Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทารกชอบทําเสียงในลําคอ สำหรับคุณแม่มือใหม่ อาจเคยสงสัยว่า ทำไมลูกถึงชอบทำเสียงแปลกๆ เช่น เสียงอืออือ หรือเสียงเหมือนขู่ในลำคอ
รู้หรือเปล่าคะว่าจริงๆ แล้ว เสียงที่ทารกทำในช่วงแรกเกิดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางภาษาและการได้ยิน ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจถึงการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้มากขึ้น
เสียงที่ทารกทำในช่วงเดือนแรกๆ ของชีวิต มักจะเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง "อือ" หรือ "อ๊า"
เป็นการฝึกฝนการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอเพื่อเตรียมความพร้อมในการพูดเมื่อโตขึ้น
เสียงเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณของพัฒนาการที่ดีค่ะ และแสดงให้เห็นว่าทารกกำลังฝึกฝนทักษะการได้ยิน การฟัง
และการสื่อสารผ่านเสียง
คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นว่า ลูกเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเสียงตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน
โดยจะหันหน้าหาแหล่งกำเนิดเสียง เริ่มส่งเสียงตอบโต้ และยิ้มเมื่อได้ยินเสียงคุ้นเคย
นี่คือช่วงเริ่มต้นของการสื่อสารที่น่าทึ่งค่ะ
เสียงลูกร้องเบาๆ เสียงต่ำๆ เสียงร้องแบบร้องเบาๆ ค่อยๆ ร้อง จากนั้นค่อยๆ เสียงดังเพิ่มขึ้น แต่เป็นเสียงต่ำๆ ต่อเนื่อง เป็นไปได้ว่าเกิดจากลูกหิว จึงมีเสียงร้องแบบนี้ เป็นเสียงร้องที่บอกว่าถึงหนูหิวแล้ว
นอกจากเสียงร้องแล้ว เด็กๆ มักจะทำท่าทางประกอบด้วย คุณแม่สงสัยไหมคะว่าที่ลูกทำท่าทางแบบนี้ หมายความว่าลูกต้องการอะไร?
งอหลัง ทารกอายุต่ำกว่า 2 เดือนมักแสดงท่าทางนี้เพื่อแสดงถึงอาการเจ็บปวด
และอาการจุกเสียดในช่องท้อง ถ้าลลูกงอหลัง หลังกินอาหารแปลว่า อิ่มแล้ว แต่ถ้าทำท่าทางแบบนี้บ่อย ๆ ระหว่างกิน
นั่นเป็นสัญญาณของอาการกรดไหลย้อน แต่สำหรับทารกอายุมากกว่า 2 เดือน
ท่าทางนีมักจะบ่งบอกถึงความเหนื่อยล้าและอารมณ์ไม่ดี
หมุนหัวไปมา ทารกจะแสดงอาการเหล่านี้เพื่อให้ตนเองสงบลง
ลูกอาจจะแสดงท่าทางนี้เมื่อกำลังจะหลับ หรือ เมื่อกำลังเจอคนแปลกหน้า
จับหูตัวเอง ส่วนมากเมื่อทารกจับหูตัวเอง
เพราะลูกกำลังสำรวจร่างกายตัวเอง แต่ถ้าร้องไห้พร้อมทั้งจับหูไปด้วยบ่อย ๆ นั่นอาจหมายถึงอาการผิดปกติค่ะ
ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
กำมือแน่น ท่าทางแบบนี้หมายความว่าหนูกำลังหิว
หากคุณพ่อคุณแม่สามารถจับสัญญาณนี้และป้อนนมลูกทันเวลา ลูกก็จะไม่ร้องไห้เพราะหิวค่ะ
ทารกทำเสียงอ้อแอ้ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 2-3 เดือน ช่วงนี้เป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะลูกเริ่มพยายามสร้างเสียงที่มีการควบคุมมากขึ้น เช่น เสียง "อ้า" "อื้อ" "อือ" "อู" ออกมาอย่างมีความสุข
เสียงอ้อแอ้เหล่านี้เป็นการฝึกควบคุมกล้ามเนื้อปากและลิ้น เพื่อสร้างเสียงที่ชัดเจนขึ้น
การที่ลูกน้อยทำเสียงอ้อแอ้เป็นการเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะทางภาษาซึ่งจะค่อยๆ
เพิ่มความหลากหลายมากขึ้นเมื่อพัฒนาการของเขาเติบโต
หากคุณแม่สังเกตเห็นลูกน้อยเริ่มทำเสียงอ้อแอ้ในช่วงนี้
นั่นแสดงให้เห็นว่าลูกเริ่มมีการฝึกฝนการพูดในระดับแรกๆ และจะค่อยๆ พัฒนาไปจนถึงการออกเสียงคำต่างๆ
ในเวลาต่อไป
ช่วงอายุที่ทารกเริ่มอ้อแอ้ได้ชัดเจนขึ้น
2-3
เดือน: ทารกจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น เสียงเอ๋ๆ อาๆ หรือเสียงจ้อแจ้
เพื่อสื่อสารความรู้สึกต่างๆ เช่น หิว อยากให้อุ้ม หรือมีความสุข
4-6
เดือน: เสียงอ้อแอ้ของทารกจะเริ่มคล้ายพยางค์มากขึ้น เช่น มา-มา ดา-ดา
และเริ่มเลียนแบบเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงสัตว์ เสียงของเล่น
คุณพ่อคุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของลูก เช่น
เคล็ดลับเล็กๆ คือ คุณพ่อคุณแม่ควรตอบสนองกับเสียงของลูก พูดคุย และเลียนแบบเสียงของเขา นี่จะช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นใจและอยากสื่อสารมากขึ้น
สงสัยกันไหมคะว่า ทารกหัวเราะได้ตอนกี่เดือน ทารกจะเริ่มหัวเราะได้ตั้งแต่เดือนที่ 3-4 โดยในช่วงนี้ ทารกจะเริ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เช่น การยิ้มและเสียงหัวเราะ ซึ่งเป็นการพัฒนาของทักษะการสื่อสารและการตอบสนองทางอารมณ์
ทารก 2 เดือนหัวเราะได้นั้นอาจเกิดขึ้นได้ในบ้าง ถ้าหากเป็นเสียงหัวเราะเล็กน้อย หรือมีรอยยิ้มตอบสนอง เพราะช่วง 2 เดือนแรกจะเป็นการฝึกฝนทักษะเบื้องต้นก่อน การหัวเราะแรกๆ มักเกิดจากการกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การเกาะแกะ เป่าท้อง หรือเล่นสนุกสนาน
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกเริ่มมีความหมายมากขึ้น การตอบสนองด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะจะช่วยกระชับความผูกพัน
เสียง "อืออือ" หรือเสียงอื่นๆ ที่ทารกทำในช่วงแรกนั้น เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่สำคัญ ในช่วงแรก
นักพัฒนาการเด็กอธิบายว่า เป็นวิธีการสำรวจเสียงและฝึกควบคุมกล้ามเนื้อเสียง
ทารกจะเริ่มฝึกฝนการใช้งานของกล้ามเนื้อในช่องปากและลำคอผ่านเสียงเหล่านี้
ซึ่งจะช่วยให้ทารกสามารถเริ่มพูดได้ในอนาคต
มีงานวิจัยที่พบว่า ทารกที่เริ่มฝึกฝนการใช้เสียงตั้งแต่อายุ 3 เดือน
มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะการพูดได้เร็วขึ้นและมีทักษะทางภาษาที่แข็งแรงในอนาคต นอกจากนี้
การที่ทารกทำเสียงเหล่านี้ยังช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองและการเรียนรู้ทางสังคมอีกด้วย
ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะหากลูกชอบทำเสียงแปลกๆ ออกมา
บางครั้งคุณแม่อาจได้ยินลูกทำเสียงแปลกๆ เช่น ลูกทำเสียงขู่ในลำคอ หรือเสียงที่เหมือนหายใจลำบาก
ซึ่งอาจทำให้รู้สึกกังวลว่าเป็นอาการผิดปกติ
เสียงเหล่านี้มักจะไม่เป็นอันตรายและเป็นแค่ส่วนหนึ่งของพัฒนาการธรรมชาติของทารกค่ะ
ทารกบางคนอาจทำเสียงขู่
ในลำคอเพียงเพราะเขากำลังพยายามใช้กล้ามเนื้อในลำคอและช่องปากเพื่อฝึกฝนการควบคุมการหายใจและเสียงเท่านั้นเองค่ะ
อย่างไรก็ตาม
ถ้าหากคุณแม่สังเกตเห็นลูกทำเสียงในลำคอที่ดูผิดปกติ เช่น เสียงหายใจดังผิดปกติ หรือทารกดูเหมือนจะหายใจลำบาก มีไข้
ควรปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาทางการหายใจหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ
เสียงขู่ในลำคอหรือเสียงครบคร่ำในคอของทารกอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วง
แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องปกติ บางครั้งอาจเกิดจากเสมหะหรือการเรียนรู้การควบคุมเสียง
ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2
ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย
จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย
โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก
และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี
เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM
หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด
แกลงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก
Enfa สรุปให้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย สา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกชอบทําเสียงในลําคอ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง...
อ่านต่อ