Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
วัยปฐมวัย (Early childhood) หรือวัยที่เด็กมีอายุตั้งแต่ 0-6 ขวบ เป็นช่วงอายุที่สมองและร่างกายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายสร้างเซลล์ประสาทใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ปฐมวัย ให้ถูกทางจะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตไปเป็นคนที่มีสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งเอนฟารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ไว้ในบทความนี้ให้แล้วค่ะ
ก่อนอื่นเราจะพูดถึงเรื่องพัฒนาการกันก่อน พัฒนาการคือการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน สำหรับพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็ก ก็คือ กระบวนการที่เด็กเรียนรู้ที่จะรับรู้ แสดงออก เข้าใจ และควบคุมอารมณ์ของตัวเอง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการที่เด็กเรียนรู้และตระหนักถึงที่มาของอารมณ์ตัวเอง และวิธีตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้อื่น
และด้วยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยที่สามารถเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และสร้างตัวตนของตัวเองที่จะติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่นี่เอง การส่งเสริมพัฒนาการของเขาในด้านอารมณ์และจิตใจตั้งแต่วัยนี้จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กก่อนวัยเรียน (Preschool Age) ช่วงอายุ 3-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เข้าสู่สังคมและรู้จักอารมณ์ของตัวเองมากขึ้นแล้ว เด็กในวัยนี้ยังอาจต้องเจอกับอารมณ์ที่ซับซ้อนหลากหลาย เช่น ความเห็นใจผู้อื่น ความรู้สึกผิด นอกจากนี้ยังอาจต้องรับมือกับปัญหาในการควบคุมอารมณ์
พัฒนาการด้านอารมณ์ และจิตใจ มีทั้งหมด 3 ระยะ แบ่งได้ดังนี้
• วัยทารก (Infancy) อายุประมาณ 0-12 เดือน เป็นวัยที่แสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองผ่านภาษากาย ช่วงนี้เด็กจะตอบสนองด้วยการยิ้มให้กับคนคุ้นเคยได้แล้ว และมักจะร้องไห้เมื่อหิว ผ้าอ้อมเต็ม หรืออยากโดนอุ้ม
• เด็กวัยเตาะแตะ (Toddler) อายุประมาณ 1-3 ปีเป็นวัยที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น อาจมีอารมณ์หงุดหงิดเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งทำให้เกิดอาการอาละวาดได้ ร้องไห้ โวยวายได้ ทั้งนี้ พวกเขาจะชอบใจและมีความสุขได้ง่าย ๆ เมื่อค้นพบสิ่งใหม่และพัฒนาทักษะใหม่
• ก่อนวัยเรียน (Preschool) อายุประมาณ 3-5 ปี เด็กในวัยนี้มีความรู้สึกนึกคิด และความต้องการที่จะแสดงความเห็นของตัวเอง รู้จักเล่นกับเพื่อน มีความคิดสร้างสรรค์ เข้าใจกฏเกณฑ์และสามารถปฏิบัติตามได้
พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ปฐมวัย ของเด็กในวัยนี้ มีดังนี้
เด็กปฐมวัยนั้นจะเป็นวัยที่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง มีความคิดเป็นของตัวเอง และมักแสดงความเห็นโดยไม่ผ่านการไตร่ตรองแบบผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัว นอกจากนี้ยังมีความสนใจเพียงแค่ระยะสั้น ๆ เรียกได้ว่าเป็นวัยที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างใกล้ชิดเพื่อวางรากฐานคุณภาพชีวิตและจิตใจในระยะยาว
คุณพ่อคุณแม่ลองหาของเล่นและเกมที่เหมาะสมกับวัย สนับสนุนการพาลูกออกไปเล่นกับเพื่อนที่สนามเด็กเล่นใกล้บ้าน และส่งเสริมการเล่นที่ใช้จินตนาการอย่างการเล่นสวมบทบาทสมมติ ก็จะช่วยพัฒนาทักษะทางอารมณ์ของลูกได้ดี
กิจกรรมสนุก ๆ อย่างการเล่นของเด็กเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยในการเติบโตทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี ทั้งการเล่นคนเดียวหรือเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน กิจกรรมเหล่านี้มีส่วนช่วยให้เด็กได้มีโอกาสที่จะรู้สึกถึงอารมณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ตื่นเต้น ดีใจ ตกใจ ประหลาดใจ ทั้งยังเป็นโอกาสที่เด็กจะได้พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาอีกด้วย
สำหรับคุณแม่ที่ต้องการเข้าใจเรื่องการพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ของลูกน้อยถือว่ามาถูกทางแล้วค่ะ เพราะการมีจิตใจที่เข้มแข็ง จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในสังคมได้ โดยอาจทำได้ตามนี้ค่ะ
เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่อบอุ่นและมีความมั่นคงทางอารมณ์ มักจะมีความมั่นใจในการแสดงความรู้สึกของตัวเอง เพราะไม่ต้องกังวลว่าจะถูกคนที่บ้านตัดสิน ดุว่า หรือทำโทษ การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมั่นคงจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขัดเกลาสภาวะทางอารมณ์ให้กับเด็กในระยะยาว
คุณแม่สามารถสนับสนุนให้ลูกแสดงอารมณ์ได้อย่างอิสระ อาจทำได้ด้วยการพูดถึงอารมณ์ความรู้สึกของลูกในตอนนั้น เพื่อให้ลูกรู้ว่าความรู้สึกของเขาสมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับ เช่น ถ้าลูกอารมณ์เสียเพราะเล่นเกมแพ้ คุณแม่อาจพูดว่า “แม่เข้าใจว่าหนูรู้สึกไม่ดีเพราะไม่ชนะรอบนี้ บางครั้งการรู้สึกแบบนี้บ้างก็ไม่เป็นไร เรามาเล่นกันใหม่อีกครั้งนะ”
เด็กปฐมวัยมักจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัว เรียกได้ว่าผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดเด็กเป็นแบบอย่างแรก (First role model) ของเด็กคนหนึ่ง คุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติเป็นตัวอย่างเพื่อสอนลูกให้มีการควบคุมและการแสดงออกทางอารมณ์ที่ดี โดยการตระหนักถึงอารมณ์ของตนเองและแสดงออกในเชิงบวก
นอกจากนี้ยังสามารถสอนให้ลูกรู้จักการควบคุมอารมณ์ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับอารมณ์ต่าง ๆ และสอนวิธีที่จะควบคุมตัวเองเมื่อมีอารมณ์ในด้านลบ และพูดชื่นชมเมื่อเด็กสามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
Enfa สรุปให้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย สา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกชอบทําเสียงในลําคอ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง...
อ่านต่อ