นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

พัฒนาการด้านสติปัญญา ปฐมวัย คืออะไร เสริมสร้างยังไงบ้าง

Enfa สรุปให้

  • พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ในวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 5 ปี เป็นวัยที่สมองของลูกน้อยมีพัฒนาการมากที่สุดในชีวิต การส่งเสริมทักษะด้านสติปัญญาให้กับลูกในช่วงวัยนี้จึงมีความสำคัญมาก
  • พัฒนาการทางด้านสติปัญญา ของลูกจะพัฒนาได้ต้องอาศัยปัจจัยทั้งด้านครอบครัว ด้านสิ่งแวดล้อมทางสัคม และโภชนาการที่เหมาะสม
  • กิจกรรมพัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย ที่เหมาะกับเด็ก ๆ ในวัยมีหลายอย่าง เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การเล่นบล็อกตัวต่อ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ง่าย ๆ ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ในช่วงวัยปฐมวัย โดยเฉพาะในช่วงก่อนวัยเรียน ลูกน้อยจะเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มักอยากรู้อยากลอง มีความสนใจและทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ และเรียนรู้ทักษะหลากหลายที่จำเป็นสำหรับการเติบโตอยู่ตลอดเวลา 

คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของลูกอย่างเต็มที่ เพื่อให้เขาได้มีพัฒนาที่ก้าวกระโดดอย่างสมบูรณ์สมวัย

 

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา คืออะไร


พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นความสามารถของลูกน้อยในการคิด การใช้เหตุผล และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว เป็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา การจดจำ ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

โดยลูกน้อยจะได้ซึมซึมจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตามอายุและระดับสติปัญญาของเด็กแต่ละคน โดยลูกจะจำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่

  • การมองเห็น (Sight) เกิดขึ้นเมื่อแสงกระทบกับวัตถุและรูปทรงแล้วส่งกลับมาที่ดวงตา ทำให้ลูกน้อยมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • การลิ้มรส (Taste) ช่วยให้ลูกน้อยสามารถระบุรสชาติอาหารได้ อวัยวะสำคัญของประสาทสัมผัสนี้คือลิ้นที่มีเซลล์รับรสในการรับรู้รสชาติอาหาร
  • การได้กลิ่น (Smell) ลูกน้อยได้กลิ่นต่าง ๆ จากเซลล์ประสาทรับกลิ่นที่อยู่ภายในช่องจมูก
  • การได้ยิน (Hearing) เป็นการรับรู้เสียงโดยการใช้หู ซึ่งช่วยให้ลูกน้อยได้ยินเสียงรอบตัว
  • การสัมผัส (Touch) เกิดขึ้นเมื่อความรู้สึกจากการสัมผัสส่งไปยังสมองผ่านเซลล์ประสาทเฉพาะทางหรือเซลล์ประสาทในผิวหนัง เกิดเป็นความรู้สึกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ การแตะสัมผัส การสั่นสะเทือน ความเจ็บปวด เป็นต้น

ประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือที่ลูกใช้สัมผัสกับโลกรอบตัว โดยประสาทสัมผัส 3 อย่างของลูกน้อยที่ไม่สามารถปิดกั้นได้ ได้แก่ การได้ยิน การได้กลิ่น และการสัมผัส

 

พัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย มีอะไรบ้าง


ทักษะด้านพัฒนาการด้านสติปัญญา 3-6 ปี จะสามารถพัฒนาไปได้ไกลแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมของลูก สภาพแวดล้อมทางครอบครัว และโภชนาการอาหารการกินของลูก โดยทักษะต่าง ๆ ที่เด็กก่อนวัยเรียนเรียนรู้ได้ในวัยช่วงนี้ มีดังนี้

  • ถามคำถามว่า “ทำไม” เพื่อหาสาเหตุและถามคำถามอื่น ๆ เพื่อไขข้อสงสัยของตัวเอง
  • ทำตามคำสังที่ซับซ้อนได้ โดยเด็กในวัยนี้สามารถทำตามคำสั่งหลายขั้นตอนได้มากถึง 3-4 ขั้นตอน เช่น “ขึ้นไปชั้นสอง เปิดประตู หยิบถุงเท้า แล้วเอามาให้แม่”
  • พัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem-solving) ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมสนุก ๆ เช่น เล่นเกมหาคำศัพท์หรือตัวเลข การต่อบล็อก
  • เด็กน้อยในวัยนี้มักเลียนแบบพฤติกรรมของคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง คุณครู รวมไปถึงเพื่อน ๆ ที่ชั้นอนุบาล เช่น เมื่อเห็นว่าเพื่อนแลบลิ้น ลูกน้อยก็อาจจะแลบลิ้นตามได้
  • เริ่มแยกแยะความแตกต่างระหว่างสิ่งของกับคนได้ และเรียนรู้เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น ลูกเข็นกล่องใส่ของเล่นไปวางที่เดิมที่เคยวางมาก่อน
  • เข้าใจคอนเซปต์ของตัวเลข เกี่ยวกับจำนวนที่มากกว่าและน้อยกว่าของตัวเลข นอกจากนี้ยังเริ่มมีความเข้าใจในเรื่องปริมาณ รับรู้ความสัมพันธ์ และลำดับของตัวเลข
  • มีความสามารถในการจัดหมวดหมู่ จัดเรียง จัดกลุ่ม และเชื่อมโยงวัตถุต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น ใส่ลูกบอลยางสีเดียวกันลงไปในกล่องเดียวกัน
  • ขณะเล่นบทบาทสมมติ ลูกน้อยจะมีการเล่นเชิงสัญลักษณ์ เช่น การทำมือเป็นท่าโทรศัพท์แล้วเล่นสมมติว่ากำลังคุยโทรศัพท์อยู่
     

กิจกรรมพัฒนาการด้านสติปัญญาปฐมวัย


การให้ลูกได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวเอง จะช่วยให้ลูกมีประสบการณ์ มีโอกาสได้ทำผิดพลาดบ้าง และได้เรียนรู้ช่องทางที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง โดยสื่อพัฒนาการด้านสังคมปฐมวัย ที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ที่คุณแม่สามารถเลือกนำไปใช้ได้ มีดังนี้

  • การเล่นบล็อกตัวต่อ ควรเลือกบล็อกสีสันสดใส ชนิดใหญ่ เพื่อให้สะดวกในการหยิบชิ้น การเล่นบล็อกจะช่วยให้ลูกฝึกฝนการเรียงลำดับ การใช้เหตผุลเชิงตรรกะ และการระดมความคิดหลาย ๆ ความคิดเพื่อแก้ปัญหาตรงหน้า
  • การเล่นซ่อนหา เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ ให้คุณแม่และลูกผลัดกันเป็นผู้ซ่อนและผู้หา โดยควรจำกัดบริเวณการซ่อนให้อยู่ในบริเวณบ้านเท่านั้น การเล่นซ่อนหาช่วยให้ลูกน้อยฝึกทักษะการแก้ไขปัญหาและฝึกความจำ
  • การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองสีในนม ไข่ลอยน้ำ แก้วสีรุ้ง ที่สามารถใช้อุปกรณ์และสิ่งของในบ้านมาเล่นกับลูกได้ จะช่วยเสริมทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการสำรวจ
  • การจัดกลุ่มสิ่งของ ลูกน้อยมักจะสนุกกับการจำแนกจับกลุ่มให้สิ่งของตามประเภทต่าง ๆ เช่น สี ชนิด ขนาด รูปร่าง นอกจากจะให้ความเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นกิจกรรมที่ให้ลูกได้ฝึกแยกความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของต่าง ๆ และฝึกทักษะการประสานมือและตาอีกด้วย
  • เล่นบทบาทสมมติ หากคิดกิจกรรมไม่ออก คุณแม่อาจชวนลูกน้อยมาเลือกบทบาทที่อยากเป็นแล้วลองมาแต่งตัวเล่นบทบาทสมมติด้วยกันได้บ่อย ๆ กิจกรรมนี้ช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้ลูกน้อยได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยสร้างทักษะการใช้เหตุผลและใช้ภาษาขณะที่เล่นกับเพื่อน ๆ หรือสมาชิกในครอบครัว

 

การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา คุณพ่อคุณแม่ก็ช่วยได้จากที่บ้าน


การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกน้อยเติบโต คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยได้พัฒนาด้านสติปัญญาจากที่บ้านได้เช่นกัน

  • อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟังบ่อย ๆ แม้ว่าลูกน้อยจะอ่านได้ไม่คล่อง เด็ก ๆ มักจะตื่นเต้นที่จะได้ฟังนิทานกล่อมนอนจากคุณพ่อคุณแม่ นอกจากจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการในด้านสติปัญญาแล้วและภาษาแล้ว การทำกิจกรรมเบา ๆ ร่วมกันหลังจากวันที่ยาวนานก็ช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัยและผูกพันกับคุณแม่มากขึ้นอีกด้วย
  • ร้องเพลงและที่เสริมทักษะการเรียนรู้ ชวนลูกร้องเพลงเกี่ยวกับความรู้ต่าง ๆ เช่น เพลง ABC ซึ่งจะช่วยให้จดจำตัวอักษรได้เร็วขึ้น หรือเพลงที่มีท่าประกอบท่าทาง ที่จะช่วยให้ลูกน้อยได้ตั้งสมาธิกับการขยับร่างกาย และบังคับการเคลื่อนไหวในหลาย ๆ ส่วน เช่น ข้อมือ สะโพก ขณะที่เต้นตามจังหวะดนตรี
  • ฝึกการนับเลขด้วยกัน หาโอกาสให้ลูกน้อยได้ฝึกนับตัวเลขบ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส โดยอาจให้ลูกนับจำนวนสิ่งของในบ้าน
  • ฝึกการระบุสีและรูปร่างของสิ่งต่าง ๆ เล่นเกมหาสีต่าง ๆ กับลูกโดยใช้สิ่งของในบ้านเป็นเป้าหมาย
  • การเดินเล่นนอกบ้าน การพาลูกน้อยไปเดินเล่นรับอากาศในช่วงที่อากาศดี ๆ จะกระตุ้นประสาทสัมผัสและพัฒนาทักษะการสังเกต
  • กระตุ้นการใช้สมองด้วยคำถาม ชวนลูกพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เจอในชีวิตประจำวัน ถามคำถามจากเรื่องที่ลูกเล่า เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษา

 

เลือกโภชนาการที่มี MFGM ช่วยให้ลูกน้อยมี IQ/EQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก


ลูกน้อยในวัยตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 5 ปี เป็นวัยที่พัฒนาการของสมองมีการพัฒนามากกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ของชีวิต การดูแลเอาใจใส่ลูกน้อย เพื่อส่งเสริมให้เส้นประสาทเชื่อมต่อและพัฒนาอย่างสมบูรณ์สมวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะช่วงวัยนี้เป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาเรื่องการคิดคำนวณ การใช้ภาษา การเตรียมพร้อมทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน ตลอดจนการสร้างคลังคำศัพท์ในหัวลูก

MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 แรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้


* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama