นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เอนฟาสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนไปจนถึง 2 ปี หรือนานกว่าตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

พัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย เสริมสร้างได้ยังไงบ้าง

Enfa สรุปให้

  • พัฒนาการด้านร่างกาย ของลูกน้อยจะเริ่มตั้งแต่ศีรษะไปจนถึงปลายเท้า โดยเริ่มแรกจะควบคุมร่างกายส่วนบน เคลื่อนไหวศีรษะ และพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กจนสามารถใช้มือจับสิ่งของและนิ้วหยิบอาหารเข้าปากได้เอง จนกระทั่งคลานและเดินได้
  • พัฒนาการด้านร่างกายปฐมวัย เด็กปฐมวัย หรือเด็กในช่วงอายุตั้งแต่ 0 - 6 ปี เป็นช่วงวัยที่ควรให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากทักษะการเคลื่อนไหวที่ลูกได้พัฒนาในช่วงนี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ต่อไป
  • พัฒนาการด้านร่างกาย 3 - 6 ปี เป็นช่วงวัยที่ช่วยส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยทรงตัวได้ดี เติบโตอย่างแข็งแรง และมีพัฒนาการที่สมวัย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

คุณแม่ควรดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่เรื่องของความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยในวัยปฐมวัยอย่างเหมาะสมเพื่อวางรากฐานที่ดีให้กับลูกน้อย

โดยพัฒนาการของเด็กในวัยนี้จะพัฒนาไปอย่างมีลำดับขั้นตอน วันนี้เอนฟาจะมาพูดถึงพัฒนาการด้านร่างกายของลูกน้อยวัยปฐมวัยกันค่ะ

 

พัฒนาการด้านร่างกาย คืออะไร


พัฒนาการด้านร่างกาย คือ ความสามารถของเด็กปฐมวัยในการควบคุมร่างกายทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก รวมไปถึงประสาทสัมผัสการรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ซึ่งการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในวัยนี้อย่างเหมาะสม จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงสมบูรณ์และมีพัฒนาการที่สมวัย

 

รู้จักพัฒนาการด้านร่างกายแต่ละช่วงวัย


พัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย จะเป็นเรื่องของความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็ก การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวจะช่วยให้เด็กสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานมีทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่ การนั่ง ยืน เดิน วิ่ง และกระโดด โดยทักษะที่สำคัญที่ลูกใช้ในการเคลื่อนไหวมี 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

      ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross motor skills) เป็นการเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น บริเวณขา แขน ลำตัว ซึ่งช่วยในเรื่องการรักษาสมดุล การประสานงานของร่างกาย การตระหนักรู้ของร่างกาย รวมไปถึงความสามารถของร่างกายในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า

      ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine motor skills) เป็นการเคลื่อนไหวด้วยกล้ามเนื้อมัดเล็กตั้งแต่บริเวณข้อมือ มือ นิ้วมือ เท้า และนิ้วเท้า ซึ่งจะช่วยให้ลูกทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น การอาบน้ำ แปรงฟัน การเล่นของเล่น การหยิบแก้วน้ำ

พัฒนาการทางด้านร่างกายของวัยทารก

พัฒนาการทางด้านร่างกายวัยทารก โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นทักษะการเคลื่อนไหวขั้นต้น เช่นการควบคุมศีรษะ การนั่ง และการเดิน การถือช้อน การหยิบจับสิ่งของ ซึ่งพัฒนาการของลูกน้อยในวัยทารกตามช่วงอายุอาจแบ่งได้ดังนี้

วัยแรกเกิด - 2 เดือน

  • ยกและหันศีรษะไปซ้ายหรือขวาได้ขณะนอนหงาย
  • เกร็งแขนและกำมือได้
  • ไม่สามารถเกร็งคอและตั้งศีรษะให้ตรงได้เมื่อถูกดึงให้อยู่ในท่านั่ง เพราะคอยังอ่อนมาก

วัย 3 - 4 เดือน

  • ควบคุมกล้ามเนื้อตาได้ดีขึ้น ช่วยให้ทารกมองตามวัตถุต่าง ๆ ได้
  • เริ่มควบคุมแขนและเท้าได้มากขึ้น และอาจเริ่มใช้งานมือทั้งสองข้างเพื่อทำสิ่งต่าง ๆ แม้ว่าจะยังไม่สามารถถือของแต่ก็จะพยายามปัดสิ่งของเข้ามาหาตัวได้
  • แยกแยะวัตถุออกจากพื้นหลังได้ เพราะสายตาเริ่มดีขึ้น
  • ขณะนอนคว่ำ สามารถยกส่วนศีรษะ ลำตัวส่วนบน และไหล่ของตัวเองได้
  • เริ่มคอแข็ง ทำให้ตั้งศีรษะได้มากขึ้น สามารถนั่งพิงโดยที่คอไม่พับ
  • ปฏิกิริยาตอบสนองดั้งเดิมของทารก เช่น การสะดุ้งเมื่อมีเสียงดัง การดูดเมื่อมีอะไรบางอย่างกระตุ้นตรงริมฝีปากค่อย ๆ หายไป

วัย 5 - 6 เดือน

  • สามารถนั่งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนช่วยได้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ และค่อย ๆ อยู่ได้นานขึ้น 30 วินาทีขึ้นไป
  • สามารถหยิบสิ่งของได้ด้วยการใช้นิ้ว 4 นิ้ว โดยไม่ใช้นิ้วโป้ง
  • ทารกพลิกตัวนอนคว่ำได้ และสามารถดันแขนขึ้นเพื่อยกไหล่และศีรษะ แล้วมองไปรอบ ๆ หรือเอื้อมมือไปหาสิ่งของใกล้ตัว

วัย 6 - 9 เดือน

  • เริ่มคลานไปรอบ ๆ
  • เดินได้โดยที่มีคุณพ่อคุณแม่ช่วยจูงหรือช่วยเหลือ
  • นั่งด้วยตัวเองโดยไม่ต้องช่วยประคองได้เป็นเวลานาน
  • เรียนรู้ที่จะนั่งหลังจากอยู่ในท่ายืน
  • เมื่อคุณแม่พยุงตัวให้ลูกอยู่ในท่ายืน ลูกสามารถยืนได้ด้วยตัวเองขณะเกาะเฟอร์นิเจอร์หรือเกาะขาคุณแม่ได้

วัย 9 - 12 เดือน

  • เริ่มทรงตัวได้เมื่อยืนด้วยตัวเอง
  • สามารถเดินไปข้างหน้าได้เมื่อคุณพ่อคุณแม่ช่วยพยุง และอาจเดินต่อไปได้เองอีก 2 - 3 ก้าว
     

พัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัย

ในแต่ละขวบปี ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ โดยพัฒนาการด้านร่างกายของลูกน้อยในวัยปฐมวัยตั้งแต่ 1 - 3 ปี มีลักษณะดังต่อไปนี้

อายุ 1 ปี

  • เข้าสู่ช่วงหัดเดินและค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะเดินด้วยตัวเองโดยไม่มีคนช่วยพยุง
  • ปีนขึ้นลงโซฟาหรือเก้าอี้ได้ด้วยตัวเอง
  • เล่นของเล่นที่มีแรงผลักและแรงดึง เช่น รถของเล่น ตุ๊กตาไขลาน ของเล่นแผงยางกด
  • วาดเขียนด้วยสีเทียนหรือดินสอ
  • กินน้ำจากแก้วได้ 2 - 3 อึก

อายุ 2 ปี

  • วิ่งเล่น
  • เตะฟุตบอล
  • เดินขึ้นบันได้แทนการปีนขึ้น

อายุ 2 - 3 ปี

  • แต่งตัวเองหรือพยายามจะแต่งตัวด้วยตัวเอง
  • ปีนขึ้นลงเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นได้
  • เริ่มใช้ดินสอหรือสีเทียนถูกวิธี ด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้

พัฒนาการของลูกน้อยในวัยปฐมวัยตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ จากการแบ่งตามพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ของเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

  • วิ่ง กระโดด โยน เตะ ได้อย่างคล่องแคล่วมากขึ้น
  • รับลูกบอลที่เด้งขึ้นจากพื้น
  • หัดขี่รถจักรยานได้ตอน 3 ปี และบังคับทิศทางขณะขี่ได้ดีตอน 4 ปี
  • กระโดดด้วยเท้าข้างเดียว ในตอนอายุประมาณ 4 ปี และจะค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะทรงตัวด้วยเท้าข้างเดียวนานถึง 5 วินาที
  • เดินไปข้างหน้าให้ส้นเท้าจรดปลายเท้า กระโดด เต้น ปีนป่าย นั่งสไลด์เดอร์ เดินลงบันไดโดยไม่จับราวได้ ทรงตัวขณะยืนหลับตาด้วยเท้าข้างเดียว ตอนอายุประมาณ 5 ปี

พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก แบ่งออกตามช่วงวัยได้ดังนี้

อายุ 3 ปี

  • วาดวงกลมได้
  • วาดคนเป็นส่วน ๆ ได้ (ศีรษะ ลำตัว ขา)
  • เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้กรรไกรสำหรับเด็ก
  • แต่งตัวด้วยตัวเองได้โดยมีคุณแม่ช่วยแต่งตัว

อายุ 4 ปี

  • วาดสี่เหลี่ยม
  • เริ่มใช้งานกรรไกรเป็น และไม่นานก็จะตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
  • แต่งตัวด้วยตัวเองได้อย่างเรียบร้อย
  • ใช้ช้อนและส้อมได้อย่างคล่องแคล่ว
  • แปรงฟันได้เอง

อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

  • ปาดอาหารเช่น เนย แยม ด้วยมีดได้
  • วาดสามเหลี่ยมได้
  • เขียนตัวอักษรได้
  • ระบายสีแบบไม่ทับเส้นได้

พัฒนาการด้านร่างกายวัยเด็ก

พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยเรียน ในวัย 5 - 12 ปี อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในหลายด้าน ดังนี้

  • มีทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
  • มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ไว้มากขึ้น
  • รู้จักและตระหนักถึงรูปลักษณ์ทางกายของตัวเองมากขึ้น
  • สนุกกับกิจกรรมทางกายมากขึ้น เช่น การว่ายน้ำ การเล่นไล่จับ การปั่นจักรยาน
  • แปรงฟัน อาบน้ำ แต่งตัว และเตรียมไปโรงเรียนได้ด้วยตัวเอง

 

พัฒนาการด้านร่างกายปฐมวัยมีอะไรบ้าง


เมื่อลูกอายุได้ประมาณ 3 - 6 ปี จะเป็นช่วงที่พัฒนาการด้านร่างกาย 3 - 6 ปี ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 1.8 - 2.25 กิโลกรัมต่อปี และจะสูงขึ้นประมาณ 5 - 7.5 เซนติเมตรในแต่ละปี

ฟันน้ำนมของลูกจะขึ้นมาครบทุกซี่ในช่วง 3 ขวบ นอกจากนี้สายตาจะพัฒนาอย่างเต็มที่ในตอนอายุประมาณ 4 ปี ในวัยนี้ลูกจะใช้เวลานอนทั้งหมด 11 - 13 ชั่วโมง และจะนอนกลางวันน้อยลง โดยจะหยุดนอนกลางวันตอนอายุประมาณ 5 ปี

 

กิจกรรมพัฒนาการด้านร่างกายปฐมวัย


เด็กวัยปฐมวัยจะมีพฤติกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร ลูกน้อยจะมีพลังงานเยอะ เล่นสนุกได้ทั้งวัน จึงเป็นช่วงที่การทำกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนจะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เป็นอย่างดี กิจกรรมด้านร่างกายปฐมวัย ที่เหมาะสมกับเด็กในวัยนี้ มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น

  • เล่นในสนามเด็กเล่น เช่น เล่นกระบะทราย เล่นสไลด์เดอร์ เล่นชิงช้า
  • การปีนป่าย กระโดดเล่น
  • การเต้นตามจังหวะเพลง การเต้นรำ
  • การรับส่งลูกบอล
  • การเล่นโบว์ลิ่ง
  • การละเล่นกับเด็กรุ่นเดียวกัน เช่น ตี่จับ มอญซ่อนผ้า
  • การปั่นจักรยานสามล้อ สกูตเตอร์

 

ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของลูกน้อยได้ยังไงบ้าง


สำหรับวัยทารก ลูกน้อยจะเริ่มคว้าของเล่นและสิ่งของต่าง ๆ มาเล่น คุณแม่สามารถกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อของลูกด้วยการเอาของไปใกล้ ๆ ให้ลูกเอื้อมมือมาหยิบ เล่นจ๊ะเอ๋ปิดหน้า ให้ลูกมองตัวเองในกระจก เป็นต้น

เมื่อเข้าเรียนอนุบาล ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เพื่อให้ลูกได้ใช้มือและนิ้วมือในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว เพราะแม้วัยนี้ลูกจะสามารถควบคุมร่างกายของตัวเองได้มากขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในช่วงที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็กกำลังพัฒนา 

กิจกรรมที่เหมาะก็จะเป็นการเล่นกับลูกบอล อาทิ โยนรับลูกบอล โยนบอลลงห่วง กิจกรรมที่ลูกมีโอกาสได้เล่นที่โรงเรียนอยู่แล้ว แต่ก็สามารถเลือกเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันที่บ้านได้เช่นกัน

 

MFGM สารอาหารในนมแม่ เพื่อ IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 ขวบปีแรก


คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายให้กับลูกน้อยได้ในทุกช่วงวัย ด้วยการให้ลูกน้อยทำกิจกรรมทางกายต่าง ๆ เช่น การวิ่งเล่น การโยนบอล ทั้งกับเพื่อนวัยเดียวกันและคุณพ่อคุณแม่ เพื่อการฝึกทักษะการประสานงานของตาและมือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่และเล็ก รวมไปถึงการให้กินอาหารที่ประโยชน์ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มพลังสมอง และช่วยให้ลูกเติบโตอย่างสมบูรณ์สมวัยในทุกด้าน

MFGM สุดยอดสารอาหารสมองจากนมแม่ สารอาหารชนิดเดียวที่ช่วยให้ลูกมี IQ ที่เหนือกว่าตั้งแต่ 5 แรก ประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันกว่า 150 ชนิด เช่น สฟิงโกไมอีลิน ฟอสโฟลิปิด แกงกลิโอไซต์ ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีส่วนช่วยสำคัญต่อการเสริมสร้างพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้


* นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก
Enfa Smart Club สนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่าง
เดียวอย่างน้อย 6 เดือนและให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยอีก 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO)
Enfa Smart Club พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลคุณแม่และลูกน้อย ด้วยการมอบข้อมูลโภชนาการและพัฒนาการลูกน้อยแต่ละวัย ที่เป็นประโยชน์และเชื่อถือได้ ผ่านเว็บไซต์ enfababy.com

คุณกำลังเข้าถึงเนื้อหาจากผู้ให้บริการภายนอกเกี่ยวกับการซื้อหรือ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท มี้ด จอห์นสัน นิวทริชัน (ประเทศไทย) จำกัด​

กรุณากดยืนยันเพื่อดำเนินการต่อ

Line TH
Shopee TH Lazada TH Join Enfamama