นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

เด็กฟันผุ ลูกปวดฟัน เรื่องเล็ก ๆ ที่อาจใหญ่กว่าที่คิด

Enfa สรุปให้

  • เด็กฟันผุ ถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยมากในเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ยังไม่ได้ใส่ใจกับความสะอาดในการแปรงฟันมากนัก และชอบกินของหวาน น้ำอัดลม ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงทำให้ฟันผุ
  • ลูก 2 ขวบฟันผุทําไงดี? ควรรีบพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาฟันผุอย่างเหมาะสมทันที และใส่ใจกับสุขภาพช่องปากให้มากขึ้น
  • ลูกปวดฟัน อาจสามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นด้วยการประคบเย็น ป้ายน้ำมันกานพลู บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือกินยาบรรเทาอาการปวด และรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นกำชับดูแลให้ลูกรักษาความสะอาดของสุขภาพช่องปากอยู่เสมอ เพราะถ้าหากปล่อยปละละเลยไป นานวันเข้า และไม่ได้มีการดูแลที่เหมาะสม ลูกอาจมีฟันผุได้ค่ะ แต่เด็กฟันผุเกิดจากสาเหตุอะไร? และเมื่อลูกมีฟันผุขึ้นมาแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะสามารถรับมือได้อย่างไรบ้าง? บทความนี้จาก Enfa มีสาระน่ารู้ในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของลูกน้อยมาฝากค่ะ 

 

เด็กปวดฟันทํายังไง

ลูกปวดฟัน ปวดฟันมาก ปวดจนร้องไห้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้สึกกังวลใจตามไปด้วย ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกมีอาการปวดฟัน ให้รับมือกับอาการปวดฟันของลูก ดังนี้

  • ตรวจดูตำแหน่งที่ลูกบอกว่ามีอาการปวด เช็กดูให้ดีว่าบริเวณนั้นมีฟันผุไหม เหงือกมีอาการบวมแดงหรือเปล่า หรือลูกมีแผลในช่องปากหรือไม่
  • สังเกตอาการของลูกว่ามีอาการปวดฟันแบบไหน ลูกปวดฟันเป็นพัก ๆ และหาย หรือปวดฟันตลอดเวลา หรือปวดฟันเฉพาะเวลาที่เคี้ยวอาหาร
  • รีบพาลูกไปพบทันตแพทย์ทันที เพื่อให้ลูกได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยสุขภาพช่องปาก พร้อม
  • รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพฟัน รวมถึงการกินยาแก้ปวดฟันและรักษาอาการปวดฟันของลูกอย่างเหมาะสม

 

ลูกปวดฟันตอนกลางคืน ดูแลอย่างไรดี

หากลูกปวดฟันตอนกลางคืน และเป็นเวลากลางดึกที่คลินิกทันตกรรมปิดหมดแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะดูแลลูกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันให้ทุเลาลงได้ ดังนี้

  • ผสมน้ำอุ่นกับเกลือให้ลูกบ้วนปาก เกลือมีส่วนช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อาจทำให้อาการปวดฟันลดลงได้
  • ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูแล้วอุดไปตรงบริเวณที่ปวดฟัน โดยน้ำมันการพลูมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน
  • ทำการประคบเย็น โดยน้ำผ้าเย็น หรือจะใช้จุกนมก็ได้ นำไปแช่ในช่องฟรีซไว้จนแข็ง แล้วนำมาประคบอุดในบริเวณที่ปวดฟัน
  • กินยาบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน

เมื่อถึงรุ่งเช้าควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยสุขภาพฟันและช่องปาก พร้อมรับยาและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยป้องกันฟันผุ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการปวดฟันซ้ำ ๆ 

 

เด็กฟันผุ กับสาเหตุที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

ฟันผุเด็ก เกิดขึ้นจากแบคทีเรียในช่องปากกินน้ำตาลที่มาจากอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเด็ก ๆ ไม่ได้แปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากอย่างเหมาะสม ทำให้แบคทีเรียเหล่านี้เจริญเติบโตและย่อยสลายน้ำตาล แป้งที่ตกค้างอยู่ตามซอกฟัน ซึ่งกระบวนการนี้จะแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นกรดทำลายผิวเคลือบฟันทีละน้อยจนกลลายเป็นรูโพรงใหญ่ขึ้นมา โดยสาเหตุที่ทำให้ฟันเด็กผุขึ้นมาได้นั้น มีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัย ดังนี้

  • เด็กไม่ค่อยแปรงฟัน หรือแปรงฟันไม่สะอาด หรือแปรงฟันไม่ถูกวิธี ทำให้ยังมีคราบน้ำตาลเกาะอยู่ที่ผิวของฟันและถูกแบคทีเรียย่อยสลายและมีสภาพเป็นกรดทำลายผิวจองฟัน ทำให้ฟันเด็กผุ
  • เด็กชอบกินแต่ของหวาน ขนม น้ำอัดลม เมื่อกินมากเกินไปก็ทำให้มีการสะสมของปริมาณน้ำตาลในช่องปากเพิ่มมากขึ้น จึงเสี่ยงที่จะมีฟันผุมากขึ้นด้วย
  • มีปัญหาที่เกี่ยวกับการผลิตน้ำลายในช่องปากน้อย หรือมีสารเคลือบฟันอ่อนแอ ซึ่งภาวะเหล่านี้บางครั้งอาจเป็นผลมาจากพันธุกรรมของครอบครัว

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกน้อยฟันผุ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อเข้ารับกระบวนการดูแลรักษาฟันอย่างเหมาะสม และควรหมั่นดูแลให้ลูกแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาฟันเด็กผุ

 

เด็กฟันผุรักษายังไง

ลูกฟันผุ สามารถทำการรักษาได้หลายวิธี ซึ่งกระบวนการรักษาก็จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของฟันที่ผุ ดังนี้

  • ลูกยังมีฟันผุไม่มาก ยังไม่ผุเป็นรูใหญ่ ทันตแพทย์อาจทำการเคลือบฟลูออไรด์ เคลือบหลุมฟัน
  • ฟันของลูกผุเป็นรู ผุจนถึงเนื้อฟัน ทันตแพทย์จะรักษาด้วยการอุดฟัน หรือทำการครอบฟันที่ผุ
  • ฟันของลูกผุในระดับรุนแรง คือลึกเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน จะขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของทันตแพทย์ว่าจะทำการรักษารากฟันเอาไว้ได้ไหม หรือจะต้องทำการถอนฟันทิ้ง

 

ลูก 1 ขวบฟันผุ ทำไงดี

หากลูก 1 ขวบควรพาลูกไปพบคุณหมอทันที เพื่อให้แพทย์ได้ทำการตรวจสุขภาพช่องปาก และทำการรักษาฟันผุตามระดับความรุนแรง มากไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกหลายอย่าง ตั้งแต่การแปรงฟันให้ลูกทุกวัน ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ที่เหมาะสำหรับเด็ก หลีกเลี่ยงการป้อนนมแบบคาขวดในตอนกลางคืน และลดการให้ลูกกินนมจากขวดนม ฝึกให้ลูกกินนมจากแก้วแทน

 

ลูก 2 ขวบฟันผุทําไงดี

ลูก 2 ฟันผุ ให้รีบพาไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาสภาพฟันที่ผุให้เรียบร้อยทันที ไม่ควรปล่อยเอาไว้นาน เพราะอาจทำให้ฟันผุมากขึ้นกว่าเดิม และคุณพ่อคุณแม่จะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 2 ขวบ ดังนี้

  • ลดของหวาน ขนมหวาน น้ำอัดลม พร้อมดูแลให้ลูกดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น
  • ให้ลูกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลมมากขึ้น
  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • ฝึกให้ลูกใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  • พาลูกไปตรวจสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน

 

ลูก 3 ขวบฟันผุทําไงดี

ลูก 3 ขวบฟันผุ คุณพ่อคุณแม่ควรหาเวลาว่างพาลูกไปพบคุณหมอฟันทันที เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาอาการฟันผุได้อย่างทันท่วงที การปล่อยให้ลูกฟันผุต่อไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว และทำให้ฟันผุแย่ลงกว่าเดิมได้

มากไปกว่านั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องเร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของลูก เริ่มตั้งแต่การลดปริมาณของหวาน ขนมหวาน และน้ำอัดลมลง เพราะมีปริมาณน้ำตาลมาก เสี่ยงทำให้ฟันผุมากยิ่งขึ้น
หมั่นดูแลให้ลูกแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง สอนให้ลูกใช้ไหมขัดฟันหลังมื้ออาหาร และพาลูกไปตรวจเช็กสุขภาพฟันเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือน

 

เด็กฟันผุทั้งปาก รักษาได้ไหม

เด็กฟันผุทั้งปาก สามารถรักษาได้ แต่กระบวนการรักษาฟันผุนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของฟันที่ผุเป็นสำคัญ 

ฟันซี่ที่ยังไม่ได้ผุจนเป็นรู อาจรักษาด้วยการเคลือบฟันได้ ฟันที่ผุจนเป็นรู ก็สามารถอุดฟันได้ แต่ในกรณีฟันบางซี่ซึ่งผุจนถึงโพรงประสาทฟันแล้ว คุณหมออาจจะวินิจฉัยให้ทำการรักษารากฟัน หรืออาจวินิจฉัยให้ถอนฟันและใส่ฟันเทียมเข้าไปแทน

 

ฟันผุในเด็ก ป้องกันอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้ลูกฟันผุได้ ดังนี้

  • ดูแลให้ลูกกินของหวาน ลูกอม ขนมหวาน และดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของการสะสมปริมาณน้ำตาลสูง เสี่ยงทำให้ฟันผุได้
  • ดูแลให้ลูกแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเช็กให้แน่ใจว่าลูกได้แปรงฟันก่อนเข้านอนทุกครั้งด้วย
  • สร้างแรงจูงใจที่ดีในการกินผักและผลไม้ เพื่อไม่ให้ลูกอยากกินแต่ขนมและของหวาน
  • ฝึกให้ลูกใช้ไหมขัดฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำ
  • พาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก ๆ 6 เดือน

 

เคลือบฟันเด็ก เริ่มได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่

การเคลือบฟันเด็ก จะเริ่มทำเมื่อลูกมีอายุตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กกลืนฟลูออไรด์ ซึ่งสำหรับเด็กเล็ก ๆ วัยนี้จะเสี่ยงต่อปัญหาฟันผุได้ง่ายมาก การเคลือบฟลูออไรด์จะช่วยให้ฟันแข็งแรง ลดความเสี่ยงของฟันผุ

 

นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า

เพื่อป้องกันความเสี่ยงของฟันผุในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับอาหารการกินของลูกให้มากขึ้น ลดของหวานและอาหารรสจัดลง เพิ่มอาหารที่มีประโยชน์และหลากหลาย เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาฟันผุ ช่วยให้ลูกสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการเรียนรู้ที่สมวัย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทารกควรจะต้องได้กินนมแม่อย่างต่อเนื่อง เพราะในนมแม่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561

 

ไขข้อข้องใจเมื่อท้อง 17 สัปดาห์ กับ Enfa Smart Club


ลูก 1 ขวบ ฟันเป็นคราบ ทำไงดี?

หากลูกฟันเป็นคราบ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยดูก่อนว่าเป็นคราบอะไร และอันตรายหรือไม่ และควรหมั่นดูแลให้ลูกแปรงฟันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันบ่อย ๆ ลดของหวาน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเป็นคราบและป้องกันฟันผุ

ลูก 2 ขวบฟันผุถอนได้ไหม?

ลูก 2 ขวบฟันผุ สามารถถอนได้ แต่...ไม่จำเป็นต้องถอนเสมอไป ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของฟันผุ และทันตแพทย์จะวินิจฉัยทำการรักษาฟันผุให้เหมาะสมเองค่ะ บางครั้งอาจรักษาด้วยการอุดฟันก็เพียงพอ ยกเว้นในกรณีที่ฟันผุเยอะมากจนถึงโพรงประสาทฟัน จึงอาจจะต้องวินิจฉัยให้ถอนฟันทิ้ง

ลูก 4 ขวบปวดฟัน ทํายังไงดี?

ลูก 4 ขวบปวดฟัน แต่ไม่ได้ปวดฟันในตอนกลางคืน และคลินิกทันตแพทย์ยังเปิดให้บริการอยู่ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทันทีค่ะ แต่ถ้าหากลูก 4 ขวบปวดฟันในตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดฟันของลูกได้ ดังนี้

  • ผสมน้ำอุ่นกับเกลือให้ลูกใช้บ้วนปาก เนื่องจากเกลือช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้
  • ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูแล้วอุดบริเวณที่ปวดฟัน เพราะน้ำมันกานพลูมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดได้
  • ประคบเย็นด้วยผ้าเย็น หรือใช้จุกนมแช่แข็งจากช่องฟรีซ แล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดฟัน
  • กินยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน

ลูก 5 ขวบฟันกรามผุ ทำไงดี?

ลูก 5 ขวบ ฟันกรามผุ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ค่ะ และทันตแพทย์จะวินิจฉัยเองว่าฟันกรามที่ผุในลักษณะนี้ควรจะรักษาแบบไหน อาจเป็นการอุดฟัน ครอบฟัน รักษารากฟัน หรืออาจต้องถอนฟันทิ้งเพื่อใส่ฟันปลอม

ลูก 5 ขวบ ฟันผุทั้งปาก รักษาได้ไหม?

ลูก 5 ขวบ ฟันผุทั้งปาก สามารถรักษาได้ แต่การรักษาฟันผุนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพฟันที่ผุและความรุนแรงของฟันที่ผุค่ะ

หากฟันยังไม่ผุเป็นรู ทันตแพทย์อาจรักษาโดยการเคลือบฟันให้ แต่ถ้าฟันเริ่มผุจนเป็นรูแล้ว อาจต้องทำการอุดฟันหรือครอบฟัน แต่ในกรณีที่ฟันผุมากจนถึงโพรงประสาทฟัน อาจจะต้องรักษาด้วยการรักษารากฟัน หรือถอนฟันทิ้งเพื่อสวมฟันปลอมเข้าไปแทน

ลูก 6 ขวบ ปวดฟันกราม ทำไงดี?

ลูก 6 ขวบ ปวดฟันกรามมาก หากไม่ได้ปวดในตอนกลางคืน และคลินิกทันตแพทย์ยังเปิดให้บริการอยู่ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ทันทีค่ะ

แต่ถ้าหากลูก 6 ขวบปวดฟันกรามในตอนกลางคืน คุณพ่อคุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดฟันของลูกได้ ดังนี้

  • ผสมน้ำอุ่นกับเกลือให้ลูกใช้บ้วนปาก เนื่องจากเกลือช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้
  • ใช้สำลีชุบน้ำมันกานพลูแล้วอุดบริเวณที่ปวดฟัน เพราะน้ำมันกานพลูมีสรรพคุณช่วยลดอาการปวดได้
  • ประคบเย็นด้วยผ้าเย็น หรือใช้จุกนมแช่แข็งจากช่องฟรีซ แล้วนำมาประคบบริเวณที่ปวดฟัน
  • กินยาบรรเทาปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน




  • Healthline. Treating Cavities in Your Toddler, and How to Prevent More. [Online] Accessed https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/toddler-cavities. [30 January 2025]  
  • State Government of Victoria. Tooth decay - young children. [Online] Accessed https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/tooth-decay-young-children#causes-of-tooth-decay-in-young-children. [30 January 2025]  
  • กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เด็กไทยกับโรคฟันผุ ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคต. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth/. [30 มกราคม 2025]  
  • โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4. “โรคฟันผุในเด็ก” ปัญหาเล็ก ๆ ที่อาจกลายเป็นเรื่องใหญ่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.paolohospital.com/th-TH/chokchai4/Article/Details/%E0%B8. [30 มกราคม 2025]  
  • โรงพยาบาลขอนแก่นราม. เลี้ยงลูกอย่างไร ? ไม่ให้ฟันผุ. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/dent/kids-decay-tooth. [30 มกราคม 2025]  
  • โรงพยาบาลปิยะเวท. ลูกน้อยฟันน้ำนมผุ ทำยังไงดี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://piyavate.com/%E0%B8%A5. [30 มกราคม 2025]  
  • โรงพยาบาลบางปะกอกสมุทรปราการ. เคลือบฟลูออไรด์ จำเป็นต่อเด็กหรือไม่. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/277. [30 มกราคม 2025]  
  • Dentique Clinic. ฟันผุในเด็ก: สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://dentiqueclinic.com/tooth-decay-in-children/. [30 มกราคม 2025]  
  • Homey Dental Clinic. ภัยร้ายจากการปล่อยให้เด็กปวดฟัน อันตรายกว่าที่คุณคิด. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://homeydentalclinic.com/toothaches-in-kid-are-more-dangerous-than-you-think/. [30 มกราคม 2025]

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama