นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกติดแม่ ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกหรือไม่ ควรทำอย่างไร

Enfa สรุปให้

  • ลูกติดแม่ถือเป็นภาวะปกติที่พบได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยทารกจนถึงวัยหัดเดิน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับผู้ดูแลหลัก
  • ลูกเริ่มติดแม่ตอนกี่เดือน โดยทั่วไปลูกจะเริ่มติดแม่อย่างชัดเจนตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่คุ้นเคย และคนแปลกหน้า 
  • อาการลูกติดแม่ที่พบได้บ่อย ได้แก่ ร้องไห้งอแงเมื่อต้องแยกจากแม่ ต้องการให้อุ้มตลอดเวลา ไม่ยอมให้คนอื่นดูแล นอนยาก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึกแล้วร้องหาแม่ เกาะติดแม่ ไม่ยอมเล่นเอง ต้องการให้แม่อยู่ใกล้ตลอดเวลา 

เลือกอ่านตามหัวข้อ

 

ลูกติดแม่ สิ่งที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านต่างก็ต้องเผชิญ ซึ่งหลายครั้งการที่ลูกติดแม่ก็ทำให้คุณแม่ใจฟูไม่น้อย แต่หากลูกติดแม่มากเกินไป ถือเป็นเรื่องที่ปกติหรือไม่ จะส่งผลเสียต่อพัฒนาการของลูกน้อยไหม Enfa มีคำตอบให้ในบทความนี้แล้ว!

 

ลูกเริ่มติดแม่ตอนกี่เดือน


โดยทั่วไปลูกจะเริ่มติดแม่อย่างชัดเจนตั้งแต่อายุประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กเริ่มรับรู้ถึงความแตกต่างระหว่างคนที่คุ้นเคย และคนแปลกหน้า โดยก่อนหน้านี้ทารกจะคุ้นเคยกับเสียง และกลิ่นของแม่ตั้งแต่แรกเกิด มักแสดงความต้องการการดูแลจากแม่ผ่านการร้องไห้ หรือการมองหา 

และเมื่อเข้าสู่ช่วง 6-8 เดือน มีโอกาสที่ทารกติดแม่มากขึ้น เช่น ร้องไห้เมื่อต้องแยกจากแม่ ต้องการให้อุ้มตลอดเวลา หรือแสดงอาการหวาดกลัวเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า อาการนี้เป็นพัฒนาการตามธรรมชาติที่เรียกว่า "Separation Anxiety" ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเด็กกำลังสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับแม่อย่างมั่นคงจึงทำให้เกิดเป็นอาการลูกติดแม่ขึ้นอย่างที่หลายคนเรียกกัน

 

ทารกจํากลิ่นแม่ได้ตอนไหน


ทารกสามารถรับรู้ และจดจำกลิ่นของแม่ได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือแม้กระทั่งขณะอยู่ในครรภ์ โดยทารกจะเริ่มพัฒนาการรับกลิ่นตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 28 สัปดาห์ และเมื่อคลอดออกมาแล้ว ระบบการรับกลิ่นของทารกจะทำงานอย่างเต็มที่ ทำให้สามารถแยกแยะ และจดจำกลิ่นของแม่ได้อย่างรวดเร็ว 

ภายในไม่กี่วันแรกหลังคลอดทารกจะสามารถจดจำกลิ่นน้ำนม และกลิ่นตัวของแม่ได้ ซึ่งช่วยให้ทารกรู้สึกปลอดภัย และผูกพันกับแม่มากขึ้น นอกจากนี้กลิ่นของแม่ยังมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นพฤติกรรมการดูดนม และช่วยปลอบโยนทารกให้รู้สึกสงบ ดังนั้นคุณแม่สามารถเสริมสร้างสายใยแห่งความผูกพันได้โดยการสัมผัสทารกบ่อย ๆ อุ้ม กอด และให้นมจากอกเพื่อให้ลูกน้อยคุ้นเคยและจดจำกลิ่นของแม่ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

 

อาการลูกติดแม่


อาการ “ลูกติดแม่” เป็นภาวะปกติที่พบได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงวัยทารกจนถึงวัยเตาะแตะ ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กกำลังสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับผู้ดูแลหลัก อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ร้องไห้งอแงเมื่อต้องแยกจากแม่ ต้องการให้อุ้มตลอดเวลา ไม่ยอมให้คนอื่นดูแล นอนยาก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึกแล้วร้องหาแม่ นอกจากนี้เด็กบางคนอาจมีอาการ เกาะติดแม่ ไม่ยอมเล่นเอง ต้องการให้อยู่ใกล้ตลอดเวลา หรือมีพฤติกรรมแสดงออกทางอารมณ์ เช่น งอแงมากขึ้น หรือหงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นในช่วงที่เด็กกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย และความไว้วางใจในสภาพแวดล้อมรอบตัว 

อย่างไรก็ตาม อาการลูกติดแม่มักจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อเด็กโตขึ้น และเริ่มมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น คุณแม่สามารถช่วยให้ลูกปรับตัวได้โดยการสร้างกิจวัตรประจำวันที่แน่นอน ให้ลูกค่อย ๆ เรียนรู้การอยู่ห่างจากแม่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ และเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกผ่านการพูดคุย ปลอบโยน และแสดงความรักอย่างสม่ำเสมอ 

 

ลูกไม่ติดแม่ทําไงดี


ในทางกลับกันบางครั้งเมื่อลูกไม่ติดแม่อาจทำให้คุณแม่กังวลใจว่าเกิดจากความผิดปกติหรือไม่ โดยเฉพาะในช่วงวัยทารก และวัยเตาะแตะที่เด็กส่วนใหญ่มักมีความผูกพันกับแม่อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามสาเหตุของการที่ลูกไม่ติดแม่อาจมาจากลักษณะนิสัยของเด็กแต่ละคน 

บางคนมีความเป็นอิสระสูง หรือคุ้นเคยกับการดูแลจากบุคคลอื่น เช่น คุณพ่อ ปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยง นอกจากนี้ปัจจัยด้านการเลี้ยงดู เช่น การใช้เวลาร่วมกันน้อย หรือการที่เด็กได้รับความรักความอบอุ่นจากหลายคน อาจทำให้ลูกไม่ได้แสดงอาการติดแม่อย่างชัดเจน

หากคุณแม่ต้องการเสริมสร้างความผูกพันเพื่อให้ลูกติดแม่มากขึ้นควรใช้เวลากับลูกให้มากขึ้น ผ่านการกอด อุ้ม พูดคุย และเล่นกับลูกบ่อย ๆ นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยตนเองในช่วงเวลาสำคัญ เช่น ตอนกินนม กล่อมนอน หรือปลอบโยนเมื่อลูกร้องไห้ จะช่วยให้ลูกค่อย ๆ รู้สึกผูกพัน และไว้วางใจกับแม่มากขึ้น 

 

ลูกติดแม่แบบไหนถือว่ามากเกินไป


ลูกติดแม่มากถือเป็นเรื่องปกติในช่วงวัยทารกและวัยเตาะแตะ เนื่องจากเด็กต้องการความมั่นคงทางอารมณ์ และความรู้สึกปลอดภัยจากแม่ อย่างไรก็ตามหากลูกมีพฤติกรรมติดแม่มากเกินไปจนส่งผลต่อพัฒนาการ และอาจเป็นสัญญาณที่ควรให้ความใส่ใจ เช่น ร้องไห้งอแงหนักทุกครั้งเมื่อต้องแยกจากแม่ ไม่สามารถเล่น หรือทำกิจกรรมด้วยตนเองได้เลย ปฏิเสธการอยู่กับคนอื่นแม้เป็นคนที่คุ้นเคย เช่น คุณพ่อ ปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยง 

นอกจากนี้หากลูกแสดงอาการวิตกกังวลมากผิดปกติ เช่น ร้องไห้หนักจนตัวสั่น นอนหลับยาก หรือสะดุ้งตื่นร้องหาคุณแม่ตลอดคืน อาจเป็นสัญญาณของภาวะ Separation Anxiety รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสังคม และอารมณ์ของเด็กในระยะยาว 

 

ลูกติดแม่มีผลกับพัฒนาการอย่างไร


อาการ ลูกติดแม่ มีทั้งข้อดี และข้อควรระวังต่อพัฒนาการของเด็ก ในด้านบวกนั้นการที่ลูกติดแม่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันทางอารมณ์ที่มั่นคง (Secure Attachment) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ เด็กที่รู้สึกปลอดภัยจากความสัมพันธ์กับแม่มักจะมี ความมั่นใจในตนเอง จัดการกับอารมณ์ได้ดี และสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในอนาคต 

อย่างไรก็ตามหากลูกติดแม่มากเกินไป อาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านสังคม และความสามารถในการปรับตัว เด็กอาจ ขาดความมั่นใจเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น มีความกังวลเมื่อต้องแยกจากแม่ หรือพึ่งพาแม่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาเมื่อต้องเข้าโรงเรียน หรือเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ 

ดังนั้นคุณแม่สามารถช่วยพัฒนาทักษะการปรับตัวของลูกได้โดยการ ฝึกให้ลูกค่อย ๆ เรียนรู้การอยู่ห่างจากแม่เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ส่งเสริมให้ลูกเล่น และทำกิจกรรมด้วยตนเอง และให้กำลังใจเมื่อลูกต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความผูกพันที่อบอุ่น และความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 

 

นมแม่ที่มี MFGM เพื่อ IQ และทักษะสมองเพื่อความสำเร็จ EF ที่เหนือกว่า


สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีความเป็นห่วงในเรื่องของพัฒนาการของลูกน้อย นอกจากจะทำการฝึกฝนให้ลูกสามารถใช้เวลาสั้น ๆ อยู่กับตัวเองโดยที่ไม่มีคุณแม่ได้แล้ว การให้ความเอาใจใส่ ให้ความรักที่มั่นคงกับลูก ให้ลูกได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ และได้รับโภชนาการที่ครบถ้วนโดยเฉพาะจากนมแม่ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ

เพราะในนมแม่มี MFGM หนึ่งเดียวที่มีงานวิจัยรองรับว่า* ช่วยให้มี IQ และ EF ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก ให้ลูกพร้อมกว่าเมื่อถึงวัยเข้าเรียน โดย MFGM ในนมแม่ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท (Myelin Sheath) และเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ทำให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้และจดจำได้ดียิ่งขึ้น

*สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. นมแม่กับการพัฒนาทักษะสมองส่วน Executive Function. 2561 

 

ไขข้อข้องใจเรื่อง ลูกติดแม่ กับ Enfa Smart Club


ลูกติดแม่มาก ไปโรงเรียนจะมีปัญหาหรือไม่

ลูกติดแม่มาก อาจส่งผลต่อการปรับตัวเมื่อต้องเข้าโรงเรียน โดยเฉพาะในช่วงแรกเด็กอาจมีอาการร้องไห้ ไม่ยอมแยกจากแม่ หรือวิตกกังวลเมื่อต้องอยู่กับคุณครู และเพื่อน ๆ อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า เช่น ฝึกให้ลูกค่อย ๆ ห่างจากแม่ทีละน้อย สร้างความคุ้นเคยกับโรงเรียน และส่งเสริมให้ลูกมีความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

 

ลูก 3 เดือน ติดแม่มากทำไงดี

เมื่อลูกอายุ 3 เดือน เริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์ และความผูกพันกับแม่มากขึ้น ทำให้บางครั้งอาจแสดงอาการติดแม่มาก ต้องการให้อุ้มตลอด หรือร้องไห้เมื่อไม่ได้อยู่ใกล้แม่ วิธีรับมือคือ ค่อย ๆ ฝึกให้ลูกปรับตัว โดยให้คนในครอบครัวช่วยดูแลเป็นช่วงสั้น ๆ เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าการอยู่กับคนอื่นก็ปลอดภัย 

นอกจากนี้การให้ลูกเล่นของเล่นที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ หรือเปิดเพลงเสียงนุ่ม ๆ อาจช่วยให้ลูกสงบลง และลดความกังวลเมื่อต้องห่างจากแม่ชั่วคราว

 

ลูก 1 ขวบ ติดอุ้มทำไงดี

หากลูกติดอุ้ม วางแล้วร้อง นั่นเป็นเพราะเด็กวัยนี้เริ่มมีพัฒนาการด้านอารมณ์ ต้องการความใกล้ชิดกับพ่อแม่เพื่อความมั่นใจ วิธีแก้ไขคือ ค่อย ๆ ฝึกให้ลูกอยู่คนเดียวช่วงสั้น ๆ โดยใช้ของเล่นที่ลูกชอบ หรือเบี่ยงเบนความสนใจด้วยกิจกรรมที่สนุกสนาน นอกจากนี้ควรฝึกให้ลูกคลาน หรือเดินเองบ่อย ๆ จะช่วยให้ลูกมั่นใจในการเคลื่อนไหว และลดความต้องการให้อุ้มลงนั่นเอง  

 

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama