นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

ลูกพัฒนาการช้าควรทำอย่างไร คำแนะนำที่คุณแม่ต้องรู้

Enfa สรุปให้

  • ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพียงแต่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก และเข้าปรึกษาคุณหมอถึงปัญหาพัฒนาการล่าช้าเพื่อวินิจฉัย และหาวิธีกระตุ้นพัฒนาการตามวัยของลูกน้อยต่อไป
  • ลูกพัฒนาการช้าเกิดจากอะไร พัฒนาการช้าเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัจจัยด้านชีวภาพ อย่างพันธุกรรมที่มาจากพ่อแม่ รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตั้งแต่การติดเชื้อ เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด หรือการได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
  • ลูก 3 ขวบพัฒนาการช้า  สามารถช่วยกระตุ้น ลูกพัฒนาการช้า 3 ขวบ ได้ คือ ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองจากการชวนเล่น กระตุ้นการใช้ภาษาจากการพูดคุย หรือเล่านิทาน รวมทั้งร่วมเรียนรู้ผ่านการเล่นไปกับพ่อแม่ได้อีกด้วย 
     

เลือกอ่านตามหัวข้อ

ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร เป็นหนึ่งในคำถามยอดนิยมของคุณพ่อคุณแม่ เมื่อพัฒนาการลูกน้อยไม่เป็นไปตามช่วงวัย จนนำไปสู่ความกังวลต่างๆ ตามมา จริงๆ แล้ว ความเร็วในการพัฒนาของเด็กแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป

แต่หากลูกมีอาการพัฒนาการล่าช้าจริงๆ ก็สามารถสังเกตได้จากสัญญาณที่ปรากฏ และในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ถึงสาเหตุ วิธีสังเกต และวิธีการกระตุ้นพัฒนาการของลูกให้เป็นไปตามวัยกันค่ะ

 

Delayed Development คืออะไร

พัฒนาการล่าช้า หรือที่เรียกว่า Delayed Development คือ การที่เด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะในด้านต่างๆ ได้ตามช่วงอายุที่ควรจะเป็น เช่น เด็กอายุ 1 ขวบควรเริ่มมีการคลานหรือยืนได้ แต่ถ้าลูกยังไม่สามารถทำได้ตามปกติ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการพัฒนาการล่าช้า 

นอกจากนี้ยังรวมถึงการพัฒนาทางด้านภาษา การเคลื่อนไหว และสังคมด้วย แต่ถึงอย่างนั้น พัฒนาการลูกช้ากว่าเกณฑ์ปกติของเด็กวัยเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแค่ต้องใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด

 

เข้าใจพัฒนาการเด็ก 5 ด้าน

พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (Maturity) ของอวัยวะ และระบบต่างๆ ทำให้เพิ่มความสามารของร่างกายให้ทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้ง ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนการเพิ่มทักษะใหม่ และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของเด็กๆ

คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Developmental Surveillance and Promotion Manual) หรือ คู่มือ dspm แบ่งกลุ่มพัฒนาการตามเกณฑ์ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย หรือในช่วงอายุแรกเกิด - 5 ปี ออกเป็น 5 ด้านประกอบด้วย  

1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว (Gross motor : GM) คือ การทำงานกล้ามเนื้อ แขน ขา เท้า ลำตัว การทรงตัว การเคลื่อนไหว ยืน เดิน ท่าทาง สร้างสมดุลร่างกาย ช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา (Fine Motor : FM) คือ การทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทำงานประสานร่วมกับการมองเห็น (Eye hand Coordination) กล้ามเนื้อที่ใช้ในการพูด และการกลืน
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจภาษา (Receptive Language : RL) คือ ความสามารถในความเข้าใจและสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษากาย สัมพันธ์พัฒนาการด้านสติปัญญาและสังคม
4. พัฒนาการด้านการใช้ภาษา (Expressive Language : EL) คือ ความสามารถในความเข้าใจและสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษากาย สัมพันธ์พัฒนาการด้านสติปัญญาและสังคม
5. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม (Personal and Social : PS) คือ ความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักควบคุมอารมณ์ และการกระทำของตัวเองเพื่อปรับตัวใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ทักษะการควบคุมตัวเอง

พัฒนาการเด็ก 5 ด้าน คือ พัฒนาการที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก เพราะหากเด็กมีพัฒนาการที่สมวัยครบทั้ง 5 ด้าน จะช่วยให้เขาสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

 

Global Developmental Delay คือ

Global Developmental Delay หรือ GDD เป็นภาวะที่เด็กมีความล่าช้าในพัฒนาการมากกว่าหนึ่งด้าน โดยมักจะพบว่า เด็กมีความยากลำบากในการเรียนรู้และการปรับตัว สำหรับเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงพัฒนาการล่าช้ามากกว่า 1 ด้านนั้น ประกอบด้วย

  • ภาวะขาดออกซิเจนขณะคลอด (Bith Asphyxia)
  • ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม (Low Brth Brth Weight)
  • สิ่งแวดล้อมไม่เอื้อต่อการส่งเสริมพัฒนาการ
  • ภาวะโกชนาการ: ภาวะซีด , เลี้ยงไม่โต
  • ประวัติครอบครัวพัฒนาการช้า สติปัญญาบกพร่อง การเรียนรู้บกพร่อง

ผู้ปกครองอาจเริ่มมีความกังวลใจ การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการบำบัดอย่างทันท่วงทีนั้นสามารถช่วยกระตุ้นให้บุตรมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้

พัฒนาการช้ากับออทิสติกต่างกันยังไง

การพัฒนาการช้ากับออทิสติกนั้นต่างกันในแง่ของลักษณะอาการ แม้ว่าทั้งสองภาวะอาจมีสัญญาณคล้ายกันก็ตาม
พัฒนาการล่าช้า คือ การที่เด็กทำกิจกรรมบางอย่างได้ช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละช่วงวัย โดยปกติแล้วเด็กบางคนอาจเริ่มทักษะบางอย่างเร็วหรือช้ากว่าเด็กในช่วงวัยเดียวกันเล็กน้อย การกระตุ้นหรือแก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการตามเด็กในช่วงวัยเดียวกันได้ทัน

ออทิสติก (Autism spectrum disorder: ASD) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้ตั้งแต่วัยเด็กและไม่หายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป เด็กที่มีภาวะออทิสติกจะมีปัญหาในการเข้าสังคม มีปฏิสัมพันธ์หรือสื่อสารกับผู้อื่น และมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้าร่วมด้วย

 

ลูกพัฒนาการช้าเกิดจากอะไร

ปัจจัยที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าเกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัจจัยด้านชีวภาพ อย่างพันธุกรรมที่มาจากพ่อแม่ รวมถึงปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตั้งแต่การติดเชื้อ เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอด หรือการได้รับการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการล่าข้าในเด็กมีรายละเอียด ดังนี้

โรคทางพันธุกรรม
สำหรับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าตั้งแต่เด็ก หรือหลังจากเกิดได้ไม่นาน มักมีความผิดปกติทางร่างกายตั้งแต่กำเนิดร่วมด้วย หรือพันธุกรรมมีความผิดปกติ เช่น
ㆍ กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome)
ㆍ กลุ่มอาการโครโมโซมเอ็กซ์เปราะบาง (Fragile X Syndrome)
ㆍ กลุ่มอาการพราเดอร์ - วิลลี (Prader-Willi Syndrome)
ㆍ กลุ่มอาการที่มีหัวใจผิดปกติ เพดานโหว่ และพัฒนาการล่าช้า โดยเฉพาะทางด้านภาษา (Velocardiofacial Syndrome)

โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
ปัญหาพัฒนาการช้าในเด็กสามารถเกิดจากปัจจัยทางด้านระบบประสาท ไม่ว่าจะเป็นอาการชัก หรือ มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ ดังนั้น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น สมองพิการ ลมซักในเด็ก ภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง และกาวะกล้ามเนื้อกระตุก อาจเป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อพัฒนาการล่าช้าได้

การติดเชื้อ
การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ก็เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลถึงพัฒนาการลูกได้ เพราะทำให้เด็กมีนํ้าหนักแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ ตับม้านโต อีกทั้งยังอาจจะมีปัญหาเรื่องต้อกระจกร่วมด้วย

ความผิดปกติเกี่ยวกับ Metabolism
Metaboism เป็นกระบวนการทางเคมี ที่ช่วยรักษาสมดุลต่างๆ ภายในร่างกาย หาก Metabolism มีความผิดปกติ ก็จะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกด้วย

ภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
ไม่ว่าจะเป็นการคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อโนโพรงมดลูก การคลอดใช้เวลานานกว่าปกติ หรือเกิดการตกเลือดหลังจากคลอด ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อเด็กทารก ทำให้เด็กมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ได้

การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม
หากเด็กๆ เกิดมาในสภาพแวดล้อม และการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาพัฒนาการล่าช้าได้

 

สัญญาณที่บอกว่าลูกพัฒนาการช้า

สัญญาณที่บอกว่าลูกพัฒนาการช้า มีข้อสังเกตหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นนิสัยส่วนบุคคลและการเข้าสังคม, การพูดการสื่อสาร และการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ และการปรับตัว ล้วนมีความเชื่อมโยงกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของเด็ก หากเกิดความผิดปกติของอวัยวะส่วนต่างๆ ผู้ปกครองควรใส่ใจ เพราะสัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่าเด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าปกติ และควรพบคุณหมอเพื่อหาข้อวินิจฉัย

โดยอาการเด็กพัฒนาการช้าที่ควรสังเกต คือ พูดช้ากว่าวัย การเคลื่อนไหวล่าช้า ไม่สบตาหรือโต้ตอบ มีปัญหาในการกิน หรือ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว เป็นต้น

 

ลูกพัฒนาการช้าควรทำอย่างไร

ปัญหาลูกพัฒนาการช้าหากไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ จะส่งผลต่อการเรียนรู้ตามมา คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตพัฒนาการของลูกๆ หากพบว่า ลูกพัฒนาการช้ามาก ควรพาไปปรึกษาคุณหมอเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น

ร่วมกับการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยและหาสาเหตุ และแนะนำให้พบกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ เช่น นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลกระตุ้น และส่งเสริมพัฒนาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา

 

กระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการช้าตามวัยของลูกน้อย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกมีพัฒนาการช้า ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพียงแต่ต้องหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก และเข้าปรึกษาคุณหมอถึงปัญหาพัฒนาการล่าช้าเพื่อวินิจฉัย และหาวิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็กพัฒนาการช้าตามวัยของลูกน้อยต่อไป

ลูก 1 ขวบพัฒนาการช้า
โดยทั่วไป เด็ก 1 ขวบจะมีพัฒนาการที่หลากหลาย และยังคงเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ ชอบรื้อค้น จับสิ่งต่างๆ เพื่อความเข้าใจ เริ่มเข้าใจคำศัพท์ง่ายๆ ที่ได้ยินบ่อยๆ 
แต่หาก ลูก 1 ขวบพัฒนาการช้า หรือ ทารกพัฒนาการช้า คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้โดยใช้กิจกรรมต่างๆ เข้ามาสนับสนุน เช่น กระตุ้นการเคลื่อนไหวด้วยการเล่น พูดคุยและร้องเพลงให้ฟังบ่อยๆ กระตุ้นการสังเกตและการตอบสนอง เป็นต้น

ลูก 2 ขวบพัฒนาการช้า
เด็ก 2 ขวบจะเป็นวัยที่พร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมายจนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนปวดหัวว่า ทำไมลูกฉันถึงได้ซนเหลือเกิน นอกจากเดิน หรือวิ่ง โดยที่ไม่ต้องมีคนคอยช่วยแล้ว เด็กวัยนี้ยังสามารถพูดคำสั้นๆ 2-3 คำได้

สำหรับลูกพัฒนาการช้า 2 ขวบ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วย ฝึกทักษะการสื่อสาร ผ่านการเล่นเกมที่กระตุ้นสมอง หรือสร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ได้ ก็จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

ลูก 3 ขวบพัฒนาการช้า
ลูก 3 ขวบจะเริ่มท่องจำตัวอักษร หรือตัวเลขได้ รวมทั้งสามารถแยกแยะสีได้มากกว่า 3 สี แถมยังมีจินตนาการในการเล่นเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้เรามักเห็นลูกๆ กระโดดโลดเต้น หรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้คล่องแคล่วขึ้น

แต่ในกรณีที่ ลูก 3 ขวบพัฒนาการช้า สามารถช่วยกระตุ้น ลูกพัฒนาการช้า 3 ขวบ ได้ คือ ฝึกทักษะการช่วยเหลือตนเองจากการชวนเล่น กระตุ้นการใช้ภาษาจากการพูดคุย หรือเล่านิทาน รวมทั้งร่วมเรียนรู้ผ่านการเล่นไปกับพ่อแม่ได้อีกด้วย

ลูก 4 ขวบพัฒนาการช้า
เด็กวัยนี้ จินตนาการเก่ง และชอบแสดงออกผ่านการเล่นสมมติ ยิ่งมีเพื่อนเล่นสนุกๆ หลายๆ คน ก็ยิ่งดูคึกคัก นอกจากนั้น การเล่นเป็นกลุ่มยังเป็นการแบ่งปันคำศัพท์ให้แก่กัน ทำให้เด็ก 4 ขวบจะยิ่งมีคำศัพท์ และการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นด้วย

แต่ถ้าลูก 4 ขวบพัฒนาการช้า ก็สามารถช่วยกระตุ้นเพื่อลูกพัฒนาการช้า 4 ขวบได้ เช่น การชวนฝึกทักษะการคิดและการแก้ปัญหา และการส่งเสริมความมั่นใจจากกิจกรรมที่พ่อแม่เล่นร่วมกับลูกๆ

ลูกพัฒนาการช้า 5 ขวบขึ้นไป
เด็ก 5 ขวบจะเริ่มเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัด เริ่มเข้าใจกฎ กติกามากขึ้น และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังในการเล่น เนื่องจากกล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น อีกทั้งยังชอบพูดคุยมากขึ้น แต่ก็มีในกรณีลูกพัฒนาการช้า 5 ขวบขึ้นไป หรือ ลูก 7 ขวบพัฒนาการช้า จนทำให้ทักษะเหล่านี้อาจจะแสดงออกมาได้ไม่เต็มที่ การส่งเสริมจุดแข็งของลูก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการได้เหมือนกัน 

คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกน้อยพัฒนาการล่าช้า

พ่อแม่เป็นเหมือนจักรวาลของลูกคำนี้ยังคงใช้ได้เสมอ นอกจากการสังเกตพฤติกรรมเพื่อประเมินพัฒนาการของลูก และนำไปสู่การรักษา หรือกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกวิธี สิ่งสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการรับมือกับการแก้ไขพัฒนาการลูกนั้นก็คือ ทัศนคติ อย่าตัดสินหรือรู้สึกผิด ที่ลูกกลายเป็นแบบนี้  ขณะเดียวกันก็ควรให้ความรักและกำลังใจในการพัฒนาแต่ละก้าวของลูก ต้องไม่ลืมติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ควรเรียนรู้และปรับตัวไปพร้อมกับลูก

 

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก

ในช่วง 1,000 วันแรกของลูก เป็นช่วงเวลาสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา โดย 80% ของสมอง จะเติบโตสูงสุดในช่วง 2 ขวบปีแรก และ 90% จะเติบโตสูงสุดในช่วง 5 ปีแรก ด้วยเหตุนี้ โภชนาการในช่วง 1,000 วันแรกของลูกน้อย จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

โภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกน้อย โดยคุณแม่สามารถเสริมสร้างโภชนาการที่ดีได้ด้วยการให้ลูกน้อยได้รับนมแม่ตั้งแต่ 6 เดือนแรก และให้นมแม่อย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับอาหารตามวัยจนอายุ 2 ปี

เพราะในนมแม่มีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ที่ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกลงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ปีแรก



บทความแนะนำสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama