นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

พังผืดใต้ลิ้นทารก ปัญหาใต้ลิ้นที่อาจไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ

Enfa สรุปให้

  • พังผืดใต้ลิ้นทารก มีทั้งพังผืดปกติที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา กับพังผืดใต้โคนลิ้นที่จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพ
  • หากทารกดูดนมแล้วหลุดบ่อย กินนมได้น้อย ดูดนมเบา คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนม หัวนมแตก ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย น้ำหนักขึ้นช้า นี่คือสัญญาณว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้น
  • การผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นทารกทำได้ไม่ยาก ใช้เวลาไม่นาน พักฟื้นไม่ถึงวันก็สามารถกินนมได้ตามปกติ และใช้เวลา 1 สัปดาห์แผลผ่าตัดก็จะหายเป็นปกติ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

พังผืดใต้ลิ้นทารก มองผ่าน ๆ เหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ที่ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่ แต่จริง ๆ แล้ว เรื่องเล็กเท่าพังผืดใต้ลิ้นนี่แหละค่ะ ที่อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ตามมาภายหลังได้

 

พังผืดใต้ลิ้นทารก คืออะไร


เวลาที่กระดกลิ้นขึ้นเราจะมองเห็นว่าใต้โคนลิ้นของทารกมีแผ่นบาง ๆ ติดอยู่ แผ่นนั้นแหละค่ะที่เราเรียกว่า พังผืดใต้ลิ้น

ซึ่งพังผืดใต้ลิ้นนั้น เป็นเรื่องปกติค่ะ สามารถพบได้ในเด็กทารกโดยทั่วไป และส่วนใหญ่ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตราย

จะมีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเอาพังผืดนั้นออก คือ พังผืดมีขนาดที่หนามากและส่งผลเสียต่อพัฒนาการของทารก เช่น ทำให้พูดไม่ชัด ทำให้ลูกดูดนมได้ไม่ดี เมื่อลูกดูดนมไม่ดี นมแม่ก็ไม่ถูกกระตุ้น ทำให้น้ำนมไหลน้อย มีน้ำนมไม่พอเลี้ยงลูก หรืออาจส่งผลต่อปัญหาด้านโภชนาการตามมาได้เช่นกัน

พังผืดใต้ลิ้นทารก เกิดจากอะไร

ปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่าพังผืดใต้ลิ้นของทารกเกิดจากอะไร อาจเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรม หรือเกิดจากการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อที่ผิดปกติจนเกิดเป็นพังผืดหนาใต้ลิ้นก็เป็นไปได้

 

พังผืดใต้ลิ้น ดูยังไง


พังผืดใต้ลิ้นทารก สังเกตเห็นได้ไม่ยากค่ะ หากพลิกดูที่โคนลิ้นก็สามารถพบได้แล้วว่าลูกมีพังผืดหนาผิดปกติหรือเปล่า

แต่โดยทั่วไปแล้ว เราจะสังเกตดูแค่ว่าลูกพังผืดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ค่ะ เพราะบางครั้งการมีพังผืดอาจจะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพใด ๆ และไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก กรณีแบบนั้นถือว่าเป็นพังผืดตามปกติ

แต่ถ้าลูกมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าพังผืดใต้ลิ้นของลูก อาจผิดปกติ จำเป็นต้องได้รับการรักษา

  • ลูกดูดนมได้ไม่ค่อยดี ดูดนมแล้วหลุดบ่อย
  • ลูกไม่สามารถแลบลิ้นได้ แลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปาก หรือแลบลิ้นออกมาได้น้อย
  • ทารกดูดนมเบา และดูดนมบ่อย เพราะดูดแล้วหลุดง่าย
  • เวลาที่ลูกร้องไห้ หรือแลบลิ้นออกมา สังเกตได้ว่าที่หลังลิ้นมีลักษณะหยักเข้ามาเป็นรูปหัวใจ
  • ไม่สามารถกระดกปลายลิ้นขึ้นไปสัมผัสเพดานปากได้
  • คุณแม่มีอาการเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก

 

พังผืดใต้ลิ้นมีกี่ระดับ


พังผืดใต้ลิ้นทารก สามารถแบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่ 1 พังผืดมีขนาดบาง สามารถยืดหยุ่นได้ ปลายลิ้นถูกพังผืดยึดไว้
  • ระดับที่ 2 พังผืดมีขนาดบาง สามารถยืดหยุ่นได้ ลิ้นจะถูกพังผืดยึดไว้ประมาณ 2-4 มิลลิเมตรจากพื้นปาก
  • ระดับที่ 3 พังผืดหนาและแข็ง โดยพังผืดจะยึดอยู่ที่บริเวณกลางลิ้น
  • ระดับที่ 4 ไม่สามารถมองเห็นพังผืดได้อย่างชัดเจน แต่เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วจะรู้สึกได้ถึงเส้นพังผืดที่หนาและแข็งยึดติดแน่นอยู่กับลิ้น

หากทารกมีพังผืดใต้ลิ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกไปปรึกษากับแพทย์ได้ว่าเป็นพังผืดที่จะต้องทำการผ่าตัดออกไหม เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อพัฒนาการของทารก

พังผืดใต้ลิ้นหายเองได้ไหม

พังผืดใต้ลิ้นมีแนวโน้มที่จะสามารถยืดออกได้เอง แต่...ก็ไม่ได้พบลักษณะเช่นนั้นได้บ่อยนักค่ะ

ดังนั้น หากลูกมีพังผืดใต้ลิ้น และลูกเริ่มมีปัญหาในการกินนม งับแล้วหลุดบ่อย หรือแลบลิ้นไม่พ้นริมฝีปาก ควรพาลูกไปเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือเปล่า ซึ่งดีกว่ารอให้พังผืดใต้ลิ้นยืดออกได้เองค่ะ

 

พังผืดใต้ลิ้นทารก รักษาอย่างไรได้บ้าง


การรักษาพังผืดใต้ลิ้นทารกอย่างมีประสิทธิภาพในปัจจุบันนั้นจะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดเอาพังผืดออกค่ะ

โดยจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ แล้วทำการตัดเอาพังผืดนั้นออก หลังจากเข้ารับการผ่าตัดแล้ว ทารกสามารถดื่มนมแม่ได้เลยทันที ไม่ต้องรอพักฟื้น ไม่ต้องรอจนแผลหาย และลิ้นของทารกก็จะสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติด้วยค่ะ

ตัดพังผืดใต้ลิ้นกี่วันหาย

หลังจากผ่าตัดนำพังผืดใต้ลิ้นออก จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ แผลผ่าตัดก็จะค่อย ๆ หายเป็นปกติค่ะ

แต่ถ้าหากพ้นจาก 1 สัปดาห์ไปแล้ว แผลลูกยังไม่หาย ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาแผลผ่าตัดที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

ตัดพังผืดใต้ลิ้นกี่บาท

การตัดพังผืดใต้ลิ้นนั้น มีราคาที่จะต้องจ่าย ซึ่งราคานั้นก็จะแตกต่างกันไปตามสถานพยาบาลค่ะ

หากเป็นสถานพยาบาลของรัฐ อาจมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป

สถานพยาบาลเอกชน อาจมีค่าใช่จ่ายเริ่มต้นตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป

คุณพ่อคุณแม่สามารถรับข้อมูลราคาที่อัปเดตล่าสุดได้จากสถานพยาบาลใกล้เคียงหรือสถานพยาบาลที่สนใจได้เลยค่ะ เพื่อให้ได้ข้อมูลราคราที่เป็นปัจจุบันที่สุดนะคะ

 

ตัดพังผืดใต้ลิ้นทารก มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง


การตัดพังผืดใต้ลิ้นทารก จะมีขั้นตอนโดยทั่วไป ดังนี้

  • ในเด็กทารก แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ แต่ถ้าเป็นเด็กที่อายุตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป อาจต้องใช้ยาสลบ
  • เมื่อยาออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัดเอาพังผืดออก ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น กรรไกรปลอดเชื้อเล็กๆตัดขลิบใต้ลิ้น (snip), จี้ไฟฟ้า (electrocauterization), ยิงแสงเลเซอร์ (laser) หรือ ยิงแสงพลาสมา (plasma) เข้าไปในบริเวณพังผืดใต้ลิ้น
  • เสร็จแล้วแพทย์จะให้ทารกกัดผ้าก็อซไว้ประมาณ 10-30 นาที เพื่อทำการห้ามเลือด ซึ่งปกติแล้วจะมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • การผ่าตัดในทารกนั้นจะใช้เวลาเพียง 1-2 นาที แต่สำหรับเด็กโตอาจใช้เวลาประมาณ 1-5 นาที และพักฟื้นอีกประมาณ 2-4 ชั่วโมงจึงสามารถกลับบ้านได้

ดูแลลูกน้อยอย่างไรหลังการตัดพังผืดได้ลิ้น

แผลผ่าตัดจะค่อย ๆ ดีขึ้นเองตามลำดับ คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นจะต้องล้างทำความสะอาดแผลเป็นพิเศษแต่อย่างใด การดูแลทำความสะอาดช่องปากตามปกติถือว่าเพียงพอแล้วค่ะ

แผลจะค่อย ๆ แห้ง ตกสะเก็ด และหลุดออกไปเอง โดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเอานิ้วไปแกะหรือแคะออกมา ซึ่งหลักจากสะเก็ดหลุดไปแล้ว ก็จะเหลือรอยแผลเป็นสีขาว ซึ่งจะค่อย ๆ จางลงเมื่อเด็กโตขึ้นค่ะ

 

คำแนะนำคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกน้อยมีพังผืดใต้ลิ้น


หากลูกน้อยมีพังผืดใต้ลิ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลลูกได้ตามปกติค่ะ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติที่จะเกิดขึ้น ดังนี้

  • สังเกตอย่างใกล้ชิดว่าลูกมีปัญหาในการกินนมหรือเปล่า งับหัวนมแล้วหลุดบ่อยไหม
  • สังเกตดูว่าลูกแลบลิ้นได้ไหม แลบลิ้นเกินริมฝีปากไหม
  • ลูกมีน้ำนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัดหรือเปล่า หรือน้ำหนักขึ้นช้ากว่าปกติ
  • คุณแม่มีอาการหัวนมแตก หัวนมเป็นแผล เจ็บหัวนม
  • เวลากินนม ลูกดูดนมเบาเกินไปหรือเปล่า

หากมีสัญญาณดังกล่าว ให้พาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยทันทีว่าพังผืดของลูกผิดปกติไหม และจะต้องทำการผ่าตัดรักษาหรือเปล่า

เพราะถ้าลูกมีพังผืดหนาผิดปกติ อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการพูด ทำให้พูดไม่ชัด หรือทำให้ลูกกินนมได้ไม่ดี มีปัญหาด้านโภชนาการและการเจริญเติบโตได้

 

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์

โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการเรียนรู้และจดจำ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama