นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

วิธีรับมือเด็กผอม ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย เด็กผอมขาดสารอาหาร

Enfa สรุปให้

  • เด็กผอม ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุและพัฒนาการ ภาวะเจ็บป่วยและโรคประจำตัว รวมถึงคุณภาพอาหารและพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  • เด็กผอมขาดสารอาหาร ไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ พัฒนาการสังคมและอารมณ์ ตลอดจนความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • หากคุณพ่อคุณแม่มีลูกเป็นเด็กผอม ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ดูเหมือนเด็กผอมขาดสารอาหาร ควรรีบหาวิธีแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ท้องเสียหรืออาเจียนเรื้อรัง เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

เลือกอ่านตามหัวข้อ

การเจริญเติบโตและการพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัยเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปัญหาด้านโภชนาการที่ส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อย ทำให้เด็กผอม ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย จนดูเหมือนเด็กผอมขาดสารอาหาร ซึ่งอาจมีภาวะอื่นที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตดังกล่าวร่วมด้วย

บทความนี้ Enfa จะพาคุณพ่อคุณแม่มาหาสาเหตุลูกเป็นเด็กผอมแห้งพร้อมวิธีการแก้ไข และทำความเข้าใจเรื่องน้ำหนักตามมาตรฐานของเด็กแต่ละช่วงวัยกันค่ะ

 

เด็กผอมแห้ง น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ อันตรายหรือไม่

การที่เด็กผอมแห้ง น้ำหนักหน่อยกว่าเกณฑ์ จนดูเป็นเด็กผอมขาดสารอาหารนั้นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพของเด็กได้ โดยจะเป็นอันตรายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้

  1. อายุและพัฒนาการ โดยเด็กบางคนอาจมีพัฒนาการที่ช้าแต่ยังคงเติบโตได้ตามลำดับ แต่หากมีการเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ น้ำหนักไม่เพิ่มตามอายุ อาจมีปัญหาสุขภาพได้
  2. ภาวะเจ็บป่วยและโรคประจำตัว ซึ่งเป็นสาเหตุทางการแพทย์ เช่น ภาวะดูดซึมอาหารไม่ดี โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคภูมิแพ้ โรคไทรอยด์
  3. อาหารและการทานอาหาร หากเด็กไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือไม่ทานอาหารที่หลากหลายเพียงพอ อาจทำให้เด็กผอมและน้ำหนักน้อย

ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรติดตามการเจริญเติบโตของลูกโดยติดตามพัฒนาการและน้ำหนักของเด็กเป็นประจำ โดยการไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดี ให้ลูกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีสมวัย

 

น้ำหนักตามมาตรฐานของเด็กแต่ละช่วงวัย

การคำนวณน้ำหนักตามมาตรฐานของเด็กแต่ละช่วงวัยนั้น สามารถใช้การเปรียบเทียบน้ำหนักตามเกณฑ์ของอายุ แล้วนำผลน้ำหนักดังกล่าวมาเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของเด็กที่อยู่ในช่วงวัยเดียวกัน เพื่อดูว่าขณะนี้เด็กมีภาวะอ้วนไป หรือผอมไป มีน้ำหนักตัวตามเกณฑ์ มีน้ำหนักมากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์ เพื่อติดตามพัฒนาการด้านการเจริญเติบโตอย่างใกล้ชิด

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถติดตามน้ำหนักของลูกด้วยตนเองตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โดยใช้กราฟเปรียบเทียบ เกณฑ์น้ำหนัก ส่วนสูง ตามอายุ 

 

สาเหตุของปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

สาเหตุของปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์สามารถแบ่งได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก โดยการที่เด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มักสาเหตุ ดังนี้  

1. การขาดสารอาหาร

การรับประทานอาหารไม่เพียงพอ การขาดโปรตีนหรือแคลอรี่ในอาหารอาจทำให้การเจริญเติบโตช้าและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ รวมถึงการรับประทานอาหารไม่หลากหลายหรือไม่สมดุล

2. ปัญหาการดูดซึมอาหารไม่ดี

โดยอาจเกิดจากภาวะโรคบางชนิด เช่น ความผิดปกติของลำไส้ที่ไม่สามารถย่อยกลูเต็นได้ โรคลำไส้อักเสบ โรคท้องร่วงเรื้อรัง รวมถึงอาจมีการติดเชื้อที่ทำให้การย่อยอาหารเสียหาย เช่น การติดเชื้อพยาธิในลำไส้

3. โรคเรื้อรังหรือโรคที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโ

ในเด็กบางคนอาจมีโรคพันธุกรรมหรือโรคประจำตัวที่พบตั้งแต่เล็ก เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคไทรอยด์ โรคหัวใจหรือปัญหาหลอดเลือด โรคมะเร็ง หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ 

4. ภาวะจิตใจและอารมณ์

โดยเด็กที่มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวลอาจมีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น ภาวะซึมเศร้า ปัญหาหรือผลกระทบทางจิตใจ เป็นต้น

5. ปัญหาทางพันธุกรรม

บางครั้งการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางพันธุกรรม เช่น โรค Down syndrome หรือ โรค Turner syndrome ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย

6. ภาวะน้ำหนักน้อยจากการคลอดก่อนกำหนด

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด เช่น น้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม อาจมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติในช่วงแรกของชีวิต

7. ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีทรัพยากรทางการเงินไม่เพียงพออาจขาดการดูแลที่เหมาะสมทั้งการดูแลทางการแพทย์และด้านโภชนาการที่ดี

ลูกผอมมาก ทำอย่างไร

พ่อแม่หลายคนอาจถูกคนรอบตัวทักเรื่องน้ำหนักลูกน้อยจนเป็นกังวลว่า ลูกผอมมาก ทำอย่างไรดี การที่น้ำหนักลูกน้อยนั้นมาจากหลายสาเหตุ และการที่ลูกผอมมากอาจไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดียว แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มน้ำหนักลูกน้อยได้หลายวิธี ดังนี้

  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพและขอคำแนะนำด้านโภชนาการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการที่ดี กระตุ้นให้ลูกกินอาหารที่มีแคลอรีสูงและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน
  • หากลูกเบื่ออาหาร ทานยาก ลองแบ่งเป็นมื้ออาหารเล็ก ๆ หลายมื้อ อาจช่วยให้ลูกทานอาหารได้มากขึ้น
  • เสริมอาหารที่มีไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก ถั่วลิสง (ยกเว้นในเด็กที่แพ้ถั่ว)
  • ส่งเสริมให้การรับประทานอาหารสนุกและน่าสนใจมากขึ้นด้วยการปรับรสชาติและหน้าตาของอาหารให้มีสีสันมากขึ้น หรือเซ็ตจานอาหารลายการ์ตูนที่ลูกชอบ
  • พาลูกทำกิจกรรม ออกกำลังกาย กระตุ้นการเคลื่อนไหว และการเล่นที่ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เช่น เล่นกลางแจ้ง เดินเล่น เล่นปีนป่าย
  • สร้างนิสัยการกินที่ดี มีเวลาทานอาหารที่แน่นอน สม่ำเสมอ ไม่ข้ามมื้ออาหาร
  • ไม่บังคับให้ลูกทานอาหารจนเกิดความเครียดและกลายเป็นการต่อต้านอาหาร
  • ตรวจหาปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจ ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น

 

ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ส่งผลอย่างไรต่อพัฒนาการ

ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กในหลาย ๆ ด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อยด้วย การที่เด็กมีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการทางร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่ดี เจ็บป่วยง่าย และส่งผลต่อเคลื่อนไหว การเดิน การวิ่ง เนื่องจากไม่มีมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

ลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย ไม่เพียงส่งผลตรงต่อการเจริญเติบโตเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงพัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ ทำให้เด็กความจำไม่ดี เรียนรู้ได้ช้า ขาดความสามารถในการจดจำ ไม่มีสมาธิจดจ่อ และมีพัฒนาการทางสติปัญญาช้า เช่น การพูดและการสื่อสาร

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม มีปัญหาด้านการจัดการอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ไม่มีความมั่นใจในตนเอง มีภาวะเครียดและวิตกกังวลได้ง่าย เมื่อมีผลกระทบต่ออารมณ์ยังทำให้เด็กกินอาหารได้ยาก เบื่ออาหาร ยิ่งส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงอีก

เพื่อป้องกันไม่ให้การขาดอาหารส่งผลกระทบทั้งต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนาการทางสมองและการเรียนรู้ พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ตลอดจนความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเร่งหาสาเหตุและแก้ไขอย่างเหมาะสมโดยเร็ว

 

เด็กขาดสารอาหารควรกินอะไร เพื่อเพิ่มน้ำหนักตามเกณฑ์

เด็กที่ขาดสารอาหารและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ควรได้รับการดูแลด้านโภชนาการเป็นพิเศษ โดยเด็กขาดสารอาหารควรกินอะไรเพื่อเพิ่มน้ำหนักตามเกณฑ์ สามารถพิจารณาได้จากอาหารที่แนะนำ ดังนี้

  1. โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส เต้าหู้ ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ
  2. คาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานสูง เช่น ข้าวกล้อง มันฝรั่ง มันเทศ ขนมปังโฮลวีต
  3. ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ปลาไขมันสูง เช่น แซลมอน ทูน่า ถั่วและเมล็ดพืช เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย
  4. วิตามินและแร่ธาตุ เช่น ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้สด นมและโยเกิร์ตเสริมแคลเซียม ธัญพืชเสริมธาตุเหล็ก
  5. นมและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น นมเสริมไขมันหรือนมสูตรเพิ่มน้ำหนัก อาหารเสริมโปรตีนภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  6. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ หรือน้ำผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงน้ำหวานหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร

อาหารที่แนะนำดังกล่าวสามารถรับประทานได้ทั้งในมื้ออาหารหลักและอาหารว่าง และสำหรับเด็กที่ทานยาก อาจแบ่งมื้ออาหารเล็ก ๆ หลายมื้อแทน รวมถึงเน้นอาหารที่เด็กชอบ ปรุงให้ถูกปาก เพราะการดูแลโภชนาการที่เหมาะสมและใส่ใจในคุณภาพอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้เด็กน้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีพัฒนาการที่สมวัย

 

เด็กผอมแห้ง ร่วมกับอาการต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์

หากลูกน้อยเป็นเด็กผอมแห้ง และมีอาการผอมแห้งร่วมกับอาการต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อหาสาเหตุและรับการดูแลที่เหมาะสม

  • น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งที่ไม่ได้เจ็บป่วย และไม่ได้ลดอาหาร
  • ไม่อยากอาหารอย่างต่อเนื่อง ไม่อยากกิน หรือปฏิเสธอาหารทุกชนิดเป็นระยะเวลานาน
  • อ่อนเพลียหรือไม่มีแรง เด็กดูอ่อนล้า ไม่มีพลังงาน มีอาการง่วงซึม ไม่กระตือรือร้นเหมือนปกติ
  • ท้องเสียหรืออาเจียนเรื้อรัง หรือลำไส้ผิดปกติบ่อย ๆ อุจจาระมีกลิ่นผิดปกติ มีมูกหรือเลือด
  • ผิวหนังแห้ง แตก หรือมีอาการบวมผิดปกติ เช่น มีอาการบวมบริเวณมือ เท้า หรือหน้าท้อง
  • การเจริญเติบโตล่าช้า ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เพิ่มขึ้นตามอายุหรือกราฟการเจริญเติบโต และมีพัฒนาการทางร่างกายหรือสติปัญญาล่าช้า
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยบ่อย เช่น เป็นไข้หวัดหรือการติดเชื้อเรื้อรัง แผลหายช้ากว่าปกติ
  • อาการผิดปกติในระบบฮอร์โมน เช่น ผมร่วงมากผิดปกติ มีอาการผิดปกติของการเจริญเติบโตทางเพศในวัยรุ่น
  • มีพฤติกรรมหรืออารมณ์ผิดปกติ เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือแสดงความก้าวร้าวผิดปกติ ไม่ตอบสนองต่อการเล่นหรือการสื่อสารเหมือนเดิม
  • อาการผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปวดท้องบ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นไข้เรื้อรัง หรือมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีเหตุผล

โดยเบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตและบันทึกอาการเพื่อขอคำปรึกษาแพทย์ พร้อมทั้งติดตามการรักษาหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ

 

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี

เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกลงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก

 

ไขข้อข้องใจเรื่องลูกตัวเล็ก น้ำหนักน้อย กับ Enfa Smart Club

ลูก 1 ขวบ 6 เดือน น้ำหนักน้อย อันตรายหรือไม่

ขึ้นอยู่กับระดับน้ำหนัก หากลูก 1 ขวบ 6 เดือน น้ำหนักน้อยต่ำกว่าเกณฑ์อย่างมากและมีอาการอื่นร่วม เช่น ไม่กินอาหารหรือพัฒนาการล่าช้า ควรปรึกษากุมารแพทย์

ลูก 1 ขวบ น้ำหนักน้อย ควรให้อาหารเสริมหรือไม่

หากลูก 1 ขวบ น้ำหนักน้อย สามารถให้อาหารเสริมได้ โดยควรเลือกที่เหมาะกับวัย เช่น ข้าวบดผสมโปรตีน เช่น ไข่แดง เนื้อปลาต้มสุก และผักผลไม้ ยกเว้นวิตามินหรือสารอาหารพิเศษควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ลูก 2 ขวบ น้ำหนักน้อย ควรทำอย่างไร

หากลูก 2 ขวบ น้ำหนักน้อย ควรเพิ่มมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อ เน้นอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน คาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น ข้าวกล้อง มันฝรั่ง และเสริมไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก  

ลูก 6 ขวบ ผอมมาก ให้ลูกกินอะไรดี

หากลูก 6 เดือน น้ำหนักน้อย ควรเพิ่มอาหารว่างที่ให้พลังงานสูง เช่น กล้วยทาเนยถั่ว สมูทตี้ผลไม้ผสมโยเกิร์ต และอาหารที่มีโปรตีน เช่น ไข่ นม และถั่วต่าง ๆ
 



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama