Enfa สรุปให้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ 5 ด้านของลูกน้อยจะช่วยให้คุณแม่เข้าใจและสนับสนุนการเจริญเติบโตของเขาได้ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และพัฒนาทักษะของลูกน้อยอย่างรอบด้าน การเข้าใจในเรื่องพัฒนาการในแต่ละช่วงวัยยังสามารถช่วยให้คุณแม่วางแผนการดูแลเลี้ยงดูให้เหมาะสมกับลูกได้มากที่สุด
ในช่วง 5 ปีแรกเป็นช่วงวัยที่มนุษย์มีการพัฒนาการในทุกด้านอย่างรวดเร็ว การสนับสนุนการทักษะของลูกน้อยในช่วงนี้จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างมีความสุขและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต พัฒนาการ 5 ด้าน ของลูกน้อย สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
พัฒนาการด้านร่างกาย คือการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย เช่น ความสูง น้ำหนักตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงความสามารถในการเดิน คลาน หรือ หยิบจับอาหารเข้าปากของลูกน้อย
พัฒนาการด้านร่างกาย เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ลูกใช้ในการเรียนรู้และรับประสบการณ์ต่าง ๆ จากสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว
โดยทักษะที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวของลูกน้อย มี 2 ประเภทได้แก่
1. ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor Skills) คือ การเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา ลำตัว เป็นการขยับร่างกายทั้งตัวเพื่อให้ลูกน้อยสามารถกระโดด ทรงตัว และปีนป่ายได้
2. ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Skills) เป็นการเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็กตั้งแต่บริเวณข้อมือ มือ นิ้วมือ เท้า และนิ้วเท้า ซึ่งจะช่วยให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน การเล่นของเล่น การหยิบแก้วน้ำ
พัฒนาการด้านสติปัญญาเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับวิธีที่เด็ก ๆ คิด สำรวจ และไขข้อสงสัยต่าง ๆ รวมไปถึงการเจริญเติบโตทางสติปัญญา การพัฒนาของสมอง ความสามารถในการเข้าใจโลกรอบตัว และทักษะในการแก้ปัญหาและการหาคำตอบ
เมื่อลูกมีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่สมบูรณ์สมวัย หรือสมองมีการทำงานอย่างสมดุล จะช่วยให้พวกเขามีระบบความคิดที่ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
• การประมวลความคิด
• การตั้งสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
• การเข้าใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
• การแสดงความคิดสร้างสรรค์
•
การคิดวางแผนอย่างเป็นระบบ
พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กเป็นกระบวนการที่เด็กเรียนรู้ในการควบคุมและแสดงอารมณ์ของตัวเอง โดยอารมณ์ความรู้สึกแรก ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่แรกเกิดจะเป็นความสุข ความโกรธ ความทุกข์ และความกลัว ต่อมาเมื่อตัวตนของลูกชัดเจนมากขึ้น อารมณ์ความรู้สึกที่ซับซ้อนขึ้นอย่างความเขินอาย ความประหลาดใจ ความรู้สึกผิด ความภูมิใจก็จะปรากฎตามมา
พัฒนาการด้านสังคม เป็นกระบวนดำเนินไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นพัฒนาการเกี่ยวข้องกับการสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ซึ่งลูกจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับทักษะที่สำคัญต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสาร การเห็นอกเห็นใจ การให้ความร่วมมือ การปฎิบัติตามกฎ การแก้ไขปัญหา การส่งเสริมพัฒนาการในด้านนี้ให้กับลูก จะช่วยให้ลูกสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมและเป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้
พัฒนาการด้านภาษาคือความสามารถของลูกในการเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารถึงลูก และความสามารถของตัวลูกเองในการสื่อสารไปยังคนอื่น พัฒนาการด้านนี้มีการพัฒนามาตั้งแต่ทารกยังสื่อสารได้เพียงการออกเสียงไม่เป็นคำ
จวบจนพัฒนาไปเป็นการพูดออกเสียงเป็นคำและประโยคในเวลาต่อมา การพัฒนาทักษะทางภาษาเป็นก้าวแรกของความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ เนื่องจากทักษะนี้เป็นรากฐานของการหัดอ่านและหัดเขียนของลูกน้อย
DSPM หรือ Developmental Surveillance and Promotion Manual คือ คู่มือคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ที่จัดทำโดยสถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นคู่มือที่ให้พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก ใช้สำหรับเฝ้าระวังและเป็นแนวทางในการเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในทุกช่วงอายุ
ประเภทของ DSPM 5 ด้าน และวิธีประเมินพัฒนาการของเด็ก ที่สามารถทำได้โดยพ่อแม่ ผู้ปกครอง และเจ้าหน้าที่ โดยจะมีวิธีทดสอบที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้นมีดังนี้
ผู้ประเมินจะทดสอบการสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการเคลื่อนไหวของเด็ก ด้วยการจัดให้เด็กอยู่ในท่านอนคว่ำและสังเกตการยกศีรษะ เมื่อโตขึ้นก็จะทดสอบความสามารถในการนั่ง ลุก เดิน วิ่ง กระโดดข้ามเชือก ยืนขาเดียว กระโดดเท้าพ้นพื้นทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น
เป็นวิธีทดสอบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ได้แก่ ข้อมือ มือ นิ้วมือ เท้า นิ้วเท้า โดยเริ่มจากทดสอบการมองตามลูกบอล การเอื้อมหยิบของเล่นที่ส่งเสียง การยืนเกาะเฟอร์นิเจอร์ การขีดเขียนบนกระดาษ การเดินถือลูกบอล การต่อบล็อกไม้ เป็นต้น
อีกทั้งยังทดสอบสติปัญญาของเด็กเมื่ออยู่ในวัยที่สามารถทำได้ เช่น ทดสอบการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือด้วยตัวเอง การวาดเส้นเป็นวงกลมตามตัวอย่าง
การทดสอบนี้ทำเพื่อตรวจสอบความสามารถในการใช้เสียงเพื่อการสื่อสาร ในวัยแรกเกิดและทารกจะทดสอบการส่งเสียง การมองหน้าคนที่คุยด้วย ทดสอบการเลียนแบบการเล่นทำเสียง การทำตามคำสั่งง่าย ๆ เมื่อใช้ท่าทางประกอบ เป็นต้น เมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทดสอบการเลือกวัตถุตามคำสั่ง การชี้อวัยวะตามที่ถาม เป็นต้น
เป็นวิธีทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร ในวัยแรกเกิดจะทดสอบการส่งเสียงอ้อแอ้ การทำเสียงสูงต่ำเพื่อแสดงความรู้สึก การแสดงความต้องการโดยทำท่าทางหรือเปล่งเสียง เมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทดสอบการพูดคำพยางค์เดียว การตอบชื่อวัตถุอย่างถูกต้อง การเลียนคำที่เด่นหรือคำสุดท้ายของประโยค เป็นต้น
เป็นการทดสอบความสามารถของเด็กในการทำอะไรได้ด้วยตัวเองและทักษะทางสังคม โดยจะทดสอบด้วยการยิ้มให้คนที่พูดคุยได้มั้ย เมื่อโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะทดสอบว่าสนใจคนพูดและมองของเล่นที่นำมาเล่นด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ จะทดสอบเรื่องใช้นิ้วหยิบจับอาหารกินเอง การเล่นของเล่น การเลียนแบบท่าทางทำงานบ้าน การดื่มน้ำจากถ้วยโดยไม่หก เป็นต้น
คุณแม่มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน ให้กับลูกน้อยได้ด้วยการใช้เวลาที่มีค่าร่วมกัน สนับสนุนทางอารมณ์ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เลือกกิจกรรมและของเล่นเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัยของลูก ดูแลให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ และมอบโภชนาการที่ประโยชน์ให้กับลูกน้อย ซึ่งจะช่วยให้ลูกเจริญเติบโตอย่างสมวัยและมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย
คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กจะมีพัฒนาการ IQ และ EQ ที่ก้าวล้ำตั้งแต่ยังเล็กได้นั้น นอกจากการฝึกฝน เลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนแล้ว การใส่ใจกับโภชนาการตั้งแต่ลูกยังเล็ก โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกของชีวิตนั้น ถือว่าเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญ ซึ่งจะช่วยให้ลูกพร้อมเติบโตมาเป็นเด็กที่ทั้งฉลาดทางความคิดและฉลาดทางอารมณ์
โดยโภชนาการที่สำคัญที่ลูกน้อยควรได้รับก็คือนมแม่ เพราะในนมแม่มีสารอาหารอย่าง MFGM หรือเยื่อหุ้มอนุภาคไขมันในนมแม่ ประกอบด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด อย่างสฟิงโกไมอิลีน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมพัฒนาการรับรู้ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก
Enfa สรุปให้ พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กที่ดี จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกน้อย สา...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ลูกพัฒนาการช้าควรทําอย่างไร ต้องไม่กังวลเกินกว่าเหตุ เพราะเป็นเรื่...
อ่านต่อEnfa สรุปให้ ทารกชอบทําเสียงในลําคอ ซึ่งเป็นเสียงที่ไม่สามารถพูดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เสียง...
อ่านต่อ