆ ไปที่เคลื่อนไหวเองได้ หรือเด็กสามารถจับ เขย่า กอด เตะ ถีบได้ก็เพียงพอแล้ว
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 3 เดือน เด็กวัย 3 เดือนยังไม่สามารถทำอะไรได้มาก
ดังนั้นของเล่นเด็ก 3 เดือน ที่เหมาะสมกับวัย จึงควรเป็นของเล่นที่มีการเคลื่อนไหวได้ หรือเด็กสามารถสัมผัสได้
เช่น โมบายล์ต่าง ๆ ตุ๊กตา กล่องดนตรี หรือของเล่นที่สามารถเขย่าได้ หรือของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 4 เดือน เด็กวัย 4 เดือนแม้จะโตขึ้นมานิดหน่อย
แต่ของเล่น เด็ก 4 เดือนก็ยังไม่ได้ไกลกว่าของเล่นเด็ก 3 เดือน คือของเล่นจำพวก โมบายล์ต่าง ๆ ตุ๊กตา กล่องดนตรี
หรือของเล่นที่สามารถเขย่าได้ หรือของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 5 เดือน เด็กวัย 5 เดือน สามารถสัมผัส จับสิ่งต่าง ๆ
ได้มากขึ้น ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ก็ยังคงเป็นกลุ่มของเล่นที่เด็กสามารถจับ เขย่า กอด เตะ ถีบได้ เช่น
โมบายล์ต่าง ๆ ตุ๊กตา มือถือเด็กที่มีเสียงเพลง หรือกล่องดนตรี หรือของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6 เดือน เด็กวัย 6 เดือนแรก
เหมาะกับของเล่นที่สามารถหยิบ จับ กอด เตะ ถีบได้ หรือมีเสียงให้เด็กได้ฝึกทักษะการได้ยิน เช่น โมบายล์ต่าง ๆ
ตุ๊กตา มือถือเด็กที่มีเสียงเพลง หรือกล่องดนตรี ของเล่นที่สามารถเขย่าได้ หรือของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
ของเล่นสำหรับเด็กอายุ 7-12 เดือน มีอะไรบ้าง
เด็กวัย 7-12 เดือน มีพัฒนาการที่มากขึ้น สามารถนั่งตัวตรงเองได้โดยไม่ต้องประคอง จึงสามารถที่จะหยิบ จับ
และถือของเล่นต่าง ๆ ได้เองแล้ว สามารถเปลี่ยนของเล่นจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่งได้ และจะเริ่มเล่นของเล่นต่าง ๆ แบบซ้ำ ๆ
จนกระทั่งเกิดความเคยชิน
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 7 เดือน เด็กวัยนี้สามารถเล่นของเล่นได้หลายหลายขึ้น
โดยของเล่นเด็ก 7 เดือน สามารถเล่นได้ตั้งแต่ตุ๊กตาต่าง ๆ หุ่นกระบอก ของเล่นจำพวกยานพาหนะต่าง ๆ ที่มีล้อ เช่น
รถของเล่น รถไฟของเล่น กระจกของเล่นที่ตกและไม่แตก ไม่มีขอบคม
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 8 เดือน ของเล่นเด็ก 8 เดือน ยังคงชอบตุ๊กตาอยู่
แต่สามารถเล่นของเล่นจำพวกรถที่มีล้อ หรือของเล่นที่เกี่ยวกับทางน้ำได้บ้างแล้ว เช่น ลูกบอลสำหรับเล่นตอนอาบน้ำ
ตุ๊กตาเป็ด เรือ
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 9 เดือน ของเล่นเด็ก 9 เดือน
เริ่มที่จะเล่นอะไรได้มากขึ้น นอกเหนือไปจากตุ๊กตาหรือรถของเล่น เด็กวัย 9 เดือน
ยังสามารถเริ่มเล่นของเล่นที่มีรูปร่างแตกต่างกัน หรือของเล่นที่ต้องมีการจำแนกรูปร่างออกจากกันได้
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 10 เดือน เด็กวัย 10 เดือน
เริ่มที่จะเล่นอะไรได้มากขึ้น นอกเหนือไปจากตุ๊กตาหรือรถของเล่น เด็กวัย 9 เดือน
ยังสามารถเริ่มเล่นเกมกระดานต่าง ๆ ได้บ้างแล้ว แม้จะยังไม่เข้าใจกติกาใด ๆ ก็ตาม
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 11 เดือน เด็กวัย 11 เดือน
สามารถเล่นของเล่นสำหรับเด็กวัยแรกเกิดจนถึงปัจจุบันได้ทุกอย่าง และเริ่มที่จะเล่นของเล่นที่มีกลไกมากขึ้น เช่น
ของเล่นที่มีการสอดไส้และต้องดึงเอาของข้างในออกมา เกมกระดานต่าง ๆ หรือของเล่นที่ต้องมีการแยกชิ้นส่วนออกจากัน
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 12 เดือน เด็กวัย 12 เดือน เริ่มพูดคำแรกได้
ของเล่นที่มีเสียงถือว่าเหมาะกับเด็กวัยนี้ รวมถึงการอ่านนิทานต่าง ๆ หนังสือต่าง ๆ
คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเริ่มกับเด็กวัยนี้ได้
ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 1-6 ขวบ
เด็กวัย 1-6 ขวบ ถือว่าเริ่มพัฒนาจากวัยทารก เข้าสู่วัยเด็กเล็ก เด็กวัยนี้เริ่มเล่นของเล่นได้มากขึ้น
เพราะเริ่มมีการพูดคำแรก และจะพูดมากขึ้นไปอีก การเคลื่อนไหวที่สามารถเริ่มเดินได้ เริ่มยืนนาน ๆ ได้ สามารถโต้ตอบได้
สามารถวิ่งได้ไกลขึ้น ของเล่นจึงมีทางเลือกมากขึ้นไปตามพัฒนาการของเด็กที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
-
ของเล่นเสริมพัฒนาการ 1 ขวบ ของเล่นเด็ก 1 ขวบ ได้แก่ หนังสือต่าง ๆ
หนังสือภาพ หนังสือมีเสียง ของเล่นที่ต้องมีการเปิดปิด ต้องมีการหมุนฝา ก็สามารถเล่นได้
รวมถึงของเล่นที่มีรูปร่างแตกต่างกันมากขึ้น เช่น ลูกบอลขนาดเล็ก-ใหญ่ ของเล่นที่ทำมาจากไม้ หรือบล็อกไม้ต่าง ๆ
ตุ๊กตา ยานพาหนะเสมือนจริง ตุ๊กตา ของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
-
ของเล่นเสริม พัฒนาการ 2 ขวบ ของเล่นเด็ก 2 ขวบ ได้แก่
ของเล่นที่ต้องมีการแก้ปัญหา หรือมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น จิ๊กซอว์ บล็อกไม้ต่าง ๆ ชุดก่อสร้างต่าง ๆ
การแต่งตัวตุ๊กตา สมุดวาดภาพระบายสี หนังสือภาพต่าง ๆ
-
ของเล่นเสริม พัฒนาการ 3 ขวบ ของเล่นเด็ก 3 ขวบ ได้แก่
ของเล่นที่มีการแยกจำนวนหรือประเภทตามสี ขนาด จำพวกจิ๊กซอว์ กลุ่มของสะสมต่าง ๆ อย่าง ฝาขวด เปลือกหอย หลอดต่าง
ๆ หรือของเล่นที่ต้องมีการจำลอง บทบาทสมมุติ เช่น แต่งตัวตุ๊กตา ชุดอุปกรณ์ของเล่นทำอาหาร
หรือชุดอุปกรณ์สำหรับคุณหมอ
-
ของเล่น เสริม พัฒนาการ 4 ขวบ ของเล่นเด็ก 4 ขวบ
มักจะเริ่มเป็นของเล่นตามความสนใจของเด็ก เช่น เด็กชอบวาดภาพระบายสี ก็เหมาะกับชุดสีน้ำ สมุดวาดภาพระบายสี
หรือเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่เหมาะสำหรับเด็ก
-
ของเล่น เสริม พัฒนาการ 5 ขวบ ของเล่นเด็ก 5 ขวบ ได้แก่
ของเล่นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และเด็กสามารถควบคุมได้ เช่น จักรยานสำหรับเด็ก รถเข็น หรือของเล่นจำพวกกีฬาต่าง ๆ
เช่น ลูกบอลสำหรับเตะ โบว์ลิ่งสำหรับเด็ก
-
ของเล่น เสริม พัฒนาการ 6 ขวบ ของเล่นเด็ก 6 ขวบ
เด็กสามารถที่จะเข้าใจโปรแกรมต่าง ๆ พื้นฐานได้ จึงสามารถเข้าถึงของเล่นที่เป็นของเล่นอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว
เช่น วิดิโอเกม หรือเกมในสมาร์ทโฟนต่าง ๆ แต่ควรอยู่ในการควบคุมของคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะเนื้อหาของเกม
ควรเหมาะสำหรับวัยของเด็ก
ไขข้อข้องใจเรื่องของเล่นเด็กกับ Enfa Smart Club
1. ของเล่นเสริมพัฒนาการ ซื้อที่ไหน ?
ของเล่นสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าและห้างสรรพสินค้า แต่ในปัจจุบันสามารถที่จะสั่งซื้อออนไลน์ได้ด้วย
2. ของเล่นเสริมพัฒนาการ 4-6 เดือน เลือกยังไงดี?
เด็กวัย 4-6 เดือน ยังไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนัก ของเล่นจึงไม่จำเป็นจะต้องหวือหวา หรือมีความซับซ้อน
เด็กวัยนี้เหมาะกับของเล่นที่สามารถเคลื่อนไหวได้ มีเสียงประกอบ และควรเป็นของเล่นที่เหมาะสำหรับให้เด็กจับ เกาะ เขย่า
เตะ หรือถีบ เช่น โมบายล์ต่าง ๆ ตุ๊กตา ของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง
3. ของเล่นเสริมพัฒนาการ 6-12 เดือน มีอะไรบ้าง?
เด็กวัย 6-12 เดือน เริ่มสามารถที่จะนั่งตัวตรงได้โดยไม่ต้องคอยประคอง และสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
ของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เช่น ตุ๊กตา รถของเล่น เกมกระดาน สมุดภาพ กระจกของเล่นที่ตกและไม่แตก ไม่มีขอบคม
4. ของเล่นเสริมพัฒนาการ 8-12 เดือน แบบไหนถึงเหมาะตามวัย?
เด็กวัย 8-12 เดือน เริ่มสามารถที่จะนั่งตัวตรงได้โดยไม่ต้องคอยประคอง สามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น
และเริ่มที่จะพูดคำแรกบ้างแล้ว ของเล่นที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ เช่น ตุ๊กตา รถของเล่น เกมกระดาน สมุดภาพ
หรือของเล่นที่มีเสียง หรือเขย่าแล้วมีเสียงประกอบ
บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์